นารา | น. รัศมี. |
นารายณ์ | น. ชื่อหนึ่งของพระวิษณุซึ่งเป็นเทพเจ้าองค์หนึ่งของศาสนาพราหมณ์. |
นารายณ์ทรงเครื่อง | น. ชื่อกลอนกลบทแบบหนึ่ง กำหนดบังคับวรรคหนึ่ง ๘ คำ แบ่งเป็น ๔ จังหวะ จังหวะละ ๒ คำ โดยให้ ๒ จังหวะแรกใช้พยัญชนะเสียงซ้ำ ๒ ตัว และ ๒ จังหวะหลังใช้พยัญชนะเสียงอื่นซ้ำกัน ๒ ตัวในลักษณะเดียวกัน เช่น ข้าสาวข้าวศรีทรวดมีทรงมิ่ง นางแอบแนบอิงสุดถวิลแสนถวิล นมตั้งนั่งเต้าคลอเคล้าแคลคลิ้น ฬ่อหลาลาลินเลิศลินลาดลอย (ศิริวิบุลกิตติ์). |
นารายณ์ประลองศิลป์ | น. ชื่อกลอนกลบทแบบหนึ่ง กำหนดบังคับวรรคหนึ่ง ๙ คำ แบ่งเป็น ๓ จังหวะ จังหวะละ ๓ คำ แต่ละจังหวะให้ขึ้นต้นด้วยการซ้ำคำเดิม และ ๒ คำหลังให้สัมผัสเสียงพยัญชนะกันทั้ง ๓ จังหวะ ส่วน ๒ คำหลังของ ๒ จังหวะแรกให้ใช้เสียงสระเดียวกันเฉพาะแต่ละจังหวะ เช่น ระรื่นชื่นระรวยชวยระเริงฉาว จนข่าวหนาวจนเคืองเนื่องจนเขาหนี ทำซื่อดื้อทำสู้ดูทำสิ้นดี อารีชีอารอบชอบอารมณ์ชาย (ประชุมจารึกวัดพระเชตุพนฯ). |
นารายณ์หัตถ์ | น. ไม้เกาหลัง, ฉลองได หรือ สนองได ก็เรียก. |
พนาราม | น. ป่าอันรื่นรมย์. |
พนาราม | ดู พน, พน-. |
ศรนารายณ์ | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Agave sisalana Perrine ในวงศ์ Agavaceae ใบใหญ่หนาและแข็ง ปลายเป็นหนามแหลม ใบให้ใยใช้ทำสิ่งทอได้, สับปะรดเทศ ก็เรียก. |
กมเลศ | พระนารายณ์ เช่น ดุจองค์สมเด็จกมเลศอันลีลาศ ลงจากชั้นสุทธาวาสบวรวิมาน (ม. ร่ายยาว ฉกษัตริย์). |
กสานติ์ | (กะ-) ว. สงบ, ราบคาบ, เช่น ผ่องนํ้าใจกสานติ์ (เฉลิมพระเกียรติพระนารายณ์). (ก + ป. สนฺติ), กระสานติ์ ก็ใช้. |
กูรมาวตาร | (-วะตาน) น. อวตารเป็นเต่า เป็นอวตารปางที่ ๒ ของพระนารายณ์. |
เกศพ, เกศวะ | (-สบ, เกสะวะ) ว. ผู้มีผมงาม, ใช้เป็นนามของพระนารายณ์หรือพระกฤษณะซึ่งเป็นอวตารปางหนึ่งของพระนารายณ์. |
เกษียรสมุทร | น. ทะเลนํ้านม, ที่ประทับของพระนารายณ์. |
ไกพัล | (ไกพัน) น. ไกวัล, ชั้นสวรรค์, เช่น ขอพรพระบาทเจ้า ไกพัล ตรีเนตรสังหารสวรรค์ ใฝ่ให้ (เฉลิมพระเกียรติพระนารายณ์). |
ครุฑ | (คฺรุด) น. พญานกในเทพนิยาย เป็นพาหนะของพระนารายณ์, ใช้เป็นตราแผ่นดินและเครื่องหมายทางราชการ. |
จตุรภุช | (-พุด) ว. “ผู้มี ๔ แขน” คือ พระนารายณ์. |
จักร, จักร- | (จัก, จักกฺระ-) น. อาวุธในนิยาย รูปเป็นวงกลมและมีแฉก ๆ โดยรอบ เช่น พระนารายณ์ทรงจักร, สิ่งที่มีลักษณะเป็นวงกลมอย่างล้อรถ เช่น จักรที่ใช้ขว้างในการกีฬา, สิ่งที่มีรูปเป็นวงกลมมีฟันเฟืองหมุนด้วยพลังงานต่าง ๆ เช่น จักรนาฬิกา, เรียกเครื่องกลบางชนิด เช่น เครื่องจักร รถจักร, เรียกเครื่องเย็บผ้าที่ใช้เดินด้วยพลังงานหรือใช้เท้าถีบหรือใช้มือหมุน ว่า จักร หรือ จักรเย็บผ้า |
จักรปาณิ, จักรปาณี | น. ผู้มีจักรในมือ คือ พระวิษณุ หรือ พระนารายณ์. |
จักริน, จักรี | (จักกฺริน, จักกฺรี) น. ผู้มีจักร หมายถึง พระนารายณ์, ต่อมาหมายถึง พระราชา ตามคติความเชื่อของไทยที่ถือว่าเป็นพระนารายณ์อวตาร. |
จัตุรภุช | ว. จตุรภุช, “ผู้มี ๔ แขน” คือ พระนารายณ์. |
จินดามณี | ชื่อตำราแบบเรียนหนังสือไทยโบราณ เช่น จินดามณีฉบับพระโหราธิบดีแต่งในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช จินดามณีฉบับไม่ปรากฏชื่อผู้แต่ง ในรัชกาลสมเด็จพระบรมโกศ จินดามณีฉบับกรมหลวงวงษาธิราชสนิทแต่งในสมัยรัตนโกสินทร์. |
ฉลองได | น. ไม้เกาหลัง, นารายณ์หัตถ์ หรือ สนองได ก็เรียก. |
ฉ่า ๑ | เสียงนํ้าดังเช่นนั้น เช่น พรายสายชลฉ่าเพียง สินธุ์สวรรค์ (เฉลิมพระเกียรติพระนารายณ์). |
ชปโยค | (ชะปะโยก) น. มนตร์กระซิบ เช่น สมมุขบ่ายบูชา ชปโยค (เฉลิมพระเกียรติพระนารายณ์). |
ตรีมูรติ | น. ชื่อเรียกเทพเจ้าในศาสนาพราหมณ์ มี ๓ องค์ คือ พระพรหม (พระผู้สร้าง) พระวิษณุหรือพระนารายณ์ (พระผู้รักษา) และพระศิวะหรือพระอิศวร (พระผู้ทำลาย). |
ตรีปวาย | (ตฺรีปะ-) น. พิธีพราหมณ์กระทำรับพระนารายณ์ ที่เรียกเป็นสามัญว่า พิธีแห่พระนารายณ์ ซึ่งกระทำในวันแรมคํ่า ๑ ถึงแรม ๕ คํ่า เดือนยี่. |
ทรง | ถ้าประกอบหน้านามที่เป็นพาหนะหรืออาวุธเป็นต้นของพระเป็นเจ้า หมายถึง พระเป็นเจ้านั้น ๆ เช่น พระทรงโค หมายถึง พระอิศวร พระทรงครุฑ พระทรงศร พระทรงสังข์ หมายถึง พระนารายณ์ พระทรงหงส์ หมายถึง พระพรหม |
ธงครุฑพ่าห์ | (-คฺรุดพ่า) น. ชื่อธงมีลักษณะเป็นธงสามชาย ๓ ผืน ผืนธงทำด้วยผ้าปักไหมทองเป็นลวดลายเครือกระหนก สอดร่วมอยู่ในคันธงเดียวกันซึ่งเป็นเหล็กและทำเป็นกิ่งแยกจากคันกลางทางด้านซ้ายและด้านขวา ปลายคันธงเป็นรูปใบหอก ที่โคนคันธงตรงส่วนสวมต่อกับคันธงท่อนล่างติดรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ เรียกเต็มว่า ธงพระครุฑพ่าห์ หรือ ธงชัยพระครุฑพ่าห์ หรือ ธงชัยพระครุฑพ่าห์ใหญ่ เข้าคู่กับธงกระบี่ธุช โดยธงครุฑพ่าห์อยู่ทางด้านขวา และธงกระบี่ธุชอยู่ทางด้านซ้าย. |
ธงพระครุฑพ่าห์, ธงชัยพระครุฑพ่าห์, ธงชัยพระครุฑพ่าห์ใหญ่ | (-คฺรุดพ่า) น. ชื่อธงมีลักษณะเป็นธงสามชาย ๓ ผืน ผืนธงทำด้วยผ้าปักไหมทองเป็นลวดลายเครือกระหนก สอดร่วมอยู่ในคันธงเดียวกันซึ่งเป็นเหล็กและทำเป็นกิ่งแยกจากคันกลางทางด้านซ้ายและด้านขวา ปลายคันธงทำเป็นรูปใบหอก ที่โคนคันธงตรงส่วนสวมต่อกับคันธงท่อนล่างติดรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ เข้าคู่กับธงกระบี่ธุช โดยธงพระครุฑพ่าห์อยู่ทางด้านขวา และธงกระบี่ธุชอยู่ทางด้านซ้าย. |
ธราธร, ธราธาร | น. ผู้ทรงไว้ซึ่งแผ่นดิน คือ พระวิษณุ หรือ พระนารายณ์. |
นรสิงห์ | (นอระ-) น. คนที่เก่งกล้าดุจราชสีห์, อวตารปางหนึ่งของพระนารายณ์ มีหน้าเป็นสิงห์ตัวเป็นมนุษย์. |
บรรพชา | (บันพะ-, บับพะ) ก. บวช เช่น พระพุทธเจ้าเสด็จออกบรรพชา วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามจัดบรรพชาสามเณรภาคฤดูร้อน. |
เบิกหน้าพระ | ก. ทำพิธีบูชาเทพยดา ได้แก่ พระอิศวร พระนารายณ์ พระครูฤๅษีก่อนแสดงหนังใหญ่. |
แบ่งภาค | ก. แยกส่วนของร่างเดิมออกเป็นอีกร่างหนึ่งหรือหลายร่างโดยเอกเทศ เช่น พระนารายณ์แบ่งภาคมาเกิด, โดยปริยายเป็นคำเปรียบเทียบหมายถึงอาการคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ใครจะแบ่งภาคไปทำได้. |
ปาง ๑ | น. ครั้ง, คราว, เมื่อ, เช่น ปางก่อน ปางหลัง, ยุค, สมัย, เช่น นารายณ์ ๑๐ ปาง |
ผสาย | (ผะ-) ก. กระจาย, เรียงราย, เช่น ตรีมุขสิงหาสน์แก้ว กรองผสาย (เฉลิมพระเกียรติพระนารายณ์). |
พระ | ใช้ประกอบหน้าคำอื่นแสดงความยกย่อง ๑. เทพเจ้าหรือเทวดาผู้เป็นใหญ่ เช่น พระอิศวร พระนารายณ์ พระพิรุณ ๒. พระเจ้าแผ่นดินหรือของที่เกี่ยวข้องกับพระเจ้าแผ่นดินและเจ้านายชั้นสูง เช่น พระมหากษัตริย์ พระราชวงศ์ ๓. สมณศักดิ์ชั้นราชาคณะ เช่น พระราชเวที พระเทพเมธี ๔. ภิกษุ เช่น พระสมศักดิ์ ๕. สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น พระภูมิ |
มหิธร | ชื่อหนึ่งของพระนารายณ์ |
เมฆฉาย | (เมก-) น. เงาเมฆ, เมฆที่ปรากฏให้เห็นเป็นรูปต่าง ๆ เนื่องจากการยกเมฆ เป็นนิมิตให้สามารถพยากรณ์ได้ว่าร้ายหรือดี เช่น ภาวนาเขม้นเห็นเมฆฉาย นิมิตเป็นรูปนารายณ์เรืองศรี (ขุนช้างขุนแผน) |
ไม้เกาหลัง | น. ไม้ด้ามยาว ปลายด้านหนึ่งมักทำเป็นรูปมือ สำหรับใช้เกาหลัง, ราชาศัพท์ ใช้ว่า ฉลองได สนองได หรือ นารายณ์หัตถ์. |
ยกเมฆ | ก. เพ่งดูเมฆเมื่อเห็นเป็นรูปอะไรแล้ว ก็ถือเป็นนิมิตเพื่อทำนายว่าดีหรือร้าย เช่นในเวลาจะยกทัพ ถ้าเห็นเมฆเป็นรูปพระนารายณ์ ก็ถือว่าเป็นนิมิตที่ดี ควรยกทัพได้ เช่น ตรงเข้าไปในป่าแล้วปลุกตัว เป่าทั่วด้วยคาถาประกาศิต ขยับยืนยกเมฆดูนิมิต เห็นรูปนารายณ์เรืองฤทธิ์ติดอัมพร (ขุนช้างขุนแผน), ถ้าเห็นเมฆเป็นรูปคนหัวขาดหรือแขนขาดขาขาด เป็นนิมิตไม่ดี ไม่ควรยกทัพ แม้ผู้ทรงวิทยาคุณอาจบริกรรมต่อหัวหรือแขนขาให้สมบูรณ์ได้ ถึงกระนั้นก็ไม่ถือว่าเป็นนิมิตที่ดี ไม่ควรยกทัพ เช่น กอดอกยกเมฆดูนิมิต ก็วิปริตเป็นรูปคนหัวหาย จะยกต่อคอแขนไม่ติดกาย เถนสำคัญมั่นหมายไม่คืนมา (ขุนช้างขุนแผน) |
ยุคทอง | น. ช่วงเวลาที่เจริญรุ่งเรือง เช่น สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชเป็นยุคทองแห่งวรรณคดีไทยยุคหนึ่ง. |
ราชวรวิหาร | (ราดชะวอระวิหาน) น. เรียกพระอารามหลวงชั้นเอกชนิดหนึ่ง ซึ่งมีฐานะตํ่ากว่าชนิดราชวรมหาวิหาร ว่า ชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร เช่น วัดเบญจมบพิตร วัดราชประดิษฐ์, เรียกพระอารามหลวงชั้นโทชนิดหนึ่ง ซึ่งมีฐานะตํ่ากว่าชนิดราชวรมหาวิหาร ว่า ชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร เช่น วัดเทพศิรินทร์ วัดราชสิทธาราม, เรียกพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดสูงสุด ว่า ชั้นตรี ชนิดราชวรวิหาร เช่น วัดปทุมวนาราม วัดรัชฎาธิษฐาน. |
ลักษมี | ชื่อเจ้าแม่แห่งลาภและความงาม เป็นชายาพระนารายณ์. |
วามนาวตาร | (วามะนาวะ-) น. อวตารปางที่ ๕ ของพระนารายณ์. |
วาสุเทพ ๑ | น. ชื่อพระนารายณ์ปางพระกฤษณะ. |
วิษณุ | (วิดสะนุ) น. พระนารายณ์. |
วิษณุมนตร์ | น. มนตร์สรรเสริญพระนารายณ์, วิษณุเวท ก็ว่า. |
วิษณุโลก | น. สวรรค์ของพระนารายณ์ผู้เป็นเจ้า. |
วิษณุเวท | น. มนตร์สรรเสริญพระนารายณ์, วิษณุมนตร์ ก็ว่า. |