ทบท่าว | ก. ทรุดลง, ล้มลง, เช่น เอนพระองค์ลงทบ ท่าวดิ้น (ตะเลงพ่าย). |
ทะท่าว | ก. ล้ม, ทบ, ซํ้า, ยอบ, เติม. |
ทะท้าว | ว. อาการที่ตัวสั่นเทา ๆ. |
ท่าว ๑, ทะท่าว | ก. ล้ม, ทบ, ยอบลง, เช่น ก็กรลับกรลอกแทง ทีเดียวก็ท่าวล้มในกลางแปลง (อนิรุทธ์), ซ้ำ เช่น ก้มเกล้าท่าวทวน ทำนูญบำบวงสรวลเสร (อนิรุทธ์) |
ท่าว ๑, ทะท่าว | เดิน |
ท่าว ๑, ทะท่าว | ทอดทิ้ง. |
ท่าวกำลัง | ก. เดินพล. |
ท่าวทบระนับ | ก. ล้มหกคะเมนทับกัน. |
ท่าว ๒ | ว. เท่า, ราวกับ, เช่น กูเปนใหญ่บังคับ ให้เขาจับทำโพย โดยพลการเขาหลาย ผิดเชิงนายกับบ่าว ท่าวจักทอดธุระ กะว่าฝันเป็นแน่ (นิทราชาคริต). |
ท้าว ๑ | น. ผู้เป็นใหญ่, พระเจ้าแผ่นดิน, (โดยมากใช้ในบทกลอน), เช่น ท้าวยศวิมล |
ท้าว ๑ | ตำแหน่งหญิงอาวุโส ซึ่งเป็นเจ้าจอม เจ้าจอมมารดาในรัชกาลก่อนหรือหญิงราชนิกุล ซึ่งพระเจ้าแผ่นดินโปรดเกล้าฯ ตั้งไว้ในตำแหน่งสำหรับดูแลราชกิจฝ่ายในพระราชวัง เช่น ท้าวทรงกันดาล ท้าวสมศักดิ์, (ปาก) คุณท้าว นางท้าว |
ท้าว ๑ | คำประกอบชื่อผู้ชายที่เป็นเชื้อสายเจ้าหรือขุนนาง. |
ท้าวนาง | น. หญิงซึ่งรับบรรดาศักดิ์และมีหน้าที่รับราชการฝ่ายในในพระบรมมหาราชวัง |
ท้าวนาง | นางพญา. |
ท้าวพญา, ท้าวพระยา | น. กษัตริย์. |
ท้าว ๒ | ว. อาการสั่นรัว ๆ เช่น ความกลัวตัวสั่นอยู่ท้าวท้าว (สังข์ทอง). |
นางท้าว | น. ตำแหน่งหญิงอาวุโส ซึ่งเป็นเจ้าจอม เจ้าจอมมารดาในรัชกาลก่อน หรือหญิงราชนิกุล ซึ่งพระมหากษัตริย์โปรดเกล้าฯ ตั้งไว้ในตำแหน่งสำหรับดูแลราชกิจฝ่ายในพระราชวัง |
นางท้าว | นางพญา. |
กรรเชียง | (กัน-) น. เครื่องพุ้ยนํ้าให้เรือเคลื่อนไป รูปคล้ายแจวแต่ไม่มีหมวกแจว พาดกับหูกรรเชียงบนหลักที่อยู่ข้างแคมเรือข้างละอันคู่กัน ใช้เหนี่ยวด้ามให้พุ้ยน้ำ, ใช้ว่า กระเชียง ก็มี, ท่าว่ายน้ำโดยนอนหงายแล้วใช้แขนทั้ง ๒ พุ้ยน้ำให้ตัวเลื่อนไป, ตีกรรเชียง ก็ว่า. ก. กิริยาที่นั่งหันหน้าไปทางท้ายเรือแล้วใช้มือเหนี่ยวกรรเชียงพุ้ยน้ำให้เรือเคลื่อนไป, ตีกรรเชียง ก็ว่า. |
กระพอก ๒ | ก. พรอก, พูด, เช่น ฟังเสียงกากระพอก บอกข่าวท้าวเสด็จดล (ลอ). |
กรีฑารมย์ | ว. เป็นที่ยินดีในกรีฑา เช่น สองท้าวเสมอกัน และควรที่กรีฑารมย์ (สมุทรโฆษ). |
กรุงพาลี | (กฺรุง-) น. ภาชนะทำด้วยกาบกล้วย เป็นรูปกระบะสี่เหลี่ยม สำหรับวางเครื่องเซ่นสังเวย เรียกว่า บัตรกรุงพาลี หรือ บัตรพระภูมิ, เรียกสั้น ๆ ว่า บัตรพลี. (มาจากชื่อท้าวพลี). |
กวาน, กว่าน | (กฺวาน, กฺว่าน) น. ขุนนาง เช่น แล้วบัญชาสั่งเสียพวกเพี้ยกวาน ให้ไปเชิญสองท่านแม่ทัพใหญ่ (ขุนช้างขุนแผน), เพลี้ยกว่านบ้านท้าวไข้ ข่าวสยวน (ยวนพ่าย). |
กันดาล | (-ดาน) น. กลาง, ท่ามกลาง, เช่น ในกันดาลท้าวทงงหลายผู้ก่อนน้นน (ม. คำหลวง ทศพร). |
ก๋า ๑ | ว. อาการที่ทำท่าว่าเก่ง เช่น ยืนก๋า เต้นก๋า. |
ก้าง ๓ | ก. กั้ง, กั้น, ขวาง, เช่น สองท้าวยินสองสายใจ จักก้างกลใด บดีบันโดยดังถวิล (สรรพสิทธิ์). |
กำไล | น. ชื่อเครื่องประดับลักษณะเป็นวง สำหรับสวมข้อมือหรือข้อเท้า ทำด้วยเงินหรือทองเป็นต้น, ราชาศัพท์เรียกกำไลมือ ว่า ทองกร หรือ ทองข้อพระกร กำไลเท้าว่า ทองข้อพระบาท หรือ ทองพระบาท. |
กุเวร | (-เวน) น. ชื่อท้าวจาตุมหาราชองค์หนึ่ง ประจำทิศอุดร, ท้าวเวสวัณ หรือ ท้าวเวสสุวัณ ก็เรียก. |
โกษีย์ | น. โกสีย์ เช่น สมเด็จท้าวโกษีย์ (ม. คำหลวง หิมพานต์). |
ขยับ | (ขะหฺยับ) ก. เคลื่อนไหวหรือทำท่าว่าจะทำอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ขยับปากจะพูด ขยับปีกจะบิน ขยับดาบจะฟัน |
ขายหู | ก. ไม่ฟัง, ฟังแล้วละอาย ไม่อยากฟัง เช่น ดอกขายหูขายตา ดอกบนำพารู้ ขจรข่าวถึงท้าวผู้ พ่อไท้ทั้งสอง (ลอ). |
ขิ่ง | ก. พยายามทำสิ่งที่ยากอันตนจะต้องทำให้เสร็จ เช่น ท้าวธผู้ข้อนขิ่งทำทาน (ม. คำหลวง ชูชก). |
ขี้แต้ | น. ดินที่แห้งแข็งเป็นตะปุ่มตะป่ำอยู่ตามทุ่งนา มักอูดขึ้นมาจากรอยกีบเท้าวัวเท้าควาย เรียกว่า หัวขี้แต้. |
คนธรรพ-, คนธรรพ์ | (คนทันพะ-, คนทับพะ-, คนทัน) น. ชาวสวรรค์พวกหนึ่ง เป็นบริวารท้าวธตรฐ มีความชำนาญในวิชาดนตรีและขับร้อง. |
เงื้อง่าราคาแพง | ก. จะทำอะไรก็ไม่กล้าตัดสินใจทำลงไป ดีแต่ทำท่าหรือวางท่าว่าจะทำเท่านั้น. |
เงือก ๑ | น. งู เช่น ท้าวเสด็จเหนือวัวเผือก เอาเงือกเกี้ยวข้าง (แช่งนํ้า). |
จตุโลกบาล | (-โลกกะบาน) น. ท้าวจาตุมหาราช, หัวหน้าเทวดาในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราช มีหน้าที่รักษาโลกในทิศทั้ง ๔ เรียกว่า ท้าวจตุโลกบาล คือ ๑. ท้าวธตรฐ จอมภูตหรือจอมคนธรรพ์ รักษาโลกด้านทิศบูรพาหรือทิศตะวันออก ๒. ท้าววิรุฬหก จอมเทวดาหรือจอมกุมภัณฑ์ รักษาโลกด้านทิศทักษิณหรือทิศใต้ ๓. ท้าววิรูปักษ์ จอมนาค รักษาโลกด้านทิศประจิมหรือทิศตะวันตก ๔. ท้าวกุเวร จอมยักษ์ รักษาโลกด้านทิศอุดรหรือทิศเหนือ, จัตุโลกบาล ก็ว่า. |
จรล่ำ, จรหล่ำ | (จอระหฺล่ำ) ก. เที่ยวไปนาน, ไปช้า, เช่น ในเมื่อชีชูชกเถ้ามหลกอการ ไปแวนนานจรล่ำแล (ม. คำหลวง ชูชก), เท่าว่าทางไกลจรล่ำ วันนี้ค่ำสองนางเมือ (ลอ), คิดใดคืนมาค่ำ อยู่จรหล่ำต่อกลางคืน (ม. คำหลวง มัทรี). |
จัตุโลกบาล | (จัดตุโลกกะบาน) น. ท้าวจาตุมหาราช, หัวหน้าเทวดาในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราช มีหน้าที่รักษาโลกในทิศทั้ง ๔ เรียกว่า ท้าวจัตุโลกบาล คือ ๑. ท้าวธตรฐ จอมภูตหรือจอมคนธรรพ์ รักษาโลกด้านทิศบูรพาหรือทิศตะวันออก ๒. ท้าววิรุฬหก จอมเทวดาหรือจอมกุมภัณฑ์ รักษาโลกด้านทิศทักษิณหรือทิศใต้ ๓. ท้าววิรูปักษ์ จอมนาค รักษาโลกด้านทิศประจิมหรือทิศตะวันตก ๔. ท้าวกุเวร จอมยักษ์ รักษาโลกด้านทิศอุดรหรือทิศเหนือ, จตุโลกบาล ก็ว่า. |
จาตุมหาราช | น. ชื่อสวรรค์ชั้นแรกแห่งสวรรค์ ๖ ชั้น มีท้าวจาตุมหาราชทั้ง ๔ ผู้รักษาโลกในทิศทั้ง ๔ ร่วมกันปกครอง, จาตุมหาราชิก หรือ จาตุมหาราชิกา ก็ว่า (ดู ฉกามาพจร ประกอบ) |
จาตุมหาราช | เรียกหัวหน้าเทวดาผู้มีหน้าที่รักษาโลกในทิศทั้ง ๔ ว่า ท้าวจาตุมหาราช คือ ๑. ท้าวธตรฐ จอมภูตหรือจอมคนธรรพ์ รักษาโลกด้านทิศบูรพาหรือทิศตะวันออก ๒. ท้าววิรุฬหก จอมเทวดาหรือจอมกุมภัณฑ์ รักษาโลกด้านทิศทักษิณหรือทิศใต้ ๓. ท้าววิรูปักษ์ จอมนาค รักษาโลกด้านทิศประจิมหรือทิศตะวันตก ๔. ท้าวกุเวร จอมยักษ์ รักษาโลกด้านทิศอุดรหรือทิศเหนือ, จตุโลกบาล หรือ จัตุโลกบาล ก็ว่า. |
จาตุมหาราชิก, จาตุมหาราชิกา | น. ชื่อสวรรค์ชั้นแรกแห่งสวรรค์ ๖ ชั้น มีท้าวจาตุมหาราชทั้ง ๔ ผู้รักษาโลกในทิศทั้ง ๔ ร่วมกันปกครอง, จาตุมหาราช ก็ว่า. (ป., ส.). (ดู ฉกามาพจร ประกอบ). |
จำแล่น | ก. ให้แล่น เช่น ตีด้วยเชือกเขาแขง ไม้ท้าวแทงจำแล่นแล (ม. คำหลวง มหาราช). |
ฉาทนะ | (ฉาทะนะ) น. เครื่องปิดคลุม, เครื่องกำบัง, หนัง, การซ่อน, การบัง, เช่น ท้าวก็แรงสุกลพัสตรฉาทน อนนขาวตระดาษดุจสังข์ โสดแล (ม. คำหลวง นครกัณฑ์). |
ช่วงเมือง | น. เมืองเล็กที่ขึ้นแก่เมืองหลวง เช่น ณกรุงพระมหานครศุโขไทยราชธานีบูรีรมย์สถาน เปนปิ่นอาณาประชาราษฎรชาวชนบทนิคมคามสยามประเทศทั้งมวน มีเมืองขึ้น ออก เอก โท ตรี จัตวา ช่วงเมือง กิ่งเมือง แผ่ผ้านพระราชอาชญาอาณาเขตร (ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์). |
ชะแม่ | น. สตรีชาววังฝ่ายใน เช่น ยังจะประพฤติตนให้นางท้าวชาวชะแม่พระสนมกำนัล สิ้นทั้งพระราชฐานรักใคร่ตัวได้แลฤา, บรรดาหมู่ชะแม่นางในทั้งหลาย (ตำรับท้าวศรีจุฬาลักษณ์) อนึ่ง ผู้เปนจ่าเปนโขลนท่านแต่งให้เรียกหาชะแม่ พระสนม ค่ำเช้าเข้าใต้เพลิง (กฎมนเทียรบาล). |
ชี ๑ | น. นักบวช เช่น ท้าวธคือไกรษรงามสง่า เสด็จเข้าป่าเปนชี (ม. คำหลวง วนประเวศน์) |
ชื่นมื่น | ก. ชื่นบาน เช่น ท้าวสามนต์ฟังถ้อยค่อยชื่นมื่น (สังข์ทอง). |
ชื่อว่า | สัน. แม้ว่า, เรียกว่า, นับว่า, เช่น ชื่อว่าเรือนมึงงามดังเรือนท้าว (ม. คำหลวง ชูชก). |
ชุบตัว | ก. เอาตัวจุ่มลงไปในของเหลวเพื่อให้ติดสิ่งนั้นอย่างพระสังข์ชุบตัวให้เป็นทอง, เอาตัวเข้าไปในกองไฟเพื่อเปลี่ยนรูปอย่างท้าวสันนุราชชุบตัวในกองไฟเพื่อให้กลับเป็นหนุ่มใหม่ |