ผลลัพธ์การค้นหาสำหรับ

*บาลี*

   
ภาษา
Dictionaries languages

English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์มากขึ้นหรือน้อยลง: บาลี, -บาลี-
มีผลลัพธ์ที่ไม่แสดงผลอยู่
ปรับการตั้งค่า
Dictionaries languages

English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


Thai-English: NECTEC's Lexitron-2 Dictionary [with local updates]
บาลี(n) Pali, Syn. ภาษาบาลี, Example: คนที่เรียนภาษาไทยสมัยนี้ไม่รู้บาลี สันสกฤต ไม่รู้ศัพท์โบราณ รู้แต่ศัพท์พื้นๆ ที่ใช้พูดกัน, Thai Definition: ภาษาที่ใช้เป็นหลักในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท
นอกบาลี(v) be unconventional, See also: not in any book, outlandish, irrelevant, Syn. นอกครู, นอกรีต, นอกรีตนอกรอย, Thai Definition: ปฏิบัติไม่ตรงตามธรรมเนียมที่เคยทำมา, กระทำนอกแบบฉบับ

ไทย-ไทย: พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
นอกบาลีก. พูดหรือทำนอกแบบฉบับ.
บาลีน. ภาษาที่ใช้เป็นหลักในพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท
บาลีคัมภีร์พระไตรปิฎก, พุทธพจน์, เรียกว่า พระบาลี.
พระบาลี<i>ดู บาลี</i>.
แม่กองบาลีสนามหลวงน. พระเถระผู้มีหน้าที่รับผิดชอบในการสอบไล่พระปริยัติธรรม แผนกบาลีของคณะสงฆ์.
ไล่บาลีก. สอบความรู้ภาษาบาลี, โดยปริยายหมายความว่า ลองภูมิ, ไล่ภูมิ.
กัณฐชะน. อักษรในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีเสียงเกิดที่เพดานอ่อน ได้แก่ พยัญชนะวรรค ก คือ ก ข ค ฆ ง และอักษรที่มีเสียงเกิดที่เส้นเสียงในลำคอ ได้แก่ ห และ สระ อะ อา.
-การ ๒น. ผู้ทำ, มักใช้เป็นส่วนท้ายสมาสคำบาลีและสันสกฤต เช่น กรรมการ ตุลาการ, ถ้าอยู่หลังคำอื่นที่ไม่ใช่คำศัพท์ มีความหมายเป็นเฉพาะก็มี เช่น กงการ เจ้าการ นักการ ผู้บังคับการ ผู้กำกับการ.
-การ ๓คำประกอบท้ายสมาสคำบาลีและสันสกฤต มีความหมายเหมือน การ ๑ เช่น ราชการ พาณิชยการ.
ขอยืมก. ขอสิ่งของ เงิน เป็นต้น มาใช้ชั่วระยะเวลาหนึ่งแล้วคืนให้หรือใช้คืน, นำของของผู้อื่นมาใช้เป็นของของตน เช่น ขอยืมคำในภาษาบาลีมาใช้ ขอยืมวัฒนธรรมตะวันตกมาใช้ ขอยืมความคิด, (คณิต) ในการลบเลข ถ้าเลขตัวตั้งในหลักใดน้อยกว่าเลขที่จะนำมาลบ ให้นำเลขจากหลักสูงถัดไปมาเพิ่มเลขตัวตั้งเพื่อให้มากพอที่จะลบได้ เช่น ๔๓ - ๕ ในที่นี้ ๕ ลบจาก ๓ ไม่ได้ ๓ ต้องขอยืม ๔ ซึ่งเป็นหลักสิบมา ๑ รวมเป็น ๑๓ แล้วลบออกเสีย ๕ เหลือ ๘ ๔ เมื่อถูกขอยืมไป ๑ ก็เหลือ ๓ ผลลัพธ์ ๓๘, ยืม ก็ว่า.
ขานนาคก. กล่าวตอบในเวลาที่พระคู่สวดสวดถามคุณสมบัติและโรคต้องห้ามเป็นภาษาบาลีในที่ประชุมสงฆ์ แล้วนาคผู้ขอบวชเป็นภิกษุตอบรับหรือปฏิเสธเป็นภาษาบาลีเช่นกัน.
คราส(คฺราด) ก. กิน เช่น จันทรคราส สุริยคราส (โบราณ เขียนเป็น จันทรคาธ สุริยคาธ โดยถือว่ามาจากบาลีว่า จนฺทคฺคาห สุริยคฺคาห)
คาถา ๑น. คำประพันธ์ประเภทร้อยกรองในภาษาบาลี, อัตราของฉันท์ คือ ๔ บาท เรียกว่า คาถาหนึ่ง
คาถาพันน. บทประพันธ์เรื่องมหาเวสสันดรชาดกที่แต่งเป็นคาถาภาษาบาลีล้วน ๆ พันบท, เรียกการเทศน์มหาเวสสันดรชาดกที่เป็นคาถาล้วน ๆ อย่างนี้ ว่า เทศน์คาถาพัน.
คำเผดียงสงฆ์น. ญัตติ, คำสวดประกาศเป็นภาษาบาลี เสนอให้ที่ประชุมสงฆ์ทราบเพื่อทำกิจของสงฆ์ร่วมกัน.
โฆษะว. ก้อง, เสียงสระหรือพยัญชนะซึ่งขณะที่เปล่งออกมาเส้นเสียงสั่นในภาษาไทยได้แก่เสียง บ ด เมื่อเป็นพยัญชนะต้น เสียง ง น ม ย ร ล ว และเสียงสระทุกเสียง, (ไว) เรียกพยัญชนะในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีเสียงก้องว่า พยัญชนะโฆษะ ได้แก่ พยัญชนะตัวที่ ๓, ๔, ๕ ของวรรค และ ย ร ล ว ห ฬ.
จตุ-(จะตุ-) ว. สี่, ใช้ประกอบหน้าคำที่มาจากภาษาบาลี.
จตุร-(จะตุระ-) ว. สี่, ใช้ประกอบหน้าคำที่มาจากภาษาบาลีหรือสันสกฤต.
จตุรงคยมก(จะตุรงคะยะมก) น. ชื่อกลอนกลบทโบราณ มีบังคับพิเศษคือ ทุก ๆ ๒ บทให้ใช้ภาษาบาลีแต่งวรรคแรกทั้งวรรค และวรรคที่ ๒ เฉพาะจังหวะแรก ตัวอย่างว่า ภุมมาจายันตุเทวา ภุมมะจาเจ้าที่บดีสูร อารักษ์เรืองฤทธิ์เดชเกษสกูล อันเรืองรูญรังษีระวีวร (ชุมนุมตำรากลอน).
จาตุ-ว. แปลงมาจาก จตุ หมายความว่า สี่, ใช้ประกอบหน้าคำที่มาจากภาษาบาลี.
จาตุร-(จาตุระ-) ว. แปลงมาจาก จตุร หมายความว่า สี่, ใช้ประกอบหน้าคำที่มาจากภาษาบาลี.
จุณณียบท(จุนนียะบด) น. บทบาลีเล็กน้อย ที่ยกขึ้นแสดงก่อนเนื้อความ.
จุลวงศ์(จุนละ-) น. ชื่อหนังสือพงศาวดารลังกา แต่งเป็นภาษาบาลีต่อจากมหาวงศ์ ตั้งแต่รัชสมัยพระเจ้าสิริเมฆวรรณจนถึงลังกาถูกอังกฤษยึดครอง.
เจตภูต(เจดตะพูด) น. สภาพเป็นผู้คิดอ่าน คือ มนัส, ที่เรียกในภาษาสันสกฤตว่า “อาตมัน” เรียกในภาษาบาลีว่า “อัตตา” ก็มี “ชีโว” ก็มี, มีอยู่ในลัทธิว่า “ในโลกนี้ไม่มีอะไรสูญ แม้คนและสัตว์ตายแล้ว ร่างกายเท่านั้นทรุดโทรมไป ส่วนเจตภูตเป็นธรรมชาติไม่สูญ ย่อมถือปฏิสนธิในกำเนิดอื่นสืบไป”, ลัทธินี้ทางพระพุทธศาสนาจัดเป็นสัสตทิฐิ แปลว่า ความเห็นว่าเที่ยง, ตามสามัญที่เข้าใจกัน เจตภูต คือวิญญาณที่สิงอยู่ในตัวคน กล่าวกันว่าออกจากร่างได้ในเวลานอนหลับ.
ฉายา ๑ชื่อที่พระอุปัชฌาย์ตั้งให้เป็นภาษาบาลีเมื่ออุปสมบท, ชื่อตั้งให้กันเล่น ๆ หรือตามลักษณะที่หมายรู้กันในหมู่คณะ.
ช ๒ในภาษาบาลีและสันสกฤต ถ้าใช้ประกอบท้ายคำบางคำ แปลว่า เกิด เช่น บงกช ว่า เกิดในเปือกตม หมายถึง บัว, วาริช ว่า เกิดในน้ำ หมายถึง ปลา, ทวิช ว่า เกิด ๒ ครั้ง หมายถึง พราหมณ์, นก.
ญัตติน. คำสวดประกาศเป็นภาษาบาลี เสนอให้ที่ประชุมสงฆ์ทราบเพื่อทำกิจของสงฆ์ร่วมกัน, คำเผดียงสงฆ์ ก็ว่า
โดยพยัญชนะว. ตามตัวหนังสือ, ตามศัพท์, เช่น แปลภาษาบาลีโดยพยัญชนะ.
โดยอรรถว. ตามเนื้อความ เช่น แปลภาษาบาลีโดยอรรถ.
ตันติภาษาน. ภาษาที่มีแบบแผน เช่น ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต ภาษาละติน ภาษากรีก.
ตาลุชะน. อักษรในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีเสียงเกิดที่เพดานแข็ง ได้แก่พยัญชนะวรรค จ คือ จ ฉ ช ฌ ญ และอักษร ย สระอิ อี รวมทั้ง ศ ในภาษาสันสกฤต.
ท ๒ใช้ประสมกับตัว ร อ่านเป็นเสียง ซอ ในคำบางคำ เช่น ทราบ แทรก ทรง และในคำบางคำที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต เช่น ทรัพย์ อินทรีย์ มัทรี, ที่อ่านเป็นเสียง ทร (ไม่ใช่ ซ) ก็มี เช่น ภัทรบิฐ อินทรา นิทรา อิเล็กทรอนิกส์.
ทันตชะ(ทันตะ-) น. อักษรในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีเสียงเกิดที่ฟัน ได้แก่ พยัญชนะวรรค ต คือ ต ถ ท ธ น และอักษร ล ส รวมทั้ง ฦ ฦๅ ในภาษาสันสกฤต.
ทีฆสระน. สระที่มีเสียงยาว ในภาษาบาลีได้แก่ อา อี อู เอ โอ, ในภาษาสันสกฤตได้แก่ อา อี อู ฤๅ ฦๅ เอ ไอ โอ เอา, ในภาษาไทยได้แก่ อา อี อือ อู เอ แอ โอ ออ เออ เอีย เอือ อัว.
ทุ ๑ว. คำอุปสรรคในภาษาบาลีและสันสกฤต แปลว่า ชั่ว, ยาก, ลำบาก, เลว, ทราม, เช่น ทุจริต ว่า ความประพฤติชั่ว, ทุกร ว่า ทำได้โดยยาก, ทุปปัญญา ว่า ปัญญาทราม เป็นต้น. <i> (ดู ทุร ประกอบ)</i>.
ธนิตว. หนัก, (ไว) เรียกพยัญชนะในภาษาบาลีและสันสกฤตที่มีเสียงหนักว่า พยัญชนะธนิต ได้แก่ พยัญชนะตัวที่ ๒ และ ๔ ของวรรค.
ธรรมคุณน. ชื่อบทแสดงคุณของพระธรรม มีบาลีขึ้นต้นว่า สฺวากฺขาโต และลงท้ายว่า ปจฺจตฺตํ เวทิตพฺโพ วิญฺญูหิ.
ธรรมบทน. ข้อแห่งธรรม, ชื่อคาถาบาลีคัมภีร์หนึ่งในขุทกนิกายแห่งพระสุตตันตปิฎก.
ธาตุ ๔(ทาตุ-, ทาด) น. รากศัพท์ของคำบาลีสันสกฤตเป็นต้น เช่น ธาตุ มาจาก ธา ธาตุ ในความว่า ทรงไว้ สาวก มาจาก สุ ธาตุ ในความว่า ฟัง กริยา มาจาก กฤ ธาตุ ในความว่า กระทำ.
นปุงสกลิงค์, นปุงสกลึงค์(นะปุงสะกะ-) น. เพศของคำในภาษาบาลีสันสกฤต ที่ไม่จัดเป็นปุงลิงค์และอิตถีลิงค์ เช่น ปท (บท) กาจน (ทอง) นคร (เมือง).
นิคหิต(นิกคะหิด) น. ชื่อเครื่องหมายรูปดังนี้  ในภาษาบาลีและสันสกฤตมีเสียงอ่านเหมือนตัว ง และ ม สะกด ในภาษาไทยก็อนุโลมใช้ตาม เช่น จํหัน อ่านว่า จังหัน ชุนุ อ่านว่า ชุมนุม, นฤคหิต หรือ หยาดนํ้าค้าง ก็เรียก.
เบียนธาตุก. ทำให้ความหมายของธาตุในภาษาบาลีและสันสกฤตแผกเพี้ยนไปจากเดิมโดยการเติมอุปสรรค เช่น ธาตุ คม แปลว่า ไป เติม อา เบียนธาตุ เป็น อาคม แปลว่า มา.
ปฏิ-(ปะติ-) คำอุปสรรคในภาษาบาลีใช้นำหน้าศัพท์อื่น แปลว่า เฉพาะ เช่น ปฏิทิน, ตอบ เช่น ปฏิพากย์, ทวน เช่น ปฏิโลม, กลับ เช่น ปฏิวัติ.
ปฐมบุรุษ(ปะถมมะ-, ปะถม-) น. บุรุษที่ ๑, ตามไวยากรณ์ ได้แก่ สรรพนามพวกที่ใช้แทนชื่อผู้พูด เช่น ข้า เรา แต่ตามไวยากรณ์บาลีหมายถึงพวกที่เราพูดถึง เช่น เขา.
ปฐมยาม(ปะถมมะ-) น. ยามต้น, ในบาลีแบ่งคืนออกเป็น ๓ ยาม กำหนดยามละ ๔ ชั่วโมง เรียกว่า ปฐมยาม มัชฌิมยาม และปัจฉิมยาม ปฐมยามกำหนดเวลาตั้งแต่ย่ำค่ำ หรือ ๑๘ นาฬิกา ถึง ๔ ทุ่ม หรือ ๒๒ นาฬิกา.
ประโยคชั้นแห่งความรู้ภาษาบาลี เช่น เปรียญ ๓ ประโยค สอบได้ประโยค ๓
ปรัสสบท(ปะรัดสะ-) น. “บทเพื่อผู้อื่น”, ในตำราไวยากรณ์บาลีและสันสกฤตใช้เป็นเครื่องหมายให้ทราบว่าเป็นกริยากรรตุวาจก เช่น สูโท โอทนํ ปจติ = พ่อครัวหุงอยู่ซึ่งข้าวสุก, ปจติ เป็นกริยาปรัสสบท, ตรงข้ามกับ อัตตโนบท.
ปริ- ๑(ปะริ-) เป็นอุปสรรคในภาษาบาลีและสันสกฤต, ใช้นำหน้าศัพท์อื่นแปลว่า รอบ เช่น ปริมณฑล.
ปัจฉิมยาม(ปัดฉิมมะ-) น. ยามหลัง, ยามสุดท้าย, ในบาลีแบ่งคืนออกเป็น ๓ ยาม กำหนดยามละ ๔ ชั่วโมง เรียกว่า ปฐมยาม มัชฌิมยาม และปัจฉิมยาม ปัจฉิมยามกำหนดเวลาตั้งแต่ตี ๒ หรือ ๒ นาฬิกา ถึงย่ำรุ่ง หรือ ๖ นาฬิกา.
ปัตถะ(ปัดถะ) น. ชื่อมาตราตวงในภาษาบาลี แปลว่า แล่ง, กอบ, คือ ๒ ปัตถะ เป็น ๑ นาฬี (ทะนาน).

อังกฤษ-ไทย: คลังศัพท์ไทย โดย สวทช.
สดับปกรณ์เป็นทั้งคำกริยาและคำนามว่า สดับปกรณ์ (สะ-ดับ-ปะ-กอน) เป็นคำกริยา คือ บังสุกุล (ใช้แก่ศพเจ้านาย) ส่วนคำนามหมายถึง พิธีสวดมาติกาบังสุกุลเนื่องด้วยศพ ปัจจุับันใช้เฉพาะเจ้านาย คำในภาษาบาลีเขียน สตฺตปฺปกรณ ส่วนภาษาสันสกฤตเขียน สปฺตปฺรกรณ หมายถึงพระอภิธรรม ๗ คัมภีร์ [ศัพท์พระราชพิธี]
integrationบูรณาการ, การรวมเข้าเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน, บูรณาการ มี ๒ ความหมาย <p>ความหมายที่ ๑ คือ ทำให้เป็นเนื้อเดียวกันโดยรวมหรือผสมผสานส่วนต่าง ๆ เข้าด้วยกัน เช่น การสอนภาษาแบบบูรณาการ หมายถึง การรวมทักษะการพูด ฟัง อ่าน เขียน ไว้ในวิชาเดียวกัน, หลักสูตรแบบบูรณาการสำหรับภิกษุสามเณร เป็นหลักสูตรที่รวมหลักสูตรธรรมศึกษา บาลีศึกษา และสามัญศึกษา ให้เป็นหลักสูตรเดียว <p>ความหมายที่ ๒ หมายถึงเชื่อมหรือประสานกับสิ่งอื่นหรือหน่วยงานอื่น เช่น โรงเรียนหลายแห่งบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นเข้ากับศาสตร์สมัยใหม่ เพื่อให้เกิดการพัฒนาองค์ความรู้ที่มีรากฐานจากความเป็นไทยและนำไปสู่การ พัฒนาประเทศที่ยั่งยืน [การจัดการความรู้]
Pali languageภาษาบาลี [TU Subject Heading]
Pali literatureวรรณกรรมบาลี [TU Subject Heading]
Pali poetryกวีนิพนธ์บาลี [TU Subject Heading]

ตัวอย่างประโยค จาก Open Subtitles  **ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
Take it from a guy who spent six months on a commercial fishing boat in Bali trying to find himself.นำไปจากผู้ชายคนหนึ่งที่ใช้เวลาหกเดือนในเรือประมงเชิงพาณิชย์ในบาลี พยายามที่จะหาตัวเอง We Bought a Zoo (2011)

Thai-English-French: Volubilis Dictionary 1.0
บาลี[Bālī] (n, prop) EN: Pali ; Pali language  FR: pali [ m ] ; langue pali [ f ]
คำภาษาบาลี[kham phāsā Bālī] (n, exp) FR: mot pali [ m ]
คำภาษาบาลี และสันสกฤต[kham phāsā Bālī lae Sansakrit] (n, exp) FR: mots palis et sanskrits [ mpl ]
ภาษาบาลี[phāsā Bālī] (n, exp) EN: Pali ; Pali language  FR: pali [ m ]

English-Thai: NECTEC's Lexitron-2 Dictionary [with local updates]
Pali(n) ภาษาบาลี
Pali(n) บาลี

English-Thai: Longdo Dictionary (UNAPPROVED version -- use with care )  **ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
phonetic alphabet(n) อักษรสะกดคำ(หรือเรียกเป็นบาลีให้ยากว่า สัทอักษร) เช่น Delta หมายถึงอักษร D หรือ Echo หมายถึงอักษร E เป็นต้น
phonetic alphabet(n) คำสะกดอักษร(หรือเรียกเป็นบาลีให้ยากว่า สัทอักษร) เช่น Delta หมายถึงอักษร D หรือ Echo หมายถึงอักษร E เป็นต้น

Japanese-Thai: Longdo Dictionary (UNAPPROVED version -- use with care )  **ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
三昧[さんまい, sanmai] (n) สมาธิ (คำว่า สัมไม เป็นคำศัพท์ทางศาสนาที่ได้รับอิทธิพลมาจากภาษาบาลีสันสกฤตของอินเดียอย่างเดียวกับที่ภาษาไทยใช้ ที่อินเดียจะออกเสียงว่า สะ-มา-ดิ๊)

เพิ่มคำศัพท์


ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ


Are you satisfied with the result?



Discussions

ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
Go to Top