นิพพาน | (นิบพาน) น. ความดับสนิทแห่งกิเลสและกองทุกข์. |
นิพพาน | (นิบพาน) ก. ดับกิเลสและกองทุกข์, ตาย (ใช้แก่พระอรหันต์). (ป.; ส. นิรฺวาณ), โบราณใช้ว่า นิรพาณ ก็มี. |
ปรินิพพาน | (ปะรินิบ-) น. การดับรอบ, การดับสนิท, การดับโดยไม่เหลือ |
ปรินิพพาน | เรียกอาการตายของพระพุทธเจ้าและพระอรหันต์. |
คามี | ใช้ประกอบท้ายคำอื่น แปลว่า ผู้ไป, ผู้ถึง, เช่น นิพพานคามี ว่า ผู้ถึงนิพพาน, วัฏคามี ว่า ผู้ไปในวัฏฏะ. |
ทุกขักษัย | (ทุกขักไส) น. การหมดทุกข์, พระนิพพาน. |
นิโรธ, นิโรธ- | นิพพาน. |
ปาร- | นิพพาน. |
พิโมกข์ | น. ความพ้น, ความเปลื้องออก, ชื่อพระนิพพาน. |
พุทธกาล | น. สมัยเมื่อพระพุทธเจ้ายังมีพระชนม์อยู่, พุทธสมัย ก็ใช้, (ปาก) ช่วงระยะเวลาที่เชื่อกันว่าหลังจากพระพุทธเจ้าปรินิพพานแล้ว พระพุทธศาสนาจะดำรงอยู่ ๕, ๐๐๐ ปี. |
พุทธศักราช | (-สักกะหฺราด) น. ปีนับตั้งแต่พระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานมา. |
ภวกษัย | (พะวะกะไส) น. ความสิ้นภพ, นิพพาน. |
ภวปาระ | น. ฝั่งแห่งภพ คือ นิพพาน. |
โมกข-, โมกข์ ๑ | (โมกขะ-) น. ความหลุดพ้น, นิพพาน. |
โมกษ-, โมกษะ | (โมกสะ-) น. ความหลุดพ้น, นิพพาน. |
โลกุตรธรรม | (โลกุดตะระทำ) น. ธรรมที่พ้นวิสัยของโลก มี ๙ คือ มรรค ๔ (คือ โสดาปัตติมรรค สกิทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตมรรค) ผล ๔ (คือ โสดาปัตติผล สกิทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตผล) และนิพพาน ๑. |
วันวิสาขบูชา | น. วันเพ็ญเดือน ๖ ซึ่งเป็นวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระพุทธเจ้า. |
วิมุตติ | ชื่อหนึ่งของพระนิพพาน. |
วิโมกข์ | พระนิพพาน. |
วิราคะ | พระนิพพาน. |
วิวัฏ | น. พระนิพพาน. |
วิศาขบูชา | น. วิสาขบูชา, การบูชาในวันเพ็ญเดือน ๖ ซึ่งเป็นวันประสูติ ตรัสรู้ และปรินิพพานของพระพุทธเจ้า. |
วิสาขบูชา | น. การบูชาในวันเพ็ญเดือน ๖ ซึ่งเป็นวันประสูติ ตรัสรู้และปรินิพพานของพระพุทธเจ้า, โบราณใช้ว่า วิศาขบูชา ก็มี. |
ศิว-, ศิวะ | พระนิพพาน. |
ศิวโมกข์ | น. พระนิพพาน. |
ศูนยวาท | น. ปรัชญาฝ่ายมหายานที่ถือว่า (๑) โลกเป็นศูนยะ คือ ไม่ใช่สิ่งจริงแท้ถาวร (๒) นิพพานก็เป็นศูนยะ คือ ไม่มีวาทะหรือลัทธิใด ๆ สามารถบรรยายได้ถูกต้องครบถ้วน, มาธยมิกะ ก็เรียก. |
โศลก | (สะโหฺลก) น. คำประพันธ์ในวรรณคดีสันสกฤต ๔ บาท เป็น ๑ บท ตามปรกติมีบาทละ ๘ พยางค์ เรียกว่า โศลกหนึ่ง เช่น กามโกฺรธวิยุกฺตานามฺ ยตีนำ ยตเจตสามฺ อภิโต พฺรหฺมนิรฺวาณมฺ วรฺตเต วิทิตาตฺม-นามฺ ผู้บำเพ็ญพรต พรากจากกามและโกรธ ข่มใจได้ รู้แจ้งอาตมัน ย่อมมีนิพพาน คือพรหมโดยทั่วไป (ศรีมัทภควัทคีตา), บทสรรเสริญยกย่อง |
สังเวชนียสถาน | (-นียะสะถาน) น. สถานที่ทางพระพุทธศาสนาอันเป็นที่ตั้งแห่งความสลดสังเวช มี ๔ แห่ง คือ ๑. สถานที่ที่พระพุทธเจ้าประสูติ ได้แก่ สวนลุมพินี ปัจจุบันได้แก่ รุมมินเด ในประเทศเนปาล ๒. สถานที่ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ คือ ที่ควงพระศรีมหาโพธิ ปัจจุบันได้แก่ พุทธคยา ประเทศอินเดีย ๓. สถานที่ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงปฐมเทศนา คือ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ปัจจุบันได้แก่ สารนาถ ประเทศอินเดีย ๔. สถานที่ที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน คือ ป่าสาลวัน เมืองกุสินารา ปัจจุบันได้แก่ เมืองกาเซีย ประเทศอินเดีย. |
โสดา ๒, โสดาบัน | น. “ผู้แรกถึงกระแสธรรม (พระนิพพาน)” เป็นชื่อพระอริยบุคคลชั้นต้นใน ๔ ชั้น คือ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์, บางทีก็เรียกสั้น ๆ ว่า พระโสดา. |
อนาลัย | ชื่อหนึ่งของพระนิพพาน. |
อมต-, อมตะ | (อะมะตะ-, อะมะตะ) น. พระนิพพาน. |
อมตบท | น. ทางพระนิพพาน. |
อมฤตบท | (อะมะรึดตะ-) น. ทางพระนิพพาน. |
อัศจรรย์ | (อัดสะจัน) น. ปรากฏการณ์อันเนื่องแต่บุญญาภินิหารของพระโพธิสัตว์และพระพุทธเจ้า เช่นเมื่อพระพุทธเจ้าประสูติ ตรัสรู้แสดงปฐมเทศนา ปลงอายุสังขาร และปรินิพพาน จะมีความหวั่นไหวปั่นป่วนของโลกธาตุบังเกิดขึ้น. |
อาบัน | ถึง, ลุ, เช่น โสดาบัน ว่า ถึงโสตธรรม คือ กระแสพระนิพพาน. |
อุตมัตถ์ | (อุดตะมัด) น. ผลอันยอดเยี่ยม หมายถึง พระนิพพาน. |