กดเหลือง | น. ชื่อปลาน้ำจืดชนิด Hemibagrus nemurus (Valenciennes) ในวงศ์ Bagridae ไม่มีเกล็ด หัวแบน หนวดยาวถึงครีบก้น ข้างลำตัวสีเหลือง ด้านหลังสีน้ำตาลดำ มีชุกชุมทั่วไป แม้ในเขตน้ำกร่อยใกล้ปากแม่น้ำ ขนาดยาวได้ถึง ๖๕ เซนติเมตร, กดขาว หรือ ชงโลง ก็เรียก. |
กะต่อม | น. ชื่อกุ้งขนาดกลางชนิด Macrobrachium equidens (Dana) ในวงศ์ Palaemonidae ก้ามมีปื้นสีเข้ม อาศัยอยู่ในย่านน้ำกร่อย และพบบ้างในน้ำจืดหรือชายทะเล, กุ้งแห ก็เรียก. |
ก้ามกราม | น. ชื่อกุ้งชนิด Macrobrachium rosenbergii (De Man) ในวงศ์ Palaemonidae ตัวโต เปลือกสีครามปนเขียว ก้ามใหญ่สีฟ้าหรือสีคราม มีหนาม ไข่ฟักเป็นตัวอ่อนในน้ำกร่อยแล้วมาอาศัยเจริญเติบโตจนเป็นตัวเต็มวัยในน้ำจืด, กุ้งก้ามคราม หรือ กุ้งหลวง ก็เรียก, เพศเมียเรียก กุ้งนาง. |
กุ้งนาง | น. กุ้งก้ามกรามเพศเมีย ลำตัวและก้ามมีขนาดเล็กกว่าเพศผู้เสมอเมื่อมีอายุเท่ากัน สีอ่อนกว่ากุ้งก้ามกรามซึ่งเป็นเพศผู้ วางไข่ติดหน้าท้อง ไข่ฟักเป็นตัวอ่อนในน้ำกร่อย แล้วมาอาศัยเจริญเติบโตจนเป็นตัวเต็มวัยในน้ำจืด. |
ข้างลาย ๑ | น. ชื่อปลาทะเลหลายชนิดในสกุล Terapon และ Pelates วงศ์ Teraponidae มีเส้นดำข้างลำตัวข้างละ ๔-๖ เส้น แล้วแต่ชนิด อาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเลและบริเวณน้ำกร่อย ขนาดยาวได้ถึง ๓๓ เซนติเมตร เช่น ชนิด T. jarbua (Forsskål), P. quadrilineatus (Bleeker), ออดแอด หรือ ครืดคราด ก็เรียก. |
จาก ๑ | น. ชื่อปาล์มชนิด Nypa fruticans Wurmb ในวงศ์ Palmae ขึ้นเป็นกออยู่ตามริมฝั่งน้ำกร่อยในป่าชายเลน ใบใช้มุงหลังคาและกรุฝา ออกดอกเป็นช่อยาว ผลรวมเป็นทะลาย กินได้ เรียกว่า ลูกจาก |
จาก ๓ | น. ชื่อปูชนิด Varuna litterata (Fabricius) ในวงศ์ Grapsidae ลำตัวแบน สีน้ำตาลอมเหลือง อาศัยอยู่ตามป่าจากในเขตน้ำกร่อยหรือน้ำเค็ม. |
จุมพรวด | น. ชื่อปลาน้ำกร่อยหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Gobiidae เช่น สกุล Boleophthalmus, Pseudapocryptes, Parapocryptes, Periophthalmus ทำรูอยู่ตามป่าชายเลน รูปร่างและพฤติกรรมในการเคลื่อนไหวคล้ายปลากระจัง ขนาดยาวได้ถึง ๓๐ เซนติเมตร ที่พบเสมอได้แก่ ชนิด B. boddarti (Pallas), กำพวด กำพุด ตีน หรือ ตุมพรวด ก็เรียก. |
นวลจันทร์ ๒ | น. ชื่อปลาทะเลหรือน้ำกร่อยชนิด Chanos chanos (Forsskål) ในวงศ์ Chanidae ลำตัวยาวเพรียว แบนข้างเล็กน้อย หัวหลิม ตาโต ครีบหลังมีครีบเดียวตั้งอยู่ในแนวกลางตัว ครีบหางเป็นแฉกลึก เกล็ดทั่วตัวมีสีเงิน ขนาดยาวได้ถึง ๑.๘ เมตร อยู่ในน้ำจืดได้, ชะลิน ดอกไม้ หรือ นวลจันทร์ทะเล ก็เรียก. |
เปี้ยว ๑ | น. ชื่อปูทะเลขนาดเล็กหลายชนิด ในสกุล Ucaวงศ์ Ocypodidae ตัวผู้มีก้ามข้างหนึ่งใหญ่เท่าหรือโตกว่าลำตัว และอีกข้างหนึ่งเล็กกว่ามาก ส่วนตัวเมียมีก้ามขนาดไล่เลี่ยกันทั้ง ๒ ข้าง อาศัยอยู่ตามชายเลนในน้ำกร่อยหรือทะเล เช่น ชนิด U. dussumieri (H. Milne Edwards), ก้ามดาบ ก็เรียก. |
ริวกิว | น. ชื่อปลาทะเลหรือน้ำกร่อย ชนิด Arius thalassinus (Rüppell) ในวงศ์ Ariidae ลำตัวกลม ยาว ท้องแบน ปลายจะงอยปากมนในปลาขนาดเล็ก และแหลมป้านในปลาขนาดโต ด้านบนของหัวและลำตัวมีสีน้ำตาลอ่อนปนแดง หรือฟ้าอมเทา ตัวผู้มีพฤติกรรมฟักไข่และดูแลตัวอ่อนโดยอมไว้ในช่องปาก พบห่างฝั่งมากกว่าปลากดชนิดอื่น ๆ ขนาดยาวได้ถึง ๑.๘๕ เมตร, กดทะเล กดโคกกะโส เลียวเซียว ลู่ทู่ กด หรือ อุก ก็เรียก.(ดู กด และ อุก). |
ไรน้ำ | น. ชื่อสัตว์น้ำขาปล้องหลายชนิดหลายวงศ์ ในอันดับ cladocera รูปร่างแตกต่างกันไป โดยทั่วไปลำตัวกลมคล้ายไข่ ขนาดยาว ๐.๔-๑.๘ มิลลิเมตร มีแผ่นเปลือกคลุมประกบซ้ายขวา ท้ายสุดของส่วนท้องเป็นหนามแหลมยื่นและแยกเป็น ๒ แฉก ปากเล็ก กินสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก พบตามแหล่งน้ำจืดทั่วไป เช่น ไรแดง [ Moina macrocopa (Straus) ] ในวงศ์ Daphnidae ไรน้ำกร่อย (Diaphanosomaspp.) ในวงศ์ Sididae, ลูกไร ก็เรียก. |
สงกรานต์ ๒ | (-กฺราน) น. สัตว์พวกหนอนทะเล มีหลายวงศ์ เช่น วงศ์ Phyllodocidae ชั้น Polychaeta ลำตัวยาวเป็นปล้อง แต่ละปล้องมีรยางค์ ๑ คู่อยู่ข้างลำตัว อาศัยอยู่ในทะเล ช่วงประมาณกลางเดือนเมษายนใกล้วันสงกรานต์จะพบอยู่ในบริเวณน้ำกร่อยหรือแม่น้ำลำคลองที่ติดต่อกับทะเลเพื่อผสมพันธุ์ จึงเรียกว่า ตัวสงกรานต์. |
เสือพ่นน้ำ | น. ชื่อปลาน้ำกร่อยทุกชนิดในสกุล Toxotesวงศ์ Toxotidae บางชนิดอยู่ได้ดีในเขตน้ำจืด ทุกชนิดมีพฤติกรรมในการว่ายเสมอผิวน้ำและล่าเหยื่อจำพวกแมลงและแมงเป็นส่วนใหญ่ที่อยู่เหนือผิวน้ำได้ถึง ๓ เมตร ด้วยการพ่นเม็ดน้ำเป็นทางให้ไปโดนเหยื่อตกลงมาเป็นอาหาร ทุกชนิดมีพื้นลำตัวและครีบสีเงินอมเหลืองแกมเขียว ที่สำคัญคือ มีแถบหรือแต้มสีดำพาดขวางอยู่ตั้งแต่หัวถึงคอดหาง ขนาดยาว ๓๐-๕๐ เซนติเมตร, เสือ ก็เรียก. |
แสม ๒ | (สะแหฺม) น. ชื่อปูน้ำกร่อยหลายชนิดในสกุล Episesarma วงศ์ Grapsidae ลักษณะกระดองเป็นรูปสี่เหลี่ยม สีคล้ำค่อนไปทางน้ำตาลดำ ระหว่างตามีลักษณะเป็นลอนคล้ายลูกฟูก อาศัยอยู่ตามป่าชายเลน เช่น ชนิด E. mederi (H. Milne Edwards) ชนิดนี้ถ้านำมาดองน้ำเกลือ เรียก ปูเค็ม. |
หนวดพราหมณ์ ๒ | (หฺนวดพฺราม) น. ชื่อปลานํ้าจืดหรือน้ำกร่อยในสกุล Polynemus วงศ์ Polynemidae ลำตัวยาว แบนข้าง หัวแหลม ปากอยู่ตํ่ามาก ตาเล็ก เกล็ดเล็กเป็นแบบเกล็ดหนาม ครีบหลังมี ๒ ตอน ครีบหางใหญ่เป็นแฉกเรียวแหลมตอนปลาย ที่สำคัญก้านครีบส่วนล่างของครีบอกแยกกันและยื่นเป็นเส้นคล้ายหนวดหลายเส้นยาวเลยครีบหาง ลำตัวด้านหลังสีเทาหรือเขียวหม่น ส่วนท้องและครีบสีเหลืองหรือส้มคลํ้า. |
หมอเทศ | น. ชื่อปลาน้ำจืดชนิด Oreochromis mossambicus (Peters) ในวงศ์ Cichlidae ลักษณะคล้ายปลานิล คือ ลำตัวป้อม แบนข้าง แนวสันหลังโค้งมากกว่าแนวสันท้อง ลำตัวและครีบมีสีเทาปนดำแต่จางลงจนเป็นสีน้ำตาลที่ด้านข้างและอมเหลืองที่ท้อง ตัวผู้มีสีเข้มกว่าและโตกว่าตัวเมียและมีพฤติกรรมในการทำรังเป็นหลุมคล้ายท้องกระทะที่พื้นท้องน้ำ ตัวเมียทำหน้าที่ฟักไข่ที่ผสมแล้วและดูแลตัวอ่อนโดยการอมไข่ไว้ในช่องปาก มีประวัติของถิ่นกำเนิดอยู่ในทะเลสาบทวีปแอฟริกา นำเข้ามาเลี้ยงเป็นอาหารจนแพร่หลาย อยู่ในน้ำกร่อยได้ ขนาดยาวได้ถึง ๓๖ เซนติเมตร. |
หัวแข็ง ๒ | น. ชื่อกุ้งชนิด Exopalaemon styliferus (H. Milne-Edwards) ในวงศ์ Palaemonidae ลำตัวใส หัวมีผิวเกลี้ยงเรียบ ปลายกรีงอนขึ้นมีสีแดง ปลายหางสีแดง อาศัยอยู่ในน้ำตื้น ส่วนใหญ่พบในทะเลหรือน้ำกร่อย บางครั้งพบในน้ำจืด. |
ไหล ๑ | น. ชื่อปลารูปร่างกลมยาวและเคลื่อนที่คล้ายงู มีหลายวงศ์ในหลายอันดับ ส่วนใหญ่ไม่มีเกล็ด มีเมือกมาก เช่น ไหลนาหรือไหลบึง [ Monopterus albus (Zuiew) ] ในวงศ์ Monopteridae ส่วนชนิดที่มักพบในน้ำกร่อย ได้แก่ชนิด Ophisternon bengalensis (M’ clelland) ในวงศ์ Synbranchidae นอกจากนี้ก็เป็นปลาไหลทะเลทุกชนิดทุกสกุล ในวงศ์ Muraenidae, Muraenesocidae, Ophichthyidae, อีสานเรียก เอียน หรือ เอี่ยน สำหรับปลาไหลนา. |