กระโจม ๑ | น. สิ่งที่ตามปรกติมียอดเป็นลอมอย่างซุ้ม ใช้เป็นเครื่องกำบังแดดลมเป็นต้น, โจม ก็ว่า, โดยปริยายหมายถึง สิ่งที่รวมกันเข้าเป็นลอม เช่น กระโจมปืน หรือสิ่งที่ผูกรวบยอดให้รวมกัน เช่น ปากผูกกระโจม หรือผ้าที่ทำเป็นลอมเพื่อเข้าไปอยู่ให้เหงื่อออก เช่น เข้ากระโจม. |
กระแอม ๒ | น. ลายที่ผูกเป็นตัวลอย ๆ อยู่ในรูปทรงสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน คล้ายลายกระหนกหางโต ใช้สำหรับอุดหรือปิดช่องไฟระหว่างปลายกระหนกเครือวัลย์ เรียกว่า ลูกกระแอม หรือ ตัวกระแอม. |
กลอนสด | น. กลอนที่ผูกและกล่าวขึ้นในปัจจุบันโดยไม่ได้คิดมาก่อน, โดยปริยายหมายความว่า ข้อความที่กล่าวขึ้นในปัจจุบันโดยมิได้เตรียมตัวมาก่อน เช่น พูดกลอนสด. |
แกว ๒ | น. เรียกไม้ยาว ๆ ที่ผูกเบ็ดที่ปลายสำหรับชักกบในรู ว่า ขอแกว. |
ขนาน ๒ | (ขะหฺนาน) ก. เรียงคู่กันไป เช่น เรือแล่นขนานกันไป วิ่งขนาน, เรียกเรือที่ผูกหรือตรึงติดเรียงคู่กันสำหรับข้ามฟาก ว่า เรือขนาน |
ขอแกว | น. ไม้ยาว ๆ ที่ผูกเบ็ดที่ปลาย สำหรับชักกบในรู. |
คู่รัก | น. หญิงชายที่ผูกสมัครรักใคร่กัน, คนรัก. |
เงื่อน ๑ | น. เชือกหรือเส้นด้ายเป็นต้นที่ผูกกันเป็นปม เช่น เงื่อนกระทกหรือเงื่อนกระตุก คือเงื่อนที่ผูกแล้วกระตุกออกได้ง่าย เงื่อนตาย คือเงื่อนที่ผูกแล้วแก้ยาก เงื่อนเป็น คือเงื่อนที่ผูกแล้วแก้ง่าย. |
จองคช | (-คด) น. ช้างที่ผูกเครื่องรบเข้าระวางทัพ. |
ช่อ ๑ | น. ใบไม้หรือดอกไม้ที่แตกออกเป็นพวง, เรียกดอกของต้นไม้บางชนิดเช่นมะม่วงและสะเดาที่ออกดอกเล็ก ๆ เป็นกลุ่มหรือเป็นพวง ว่า ช่อมะม่วง ช่อสะเดา, ใบไม้หรือดอกไม้ที่ผูกเป็นกลุ่มหรือเป็นพวง, โดยปริยายเรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ช่อดอกไม้ไฟ โคมช่อองุ่น. |
ชะเนาะ | น. ไม้สั้น ๆ สำหรับขันบิดเชือกที่ผูกให้แน่นเช่นในการทำนั่งร้าน, ลูกชะเนาะ ก็เรียก. |
ชัก ๑ | ก. ดึงสายเชือกเป็นต้นที่ผูกอยู่กับสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อให้สิ่งนั้นเคลื่อนไหวไปตามต้องการ เช่น ชักธงขึ้นเสา |
ช้างยืนแท่น | น. เรียกช้างสำคัญที่ผูกเครื่องพระคชาธารยืนบนแท่นในงานพระราชพิธี ว่า ช้างยืนแท่น. |
ดิ่ง | เรียกตะกั่วหรือเหล็กเป็นต้นที่ผูกกับสายเชือกเป็นคู่สกัดหัวท้ายดอกจำปาของว่าวจุฬา ว่า ลูกดิ่ง |
ตับ ๒ | เรียกของที่ผูก ตั้ง หรือวางเรียงกันเป็นแถว เช่น ตับพลุ ตับลูกปืน |
โต่ง | ท่อนไม้ที่ผูกติดอยู่บนแพสุดท้าย สำหรับต๋งกับหลักบนริมฝั่งเพื่อยึดแพไม่ให้น้ำพัดลอยไป. |
ทุ่น | น. สิ่งที่ลอยนํ้าสำหรับให้สิ่งอื่นเกาะหรือเพื่อพยุงสิ่งอื่นให้ลอยนํ้า เช่น ทุ่นแพ ทุ่นทอดสะพาน หรือสำหรับเป็นที่ผูกจอดเรือ เช่น ทุ่นสมอ หรือสำหรับเป็นเครื่องหมายในการเดินเรือ เช่น ทุ่นนำร่อง, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่ให้สิ่งอื่นเกาะ เช่น พยัญชนะ อ เป็นทุ่นให้สระเกาะ อย่าง อา อี อู. |
ธงราว | น. ธงที่ผูกต่อกันเป็นราวหรือผูกติดกับราวเพื่อใช้ประดับสถานที่ให้งดงามเป็นต้น. |
นั่งห้าง | ก. นั่งบนห้างที่ผูกขึ้นบนต้นไม้คอยยิงสัตว์. |
เบ็ดราว | น. เบ็ดที่ผูกไว้กับเชือกหรือแท่งไม้ยาวประมาณ ๑ ศอก แล้วนำไปผูกห้อยไว้กับเชือกราว โดยเว้นระยะห่างกันเป็นตอน ๆ เพื่อนำไปหย่อนลงในแม่น้ำลำคลอง. |
ปริศนา | (ปฺริดสะหฺนา) น. สิ่งหรือถ้อยคำที่ผูกขึ้นเป็นเงื่อนงำเพื่อให้แก้ให้ทาย. |
ปี้ ๑ | ครั่งประทับตราที่ผูกข้อมือจีนครั้งก่อนเป็นสำคัญว่าได้เสียเงินค่าราชการแล้ว |
แพ | น. ไม้ไผ่หรือซุงเป็นต้นที่ผูกมัดเรียงติดกันมาก ๆ สำหรับใช้เป็นพาหนะทางนํ้า หรือล่องมาขาย เช่น แพไม้ไผ่ แพซุง แพหยวกกล้วย, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่ติดเนื่องกันเป็นตับอย่างแพ เช่น ธูปแพเทียนแพ สวะลอยเป็นแพ |
มัด | น. ลักษณนามเรียกของบางอย่างที่ผูกรัดเข้าด้วยกัน เช่น ไต้มัดหนึ่ง ฟืน ๒ มัด. |
ไม้สามอัน | น. ชื่อเครื่องมือเล่นการพนันชนิดหนึ่งใช้ไม้กลม ๆ ๓ อัน ผูกเชือกไว้อันหนึ่ง เจ้ามือกำไม้ ๓ อันไว้ให้ผู้เล่นจับ ถ้าจับได้อันที่ผูกเชือกไว้ เจ้ามือแพ้. |
ยืนแท่น | น. เรียกช้างสำคัญที่ผูกเครื่องพระคชาธารยืนบนแท่นในงานพระราชพิธี ว่า ช้างยืนแท่น, เรียกรูปเทวดาที่วาดหรือปั้นในท่ายืนอยู่บนแท่น ว่า เทวดายืนแท่น. |
โยง ๑ | ว. เรียกอาการที่มัดมือ ๒ ข้างแขวนขึ้นไปให้เท้าเรี่ย ๆ พื้น ว่า มัดมือโยง, เรียกอาการที่อยู่ประจำแต่ผู้เดียว ผู้อื่นไม่ต้องอยู่ ว่า อยู่โยง, เรียกเรือสำหรับลากจูงเรืออื่น ว่า เรือโยง และเรียกเรือที่ผูกลากตามเรือโยงที่ลากจูงไปนั้น ว่า เรือพ่วง. |
เรือขนาน | น. เรือที่ผูกหรือตรึงติดเรียงคู่กันสำหรับข้ามฟาก |
เรือพ่วง | น. เรือที่ผูกลากตามเรือโยงที่ลากจูงไป |
ลูกชะเนาะ | น. ไม้สั้น ๆ สำหรับขัดบิดเชือกที่ผูกให้แน่นเช่นในการทำนั่งร้าน, ชะเนาะ ก็เรียก. |
ลูกดิ่ง | ตะกั่วหรือเหล็กเป็นต้นที่ผูกกับสายเชือกเป็นคู่สกัดหัวท้ายดอกจำปาของว่าวจุฬา. |
เลียว ๒ | น. ไม้ที่ขึงใบเรือทั้งล่างและบน เรียกว่า เลียวล่าง เลียวบน, สายเชือกที่ผูกปลายเลียวสำหรับรั้งใบเรือให้กินลม เรียกว่า สายเลียว, เขียนว่า เรียว ก็มี. |
ว่ากลอนสด | ก. กล่าวกลอนที่ผูกขึ้นอย่างปัจจุบันโดยมิได้คิดมาก่อน, พูดกลอนสด ก็ว่า, กล่าวข้อความที่ไม่ได้เตรียมมาก่อน, พูดสด ก็ว่า. |
เวท, เวท- | ถ้อยคำศักดิ์สิทธิ์ที่ผูกขึ้นเป็นมนตร์หรือคาถาอาคม เมื่อนำมาเสกเป่าหรือบริกรรมตามลัทธิวิธีที่มีกำหนดไว้ สามารถให้ร้ายหรือดี หรือป้องกันอันตรายต่าง ๆ ตามคติไสยศาสตร์ได้ เช่น ร่ายเวท, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ มนตร์ เป็น เวทมนตร์ |
สักว่าว | ก. เอาลูกปลาปิดทับเชือกที่ผูกโครงว่าวจุฬาตรงที่ไขว้กันเป็นตาตารางเพื่อยึดกระดาษและเชือกให้แน่น. |
สังโยชน์ | น. เครื่องพัวพัน, เครื่องผูกรัด, หมายเอากิเลสที่ผูกคนไว้กับวัฏสงสาร มี ๑๐ อย่าง มีสักกายทิฐิเป็นต้น พระอริยบุคคลเมื่อละสังโยชน์เป็นลำดับจนหมดก็เป็นพระอรหันต์. |
สัตว์หิมพานต์ | (-หิมมะ-) น. สัตว์ในวรรณคดีที่เชื่อกันว่าอยู่ในป่าหิมพานต์ เช่น คชสีห์ กินนร นรสิงห์, รูปหุ่นที่ผูกเป็นรูปสัตว์ในวรรณคดี ใช้บรรทุกผ้าไตรแห่เข้าขบวนพระบรมศพในสมัยโบราณ. |
สายกระได | น. เชือกถักที่ผูกเหนือจอมแห ใช้สาวดึงแหกลับ. |
สายดิ่ง | น. เชือกที่ปลายด้านหนึ่งผูกติดกับลูกดิ่งสำหรับใช้วัดความลึกของน้ำ ตรวจสอบเสาหรือกำแพงเป็นต้นว่าตั้งตรงหรือไม่, เชือกที่ผูกตะกั่วหรือเหล็กเป็นต้นเป็นคู่สกัดหัวท้ายดอกจำปาของว่าวจุฬา. |
สายบังเหียน | น. สายที่ผูกปลายบังเหียนทั้ง ๒ ข้างสำหรับโยงไปให้ผู้ขี่ม้าถือเพื่อบังคับม้า. |
สายสูตร | น. เชือกหนังที่ผูกช้างให้เดินตามกัน |
หนวดพราหมณ์ ๓ | (หฺนวดพฺราม) น. เชือกหลาย ๆ เส้นที่ผูกโยงปลายเสาหรือที่โยงเอาของขึ้นไปในที่สูง. |
หลัก ๑ | น. เสาที่ปักไว้, ที่ผูก, ที่มั่น, เช่น เอาเรือไปผูกไว้กับหลัก |
หลุดลอย | ก. พ้นจากที่ยึดไว้แล้วล่องลอยไป เช่น เรือที่ผูกไว้ไม่แน่น พอถูกคลื่นซัดก็หลุดลอยไป ว่าวขาดหลุดลอยไป, โดยปริยายหมายความว่า สูญสิ้นสิ่งที่ควรจะได้หรือสิ่งที่หวังไว้ เช่น ลาภที่ควรได้หลุดลอยไป โอกาสหลุดลอยไป. |
ห่วงคล้องคอ | น. ความรับผิดชอบที่ผูกพันอยู่. |
หัวใจ | อักษรย่อของหลักธรรมหรือข้อความต่าง ๆ ที่ผูกไว้เพื่อกำหนดจำได้ง่าย นิยมว่าเป็นของขลัง เช่น หัวใจอริยสัจ ว่า “ทุ. ส. นิ. ม.” หัวใจนักปราชญ์ ว่า “สุ. จิ. ปุ. ลิ.” หัวใจเศรษฐี ว่า “อุ. อา. ก. ส.”. |
หูกระต่าย | น. เงื่อนที่ผูกมีรูปคล้ายหูกระต่าย , เรียกผ้าผูกคอชนิดหนึ่ง ผูกเป็นรูปโบ ว่า ผ้าผูกคอหูกระต่าย |
เหนียง | สายป่านที่ผูกยาวห้อยเป็นบ่วงจากสายซุงว่าวปักเป้า. |
แอกน้อย | น. ไม้ที่ผูกติดกับคันชักไถ. |