เรียงหน้ากระดาน | ก. เรียงไหล่หันหน้าไปทางเดียวกันเป็นแนวยาว เช่น จัดแถวเรียงหน้ากระดาน. |
หน้ากระฉีก | น. ของหวานทำด้วยมะพร้าวทึนทึกขูด กวนกับนํ้าตาลปึกให้เข้ากันจนเหนียว อบด้วยควันเทียนอบให้หอม ใช้เป็นไส้หรือหน้าขนม เช่น ขนมใส่ไส้มีไส้เป็นหน้ากระฉีก ข้าวเหนียวหน้ากระฉีก. |
หน้ากระดาน | ว. มีลักษณะเรียงแถวไหล่ต่อไหล่หันหน้าไปทางเดียวกัน เช่น ลูกเสือเดินแถวหน้ากระดาน. |
หน้ากระดาน | น. พื้นที่ราบด้านตั้งที่อยู่บนบัวหงายหรือใต้บัวคว่ำ. |
หน้ากระดูก | น. รูปหน้าที่มีกระดูกสันแก้มสูง. |
หมากกระเตอะ, หมากหน้ากระเตอะ | น. ผลหมากที่มีหน้าจวนแก่. |
กระฉีก | น. ของหวานทำด้วยมะพร้าวทึนทึกขูด กวนกับนํ้าตาลปึกให้เข้ากันจนเหนียว อบด้วยควันเทียนอบให้หอม ใช้เป็นไส้หรือหน้าขนม เรียกว่า หน้ากระฉีก เช่น ขนมใส่ไส้มีไส้เป็นหน้ากระฉีก ข้าวเหนียวหน้ากระฉีก. |
กระต่ายจีน | น. เครื่องมือขูดมะพร้าว ใช้ลวดตอกเป็นฟันถี่ ๆ บนหน้ากระดานสำหรับขูดมะพร้าวที่กะเทาะกะลาออกแล้ว. |
กระเตอะ | ว. จวนแก่และมียางมาก (ใช้แก่หมาก) ในคำว่า หมากกระเตอะ หรือ หมากหน้ากระเตอะ. |
กระป๋อหลอ | ว. เหลอ (ใช้แก่หน้า) เช่น ก็หยุดยั้งนั่งหน้ากระป๋อหลอ (มณีพิชัย). |
กะทิ ๑ | น. นํ้าที่คั้นออกจากมะพร้าวขูดโดยเจือนํ้าบ้างเล็กน้อย, ถ้าคั้นครั้งแรก เรียกว่า หัวกะทิ, ถ้าคั้นครั้งสุดท้าย เรียกว่า หางกะทิ, ของหวานทำด้วยนํ้าตาลกวนกับมะพร้าวคล้ายหน้ากระฉีก แต่ใช้นํ้าตาลมากกว่า เรียกว่า นํ้าตาลกะทิ, มะพร้าวห้าวที่มีนํ้าข้น เนื้ออ่อน กล้ามหนา เรียกว่า มะพร้าวกะทิ. |
การ์ตูน ๑ | น. ภาพล้อ, ภาพตลก, บางทีเขียนเป็นภาพบุคคล บางทีเขียนเป็นภาพแสดงเหตุการณ์ที่ผู้เขียนตั้งใจล้อเลียนจะให้ดูรู้สึกขบขัน, หนังสือเล่าเรื่องด้วยภาพเขียน ซึ่งแบ่งหน้ากระดาษเป็นช่อง ๆ มีคำบรรยายสั้น ๆ อ่านง่าย เนื้อเรื่องมักเป็นนิทานหรือนวนิยาย. |
ขนมโค | น. ขนมชนิดหนึ่งคล้ายขนมต้มขาว มีไส้อย่างหน้ากระฉีก ราดหัวกะทิขลุกขลิก. |
ขนมเทียนใบตองแห้ง | น. ขนมที่ใช้แป้งอย่างขนมเทียน มีไส้หน้ากระฉีก หรือไม่มีไส้ก็มี ห่อด้วยใบตองแห้งพับเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าแบน ๆ. |
ขนมสอดไส้, ขนมใส่ไส้ | น. ขนมชนิดหนึ่ง มีไส้หน้ากระฉีก ปั้นเป็นก้อนหุ้มด้วยแป้งข้าวเหนียวดำ แล้วหยอดด้วยแป้งข้าวเจ้า กะทิ และเกลือ ซึ่งกวนสุกแล้ว ห่อด้วยใบตองหรือใส่กระทงนึ่งให้สุก. |
เข้าแถว | ก. ยืนเรียงต่อกันเป็นแนว เช่น เข้าแถวหน้ากระดาน เข้าแถวตอนเรียงหนึ่ง. |
โค ๓ | น. ชื่อขนมชนิดหนึ่งคล้ายขนมต้มขาว มีไส้อย่างหน้ากระฉีก ราดหัวกะทิขลุกขลิก เรียกว่า ขนมโค. |
ฐานเขียง | น. ฐานรองชั้นล่างสำหรับรองฐานอื่น มีหน้ากระดานและลวดท้องไม้. |
ฐานเชิงบาตร | น. ฐานรูปเชิงบัวหน้ากระดาน. |
ฐานบัทม์ | น. ฐานบัวหน้ากระดานบัวควํ่าบัวหงาย. |
ดา ๒ | ก. เรียงหน้ากันเข้าไปเป็นหน้ากระดาน เช่น ดาหน้า. |
ต้ม ๒ | น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งข้าวเหนียวปั้นเป็นลูกกลม ๆ ถ้าใส่ไส้นํ้าตาลปึกตัดเป็นก้อนสี่เหลี่ยมหรือไส้หน้ากระฉีก ต้มให้สุก แล้วคลุกมะพร้าวขูด เรียกว่า ขนมต้มขาว, ถ้าต้มเคี่ยวกับนํ้าตาลปึกและมะพร้าวอย่างหน้ากระฉีก เรียกว่า ขนมต้มแดง. |
น้ำตาลกะทิ | น. ของหวานทำด้วยน้ำตาลกวนกับมะพร้าว คล้ายหน้ากระฉีก แต่ใช้น้ำตาลมากกว่า. |
ประดาทัพ | ก. ตั้งกองทัพเรียงหน้ากระดานเข้าไป. |
ยกเหลี่ยม | ก. ยกหน้ากระดานขึ้นเป็นสันคมไปทางยาว เช่น ยกเหลี่ยมอกเลาของบานประตู. |
เรียง | ก. จัดให้เป็นแถวหรือเป็นลำดับเป็นต้น เช่น จัดแถวหน้ากระดานเรียงสอง เข้าแถวเรียงตามลำดับไหล่ เรียงไข่ใส่ตะกร้า |
เรือประตู | น. เรือหลวงที่จัดเข้าร่วมในกระบวนเสด็จทางชลมารค ทำหน้าที่ถวายอารักขาและป้องกันอันตรายกระบวนเรือพระที่นั่ง จัดอยู่ตามตำแหน่งเป็นชั้น ๆ ข้างหน้ากระบวนมีเรือประตูนอกหรือเรือประตูชั้นนอกอยู่ข้างหน้าเรือคู่ชักหมู่หนึ่ง กับอยู่ต่อเรือคู่ชักเข้ามาก่อนถึงเรือดั้งอีกแถวหนึ่งเรียกว่า เรือประตูใน และยังมีอยู่ทางตอนท้ายกระบวนอีก ๒ หมู่ หมู่ต้นอยู่ต่อท้ายเรือกันเรียกว่า เรือประตูใน กับหมู่ปลายอยู่ต่อท้ายหมู่เรือพระที่นั่งกรมพระราชวังบวรฯ และเรือที่นั่งเจ้านายเรียกว่า เรือประตูนอก. |
เรือพิฆาต ๑ | น. เรือหลวงสมัยโบราณ ทำหน้าที่ลาดตระเวนนำไปข้างหน้ากระบวนเรือเสด็จพระราชดำเนินทางชลมารค และอยู่ท้ายกระบวนคอยถวายอารักขา กระบวนหนึ่งมีหลายลำ เช่น เรือมังกรจำแลง เรือมังกรแผลงฤทธิ์ เรือเหราล่องลอยสินธุ์. |
สอดไส้ | ว. เรียกขนมชนิดหนึ่ง มีไส้หน้ากระฉีก ปั้นเป็นก้อนหุ้มด้วยแป้งข้าวเหนียวดำ แล้วหยอดด้วยแป้งข้าวเจ้า กะทิ และเกลือ ซึ่งกวนสุกแล้ว ห่อด้วยใบตองหรือใส่กระทงนึ่งให้สุก ว่า ขนมสอดไส้, ขนมใส่ไส้ ก็เรียก. |
ใส่ไส้ | ก. สอดไส้ไว้ข้างใน, เรียกขนมชนิดหนึ่ง มีไส้หน้ากระฉีก ปั้นเป็นก้อนหุ้มด้วยแป้งข้าวเหนียวดำ แล้วหยอดด้วยแป้งข้าวเจ้า กะทิ และเกลือ ซึ่งกวนสุกแล้ว ห่อด้วยใบตองหรือใส่กระทงนึ่งให้สุก ว่า ขนมใส่ไส้, ขนมสอดไส้ ก็ว่า. |
หน้า | ด้านหนึ่ง ๆ ของวัตถุแบน ๆ อย่างกระดาษ เช่น หน้ากระดาษ หน้าซอง, ด้านของเครื่องตีที่ขึงด้วยหนัง เช่น หน้ากลอง, ด้านหนึ่ง ๆ ของลูกเต๋าและนํ้าเต้าซึ่งมี ๖ ด้าน |