ท้ายทอย | น. ส่วนสุดของกะโหลกศีรษะด้านหลัง, กำด้น. |
กระสา ๑ | ชื่อนกยางขนาดใหญ่ ในวงศ์ Ardeidae ปากยาว ปลายแหลม ฤดูผสมพันธุ์เพศผู้มีขนยาวบริเวณท้ายทอย ๒ เส้น คอยาว เวลาบินคอโค้งงอ ขายาว เล็บของนิ้วกลางที่หันไปข้างหน้าหยักคล้ายซี่หวี ทำรังด้วยกิ่งไม้บนยอดไม้สูงปานกลาง กินปลาและสัตว์น้ำ ในประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ กระสานวล (<i> Ardea</i><i> cinerea</i> Linn.) กระสาแดง (<i> A. purpurea</i> Linn.) และกระสาใหญ่ (<i> A. sumatrana</i> Raffles). |
กำด้น | น. ท้ายทอย, ส่วนที่คอกับศีรษะต่อกัน, เช่น เหมือนกดคอยอกำด้นลูกสาวศรี (มณีพิชัย). |
กินปลี | น. ชื่อนกขนาดเล็กหลายชนิด วงศ์ย่อย Nectariniidae ในวงศ์ Nectariniidae ขนคลุมลำตัวสีเหลือบเป็นมัน ตัวผู้สีเข้มกว่าตัวเมีย ซึ่งส่วนใหญ่มีสีน้ำตาลอมเขียว ปากยาวเรียวโค้งลงเหมาะสำหรับดูดน้ำต้อยจากปลีกล้วย ดอกไม้ และจับแมลงกิน เช่น กินปลีอกเหลือง [ <i> Nectarinia jugularis</i> (Linn.) ] กินปลีหางยาวเขียว [ <i> Aethopyga nipalensis</i> (Hodgson) ] กินปลีท้ายทอยสีน้ำเงิน [ <i> Hypogramma hypogrammicum</i>Müller ]. |
ขมิ้น ๒ | (ขะมิ่น) น. ชื่อนกขนาดกลางในวงศ์ Oriolidae ตัวขนาดไล่เลี่ยกับนกเอี้ยง มีหลายสี เช่น เหลือง แดง ขาว ตัวผู้และตัวเมียมีสีแตกต่างกัน ตัวเมียสีหม่นไม่สวยงาม ทำรังเป็นรูปถ้วยตามง่ามไม้สูง ๆ กินผลไม้และแมลง ในประเทศไทยมีหลายชนิด เช่น ขมิ้นท้ายทอยดำหรือขมิ้นเหลืองอ่อน (<i> Oriolus chinensis</i> Linn<i> </i>.) ขมิ้นแดง [ <i> O. traillii</i> (Vigors) ] ขมิ้นขาว (<i> O. mellianus</i>Stresemann)<i> </i>. |
ขุนทอง | น. ชื่อนกขนาดกลางชนิด <i> Gracula religiosa</i> Linn. ในวงศ์ Sturnidae ปากสีส้ม ที่ท้ายทอยและหางตาทั้ง ๒ ข้างมีแผ่นเนื้อสีเหลือง ขนลำตัวสีดำเลื่อมเป็นมัน ที่ปีกมีขนสีขาวแซม ตีนสีเหลืองจัด ร้องเลียนเสียงคนหรือเสียงอื่น ๆ บางอย่างได้ ในประเทศไทยมี ๒ ชนิดย่อย คือ ขุนทองเหนือ (<i> G. r. intermedia</i>Hay) แผ่นเนื้อต่อเนื่องกัน และขุนทองใต้หรือขุนทองควาย (<i> G. r. religiosa</i> Linn.) ซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าชนิดย่อยแรก และแผ่นเนื้อไม่ต่อเนื่องกัน, พายัพเรียก เอี้ยงคำ. |
แขวก | (แขฺวก) น. ชื่อนกยางขนาดกลางชนิด <i> Nycticorax nycticorax</i> (Linn.) ในวงศ์ Ardeidae หัวค่อนข้างโต คอสั้น ท้ายทอยมีขนหงอนคล้ายผมเปีย ๒-๓ เส้น ขนลำตัวด้านบนสีเขียวอมเทา ขนลำตัวด้านล่างสีขาว ขาสั้นกว่านกยางชนิดอื่น อยู่เป็นฝูง หากินในเวลากลางคืน กินปลาและสัตว์ขนาดเล็ก. |
คอต่อ | น. ส่วนคอที่ต่อกับท้ายทอย, ต้นคอที่ต่อจากท้ายทอย. |
ดุก | น. ชื่อปลานํ้าจืดทุกชนิดในสกุล<i> Clarias</i> วงศ์ Clariidae ไม่มีเกล็ด มีเงี่ยงเฉพาะที่ครีบอก ส่วนใหญ่ครีบหลังและครีบก้นยาวแต่ไม่ติดต่อกับครีบหาง เช่น ดุกอุย (<i> C. macrocephalus</i> Günther) ซึ่งมีขอบปลายกระดูกท้ายทอยมน กลม ดุกด้าน [ <i> C. batrachus</i> (Linn.) ] ซึ่งมีขอบปลายกระดูกท้ายทอยแหลม ดุกลำพัน [ <i> C. nieuhofi</i> (Valenciennes) ] ซึ่งมีครีบหลังและครีบก้นยาวต่อเนื่องกับครีบหาง. |
ทูกัง | น. ชื่อปลากดทะเลชนิด <i> Arius</i> <i> leiotetocephalus</i> Bleeker ในวงศ์ Ariidae ไม่มีเกล็ด มีหนวด ส่วนหน้าของครีบหลังและครีบอกมีก้านครีบเป็นเงี่ยง จัดอยู่ในพวกปลากดขนาดใหญ่ แต่แตกต่างจากปลาชนิดอื่นในสกุลเดียวกัน โดยมีกระดูกบริเวณท้ายทอยเป็นแผ่นกลมรีใหญ่กว่าชนิดอื่น ๆ อาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเลหรือนํ้ากร่อยโดยเฉพาะบริเวณปากแม่นํ้า, ทุกัง ก็เรียก. |
เปีย ๑ | น. ผมที่ไว้ยาวบริเวณท้ายทอย, ผมที่ถักห้อยยาวลงมา, ผมเปีย หรือ หางเปีย ก็เรียก, เรียกลายที่ถักตอก ๓ ขาไขว้กัน ว่า ลายเปีย หรือ ลายผมเปีย |
เปีย ๒ | ชื่อเป็ดขนาดกลาง ในวงศ์ Anatidae มี ๒ ชนิด คือ เป็ดเปีย [ <i> Aythya fuligula</i> (Linn.) ] ตัวผู้สีเทาดำ ท้องสีขาว ตัวเมียสีน้ำตาลเข้ม ท้องสีน้ำตาล และเป็ดเปียหน้าเขียว (<i> Anas falcata</i>Georgi) ตัวผู้มีหลายสี หน้าสีเขียว ตัวเมียสีออกน้ำตาล หน้าสีเขียว, ทั้งนกยางเปียและเป็ดเปียมีขนยาวออกจากท้ายทอย ๒-๓ เส้นหรือมากกว่า ลักษณะคล้ายผมเปียของคน เฉพาะนกยางเปียมีขนยาวดังกล่าวเฉพาะช่วงฤดูผสมพันธุ์. |
ผมเปีย | น. ผมที่ไว้ยาวบริเวณท้ายทอย, ผมที่ถักห้อยยาวลงมา, เปีย หรือ หางเปีย ก็เรียก. |
มวย ๒ | น. ผมที่มุ่นขมวดให้เป็นกลุ่มเป็นกระจุกไว้ตรงท้ายทอยเป็นต้น เรียกว่า ผมมวย. |
รัดช้อง | น. เครื่องประดับสำหรับรัดชายผมที่ปล่อยยาวลงทางท้ายทอย ใช้ประกอบกับรัดเกล้า. |
รุ้ง ๒ | น. ชื่อเหยี่ยวขนาดใหญ่ชนิด <i>Spilornis cheela</i> (Latham) ในวงศ์ Accipitridae มีลายจุดขาวที่หัว ปีก และท้อง มีหงอนขนบริเวณท้ายทอยซึ่งจะแผ่ออกเห็นได้ชัดเจนขณะโกรธ ตกใจ หรือต่อสู้กัน ตัวสีน้ำตาลเข้ม หางสีน้ำตาลพาดขาว ทำรังแบบง่าย ๆ ด้วยกิ่งไม้บนต้นไม้สูง กินสัตว์ขนาดเล็ก โดยเฉพาะงู, อีรุ้ง ก็เรียก. |
ลูกผม | น. ผมอ่อนที่อยู่ตามตีนผมตรงหน้าผากและท้ายทอย. |
เลีย | เรียกผมตอนเหนือท้ายทอยของเด็กอ่อนที่นอนพลิกตะแคงตัวยังไม่ได้ มีลักษณะแหว่งเป็นแถบยาวตามขวาง คล้ายมีอะไรมากัดแทะไป ว่า ถูกผ้าอ้อมเลีย หรือ ผ้าอ้อมกัด |
สีชมพูสวน | น. ชื่อนกขนาดเล็กมากชนิด <i>Dicaeum</i><i>cruentatum</i> (Linn.) ในวงศ์ Dicaeidae ปากสั้น หางสั้น ตัวผู้มีสีขาวที่ด้านล่างลำตัว มีแถบสีแดงเด่นตั้งแต่กระหม่อมไปยังท้ายทอยถึงกลางหลังและโคนขนหาง ตัวเมียสีน้ำตาลอมเทา มีแถบสีแดงที่ตะโพกและโคนขนหาง ทำรังเป็นรูปถ้วยด้วยดอกหญ้าและใยแมงมุมบนกิ่งไม้ กินน้ำต้อยและแมลง. |
หางจิ้งเหลน | (-เหฺลน) น. ผมของเด็กที่เอาไว้ที่ท้ายทอยเล็กกว่าผมเปีย. |
หางเต่า | น. ปอยผมในร่องเล็กที่ท้ายทอย มีรูปแหลม, หีเต่า ก็เรียก. |
หางเปีย | น. ผมที่ไว้ยาวบริเวณท้ายทอย, ผมที่ถักห้อยยาวลงมา, เปีย หรือ ผมเปีย ก็เรียก. |
หางหนู | น. หางเปียขนาดเล็กและสั้นที่บริเวณท้ายทอยโดยโกนผมที่เหลือออกทั้งหมด |
หีเต่า | น. ปอยผมในร่องเล็กที่ท้ายทอย มีรูปแหลม, หางเต่า ก็เรียก. |