บทกลอน | น. คำประพันธ์ที่เป็นบทร้อยกรอง. |
กรง | ในบทกลอนใช้หมายความว่า เปล ก็มี เช่น ถนอมในพระกรงทอง (เห่กล่อม). |
กระ ๔ | ใช้เป็นพยางค์หน้า (๑) ซึ่งเดิมเป็น ก กำ กุ ข ต ส เช่น กบิล-กระบิล, กำแพง-กระแพง, กุฎี-กระฎี, ขจัด-กระจัด, ตวัด-กระหวัด, สะท้อน-กระท้อน. (๒) โบราณใช้แทน ตระ เช่น ตระกูล-กระกูล, ตระลาการ-กระลาการ. (อัยการเบ็ดเสร็จ). (๓) เติมหน้าคำโดยไม่มีความหมายก็มี เช่น ซุ้ม-กระซุ้ม, โดด-กระโดด, พุ่ม-กระพุ่ม, ยาจก-กระยาจก, เติมให้มีความหมายแน่นแฟ้นขึ้นก็มี เช่น ทำ-กระทำ, ทุ้ง-กระทุ้ง, เสือกสน-กระเสือกกระสน. (๔) ยํ้าหน้าคำอันขึ้นต้นด้วย ก ในบทกลอน คือ กระกรี๊ด กระกรุ่น กระกลับกลอก กระเกริ่น กระเกรียม กระเกรียว กระเกรี้ยว กระเกริก. (๕) นอกนี้เป็น กระ มาแต่เดิม เช่น กระทรวง กระบือ. |
กระทบ | ก. โดน, ถูกต้อง, ปะทะ, ในบทกลอนใช้ว่า ทบ ก็มี เช่น ของ้าวทบประทะกัน (ตะเลงพ่าย), หรือ ประทบ ก็มี เช่น ประทบประทะอลวน (ตะเลงพ่าย), พูดหรือทำให้กระเทือนไปถึงผู้อื่น เช่น พูดกระทบเขา ตีวัวกระทบคราด. |
กระทู้ ๒ | ในฉันทลักษณ์ หมายเอาข้อความอันเป็นเค้าเงื่อนนำหน้าบทกลอน เช่น โคลงที่แต่งตามเค้าเงื่อนนั้น เรียกว่า โคลงกระทู้. |
กระมัง ๑ | ว. คำแสดงความไม่แน่ใจ, คำแสดงความคาดคะเน, (ใช้ไว้ท้ายประโยค) เช่น เป็นเช่นนี้กระมัง, ในบทกลอนใช้ว่า กระหมั่ง ก็มี. |
กระวี ๑ | น. นักปราชญ์ในการแต่งบทกลอน เช่น เสดจ์ยังสาระพินิจฉัยพร้อมด้วยหมู่มุกขมนตรีกระวีราชปโรหิตาโหราจารย์อยู่ในศีลสัจ (สามดวง). |
กราน ๒ | (กฺราน) ใช้เข้าคู่กับคำอื่น หมายความว่า ทอดตัว หรือ ล้มตัวลงราบ เช่น ก้มกราน หมอบกราน, หมายความว่า คํ้า, ยัน, เช่น ยันกราน ยืนกราน, ในบทกลอนใช้โดยลำพังก็มี เช่น ก็กรานในกลางรณภู (สมุทรโฆษ), พระรามตัดตีนสินมือเสีย กรานคอไปไว้ที่นอกเมือง (มโนห์รา), โบราณเขียนเป็น กราล ก็มี. |
กรุยกราย | ในบทกลอนใช้ว่า กรายกรุย ก็มี เช่น อย่านุ่งลายกรายกรุยทำฉุยไป (สุภาษิตสุนทรภู่). |
กฤด- | (กฺริดะ-) ว. อันกระทำแล้ว (ใช้ประกอบเป็นส่วนหน้าของสมาส), ในบทกลอนแผลงเป็น กฤษฎา ก็มี. |
กฤดาญชลี | (กฺริดานชะลี) ก. ยกมือไหว้. (ส.; ป. กตญฺชลี ว่า มีกระพุ่มมืออันทำแล้ว), ในบทกลอนใช้แผลงเป็นรูปต่าง ๆ คือ กฤดาอัญชลี กฤษฎาญ. |
กฤดาธิการ | (กฺริดาทิกาน) ว. มีบารมีอันยิ่งใหญ่ที่ทำไว้. (ส.; ป. กตาธิการ), ในบทกลอนใช้เป็น กฤดา หรือ กฤดาการ ก็มี. |
กลัมพร | (กะลำพอน) น. โทษใหญ่, ความฉิบหาย, เช่น มาทำกลัมพรภัย (เสือโค), อันจ่อมกลัมพรภัย (สมุทรโฆษ), ในบทกลอนโดยมากใช้แผลงเป็น กะลำพร กระลำพร หรือ กระลำ ก็มี. |
กวี | (กะวี) น. ผู้รู้ผู้เชี่ยวชาญในศิลปะการประพันธ์บทกลอน จำแนกเป็น ๔ คือ ๑. จินตกวี แต่งโดยความนึกคิด ๒. สุตกวี แต่งโดยได้ฟังมา ๓. อรรถกวี แต่งตามความเป็นจริง ๔. ปฏิภาณกวี แต่งโดยฉับพลันทันที. |
กษิดิ, กษีดิ | (กะสิดิ, กะสีดิ) น. แผ่นดิน. (ส. กฺษิติ), ในบทกลอนใช้เป็นส่วนหน้าสมาส แปลว่า พระเจ้าแผ่นดิน เช่น กษิดินทรทายทานแล้ว. (ส. กฺษิติ + อินฺทฺร), อนนว่ากษีดิศรสุริยทงงหลาย. (ส. กฺษิติ + อีศฺวร), อนนว่าพระแพศยันดรกษิดิศวร์. (ส. กฺษิติ + อีศฺวร) (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์, วนปเวสน์). |
กัณฐัศ, กัณฐัศว์ | (กันถัด) น. ชื่อม้าตระกูลหนึ่ง, ในบทกลอนใช้เรียกม้าทั่วไป. |
กานท, กานท์ | (กานด, กาน) น. บทกลอน เช่น สารสยามภาคพร้อง กลกานท นี้ฤๅ (ยวนพ่าย). |
เกศ, เกศ- | (เกด, เกดสะ-) น. ผม, ในบทกลอนใช้หมายถึง หัว ก็มี เช่น ก้มเกศ. |
คระ ๑ | (คฺระ) คำกร่อนของคำหน้าซึ่งซ้ำกับคำหลังในคำที่มี คร- เป็นพยัญชนะต้นในบทกลอน มีคำแปลอย่างเดียวกับคำเดิมนั้น และมีความหมายในทางย้ำคำหรือเป็นพหูพจน์ เช่น คระคราง (หมายความว่า ครางคราง) คระครึ้ม (หมายความว่า ครึ้มครึ้ม) คระโครม (หมายความว่า โครมโครม). |
คะ ๑ | คำกร่อนของคำหน้าซึ่งซ้ำกับคำหลังในคำที่มี ค เป็นพยัญชนะต้นในบทกลอน เช่น ครื้นครื้น กร่อนเป็น คะครื้น โครมโครม กร่อนเป็น คะโครม มีคำแปลอย่างเดียวกับคำเดิมนั้น และมีความหมายในทางย้ำเน้นคำ. |
คุกคาม | ก. แสดงอำนาจด้วยกิริยาหรือวาจาให้หวาดกลัว, ทำให้หวาดกลัว เช่น ภัยคุกคาม, ในบทกลอนใช้ว่า คุก ก็มี เช่น ไป่ขู่ไป่คุก ไป่รุกรุมตี (สมุทรโฆษ). |
จะ ๑ | คำกร่อนของคำหน้าซึ่งซ้ำกับคำหลังในคำที่มี จ เป็นพยัญชนะต้นในบทกลอน เช่น แจ้งแจ้ง กร่อนเป็น จะแจ้ง แจ่มแจ่ม กร่อนเป็น จะแจ่ม มีคำแปลอย่างเดียวกับคำเดิมนั้น และมีความหมายในทางย้ำหรือเน้น. |
จะลุง | น. เสาตะลุง, ในบทกลอนใช้ จระลุง ก็มี. |
จันโจษ | ก. โจษจัน, พูดอึง, พูดกันเซ็งแซ่, เล่าลือกันอื้ออึง, ในบทกลอนใช้ว่า จรรโจษ ก็มี. |
จาตุกรณีย์ | น. ราชกิจ ๔ อย่าง คือ ๑. ตัดสินความเมือง ๒. บำรุงราษฎร ๓. บำรุงผลประโยชน์บ้านเมือง ๔. ป้องกันพระนคร, บางทีในบทกลอนใช้ว่า จาตุกรณย์, จาตุรราชการ ก็ว่า. |
จารึก ๒ | ก. เขียนหรือจารให้เป็นรอยลึกเป็นตัวอักษรหรือภาพเป็นต้นบนแผ่นศิลา โลหะ หรือดินเป็นต้น, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น จารึกไว้ในดวงใจ, ในบทกลอนหมายความว่า เขียนโดยทั่ว ๆ ไป ก็มี. |
ฉะ ๒ | คำกร่อนของคำหน้าซึ่งซ้ำกับคำหลังในคำที่มี ฉ เป็นพยัญชนะต้นในบทกลอน เช่น ฉาดฉาด กร่อนเป็น ฉะฉาด ฉ่ำฉ่ำ กร่อนเป็น ฉะฉ่ำ มีคำแปลอย่างเดียวกับคำเดิมนั้น และมีความหมายในทางย้ำหรือเน้นคำ. |
ชร-๓ | (ชะระ-) เป็นพยางค์หน้าของคำที่ตั้งต้นด้วยตัว ช ในบทกลอน เช่น ชริน เป็น ชรริน. |
ชระ ๒ | (ชะระ) เป็นพยางค์หน้าของคำในบทกลอน เช่น ชระงม ชระง่อน. |
ชะรอย | ว. เห็นจะ, เห็นทีจะ, ท่าจะ, บางที, ในบทกลอนใช้ว่า รอย ก็มี เช่น เจ้าจุ&npsp;ํพลภูมิศร์ รอยไพริศร้ายกำจัดจร (ม. คำหลวง วนประเวศน์). |
ดะ ๒ | ใช้นำหน้าคำที่ตั้งต้นด้วยตัว ด ในบทกลอน มีความแปลอย่างเดียวกับคำเดิมนั้น เช่น ดะดัก ดะดุ่ม. |
ดาบส | (-บด) น. ผู้บำเพ็ญตบะคือการเผากิเลส, ฤษี, ในบทกลอนใช้ว่า ดาวบส ก็มี เช่น ไปแต่งองค์ทรงไม้เท้าของดาวบส (อภัย). |
ต่าง ๒ | ส. คำใช้แทนนามหลายฝ่ายให้แยกออกเป็นส่วน ๆ เช่น คนทั้งหลายต่างก็ทำหน้าที่ของตน, ในบทกลอนใช้ว่า ตาง ก็มี. |
ทะ ๑ | คำใช้นำหน้าคำที่ขึ้นต้นด้วยตัว ท ในบทกลอน มีความแปลอย่างเดียวกับคำเดิมนั้น เช่น ทะท่าว ทะทึก. |
ท้าว ๑ | น. ผู้เป็นใหญ่, พระเจ้าแผ่นดิน, (โดยมากใช้ในบทกลอน), เช่น ท้าวยศวิมล |
ธาตรี | (ทาตฺรี) น. แผ่นดิน, โลก, ในบทกลอนใช้ว่า ธาษตรี ก็มี. |
นิมมานรดี | (นิมมานะระดี, นิมมานอระดี) น. ชื่อสวรรค์ชั้นที่ ๕ แห่งสวรรค์ ๖ ชั้น มีท้าวสุนิมมิตมารเป็นใหญ่ในชั้นนี้, ในบทกลอนใช้ว่า นิมมานรดีต ก็มี เช่น ช่อชั้นนิมมานรดีต (อิเหนา). (ป.; ส. นิรฺมาณ + รติ). (ดู ฉกามาพจร ประกอบ). |
นิสัชชาการ | น. อาการนั่ง. (ป.), ในบทกลอนใช้ว่า นิสัชชนาการ ก็มี เช่น จึงเสด็จนิสัชชนาการนั่งในร่มไม้ (ม. ร่ายยาว วนปเวสน์). |
บดี | ผัว. (ป., ส. ปติ), ในบทกลอนใช้ว่า บดิ ก็มี เพื่อเข้าบังคับลหุ. |
บท ๒, บท- ๒ | (บด, บดทะ-) น. เท้า, รอยเท้า, เช่น จตุบท, ในบทกลอนใช้ประสมกับคำอื่น ๆ หมายความว่า เท้า คือ บทบงกช บทบงสุ์ บทมาลย์ บทรัช บทเรศ บทวเรศ บทวลัญช์ บทวาร บทศรี บทามพุช, (ดูคำแปลที่คำนั้น ๆ ). |
พรหม, พรหม- | (พฺรม, พฺรมมะ-) น. ชื่อพระเป็นเจ้าผู้สร้างโลกตามศาสนาพราหมณ์, เทพในพรหมโลก จำพวกมีรูป เรียก รูปพรหม มี ๑๖ ชั้น จำพวกไม่มีรูป เรียก อรูปพรหม มี ๔ ชั้น ตามคติพระพุทธศาสนา, ในบทกลอนใช้ว่า พรหมัน พรหมา พรหมาน หรือ พรหมาร ก็มี |
พลบ | (พฺลบ) น. เวลายํ่าคํ่า, เวลาโพล้เพล้, เวลาเข้าไต้เข้าไฟ, เช่น ตะวันชิงพลบ, พลบค่ำ ก็ว่า, ในบทกลอนแผลงเป็น พระลบ ก็มี. |
มุ่ง | ก. ตั้งใจ เช่น มุ่งทำความดี, ตั้งหน้า เช่น มุ่งศึกษาหาความรู้, ในบทกลอนใช้ว่า ม่ง ก็มี. |
ยะ ๑ | คำประกอบข้างหน้าคำที่ตั้งต้นด้วย ย ในบทกลอน มีความแปลอย่างเดียวกับคำเดิมนั้น เช่น ยะยอง ยะยั่ง ยะยัด ยะย้อย ยะย้าย. |
ระหกระเหิน | ก. ไปด้วยความยากลำบาก เช่น เขาต้องระหกระเหินไปอยู่ต่างแดน, ในบทกลอนใช้ว่า ระเหินระหก. |
ระเหระหน | ก. ซัดเซไปตามบุญตามกรรม, เร่ร่อนไป, อยู่ไม่เป็นที่, อยู่ไม่เป็นที่เป็นทาง, เช่น ผู้ลี้ภัยสงครามต้องระเหระหนไปเรื่อย ๆ, ระเหเร่ร่อน ก็ว่า, ในบทกลอนใช้ว่า ระเหหน ก็มี. |
ลำ ๒ | น. เพลง, บทกลอน, เช่น ร้องส่งลำ ร้องแก้ลำ ละครพูดสลับลำ. |
ลำนำ | น. บทกลอนที่ใช้ขับร้อง ได้แก่ บทละคร สักวา เสภา บทดอกสร้อย. |
เลื่อยล้า | ว. เมื่อยล้า, เหนื่อยอ่อน, บอบชํ้า, ในบทกลอนใช้ว่า เมลื่อยมล้า ก็มี. |
วก | ก. หักเลี้ยวกลับ เช่น รถเลยที่หมายแล้ววกกลับ, ในบทกลอนใช้แผลงเป็น พก ก็มี. |