มีผลลัพธ์ที่ไม่แสดงผลอยู่ ที่ประชุม | (n) conference, See also: meeting, convention, assembly, congress, convention, colloquium, parley, interchange, Syn. ห้องประชุม | ประธานที่ประชุม | (n) chairman, See also: president, Count Unit: คน, ท่าน |
|
| ที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกา | น. การประชุมของผู้พิพากษาศาลฎีกาและผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกาทุกคนเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามที่มีกฎหมายกำหนด เช่น การวินิจฉัยปัญหาในคดีตามที่ประธานศาลฎีกาเห็นสมควร หรือการเลือกองค์คณะผู้พิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง. | กระทู้ถาม | น. คำถามในข้อเท็จจริงหรือนโยบายที่สมาชิกสภาที่ทำหน้าที่นิติบัญญัติตั้งถามฝ่ายบริหารให้ตอบในที่ประชุมแห่งสภานั้น ๆ หรือตอบเป็นหนังสือ. | เก็บตก | เก็บเรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ หรือเรื่องเบื้องหลังจากงานหรือกิจกรรมต่าง ๆ เช่น ข่าวนี้เก็บตกมาจากพิธีเปิดฟุตบอลโลกที่เยอรมนี เรื่องนี้ฉันเก็บตกมาจากที่ประชุม. | เกร็ด ๒ | (เกฺร็ด) น. ส่วนย่อยหรือส่วนเบ็ดเตล็ด ซึ่งเป็นเรื่องสนุกหรือน่าสนใจที่เล่าหรือเขียนถึงเหตุการณ์สั้น ๆ ตอนใดตอนหนึ่งในชีวประวัติบุคคลสำคัญ ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นเรื่องจริง เช่น เกร็ดพงศาวดาร, เรื่องที่เขียนเล่าถึงบรรยากาศที่น่าสนใจหรือสนุกขบขันในที่ประชุมก่อนที่จะมีผลสรุปออกมา. | ขานนาค | ก. กล่าวตอบในเวลาที่พระคู่สวดสวดถามคุณสมบัติและโรคต้องห้ามเป็นภาษาบาลีในที่ประชุมสงฆ์ แล้วนาคผู้ขอบวชเป็นภิกษุตอบรับหรือปฏิเสธเป็นภาษาบาลีเช่นกัน. | คณะกรรมาธิการ | น. คณะบุคคลที่สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา หรือที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา แต่งตั้งเพื่อกระทำกิจการ พิจารณาสอบสวน หรือศึกษาเรื่องใด ๆ อันอยู่ในอำนาจหน้าที่ของสภา แล้วรายงานต่อสภา. | คณะกรรมาธิการวิสามัญ | น. คณะกรรมาธิการที่สภาผู้แทนราษฎร วุฒิสภา หรือที่ประชุมร่วมกันของรัฐสภา แต่งตั้งจากผู้เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกแห่งสภานั้น ๆ เพื่อปฏิบัติหน้าที่เฉพาะเรื่องที่สภามอบหมาย และเมื่อปฏิบัติหน้าที่เสร็จแล้ว คณะกรรมาธิการนั้นย่อมพ้นจากตำแหน่ง. | คำเผดียงสงฆ์ | น. ญัตติ, คำสวดประกาศเป็นภาษาบาลี เสนอให้ที่ประชุมสงฆ์ทราบเพื่อทำกิจของสงฆ์ร่วมกัน. | ชมรม ๒ | น. ที่ประชุมของกลุ่มบุคคลที่มีจุดประสงค์เพื่อประโยชน์บางประการร่วมกัน เช่น ชมรมวรรณศิลป์ ชมรมพระเครื่อง. | ชุมนุม | ที่ประชุมของกลุ่มบุคคลที่มีจุดประสงค์เพื่อประโยชน์บางประการร่วมกัน เช่น ชุมนุมวรรณศิลป์ ชุมนุมภาษาไทย. | ญัตติ | น. คำสวดประกาศเป็นภาษาบาลี เสนอให้ที่ประชุมสงฆ์ทราบเพื่อทำกิจของสงฆ์ร่วมกัน, คำเผดียงสงฆ์ ก็ว่า | ญัตติ | ข้อเสนอเพื่อลงมติ เช่น ผู้แทนราษฎรเสนอญัตติเข้าสู่สภาเพื่อขอให้ที่ประชุมลงมติว่าจะเห็นชอบด้วยหรือไม่ | ทะเล่อทะล่า | ว. อาการที่ทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างพรวดพราดโดยไม่ถูกกาลเทศะหรืออย่างไม่ระมัดระวัง เช่น เดินทะเล่อทะล่าเข้าไปในที่ประชุม วิ่งทะเล่อทะล่าออกไปที่ถนนเลยถูกรถชน. | ที่ | น. แหล่ง, ถิ่น, เช่น ที่ประกอบอาชีพ ที่ทำมาหากิน, สถานที่ เช่น ที่ประชุม ที่พัก, ตำแหน่งแห่งที่ เช่น เอาของวางไว้ให้ถูกที่ | ธรรมสภา | น. ที่ประชุมฟังธรรม. | บรรยากาศ | น. อากาศที่หุ้มห่อโลกหรือเทห์ฟากฟ้าใด ๆ, โดยปริยายหมายความถึงความรู้สึกหรือสิ่งที่อยู่รอบ ๆ ตัว เช่น บรรยากาศในที่ประชุม บรรยากาศรอบ ๆ บ้าน. | บริษัท | (บอริสัด) น. หมู่, คณะ, เช่น พุทธบริษัท, ที่ประชุม เช่น จะพูดอย่างไรต้องดูบริษัทเสียก่อน | ประธาน ๑ | น. ตำแหน่งผู้ที่เป็นหัวหน้าหรือเป็นใหญ่ในที่ประชุม เช่น ตำแหน่งประธานรัฐสภา ตำแหน่งประธานกรรมการ, เรียกผู้ที่เป็นหัวหน้าหรือเป็นใหญ่ในที่ประชุม เช่น ประธานรัฐสภา ประธานกรรมการ. | ปาติโมกข์ | น. คัมภีร์ว่าด้วยวินัยของสงฆ์ ๒๒๗ ข้อ, ชื่อบาลีที่ประมวลพุทธบัญญัติอันทรงตั้งขึ้นเป็นพุทธอาณา ได้แก่ อาทิพรหมจริยกาสิกขา มีพระพุทธานุญาตให้สวดในที่ประชุมสงฆ์ทุกวันอุโบสถ. | มติ | (มะติ) น. ความเห็น, ความคิดเห็น, เช่น ที่ประชุมลงมติ มติของข้าพเจ้า, ความรู้ | มติ | ข้อวินิจฉัยญัตติที่เสนอต่อที่ประชุม. | มติพิเศษ | น. มติของที่ประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้นของบริษัทจำกัด ที่ได้ลงมติด้วยคะแนนเสียงข้างมากไม่ต่ำกว่าสามในสี่ของจำนวนเสียงทั้งหมดของผู้ถือหุ้นที่มาประชุมและมีสิทธิออกเสียงลงคะแนน. | มัชฌิมชนบท | น.ในสมัยพุทธกาลหมายถึง ดินแดนส่วนกลางของประเทศอินเดียอันเป็นที่อยู่ของพวกอริยกะ เป็นถิ่นที่อุดมสมบูรณ์ เป็นที่ตั้งนครใหญ่ ๆ เป็นศูนย์กลางการปกครอง และเป็นที่ประชุมของนักปราชญ์ คณาจารย์ เจ้าลัทธิต่าง ๆ. | รายงาน | น. เรื่องราวที่ไปศึกษาค้นคว้าแล้วนำมาเสนอที่ประชุม ครูอาจารย์ หรือผู้บังคับบัญชา เป็นต้น. | ศาลาประชาคม | น. สถานที่หรืออาคารที่สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ประชุมประกอบกิจกรรมต่าง ๆ ของประชาชนในชุมชนนั้น ๆ. | ศาลาลูกขุน | น. ที่ประชุม ปรึกษา และสั่งราชการของคณะเสนาบดี ตั้งอยู่ในพระราชวังหลวง. | ศาลาลูกขุนใน | น. ที่ประชุม ปรึกษา และสั่งราชการของคณะเสนาบดีฝ่ายพลเรือนและทหาร แบ่งเป็นศาลาลูกขุนในฝ่ายซ้ายสำหรับพลเรือน และศาลาลูกขุนในฝ่ายขวาสำหรับทหาร. | สงวนท่าที, สงวนทีท่า | ก. ไม่แสดงท่าทีให้ปรากฏชัดแจ้ง เพื่อไม่ให้ผู้อื่นรู้ความคิดของตน เช่น เขาสงวนท่าทีไม่ยอมแสดงความคิดเห็นในที่ประชุม, ระมัดระวังกิริยาวาจาไม่ให้ใครดูถูก เช่น ก่อนจะทักทายใคร ควรสงวนทีท่าไว้บ้าง. | สบประมาท | ก. แสดงกิริยาวาจาดูถูกดูหมิ่นซึ่ง ๆ หน้า เช่น เขาถูกสบประมาทในที่ประชุม, ประมาทหน้า. | สภา | น. องค์การหรือสถานที่ประชุม เช่น สภาผู้แทนราษฎร สภาสตรีแห่งชาติ สภามหาวิทยาลัย วุฒิสภา. | สภาจาร | น. ขนบธรรมเนียมขององค์การหรือสถานที่ประชุม. | สภานายก, สภาบดี | น. ผู้เป็นประธานในที่ประชุม. | สมัช, สมัชชา | ที่ประชุม เช่น สมัชชาใหญ่องค์การสหประชาชาติ. | สมาคม | แหล่งหรือที่ประชุมของบุคคลหลายคนมาร่วมกันด้วยมีจุดประสงค์เพื่อประโยชน์บางประการ เช่น เข้าสมาคม สมาคมศิษย์เก่า | สมิติ | (สะ-) น. ที่ประชุม. | สมุหนายก | น. ตำแหน่งข้าราชการชั้นอัครมหาเสนาบดีฝ่ายพลเรือน ดูแลรับผิดชอบและเป็นประธานที่ประชุมเสนาบดีของฝ่ายพลเรือน รวมทั้งการปกครองและการยุติธรรมในหัวเมืองฝ่ายเหนือ. | สมุหพระกลาโหม | น. ตำแหน่งข้าราชการชั้นอัครมหาสนาบดีฝ่ายทหาร ดูแลรับผิดชอบและเป็นประธานที่ประชุมเสนาบดีของฝ่ายทหาร รวมทั้งการปกครองและการยุติธรรมในหัวเมืองปักษ์ใต้. | สังฆเถระ | น. ภิกษุผู้เป็นใหญ่ในพระสงฆ์หมู่หนึ่ง ๆ, ภิกษุผู้เป็นประธานในที่ประชุมสงฆ์. | สันนิบาต ๑ | น. การประชุม, ที่ประชุม, เช่น สังฆสันนิบาต สันนิบาตชาติ, งานชุมนุม เช่น รัฐบาลจัดงานสโมสรสันนิบาตที่ทำเนียบรัฐบาล. | สุนทรพจน์ | (สุนทอนระ-, สุนทอระ-) น. คำพูดที่ประธานหรือบุคคลสำคัญเป็นต้นกล่าวในพิธีการหรือในโอกาสสำคัญต่าง ๆ เช่น นายกรัฐมนตรีกล่าวสุนทรพจน์ในที่ประชุมสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ. | เสียงแตก | โดยปริยายหมายถึงคะแนนเสียงแตกแยก เช่น เรื่องนี้ยังลงมติไม่ได้ เพราะในที่ประชุมยังมีเสียงแตกกัน. | ออกมหาสมาคม | ก. ออกที่ประชุมใหญ่ในพระราชพิธีสำคัญ, ใช้เฉพาะพระมหากษัตริย์ ว่า เสด็จออกมหาสมาคม. |
| president | ๑. ประธาน, ประธานที่ประชุม, นายก๒. อธิการบดี [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] | president | ๑. ประธาน, ประธานที่ประชุม (ก. ทั่วไป)๒. กรรมการผู้จัดการ (ก. พาณิชย์) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | president, vice | ๑. รองประธาน, รองประธานที่ประชุม, อุปนายก๒. รองอธิการบดี [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] | parliament chamber | ที่ประชุมรัฐสภา [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] | point of order | การประท้วงในที่ประชุมสภา [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] | order, point of | การประท้วงในที่ประชุมสภา [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] | bar of the House | ๑. ที่สำหรับบุคคลภายนอกชี้แจงในสภา๒. เขตที่ประชุมสภา [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] | chairman | ประธาน, ประธานที่ประชุม [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] | chamber, parliament | ที่ประชุมรัฐสภา [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] | conclave | ที่ประชุมเลือกตั้งสันตะปาปา [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] | general assembly | ที่ประชุมใหญ่, สมัชชาใหญ่ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | general meeting | ที่ประชุมใหญ่, การประชุมใหญ่ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | forum | ๑. ถิ่นที่ศาลมีอำนาจพิจารณาคดี, ประเทศที่ศาลมีอำนาจพิจารณาคดี (ก. ธรรมนูญศาล)๒. ที่ประชุมสาธารณะ (ก. ปกครอง) [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕] | vice president | ๑. รองประธาน, รองประธานที่ประชุม, อุปนายก๒. รองอธิการบดี [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] | House, bar of the | ๑. ที่สำหรับบุคคลภายนอกชี้แจงในสภา๒. เขตที่ประชุมสภา [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔] |
| United Nations Conference on Trade and Development | ที่ประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา, Example: องค์การระหว่างประเทศถือกำเนิดขึ้นจากข้อมติ ของสมัชชาใหญ่สหประชาชาติ เมื่อ พ.ศ. 2507 เพื่อแก้ไขปัญหาการค้าระหว่างประเทศของประเทศกำลังพัฒนา โดยเฉพาะในปัญหาที่แกตต์ (ดู GATT) ไม่สามารถแก้ไขได้อย่างมีประสิทธิภาพ อังค์แทดเป็นเวทีการประชุมระหว่างประเทศ ที่เปิดโอกาสให้ประเทศพัฒนาแล้วและกำลังพัฒนา ปรึกษาหารือร่วมกันแก้ไขปัญหาการค้าและการพัฒนาเศรษฐกิจ ซึ่งมีผลให้ประเทศกำลังพัฒนาสามารถรวมกลุ่มกัน ใช้เป็นเวทีเรียกร้องให้ประเทศพัฒนาแล้วผ่อนคลาดมาตรการที่เป็นอุปสรรคต่อ การค้าของประเทศกำลังพัฒนา รวมถึงให้ประเทศกำลังพัฒนามีบทบาทร่วมในการตัดสินใจ เกี่ยวกับนโยบายและการจัดระบบเศรษฐกิจของโลกมากขึ้น ผลงานสำคัญของที่ประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการค้าและการพัฒนา เช่น จีเอสพี (ดู GSP) โครงการร่วมโภคภัณฑ์ (ดู Commodity Stabilization Agreements) และจีเอสทีพี (ดู GSTP) อังค์เทดมีสำนักงานอยู่ที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ มีสมาชิกรวม 168 ประเทศ แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม คือ ประเทศที่พัฒนาแล้ว ประเทศสังคมนิยมยุโรปตะวันออก และกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา [สิ่งแวดล้อม] | ASEAN Coordinating Council | คณะมนตรีประสานงานอาเซียน ประกอบด้วยรัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศสมาชิกอาเซียน 10 ประเทศ ทำหน้าที่ในการเตรียมการประชุมของที่ประชุมสุดยอดอาเซียน และประสานงานกับคณะมนตรีประชาคมอาเซียนต่าง ๆ เพื่อความสอดคล้องกันตามนโยบาย ประสิทธิภาพ และความร่วมมือระหว่างกัน [การทูต] | Asia Cooperation Dialogue | ความร่วมมือเอเชีย เวทีความร่วมมือในระดับทวีปเอเชีย โดยเป็นความคิดริเริ่มของไทยในการสร้างกรอบความร่วมมือที่ครอบคลุมทุกอนุ ภูมิภาคของเอเชีย มีวัตถุประสงค์ที่จะเชื่อมโยงจุดแข็งและต่อยอดความร่วมมือต่าง ๆ ของประเทศเอเชีย โดยอาศัยความแตกต่างหลากหลายและทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ซึ่งเอเชียมีอยู่มา ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดและมุ่งสร้างความร่วมมือในวงกว้างทั้งทวีปเอเชีย เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน และคุณภาพชีวิตที่ดีของประชาชน ซึ่งจะทำให้ภูมิภาคเอเชียแข็งแกร่งและเป็นหุ้นส่วนที่เข้มแข็งสำหรับภูมิภาค อื่น ๆ เอซีดีได้มีการประชุมครั้งแรกเมื่อ 18-19 มิถุนายน 2545 โดยมีผู้แทนระดับรัฐมนตรีจาก 18 ประเทศเข้าร่วม ที่ประชุมได้แบ่งกรอบความร่วมมือเป็น 2 มิติ ได้แก่ มิติการหารือ (dialogue dimension) และมิติโครงการความร่วมมือ (project dimension) เช่น การท่องเที่ยว ความมั่นคงทางพลังงาน และการพัฒนาตลาดพันธบัตรเอเชีย (Asian Bond Market) [การทูต] | Asia-Europe Cooperation Framework | กรอบความร่วมมือเอเชีย-ยุโรป เป็นเอกสารที่กำหนดแนวทางความร่วมมือด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและวัฒนธรรมในกรอบอาเซม ซึ่งได้รับรองในที่ประชุมผู้นำอาเซม ครั้งที่ 2 ที่กรุงลอนดอน [การทูต] | ASEAN Free Trade Area | เขตการค้าเสรีอาเซียน จัดตั้งขึ้นตามมติของที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 4 เพื่อส่งเสริม การค้าเสรีระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียน โดยให้มีการลดอัตราภาษีศุลกากรที่เท่ากันตามระยะเวลาที่กำหนด เริ่มตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 โดยให้ประเทศสมาชิกอาเซียนเดิม 6 ประเทศ ลดอัตราภาษีศุลกากรให้เหลือร้อยละ 0-5 ภายในปี พ.ศ. 2546 และมีระยะเวลาผ่อนผันสำหรับประเทศสมาชิกใหม่อีก 4 ประเทศ ตามช่วงเวลาก่อน/หลังที่เข้าเป็นสมาชิกอาเซียน [การทูต] | Amendments to the Charter of the United Nations | การแก้ไขกฎบัตรสหประชาชาติ กฎบัตรของสหประชาชาตินั้น เปิดโอกาสให้มีการแก้ไขได้โดยสมัชชาสหประชาชาติหรือโดยที่ประชุมใหญ่ (General Conference) ของสมาชิกสหประชาชาติ ซึ่งอาจจะประชุมกัน ณ วันเวลาและสถานที่ตามแต่จะมีการตกลงกัน โดยคะแนนเสียง 2 ใน 3 ส่วนของสมัชชาใหญ่ และโดยคะแนนเสียงของสมาชิกคณะมนตรีความมั่นคงใด ๆ 7 เสียง ในที่ประชุมใหญ่นั้น สมาชิกแต่ละประเทศของสหประชาชาติจะมีเสียงลงคะแนน 1 เสียงการที่จะแก้ไขกฎบัตรสหประชาชาติให้เป็นผลสำเร็จ จะต้องได้เสียงสนับสนุนจากสมาชิกเป็นจำนวน 2 ใน 3 ส่วนของสมาชิกทั้งหมดในสมัชชาหรือจากที่ประชุมใหญ่ เมื่อการแก้ไขกฎบัตรเป็นที่รับรองแล้ว จะมีผลบังคับต่อสมาชิกทั้งหมดของสหประชาชาติ ก็ต่อเมื่อได้รับการสัตยาบันจากสมาชิก 2 ใน 3 ส่วนของจำนวนทั้งหมด รวมทั้งการรับรองจากสมาชิกถาวรของคณะมนตรีความมั่นคงด้วยอาทิเช่น ในสมัยประชุมที่ 18 ของสมัชชาใหญ่ การแก้ไขกฎบัตรได้รับการรับรองเห็นชอบด้วย โดยผ่านข้อมติที่ 1991 (XVII) ในการแก้ไขครั้งนี้ได้เพิ่มจำนวนสมาชิกของคณะมนตรีความมั่นคงจาก 11 เป็น 15 คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมจาก 18 เป็น 27 ประเทศ การแก้ไขดังกล่าวได้รับการลงมติรับรองเมื่อวันที่ 17 ธันวาคม ค.ศ. 1963 ในปัจจุบันนี้ ประเทศสมาชิกเป็นจำนวนมากกำลังเรียกร้องให้มีการปรับจำนวนสมาชิกถาวรของคณะ มนตรีความมั่นคงเสียใหม่ [การทูต] | Arab Free Trade Area | เขตการค้าเสรีอาหรับ ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2541 โดยมติที่ประชุมสุดยอดอาหรับที่กรุงไคโร ประเทศอียิปต์ (มิถุนายน 2539) [การทูต] | ASEAN Community | ประชาคมอาเซียน ที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 9 เมื่อเดือนตุลาคม 2547 เกาะบาหลี ได้ลงนามในปฏิญญาว่าด้วยความร่วมมือในอาเซียน ฉบับที่ 2 เห็นชอบให้มีการจัดตั้งประชาคมอาเซียนในสามด้านหลักภายในปี พ.ศ. 2563 ได้แก่ ประชาคมความมั่นคงอาเซียน ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และประชาคมสังคม-วัฒนธรรมอาเซียน [การทูต] | ASEAN Vision 2020 | วิสัยทัศน์อาเซียน พ.ศ. 2563 เป็นเอกสารซึ่งที่ประชุมสุดยอดอาเซียนที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2540 ได้ให้ความเห็นชอบ เพื่อแสดงถึงความมุ่งมั่นและพันธกรณีของอาเซียนที่จะนำประชาชนในภูมิภาคนี้ ไปสู่ (1) การเป็นภูมิภาคที่มีสันติภาพและเสถียรภาพ (2) ความเป็นหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งด้วยการรวมตัวทางเศรษฐกิจ อย่างใกล้ชิดยิ่งขึ้น (3) การเป็นสังคมที่เปิดกว้าง มีความเป็นปึกแผ่นและเอื้ออาทรต่อกัน และ (4) การกระชับความสัมพันธ์กับคู่เจรจาและโลกภายนอก บนพื้นฐานของความเป็นหุ้นส่วนที่เท่าเทียมกันและมีความเคารพซึ่งกันและกัน [การทูต] | bold measures | มาตรการเข้มข้น หมายถึง มาตรการพิเศษที่กำหนดโดยที่ประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 6 เมื่อเดือนธันวาคม 2541 เพื่อส่งเสริมการค้าและการเร่งรัดลงทุนจากต่างประเทศในอาเซียน ในอันที่จะช่วยประเทศในภูมิภาคฟื้นฟูเศรษฐกิจจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ [การทูต] | Conference on Disamament | การประชุมว่าด้วยการลดอาวุธ จัดตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2522 เพื่อเป็นเวทีเจรจาการลดอาวุธระหว่างประเทศ มีขอบเขตความรับผิดชอบเกี่ยวกับประเด็นด้านการลดอาวุธทุกด้าน และมีหน้าที่ รายงานต่อที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติทุกปี ปัจจุบันมีสมาชิก 65 ประเทศ(ไทยมิได้เป็นสมาชิก) โดยที่ผ่านมาประสบผลสำเร็จในการเจรจาจัดทำความตกลงระหว่างประเทศ ด้านการลดอาวุธหลายฉบับ ที่สำคัญได้แก่ สนธิสัญญาไม่แพร่อาวุธนิวเคลียร์ อนุสัญญาห้ามเคมี อนุสัญญาห้ามอาวุธชีวภาพ และสนธิสัญญาห้ามทดลองนิวเคลียร์โดยสมบูรณ์ [การทูต] | Convention on Elimination of All Forms of Discrimination Against Women | อนุสัญญาว่าด้วยการขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบ ได้รับการรับรองจากที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ เมื่อปี พ.ศ. 2522 และมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 3 กันยายน 2527 มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อขจัดการเลือกปฏิบัติต่อสตรีในทุกรูปแบบและเพื่อความ เสมอภาคระหว่างสตรีและบุรุษในทุกด้าน ขณะนี้มีประเทศต่าง ๆ เป็นภาคีอนุสัญญาฯ แล้ว 167 ประเทศ (ข้อมูลถึงกรกฎาคม 2543) ไทยยังคงมีข้อสงวนอีก 2 ข้อ ในอนุสัญญาฯ คือ ข้อ 16 เรื่องความเสมอภาคในด้านครอบครัวและการสมรส และ ข้อ 29 เรื่องการระงับการตีความ การระงับข้อพิพาท โดยรับอนุญาโตตุลาการ [การทูต] | Commission on Human Rights | คณะกรรมาธิการว่าด้วยสิทธิมนุษยชน แต่งตั้งขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1946 ตามมติของคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคมของสหประชาชาติ มีหน้าที่รับผิดชอบในการเสนอข้อเสนอแนะและรายงานการสอบสวนต่าง ๆ เกี่ยวกับประเด็นปัญหาสิทธิมนุษยชนไปยังสมัชชา (General Assembly) สหประชาชาติ โดยผ่านคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม คณะกรรมาธิการประกอบด้วยผู้แทนประเทศสมาชิก 53 ประเทศ ซึ่งได้รับเลือกตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ตามวาระ 3 ปี มีการประชุมกันทุกปี ปีละ 6 สัปดาห์ ณ นครเจนีวา และเมื่อไม่นานมานี้ คณะกรรมาธิการได้จัดตั้งกลไกเพื่อให้ทำหน้าที่สอบสวนเกี่ยวกับปัญหาสิทธิ มนุษยชนเฉพาะในบางประเทศ กลไกดังกล่าวประกอบด้วยคณะทำงาน (Working Groups) ต่าง ๆ รวมทั้งเจ้าหน้าที่พิเศษที่สหประชาชาติแต่งตั้งขึ้น (Rapporteurs) เพื่อให้ทำหน้าที่ศึกษาและสอบสวนประเด็นปัญหาสิทธิมนุษยชนโดยเฉพาะในบาง ประเทศมีเรื่องน่าสนใจคือ ใน ค.ศ. 1993 ได้มีการประชุมในระดับโลกขึ้นที่กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ซึ่งแสดงถึงความพยายามของชุมชนโลก ที่จะส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและเสรีภาพขั้นมูลฐานไม่ว่าที่ไหน ในระเบียบวาระของการประชุมดังกล่าว มีเรื่องอุปสรรคต่างๆ ที่เห็นว่ายังขัดขวางความคืบหน้าของการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชน รวมทั้งการหาหนทางที่จะเอาชนะอุปสรรคเหล่านั้น เรื่องความเกี่ยวพันกันระหว่างการพัฒนาลัทธิประชาธิปไตย และการให้สิทธิมนุษยชนทั่วโลก เรื่องการท้าทายต่างๆ ที่เกิดขึ้นใหม่ ซึ่งทำให้ไม่อาจปฏิบัติให้บรรลุผลอย่างสมบูรณ์ในด้านสิทธิมนุษยชน เรื่องการหาหนทางที่จะกระชับความร่วมมือระหว่างประเทศในด้านสิทธิมนุษยชน และการที่จะส่งเสริมศักยภาพของสหประชาชาติในการดำเนินงานในเรื่องนี้ให้ได้ ผล ตลอดจนเรื่องการหาทุนรอนและทรัพยากรต่างๆ เพื่อใช้ในการปฏิบัติงานดังกล่าวในการประชุมระดับโลกครั้งนี้มีรัฐบาลของ ประเทศต่างๆ บรรดาองค์กรของสหประชาชาติ สถาบันต่างๆ ในระดับประเทศชาติ ตลอดจนองค์การที่มิใช่ของรัฐบาลเข้าร่วมรวม 841 แห่ง ซึ่งนับว่ามากเป็นประวัติการณ์ ช่วงสุดท้ายของการประชุมที่ประชุมได้พร้อมใจกันโดยมิต้องลงคะแนนเสียง (Consensus) ออกคำปฏิญญา (Declaration) แห่งกรุงเวียนนา ซึ่งมีประเทศต่าง ๆ รับรองรวม 171 ประเทศ ให้มีการปฏิบัติให้เป็นผลตามข้อเสนอแนะต่างๆ ของที่ประชุม เช่น ข้อเสนอแนะให้ตั้งข้าหลวงใหญ่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนหนึ่งตำแหน่งให้มีการรับ รู้และรับรองว่า ลัทธิประชาธิปไตยเป็นสิทธิมนุษยชนอันหนึ่ง ซี่งเป็นการเปิดโอกาสให้ลัทธิประชาธิปไตยได้รับการสนับสนุนส่งเสริมให้มั่น คงยิ่งขึ้น รวมทั้งกระชับหลักนิติธรรม (Rule of Law) นอกจากนี้ยังมีเรื่องการรับรองว่า การก่อการร้าย (Terrorism) เป็นการกระทำที่ถือว่ามุ่งทำลายสิทธิมนุษยชน ทั้งยังให้ความสนับสนุนมากขึ้นในนโยบายและแผนการที่จะกำจัดลัทธิการถือเชื้อ ชาติและเผ่าพันธุ์ การเลือกปฏิบัติเกี่ยวกับเชื้อชาติ การเกลียดคนต่างชาติอย่างไร้เหตุผล และการขาดอหิงสา (Intolerance) เป็นต้นคำปฎิญญากรุงเวียนนายังชี้ให้เห็นการล่วงละเมิดสิทธิมนุษยชน อย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะอย่างยิ่งการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (Genocide) และการข่มขืนชำเราอย่างเป็นระบบ (Systematic Rape) เป็นต้น [การทูต] | Dean (หรือ Doyen) of the Diplomatic Corps | หัวหน้า (Dean) ของคณะทูตานุทูตในนครหลวงของประเทศใดก็ตาม ได้แก่ ตัวทูตที่อาวุโสที่สุด (คือเป็นทูตอยู่ในประเทศนั้นๆ เป็นเวลานานที่สุด) ตัวหัวหน้าคณะทูตานุทูตจะมีลำดับอาวุโสเหนือทุกคนในคณะทูตานุทูต ทำหน้าที่เป็นโฆษกของคณะทูตเมื่อถึงความจำเป็น และเป็นผู้ดูแลและคุ้มครองบรรดาเอกสิทธ์และความคุ้มกันทางการทูตที่คณะ ทูตานุทูตมีอยู่ แต่หน้าที่ที่แท้จริงนั้น โดยมากเกี่ยวกับเรื่องพิธีการทูตมากกว่า อาทิเช่น เมื่อถึงวันที่ระลึกครบรอบวันเกิดประมุขของรัฐ (เช่นวันเฉลิมพระชนมพรรษาในประเทศไทย) Dean ของคณะทูตจะเป็นผู้กล่าวแสดงความยินดีในโอกาสดังกล่าวในนามของคณะทูตทั้งหมด แต่การที่จะเรียกหรือขอให้บุคคลในคณะทูตไปประชุมเพื่อจุดประสงค์ทางการเมือง นั้น เป็นสิ่งที่ Dean ไม่พึงกระทำ อย่างไรก็ตาม จะไม่มีผู้แทนทางการทูตคนใดไปร่วมการประชุมระหว่างบุคคลในคณะทูตด้วยกัน เกี่ยวกับปัญหาระหว่างประเทศโดยมิได้รับคำสั่งโดยเฉพาะจากรัฐบาลของตนก่อน ภริยาของ Dean หรือ Doyen นั้นเรียกว่า Doyenneเมื่อหัวหน้าคณะทูตวายชนม์ขณะที่ดำรงตำแหน่งอยู่ บุคคลในคณะทูตที่มีอาวุโสรองลงมาหรือเป็นบุคคลที่สองจะเป็นผู้รับช่วงงาน ทันที และมีตำแหน่งเรียกว่า อุปทูตชั่วคราว (Chargé d?Affaires ad interim) ทั้งจะต้องดูว่า เอกสารทางราชการต่าง ๆ โดยเฉพาะเอกสารลับหรือปกปิด จะไม่ทิ้งรวมอยู่กับ เอกสารส่วนตัวของทูตผู้วายชนม์อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทาง การทูต ซึ่งได้รับการรับรองเมื่อวันที่ 18 เมษายน ค.ศ. 1961 จากการประชุมสหประชาชาติ เกี่ยวกับการติดต่อและความคุ้มกันทางการทูต ได้บัญญัติไว้ว่า?ข้อ 39 (3) ในกรณีการถึงแก่กรรมของบุคคลในคณะผู้แทนทางการทูต ให้คนในครอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทนอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันซึ่งเขามี สิทธิที่จะได้รับไปจนกว่าจะสิ้นกำหนดเวลาอันสมควรที่จะออกจากประเทศไป(4) ในกรณีการถึงแก่กรรมของบุคคลในคณะผู้แทนซึ่งไม่ใช่คนชาติของรัฐผู้รับ หรือมีถิ่นที่อยู่ถาวรในรัฐผู้รับ หรือของคนในครอบครัว ซึ่งประกอบเป็นส่วนของครัวเรือนของบุคคลในคณะผู้แทนดังกล่าว ให้รัฐผู้รับอนุญาตให้ถอนสังหาริมทรัพย์ของผู้วายชนม์ไป ยกเว้นแต่ทรัพย์สินใดที่ได้มาในประเทศที่ส่งออกซึ่งทรัพย์สินนั้นเป็นอัน ต้องห้ามในเวลาที่บุคคลในคณะผู้แทน หรือคนในคราอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทนนั้นถึงแก่กรรม อากรกองมรดก การสืบมรดกและการรับมรดกนั้น ๆ ไม่ให้เรียกเก็บแก่สังหาริมทรัพย์ซึ่งอยู่ในรัฐผู้รับ เพราะการไปอยู่ ณ ที่นั้นแต่ฝ่ายเดียวของผู้วายชนม์ในฐานะเป็นบุคคลในคณะผู้แทนอนึ่ง อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุล ซึ่งได้รับการรับรองจากที่ประชุมสหประชาชาติ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางกงสุล ซึ่งได้รับการรับรองจากที่ประชุมสหประชาชาติ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางกงสุล เมื่อวันที่ 24 เมษายน ค.ศ. 1963 ได้บัญญัติไว้ว่า ?ข้อ 51 ในกรณีมรณกรรมของบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุล หรือของคนในครอบครัว ซึ่งเป็นส่วนแห่งครัวเรือนของบุคคลดังกล่าว รัฐผู้รับ(ก) จะอนุญาตให้ส่งออกซึ่งสังหาริมทรัพย์ของผู้วายชนม์ โดยมีข้อยกเว้นแก่ทรัพย์สินเช่นว่า ทรัพย์ใด ๆ ที่ได้มาในรัฐผู้รับนั้น ซึ่งการส่งออกของทรัพย์ต้องห้าม ในเวลาที่บุคคลดังกล่าวถึงแก่มรณกรรม(ข) จะไม่เรียกเก็บอากรกองมรดก อากรสืบช่วงมรดกหรืออากรรับมรดก และอากรการโอน ไม่ว่าจะเป็นอากรของชาติ ของภูมิภาค หรือของเทศบาล จากสังหาริมทรัพย์ ซึ่งการที่สังหาริมทรัพย์นั้นอยู่ในรัฐผู้รับก็เนื่องมาแต่ฝ่ายเดียว จากการที่ผู้วายชนม์อยู่ในรัฐนั้นฐานะบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุลหรือใน ฐานะคนในครอบครัวของบุคคลในที่ทำการกงสุล? ?ข้อ 53(5) กรณีมรณกรรมของบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุล คนในครอบครัวซึ่งเป็นส่วนแห่งครัวเรือนของบุคคลดังกล่าว จะคงได้รับอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันที่ได้ประสาทให้แก่ตนต่อไป จนกว่าตนจะออกไปจากรัฐผู้รับ หรือจนกว่าจะสิ้นกำหนดเวลาอันสมควรที่จะสามารถให้ตนกระทำดังนั้นได้ แล้วแต่ว่าเวลาไหนจะมาถึงก่อนกัน? [การทูต] | Diplomatic Expressions | ถ้อยคำสำนวนที่ใช้ในวงการทูต กล่าวคือ ในวงการทูตจะมีการนิยมใช้ถ้อยคำสำนวนการทูต ถือกันว่าเป็นภาษาที่สุภาพ ซึ่งจะมีความหมายลึกซื้งเพียงใดนั้น บรรดาเจ้าหน้าที่ทางการทูตจะทราบกันดี อาทิเช่น?My Government views with concern หรือ with grave concern? จะแสดงถึงท่าทีที่ไม่เห็นด้วย หรือแสดงการประท้วง?My Government cannot remain indifferent to the matter? จะส่อถึงเจตนาที่จะดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่งต่อไปส่วนถ้อยคำสำนวนที่ว่า ?In such event my Government would feel bound to reconsider its position หรือ to consider its own interest??My Government will have to claim a free hand? หรือ ?feel obliged to formulate express reservations regarding?เหล่านี้เป็นถ้อยคำสำนวนที่เตือนให้ทราบว่า อาจเกิดการแตกร้าว หรือตัดขาดในพันธไมตรีที่มีต่อกันได้เมื่อรัฐบาลหนึ่งประกาศถือว่าการกระทำ ของอีกรัฐบาลหนึ่งเป็น ?an unfriendly act? หรือการกระทำที่ไม่เป็นมิตรเช่นนี้ ย่อมหมายถึงการเตือนให้ทราบว่า การกระทำเช่นนั้นอาจนำไปสู่สงครามได้ถ้าหากในตอนเสร็จสิ้นการประชุมกันมีการ แถลงการณ์หรือโฆษกของที่ประชุมแจ้งให้ทราบว่า ที่ประชุมได้ทำความตกลงกันโดยสมบูรณ์ (Full agreement) แต่ไม่มีการเปิดเผยให้ทราบว่ามีการตกลงอะไรกันบ้าง จะทำให้เป็นที่สงสัยกันว่าได้มีการตกลงกันโดยสมบูรณ์จริงละหรือ ถ้าหากคำประกาศนั้นใช้ถ้อยคำว่า มี ?substantial agreement? ก็พอจะอนุมานได้ว่าแท้ที่จริงยังมีเรื่องสำคัญ ๆ ที่ยังตกลงกันไม่ได้อีกบางเรื่อง อนึ่ง หากว่ามีการแถลงว่า ?there was a full exchange of views? ก็เท่ากับพูดว่า มิได้มีการตกลงกันแต่อย่างใดทั้งสิ้น [การทูต] | Drug-Free ASEAN | อาเซียนที่ปลอดจากยาเสพติด เป็นคำประกาศของอาเซียนในระหว่างการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน สมัยที่ 31 ที่กรุงมะนิลา เมื่อเดือนกรกฎาคม 2541 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อที่จะร่วมกันแก้ไขปัญหายาเสพติดด้วยการตั้งเป้าหมาย ที่จะทำให้ภูมิภาคนี้ปลอดจากยาเสพติดในปี พ.ศ. 2563 และต่อมา ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซียน สมัยที่ 33 ที่กรุงเทพฯ เมื่อเดือนกรกฎาคม 2543 ได้ประกาศร่นกำหนดเวลาดังกล่าวให้เร็วขึ้น 5 ปี จากเดิมในปี พ.ศ. 2563 เป็นปี พ.ศ. 2558 [การทูต] | Eisenhower Doctrine | ลัทธิไอเซนฮาวร์ เมื่อวันที่ 5 มกราคม ค.ศ. 1957 ประธานาธิบดีไอเซนฮาวร์ของสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีความวิตกห่วงใยในสถานการณ์ที่ล่อแหลมต่ออันตรายในภูมิภาคตะวันออกกลาง ได้อ่านสารพิเศษต่อที่ประชุมร่วมระหว่างสภาผู้แทนกับวุฒิสภาขอร้องให้รัฐสภา สหรัฐฯ ลงมติรับรองโครงการช่วยเหลือทางเศรษฐกิจและทางทหาร เพื่อธำรงรักษาไว้ซึ่งเอกราชแห่งชาติของบรรดาประเทศในภูมิภาคตะวันออกกลาง ให้มีความมั่นคงยิ่งขึ้น ดังนั้น ในการสนองตอบสารพิเศษดังกล่าว รัฐสภาสหรัฐฯ ได้ผ่านข้อมติร่วมกันเมื่อวันที่ 7 มีนาคม ค.ศ. 1957 มอบให้ประธานาธิบดีมีอำนาจให้ความร่วมมือและอำนวยความช่วยเหลือแก่ชาติหรือ กลุ่มชาติต่างๆ ในภูมิภาคตะวันออกกลาง ซึ่งต้องการความช่วยเหลือเช่นนั้น ในการที่จะพัฒนาพลังทางเศรษฐกิจเพื่อรักษาไว้ซึ่งเอกราชแห่งชาติตน และให้จัดโครงการช่วยเหลือทางทหารแก่ชาติต่างๆ ในภาคนั้นซึ่งต้องการความช่วยเหลือดังกล่าว ทั้งได้มอบอำนาจให้ประธานาธิบดีสามารถใช้กองทัพสหรัฐฯ เข้าช่วยเหลือชาติเหล่านั้นที่แสดงเจตนาขอความช่วยเหลือ เพื่อต่อต้านการรุกรานจากประเทศใด ๆ ที่อยู่ใต้อำนาจควบคุมของคอมมิวนิสต์ระหว่างประเทศ [การทูต] | Enhanced Interaction | การส่งเสริมปฏิสัมพันธ์ " การส่งเสริมปฏิสัมพันธ์เป็นคำที่เสนอโดย นายอาลี อาลาตัส รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศอินโดนีเซีย ในที่ประชุม AMM ครั้งที่ 31 ณ กรุงมะนิลา ซึ่งในด้านสารัตถะมีความหมายเช่นเดียวกับนโยบาย Flexible Engagement แต่เป็นคำที่อาเซียนส่วนใหญ่เห็นว่า มีความ เหมาะสมที่จะใช้สื่อเจตนารมณ์ของอาเซียนในการยกระดับความร่วมมือที่เพิ่มพูน และเปิดกว้างระหว่างกัน " [การทูต] | Final Act | กรรมสารสุดท้าย คือคำแถลงหรือคำสรุปอย่างเป็นทางการจากเรื่องราวการ ประชุม คำแถลงนี้จะระบุสนธิสัญญาและอนุสัญญาที่ได้มีการลงนามกันอันเป็นผลจากการ ประชุม และในบางกรณีจะผนวกความเห็นหรือข้อเสนอแนะหรือความปรารถนาจากที่ประชุมไว้ ด้วย ผู้แทนที่มีอำนาจเต็มเท่านั้นจะเป็นผู้ลงนามในกรรมสารสุดท้าย ในตอนสุดท้ายของการประชุม [การทูต] | food security | ความมั่นคงทางด้านอาหาร หมายถึง การที่ประชากรโลกมีอาหารเพียงพอกับความต้องการ (availibility) มีเสถียรภาพ (stability) และสามารถเข้าถึงได้ (accessibility) แนวความคิดเรื่องความมั่นคงทางด้านอาหารนี้ เป็นผลสืบเนื่องมาจากการรับรองปฏิญญากรุงโรม ของที่ประชุมสุดยอด อาหารโลก เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2539 ซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่จะขจัดความหิวโหย และลดปัญหาทุโภชนาการของประชากรโลก โดยตั้งเป้าหมายที่จะลดจำนวนประชากรที่ขาดอาหารให้เหลือครึ่งหนึ่งจากที่มี อยู่ในปัจจุบัน ภายในปี พ.ศ. 2558 [การทูต] | Geneva Conference on the Problem of Restoring Peace in Indo-China | การประชุม ณ นครเจนีวา ว่าด้วยปัญหาการนำสันติภาพกลับคืนสู่อินโดจีน ในการประชุมนี้ มีการทำความตกลงกันเกี่ยวกับการหยุดสู้รบระหว่างกำลังทหารในประเทศเวียดนาม กัมพูชา และลาว กับกำลังทหารฝรั่งเศส ความตกลงดังกล่าวได้กระทำกันในนครเจนีวา เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1954 มีผู้แทนจากประเทศกัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม ฝรั่งเศส ลาว สาธารณรัฐประชาชนจีน รัฐเวียดนาม (เวียดนามใต้) สหภาพโซเวียต สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา เข้าร่วมการประชุมตามข้อตกลงนี้ให้มีการยุติการสู้รบในกัมพูชา ลาว และเวียดนาม และการปฏิบัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติในความตกลงดังกล่าว ให้อยู่ใต้ความควบคุมและดูแลระหว่างประเทศ ที่ประชุมเจนีวาได้แสดงความมั่นใจว่า ในการปฏิบัติตามข้อตกลงจะปล่อยให้กัมพูชา ลาว และเวียดนาม ได้แสดงบทบาทภายใต้ความเป็นเอกราชและอำนาจอธิปไตยของตนอย่างสมบูรณ์ภายใน ประชาคมนานาชาติ สำหรับความตกลงเกี่ยวกับเวียดนามใด้ห้ามมิให้นำกองทหารและเจ้าหน้าที่ฝ่าย ทหารของต่างชาติ รวมทั้งอาวุธและอุปกรณ์ทางทหารทุกชนิดเข้าไปในประเทศนั้น ที่ประชุมยังได้รับรองว่า วัตถุประสงค์สำคัญยิ่งของความตกลงเกี่ยวกับเวียดนามคือ ต้องการระงับปัญหาต่าง ๆ ทางทหาร เพื่อยุติการสู้รบ และการปักปันเส้นเขตแดนทางทหารนั้น ให้ถือเป็นการชั่วคราว มิได้หมายความว่าเป็นแนวแบ่งเขตทางการเมืองหรือทางดินแดนแต่ประการใดทั้งสิ้น [การทูต] | Great Powers | ประเทศมหาอำนาจ รัฐที่พอจะเรียกได้ว่าเป็นประเทศมหาอำนาจ คือรัฐที่มีอำนาจอิทธิพลครอบงำในกิจการระหว่างประเทศ ไม่มีกฎหมายใดๆ ที่จะกำหนดว่าประเทศนั้น ประเทศนี้มีสถานภาพเป็นมหาอำนาจ หากเป็นเพียงเพราะรัฐนั้นๆ มีขนาด พละกำลัง และอำนาจอิทธิพลทางเศรษฐกิจเป็นพื้นฐาน และจะสังเกตได้ว่า สถานะของกลุ่มประเทศมหาอำนาจเช่นนี้ก็จะเปลี่ยนแปลงได้บ่อยๆ เช่น ในสมัยการประชุมคองเกรสแห่งเวียนนาในปี ค.ศ. 1815 ประเทศมหาอำนาจในสมัยนั้นได้แก่ อังกฤษ ออสเตรีย ฝรั่งเศส ปอร์ตุเกส ปรัสเซีย สเปน สวีเดน และรัสเซีย หลังจากนั้นได้เกิดการเปลี่ยนแปลงใหม่เกี่ยวกับพละกำลังของประเทศมหาอำนาจ คือก่อนเกิดสงครามโลกครั้งที่ หนึ่ง ประเทศที่จัดว่าเป็นมหาอำนาจในตอนนั้นคือ อังกฤษ ฮังการี ฝรั่งเศส เยอรมนี อิตาลี และรัสเซีย ซึ่งตั้งอยู่ในทวีปยุโรป รวมทั้งสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ซึ่งตั้งอยู่นอกยุโรป เมื่อตอนสิ้นสงครามโลกครั้งที่สอง ประเทศที่เป็นมหาอำนาจได้แก่ สหรัฐอเมริกา อังกฤษ โซเวียตรัสเซีย ฝรั่งเศส และจีน พึงสังเกตด้วยว่า องค์การสหประชาชาติได้ถือว่า ประเทศทั้ง 5 นี้มีอำนาจและมีความสำคัญมากที่สุดในขณะนั้น ทั้ง 5 ประเทศนี้ต่างเป็นสมาชิกถาวรในคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติ ซึ่งมีอำนาจใช้สิทธิยับยั้ง (Veto) ในที่ประชุม ซึ่งในปัจจุบันก็ยังปฏิบัติเช่นนั้นอยู่ [การทูต] | Head of Diplomatic Mission | บุคคลซึ่งได้รับมอบหมายจากรัฐผู้ส่งให้ทำหน้าที่ เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูต ในกรณีของสถานเอกอัครราชทูตผู้ที่เป็นหัวหน้าคณะผู้แทน ทางการทูต เรียกว่า เอกอัครราชทูตวิสามัญและมีอำนาจเต็ม (Ambassador Extraordinary and plenipotentiary) หัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตจะได้แก่ อัครราชทูตวิสามัญและมีอำนาจเต็ม หรือเรียกว่าอุปทูต (Chargé d?Affaires entitre) คองเกรสแห่งเวียนนาและที่ประชุมแห่งเอกซ์ ลา ชา แปล (Congress of Aix-la-Chapelle) ได้จำแนกหัวหน้าคณะผู้แทนทางการทูตไว้ดังต่อไปนี้ คือ1. เอกอัครราชทูต (Ambassadors) หรือเอกอัครสมณทูต (Papal Nucios)2. อัครราชทูต (Envoys Extraordinary and Ministers Plenipotentiary)3. อัครราชทูตผู้มีถิ่นพำนัก (Mission Resident)4. อุปทูต (Chargé d?Affaires)แต่อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางการทูต ได้บัญญัติไว้ในมาตร 14 ว่า?1. หัวหน้าคณะผู้แทนแบ่งออกเป็น 3 ชั้น คือก. ชั้นเอกอัครราชทูตหรือเอกอัครสมณทูต ซึ่งแต่งตั้งไปยังประมุขของรัฐ และหัวหน้าคณะผู้แทนอื่นที่มีชั้นเท่ากันข. ชั้นรัฐทูต อัครราชทูต และอัครสมณทูต ซึ่งแต่งตั้งไปยังประมุขของรัฐค. ชั้นอุปทูตซึ่งแต่งตั้งไปยังรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ 2. ข้อยกเว้นที่เกี่ยวกับลำดับอาวุโสและมารยาท ต้องไม่ให้มีความแตกต่างกันระหว่างหัวหน้าคณะผู้แทน ในมาตรา 15 ก็ได้ระบุว่า ชั้นที่กำหนดให้แก่หัวหน้าคณะผู้แทนนั้น ต้องทำความตกลงกันระหว่างรัฐ? [การทูต] | Hanoi Plan of Action | แผนปฏิบัติการฮานอย เป็นแผนงานระยะ 6 ปี ระหว่างปี พ.ศ. 2542-2547 ซึ่งที่ประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ ครั้งที่ 2 ที่กรุงฮานอย เมื่อเดือนธันวาคม 2541 ได้ให้ความเห็นชอบเพื่อใช้เป็นแผนงานฉบับแรกของอาเซียนสำหรับการสร้างเสริม ความร่วมมือของอาเซียนในด้านต่าง ๆ ซึ่งจะนำไปสู่วิสัยทัศน์อาเซียนปี พ.ศ. 2563 [การทูต] | Humanitarian Intervention | การแทรกแซงเพื่อมนุษยธรรม " เป็นแนวคิดที่นายโคฟี อันนาน เลขาธิการสหประชาชาติเสนออย่างเป็น ทางการครั้งแรกต่อที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ สมัยที่ 54 เมื่อปี พ.ศ. 2542 โดยมุ่งจะให้สหประชาชาติสามารถเข้าไปแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนภาย ในประเทศต่าง ๆ ได้โดย คำนึงถึงประเด็นเรื่องมนุษยธรรมเป็นหลัก ขณะนี้ แนวคิดนี้ยังคงเป็นที่ถกเถียงกันและยังไม่ยุติ โดยบางประเทศเห็นว่า เป็นการดำเนินการที่ขัดต่อกฎบัตรสหประชาชาติและกฎหมายระหว่างประเทศ เนื่องจากเป็นการละเมิดอธิปไตยของรัฐ บางประเทศเห็นว่าเป็นมาตรการที่จำเป็นเพื่อแก้ปัญหาของมนุษยชาติ ส่วนบางประเทศเห็นว่าการแทรกแซงดังกล่าวจะต้องอยู่ใต้กรอบหลักเกณฑ์ หรือกรอบกฎหมายบางประการ เช่น กฎบัตรสหประชาชาติ " [การทูต] | International Atomic Energy Agency | สำนักพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ ในการประชุมระหว่างประเทศ ที่ประชุมได้รับรองกฎข้อบังคับขององค์การนี้เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม ค.ศ. 1956 ณ สำนักงานใหญ่ขององค์การสหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก รัฐที่ร่วมลงนามเป็นสมาชิกขององค์การอย่างน้อย 18 ประเทศ รวมทั้งประเทศดังต่อไปนี้ คือ แคนาดา ฝรั่งเศส สหภาพโซเวียต สหราชอาณาจักร และ สหรัฐอเมริกา อย่างน้อยสามประเทศได้มอบสัตยาบันสาร ยังผลให้กฎข้อบังคับดังกล่าวมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 29 ตุลาคม ค.ศ. 1956วัตถุประสงค์ขององค์การพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ คือ1. ต้องการเร่งรัดและส่งเสริมให้พลังงานปรมาณูมีส่วนเกื้อกูลมากขึ้นต่อ สันติภาพ สุขภาพ และความไพบูลย์มั่งคั่งตลอดทั่วโลก2. ทำให้เป็นที่แน่ใจว่า ความช่วยเหลือที่องค์การจัดให้หรือตามคำขอร้องขององค์การ หรือที่อยู่ใต้ความควบคุมดูแลขององค์การนั้น จะต้องไม่ถูกนำไปใช้เพื่อส่งเสริมความมุ่งหมายทางทหารแต่อย่างใดองค์การ ดำเนินงานผ่านทางองค์กรต่าง ๆ เหล่านี้ คือ1. ที่ประชุมระหว่างประเทศ (General Conference) ประกอบด้วยสมาชิกของสำนักพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศทั้งหมด มีการประชุมสมัยสามัญประจำปี และอาจมีการประชุมสมัยพิเศษเท่าที่จำเป็น ที่ประชุมจะพิจารณาแลกเปลี่ยนความเห็นในปัญหาต่าง ๆ ที่อยู่ภายในกรอบของกฎข้อบังคับ2. คณะผู้ว่าการ (Board of Governors) ประกอบด้วยประเทศสมาชิกทั้งหมด 23 ประเทศ ปฏิบัติงานตามหน้าที่ขององค์การ3. คณะเจ้าหน้าที่ขององค์การมีหัวหน้าเรียกว่าอธิบดี (Director General) ซึ่งคณะผู้ว่าการแต่งตั้งขึ้นตามความเห็นชอบของที่ประชุมใหญ่ และมีอายุอยู่ในตำแหน่ง 4 ปี ตัวอธิบดีถือเป็นหัวหน้าคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหารขององค์การ มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ในกรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย [การทูต] | International Civil Aviation Organization | เรียกโดยย่อว่า ICAO คือองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 14 เมษายน ค.ศ. 1947 หลังจากที่ประเทศสมาชิก 28 แห่ง ได้ให้สัตยาบันแก่อนุสัญญาว่าด้วยการบินพลเรือน ซึ่งได้ร่างขึ้นโดยที่ประชุมองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศในนครชิคาโก เมื่อปี ค.ศ.1944วัตถุประสงค์ของ ICAO คือการศึกษาปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับการบินพลเรือนระหว่างประเทศ รวมทั้งจัดวางมาตรฐานระหว่างประเทศ และระเบียบข้อบังคับสำหรับการบินพลเรือนองค์การจะพยายามสนับสนุนให้มีการใช้ มาตรการว่าด้วยความปลอดภัย วางระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการปฏิบัติให้เสมอเหมือนกันหมด และให้ใช้วิธีปฏิบัติที่สะดวกง่ายขึ้นตรงพรมแดนระหว่างประเทศ องค์การจะส่งเสริมการใช้วิธีการทางเทคนิคและอุปกรณ์เครื่องมือใหม่ ๆ ดังนั้น ด้วยความร่วมมือจากประเทศสมาชิก องค์การจะจัดวางแนวบริการทางอุตุนิยมวิทยา การควบคุมการจราจรทางอากาศ การคมนาคมสื่อสารไฟสัญญาณด้านวิทยุ จัดระเบียบการค้นหาและช่วยเหลือ รวมทั้งอุปกรณ์ความสะดวกอื่น ๆ ซึ่งจำเป็นที่จะให้การบินระหว่างประเทศได้รับความปลอดภัยยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังชักจูงให้รัฐบาลประเทศสมาชิกวางแนวทางปฏิบัติด้านศุลกากรให้สะดวกง่าย ขึ้น รวมทั้งการตรวจคนเข้าเมือง และระเบียบเกี่ยวกับสาธารณสุขที่ใช้กับการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศ นอกจากนี้ องค์การยังรับผิดชอบต่องานร่างกฎหมายเกี่ยวกับการบินระหว่างประเทศ ทั้งยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับการขนส่งทางอากาศระหว่างประเทศในด้านเศรษฐกิจมาก มายหลายอย่างองค์การ ICAO ดำเนินงานโดยองค์การต่าง ๆ ดังนี้1. สมัชชา (Assembly) ประกอบด้วยผู้แทนของประเทศสมาชิกทุกประเทศ ทำการประชุมกันปีละครั้ง และจะลงมติเกี่ยวกับมาตรการทางการเงิน และจะรับพิจารณาเรื่องต่าง ๆ ที่คณะมนตรีส่งมาให้ดำเนินการ2. คณะมนตรี (Council) ประกอบด้วยผู้แทนจากชาติต่าง ๆ 21 ชาติ ซึ่งสมัชชาเป็นผู้เลือก โดยคำนึงถึงประเทศที่มีความสำคัญในการขนส่งทางอากาศ รวมทั้งประทเศที่มีส่วนเกื้อกูลไม่น้อยในการจัดอำนวยอุปกรณ์ความสะดวกแก่การ เดินอากาศฝ่ายพลเรือนระหว่างประเทศ และจัดให้มีตัวแทนตามจำนวนที่เหมาะสมในเขตภูมิศาสตร์ใหญ่ ๆ ของโลก คณะมนตรีเป็นผู้เลือกตั้งประธาน (President) ขององค์การ3. เลขาธิการ (Secretary-General) ซึ่งเป็นผู้แต่งตั้งคณะเจ้าหน้าที่ขององค์การ [การทูต] | International Conferences | คือการประชุมระหว่างประเทศอย่างเป็นทางการระหว่าง ผู้แทนผู้มีอำนาจเต็มจากหลาย ๆ ประเทศ เพื่อพิจารณาหาทางระงับปัญหาระหว่างประเทศ การประชุมเช่นนี้บางทีเรียกว่า คองเกรสระหว่างประเทศ แม้จะเรียกต่างกัน แต่ก็ไม่มีอะไรแตกต่างกันที่สำคัญระหว่างสองคำนี้ บ้างมีความเห็นว่า ใช้คำคองเกรส ดูจะมีความสำคัญและมีลักษณะเป็นทางการมากกว่าใช้คำ คอนเฟอเรนซ์ผู้แทนจากประเทศที่ร่วมการประชุมในบางโอกาส ได้แก่บุคคลในระดับนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือเอกอัครราชทูต แล้วแต่ว่าการประชุมนั้น ๆ มีความสำคัญระดับใดในการประชุมระหว่างประเทศ แต่เดิมใช้ภาษาอังกฤษและภาษาฝรั่งเศสกันมากทั้งสองภาษา มาในภายหลังมักนิยมใช้ภาษาอังกฤษเกือบทั้งหมด ส่วนการประชุมระหว่างประเทศที่องค์การสหประชาชาติเป็นผู้จัด จะใช้ภาษาอังกฤษ ฝรั่งเศส สเปน รัสเซีย และจีน รวม 5 ภาษาตามปกติ มักจะเลือกหัวหน้าคณะผู้แทนของประเทศเจ้าภาพให้ทำหน้าที่ประธานการประชุม ส่วนเจ้าหน้าที่อื่น ๆ ของการประชุม ได้แก่ รองประธาน เลขานุการของการประชุม ประธานกรรมการ และผู้บันทึกรายงานสำหรับรายงานการประชุม ข้อมติของที่ประชุมและข้อเสนอแนะนั้น จะรวมเข้าไว้ในเอกสารที่เรียกว่า กรรมสารสุดท้าย (Final Act) ซึ่งผู้แทนประเทศผู้มีอำนาจเต็มจะเป็นผู้ลงนามในเอกสารนั้นในการประชุมครั้ง สุดท้าย [การทูต] | International Labor Organization | คือองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 11 เมษายน ปีค.ศ.1919 วัตถุประสงค์สำคัญขององค์การคือ การมีส่วนเกื้อกูลให้มีสันติภาพอันถาวร ด้วยการส่งเสริมให้มีความยุติธรรมในสังคม โดยต้องการให้ทุกประเทศปฏิบัติการปรับปรุงสภาวะแรงงาน ส่งเสริมมาตรฐานการครองชีพ พร้อมทั้งส่งเสริมเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและสังคมให้ดีขึ้นการที่จะให้บรรลุ ตามวัตถุประสงค์เหล่านี้ องค์การแรงงานระหว่างประเทศจะจัดให้มีการประชุมเป็นประจำ ระหว่างฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายแรงงาน และฝ่ายจัดการ เพื่อเสนอแนะและจัดให้มีมาตรฐานระหว่างประเทศ ร่วมกันจัดร่างสัญญาแรงงานระหว่างประเทศเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ เช่น ค่าแรง ชั่วโมงทำงาน อายุการทำงาน เงื่อนไขการทำงานสำหรับคนงานในระดับต่าง ๆ ค่าชดเชยสำหรับคนงาน การประกันสังคม การหยุดพักร้อนโดยให้รับเงินเดือน ความปลอดภัยในงานอุตสาหกรรม บริการต่าง ๆ ในหน้าที่การงาน การตรวจแรงงาน เสรีภาพในการคบหาสมาคมกัน และอื่น ๆ นอกจากนั้น องค์การยังได้ให้ความช่วยเหลือทางวิชาการอย่างกว้างขวางแก่รัฐบาลของประเทศ สมาชิก รวมทั้งจัดพิมพ์เผยแพร่สิ่งพิมพ์หรือเอกสารรายคาบ เรื่องค้นคว้าและรายงานต่าง ๆ เกี่ยวกับปัญหาสังคม อุตสาหกรรม และแรงงานILO ปฏิบัติงานผ่านองค์กรต่าง ๆ โดยองค์กรสำคัญที่สุดภายในองค์การแรงงานระหว่างประเทศได้แก่ ที่ประชุมใหญ่ (General Conference) ซึ่งประชุมกันเป็นประจำทุกปี ประกอบด้วยคณะผู้แทนแห่งชาติ ในจำนวนนี้มีผู้แทนจากฝ่ายรัฐบาล 2 คน ผู้แทนฝ่ายจัดการ 1 คน และผู้แทนฝ่ายแรงงานอีก 1 คน หน้าที่สำคัญคือจัดวางมาตรฐานทางสังคมระหว่างประเทศขึ้นในรูปของอนุสัญญา องค์กรภายในองค์การอีกส่วนหนึ่งคือคณะผู้ว่าการ (Governing Body) จะประกอบด้วย สมาชิก 40 คน ในจำนวนนี้ 20 คน จะเป็นตัวแทนของฝ่ายรัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง 10 คน จากจำนวนนี้จะได้แก่ ตัวแทนจากประเทศอุตสาหกรรมใหญ่ ๆ ส่วนตัวแทนของฝ่ายจัดการ (หรือนายจ้าง) จะมีจำนวน 10 คน และอีก 10 คนเป็นตัวแทนของฝ่ายแรงงาน คณะผู้ว่าการนี้จะทำหน้าที่ควบคุมดูแลงานของคณะกรรมาธิการ และคณะกรรมการขององค์การ คือสำนักแรงงานระหว่างประเทศจะมีหน้าที่รวบรวมเผยแพร่ข้อสนเทศ ช่วยเหลือรัฐบาลของประเทศสมาชิกที่ขอร้องให้ช่วยร่างกฎหมายตามที่ได้มีมติ ตกลงในที่ประชุมใหญ่ นอกจากนี้ ยังรับดำเนินการสอบสวนเรื่องต่าง ๆ เป็นพิเศษ รวมทั้งออกสิ่งพิมพ์เผยแพร่องค์การแรงงานระหว่างประเทศมีสำนักงานใหญ่ตั้ง อยู่ ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ [การทูต] | Millennium Summit | การประชุมสุดยอดแห่งสหัสวรรษ การประชุมสุดยอดของประมุขของรัฐและหัวหน้ารัฐบาลที่จัดขึ้น ณ สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ ณ นครนิวยอร์ก ระหว่างวันที่ 6-8 กันยายน 2543 (ค.ศ. 2000) เพื่อให้ผู้นำประเทศต่าง ๆ เสนอข้อคิดเห็นต่อการกำหนดทิศทางการดำเนินงานของสหประชาชาติในศตวรรษที่ 21 ให้สามารถเผชิญต่อความเปลี่ยนแปลงและสิ่งท้าทายต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ [ ที่ประชุมยืนยันพันธกรณีร่วมกันที่จะเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้แก่สหประชา ชาติในการดำเนินการเรื่องสำคัญของมนุษยชาติ ดังระบุไว้ในปฏิญญาแห่งสหัสวรรษ (Millennium Declaration) ] [การทูต] | The New Partnership for Africa?s Development | หุ้นส่วนใหม่เพื่อการพัฒนาแอฟริกา เป็นแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของแอฟริกา มีวัตถุประสงค์ในการ ส่งเสริมความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และการพัฒนาที่ยั่งยืนของประเทศแอฟริกา การขจัดความยากจนและการขจัดความเสียเปรียบของประเทศแอฟริกาในยุคโลกาภิวัตน์ NEPAD พัฒนามาจากการประชุม สุดยอดผู้นำกลุ่มประเทศ G8 ที่ญี่ปุ่นเมื่อปี พ.ศ. 2542 ซึ่งในการประชุมนี้ ประธานาธิบดีแอฟริกาใต้ ประธานาธิบดีไนจีเรีย และประธานาธิบดี แอลจีเรียได้เสนอต่อที่ประชุม ขอให้กลุ่มประเทศเหนือและประเทศใต้ร่วมกันแก้ปัญหาที่ทั้งสองกลุ่มประเทศ เผชิญอยู่ บนพื้นฐานของ ผลประโยชน์ร่วมกัน โดยเน้นการพัฒนาประเทศที่ยากจน เช่น ประเทศ ในภูมิภาคแอฟริกา ต่อมาบรรดาผู้นำของกลุ่มประเทศแอฟริกาได้ร่วมกันกำหนดแผนพัฒนาแอฟริกาสำหรับ ใช้ขอรับการสนับสนุนจากประเทศพัฒนาแล้วในเวทีการประชุมระหว่างประเทศต่าง ๆ ที่เรียกว่า New Africa Initiative (NAI) ที่ประชุมองค์การเอกภาพแอฟริกา หรือ OAU (ซึ่งต่อมากลายเป็น African Union ? AU) ได้เห็นชอบต่อแผน NAI ดังกล่าวในเดือนกรกฎาคม 2544 ผู้นำของประเทศแอฟริกาได้นำเสนอ NAI ต่อที่ประชุมสุดยอดผู้นำกลุ่มประเทศ G8 เมื่อปี พ.ศ. 2544 และได้รับการปรับปรุงแก้ไขจนเป็น NEPAD ในปัจจุบัน [การทูต] | New World Order | ระเบียบใหม่ของโลก คำนี้มีส่วนเกี่ยวพันกับอดีตประธานาธิบดียอร์ช บุช และเป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางใจสมัยหลังจากที่ประเทศอิรักได้ใช้กำลัง ทหารรุกรานประเทศคูเวต เมื่อวันที่ 2 สิงหาคม ค.ศ. 1990 กล่าวคือ ประธานาธิบดียอร์ช บุช มีความวิตกห่วงใยว่า การที่สหรัฐอเมริกาแสดงปฏิกิริยาต่อการรุกรานของอิรักนี้ ไม่ควรจะให้โลกมองไปในแง่ที่ว่า เป็นการปฏิบัติการของสหรัฐแต่ฝ่ายเดียวหากควรจะมองว่าเป็นเรื่องของหลักความ มั่นคงร่วมกัน (Collective Security ) ที่นำออกมาใช้ใหม่ในสมัยหลังสงครามเย็นในสุนทรพจน์ต่อที่ประชุมสภาร่วมทั้ง สองของรัฐสภาอเมริกันเมื่อวันที่ 11 กันยายน ค.ศ. 1990 ประธานาธิบดีบุชได้วางหลักการง่าย ๆ 5 ข้อ ซึ่งประกอบเป็นโครงร่างของระเบียบใหม่ของโลก ตามระเบียบใหม่ของโลกนี้ โลกจะปลอดพ้นมากขึ้นจากการขู่เข็ญหรือการก่อการร้าย ให้ใช้มาตรการที่เข้มแข็งในการแสวงความยุติธรรม ตลอดจนให้บังเกิดความมั่นคงยิ่งขึ้นในการแสวงสันติสุข ซึ่งจะเป็นยุคที่ประชาชาติทั้งหลายในโลก ไม่ว่าจะอยู่ในภาคตะวันออก ตะวันตก ภาคเหนือหรือภาคใต้ ต่างมีโอกาสเจริญรุ่งเรืองและมีชีวิตอยู่ร่วมกันอย่างกลมเกลียวแม้ว่า ระเบียบใหม่ของโลก ดูจะยังไม่หลุดพ้นจากความคิดขั้นหลักการมาเป็นขั้นปฏิบัติอย่างจริงจังก็ตาม แต่นักวิจารณ์ส่วนใหญ่เห็นพ้องต้องกันว่า อย่างน้อยก็เป็นการส่อให้เห็นเจตนาอันแน่วแน่ที่จะกระชับความร่วมมือระหว่าง ประเทศใหญ่ ๆ ทั้งหลายให้มากยิ่งขึ้น ส่งเสริมให้องค์การระหว่างประเทศมีฐานะเข้มแข็งขึ้น และให้กฎหมายระหว่างประเทศมีความศักดิ์สิทธิ์ยิ่งขึ้น ต่อมา เหตุการณ์ที่ได้เกิดขึ้นในด้านการเมืองของโลกระหว่างปี ค.ศ. 1989 ถึง ค.ศ. 1991 ทำให้หลายคนเชื่อกันว่า ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกำลังผันไปสู่หัวเลี้ยวหัวต่อใหม่ กล่าวคือ ความล่มสลายของลัทธิคอมมิวนิสต์ในยุโรปภาคตะวันออก อวสานของสหภาพโซเวียตในฐานะประเทศอภิมหาอำนาจ การยุติของกติกาสัญญาวอร์ซอว์และสงครามเย็น การรวมเยอรมนีเข้าเป็นประเทศเดียว และการสิ้นสุดของลัทธิอะพาไทด์ในแอฟริกาใต้ (คือลัทธิกีดกันและแบ่งแยกผิว) เหล่านี้ทำให้เกิด ?ศักราชใหม่? ของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ดังจะเห็นได้ว่า บรรดาประเทศต่าง ๆ บัดนี้ต่างพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกันมากขึ้น องค์การสหประชาชาติและคณะมนตรีความมั่นคงมีศักยภาพสูงขึ้น กำลังทหารมีประโยชน์น้อยลง เสียงที่กำลังกล่าวขวัญกันหนาหูเกี่ยวกับระเบียบใหม่ของโลกในขณะนี้ คือความพยายามที่จะปฏิรูปองค์การสหประชาติใหม่ และปรับกลไกเกี่ยวกับรักษาความมั่นคงร่วมกันให้เข้มแข็งขึ้นอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้สิทธิ์ยับยั้ง (Veto) ในคณะมนตรีความมั่นคง ควรจะเปลี่ยนแปลงเสียใหม่ โดยจะให้สมาชิกที่มีอำนาจใช้สิทธิ์ยับยั้งนั้นได้แก่สมาชิกในรูปกลุ่มประเทศ (Blocs of States) แทนที่จะเป็นประเทศสมาชิกถาวร 5 ประเทศเช่นในปัจจุบันอย่างไรก็ดี การสงครามอ่าวเปอร์เซียถึงจะกระทำในนามของสหประชาชาติ แต่ฝ่ายที่รับหน้าที่มากที่สุดคือสหรัฐอเมริกา แม่ว่าฝ่ายที่รับภาระทางการเงินมากที่สุดในการทำสงครามจะได้แก่ซาอุดิอาระ เบียและญี่ปุ่นก็ตาม ถึงแม้ว่าคติของระเบียบใหม่ของโลกจะผันต่อไปในรูปใดก็ดี สิ่งที่แน่นอนที่สุดก็คือ โลกจะยังคงต้องอาศัยพลังอำนาจ การเป็นผู้นำ และอิทธิพลของสหรัฐอเมริกาต่อไปอยู่นั่นเอง [การทูต] | Order of Precedence | หมายถึง ลำดับอาวุโสทางการทูต โดยถือยศหรือตำแหน่งเป็นบรรทัดฐาน โดยเฉพาะในโอกาสที่ไปร่วมพิธีต่าง ๆ ตลอดจนการเลี้ยงอาหารอย่างเป็นทางการ นักการทูตทั่วโลกต่างถือลำดับอาวุโสเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องพิถีพิถันกันไม่ น้อย เพราะในฐานะที่เป็นตัวแทนของประเทศ หากมีการจัดลำดับอาวุโสไม่ถูกต้อง เขาผู้นั้นซึ่งคำนึงถึงศักดิ์ศรีในฐานะตัวแทนของประเทศย่อมต้องรู้สึกว่า นอกจากจะไม่ได้รับความถูกต้องแล้ว ยังเป็นการดูแคลนประเทศของตนด้วยในสมัยก่อน ผู้ที่ทำหน้าที่ชี้ขาดในเรื่องลำดับอาวุโสของบรรดาประมุขของรัฐทั้งหลาย คือสมเด็จพระสันตะปาปา ต่อมาในการประชุมคองเกรสแห่งเวียนนาเมื่อปี ค.ศ. 1815 ที่ประชุมได้ตกลงกันให้ถือวันที่เดินทางมาถึงประเทศผู้รับ และได้แจ้งให้ทราบเป็นทางการว่าเป็นเรื่องลำดับอาวุโส ผู้ที่มาถึงก่อนย่อมมีอาวุโสกว่าผู้ทีมาทีหลัง อย่างไรก็ดี มาในทุกวันนี้มีหลายประเทศถือหลักว่า ผู้แทนทางการทูตที่ยื่นสารตราตั้งก่อนจะมีอาวุโสกว่าผู้ยื่นสารตราตั้งที หลัง และในกรณีที่เกิดความเห็นไม่ลงรอยกันระหว่างบุคคลในคณะทูตเรื่องลำดับอาวุโส ประเทศเจ้าภาพหรือประเทศผู้รับจะเป็นผู้ตัดสินชี้ขาดอนุสัญญากรุงเวียนนาว่า ด้วยความสัมพันธ์ทางการทูตได้บัญญัติเกี่ยวกับลำดับอาวุโสของผู้แทนทางการ ทูตไว้ดังนี้ ?ข้อ 16 1. ให้หัวหน้าคณะผู้แทนมีลำดับอาวุโสในแต่ละชั้นของตนตามลำดับวันและเวลาที่ เข้ารับการหน้าที่ของตนในรัฐผู้รับ เมื่อตนได้ยื่นสารตราตั้ง หรือเมื่อได้บอกกล่าวการมาถึงของตนและได้เสนอสำเนาที่ถูกต้องของสารตราตั้ง ต่อกระทรวงการต่างประเทศของรัฐผู้รับ หรือกระทรวงอื่นตามที่อาจจะตกลงตามแนวปฏิบัติที่มีอยู่ในรัฐผู้รับ ซึ่งจะต้องใช้ในทำนองอันเป็นเอกรูป 2. การเปลี่ยนแปลงในสารตราตั้งของหัวหน้าคณะผู้แทน ซึ่งไม่เกี่ยวพันกับการเปลี่ยนแปลงชั้นใด ๆ จะไม่กระทบกระเทือนลำดับอาวุโสของหัวหน้าคณะผู้แทน 3. ข้อนี้ไม่เป็นที่เสื่อมเสียแก่ทางปฏิบัติใด ซึ่งมีอยู่ในรัฐผู้รับ ในเรื่องลำดับอาวุโสของผู้แทนของโฮลี่ซี ข้อ 17 ลำดับอาวุโสของสมาชิกคณะเจ้าหน้าที่ฝ่ายทูตของคณะผู้แทนนั้น ให้หัวหน้าคณะผู้แทนเป็นผู้บอกกล่าวแก่กระทรวงการต่างประเทศ หรือกระทรวงอื่นตามที่อาจจะตกลงกัน? [การทูต] | Palestine Question | ปัญหาปาเลสไตน์ เมื่อวันที่ 2 เมษายน ค.ศ. 1947 ประเทศอังกฤษได้ขอให้สมัชชาใหญ่สหประชาชาติ ทำการประชุมสมัยพิเศษเพื่อพิจารณาปัญหาปาเลสไตน์ สมัชชาได้ประชุมกันระหว่างวันที่ 28 เมษายน ถึงวันที่ 15 พฤษภาคม ค.ศ. 1947 และที่ประชุมได้จัดตั้งคณะกรรมการพิเศษเกี่ยวกับปาเลสไตน์ขึ้น ประกอบด้วยผู้แทนจากประเทศสมาชิกรวม 11 ประเทศ ซึ่งหลังจากที่เดินทางไปตรวจสถานการณ์ในภาคตะวันออกกลาง ก็ได้เสนอรายงานเกี่ยวกับปัญหาดังกล่าว รายงานนี้ได้ตั้งข้อเสนอแนะรวม 12 ข้อ รวมทั้งโครงการฝ่ายข้างมาก (Majority Plan) และโครงการฝ่ายข้างน้อย (Minority Plan) ตามโครงการข้างมาก กำหนดให้มีการแบ่งดินแดนปาเลสไตน์ออกเป็นรัฐอาหรับแห่งหนึ่ง รัฐยิวแห่งหนึ่ง และให้นครเยรูซาเล็มอยู่ภายใต้ระบบการปกครองระหว่างประเทศ รวมทั้งให้ดินแดนทั้งสามแห่งนี้มีความสัมพันธ์ร่วมกันในรูปสหภาพเศรษฐกิจ ส่วนโครงการฝ่ายข้างน้อย ได้เสนอให้ตั้งรัฐสหพันธ์ที่เป็นเอกราชขึ้น ประกอบด้วยรัฐอาหรับและรัฐยิว อันมีนครเยรูซาเล็มเป็นนครหลวงต่อมาในวันที่ 29 พฤศจิกายน ค.ศ. 1947 สมัชชาสหประชาชาติได้ประชุมลงมติรับรองข้อเสนอของโครงการฝ่ายข้างมาก ซึ่งฝ่ายยิวได้รับรองเห็นชอบด้วย แต่ได้ถูกคณะกรรมาธิการฝ่ายอาหรับปฏิเสธไม่รับรอง โดยต้องการให้มีการจัดตั้งรัฐอาหรับแต่เพียงแห่งเดียว และทำหน้าที่คุ้มครองสิทธิของคนยิวที่เป็นชนกุล่มน้อย อนึ่ง ตามข้อมติของสมัชชาสหประชาชาติได้กำหนดให้อำนาจอาณัติเหนือดินแดนปาเลสไตน์ สิ้นสุดลงและให้กองทหารอังกฤษถอนตัวออกไปโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ และอย่างช้าไม่เกินวันที่ 1 สิงหาคม ค.ศ. 1948 นอกจากนั้นยังให้คณะมนตรีภาวะทรัสตีของสหประชาชาติจัดทำธรรมนูญการปกครองโดย ละเอียดสำหรับนครเยรูซาเล็มจากนั้น สมัชชาสหประชาชาติได้ตั้งคณะกรรมาธิการปาเลสไตน์แห่งสหประชาชาติขึ้น ประกอบด้วยประเทศโบลิเวีย เช็คโกสโลวาเกีย เดนมาร์ก ปานามา และฟิลิปปินส์ ทำหน้าที่ปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อเสนอแนะของสมัชชา ส่วนคณะมนตรีความมั่นคงก็ได้รับการขอร้องให้วางมาตรการที่จำเป็น เพื่อวินิจฉัยว่า สถานการณ์ในปาเลสไตน์จักถือว่าเป็นภัยคุกคามต่อสันติภาพหรือไม่ และถ้าหากมีการพยายามที่จะใช้กำลังเพื่อเปลี่ยนแปลงความตกลงตามข้อมติของ สมัชชาเมื่อใด ให้ถือว่าเป็นภัยคุกคามต่อสันติภาพ โดยอาศัยข้อ 39 ของกฎบัติสหประชาชาติเป็นบรรทัดฐาน [การทูต] | South Asian Free Trade Area | เขตการค้าเสรีในเอเชียใต้ ภายใต้ SAARC เป็นไปตามมติของที่ประชุมสุดยอดของ SAARC ครั้งที่ 10 ที่กรุงโคลัมโบ เมื่อปี พ.ศ. 2541 [การทูต] | South Asia's Preferentral Trading Agreement | ความตกลงพิเศษทางการค้าในภูมิภาคเอเชียใต้ ของ SAARC เป็นไปตามมติของที่ประชุมสุดยอดของ SAARC ครั้งที่ 8 ที่กรุงนิวเดลี เมื่อปี พ.ศ. 2538 [การทูต] | The Hague Peace Conferences | การประชุมสันติภาพ ณ กรุงเฮก ในประเทศเนเธอร์แลนด์ การประชุมนี้ได้กระทำกันเป็นครั้งแรกเมื่อปี ค.ศ. 1899 โดย พระเจ้าซาร์ นิโคลัสที่สอง ของประเทศรัสเซียเป็นผู้จัดให้มีขึ้น ณ กรุงเฮก เมื่อวันที่ 18 พฤษภาคม ค.ศ. 1899 ที่ประชุมได้รับรองอนุสัญญาว่าด้วยการระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศโดยสันติ วิธี ได้ตกลงจัดตั้งศาลซึ่งตัดสินประเทศโดยสันติวิธี พร้อมทั้งได้ตกลงจัดตั้งศาลซึ่งตัดสินโดยอนุญาโตตุลาการเป็นการถาวร และเสนอแนะให้วางประมวลพิจารณาโดยอนุญาโตตุลาการ ทั้งยังได้ตกลงรับรองอนุสัญญาและปฏิญญาต่าง ๆ หลายฉบับ ในจำนวนนี้ ที่สำคัญที่สุดได้แก่ อนุสัญญาควบคุมกฎหมายและขนบประเพณีว่าด้วยการทำสงครามภาคพื้นดินการประชุม สันติภาพ ณ กรุงเฮกครั้งที่สอง หรือการประชุม ณ กรุงเฮกปี ค.ศ.1907 ตามคำขอร้องของรัฐบาลรัสเซีย ได้มีขึ้นเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน ค.ศ.1907 วัตถุประสงค์สำคัญของการประชุมคือต้องการปรับปรุงและขยายข้อความในอนุสัญญา ต่าง ๆ ที่ทำไว้เมื่อปี ค.ศ. 1899 ว่าด้วยการระงับข้อพิพาทระหว่างประเทศโดยสันติวิธี รวมทั้งกฎหมายและขนบประเพณีเกี่ยวกับสงครามภาคพื้นดิน ตลอดจนรับรองอนุสัญญาเกี่ยวกับกฎหมายและขนมประเพณีของการทำสงครามทางทะเล การประชุม ณ กรุงเฮกครั้งที่สองนี้ยังได้เสนอแนะให้ที่ประชุมกำหนดให้ประเทศผู้ลงนาม รับรองและนำออกใช้ซึ่งร่างอนุสัญญาว่าด้วยการก่อตั้งศาลสถิตยุติธรรม เพื่อพิจารณาโดยอนุญาโตตุลาการอีกด้วย [การทูต] | Universal Declaration of Human Rights | ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน เป็นเอกสารหลักด้านสิทธิมนุษยชนฉบับแรก ซึ่งที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติให้การรับรองตามข้อมติที่ 217 A (III) เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2491 โดยไทยออกเสียงสนับสนุน [การทูต] | United Nations General Assembly | สมัชชาสหประชาชาติ เป็นที่ประชุมใหญ่ของประเทศสมาชิกสหประชาชาติทั้งหมด ปัจจุบันมีสมาชิก 189 ประเทศ [การทูต] | Voting Procedure in the United Nations | วิธีการลงคะแนนเสียงในที่ประชุมสมัชชาสหประชาชาติ ในเรื่องนี้ สมาชิกแต่ละประเทศมีคะแนนเสียง 1 คะแนน ข้อมติของสมัชชาในปัญหาสำคัญ (Important Questions) จะกระทำโดยถือคะแนนเสียงข้างมาก 2 ใน 3 ของสมาชิกที่มาประชุมและออกเสียง ที่เรียกว่าปัญหาสำคัญนั้นได้แก่ ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการธำรงรักษาไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ การเลือกตั้งสมาชิกไม่ประจำของคณะมนตรีความมั่นคง การเลือกตั้งสมาชิกของคณะมนตรีเศรษฐกิจและการสังคม การเลือกตั้งสมาชิกของคณะมนตรีภาวะทรัสตี การรับสมาชิกใหม่ของสหประชาชาติ การงดใช้สิทธิและเอกสิทธิแห่งสมาชิกภาพ การขับไล่สมาชิก ปัญหาการดำเนินงานของระบบภาวะทรัสตี และปัญหางบประมาณ คำวินิจฉัยปัญหาอื่น ๆ รวมทั้งการกำหนดประเภทแห่งปัญหาที่จะต้องวินิจฉัยด้วยคะแนนเสียงข้างมาก 2 ใน 3 เพิ่มเติมนั้น จัดกระทำโดยอาศัยคะแนนเสียงข้างมากของสมาชิกที่มาประชุมและออกเสียงอนึ่ง ในการเลือกตั้งผู้พิพากษาของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ (ศาลโลก) ผู้ที่ได้รับเลือกตั้งจักต้องได้รับคะแนนเสียงข้างมากเด็ดขาด (Absolute majority) ในที่ประชุมของสมัชชาและในที่ประชุมของคณะมนตรีความมั่นคงด้วย นอกจากนี้สมาชิกสหประชาชาติที่ค้างชำระค่าบำรุงแก่องค์การ ย่อมไม่มีสิทธิ์ลงคะแนนเสียงในสมัชชา ถ้าหากจำนวนเงินที่ค้างชำระเท่าหรือมากกว่าจำนวนเงินค่าบำรุงที่ถึงกำหนด ชำระสำหรับ 2 ปีเต็มที่ล่วงมา อย่างไรก็ตาม สมัชชาอาจอนุญาตให้สมาชิกเช่นว่านั้นลงคะแนนเสียงก็ได้ ถ้าทำให้เป็นที่พอใจได้ว่า การไม่ชำระนั้น เนื่องมาจากภาวะอันอยู่นอกเหนืออำนาจควบคุมของสมาชิกนั้น [การทูต] | Ad hoc Group on Article 13 | (คณะกรรมการ) ที่จัดตั้งโดยที่ประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาฯ สมัยแรก, (คณะกรรมการ) ที่จัดตั้งโดยที่ประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาฯ สมัยแรก เพื่อหาทางช่วยเหลือรัฐบาลที่เกี่ยวข้องในการขจัดอุปสรรคที่อาจประสบในการดำเนินการตามพันธกรณี [Climate Change] |
| Show this very important bod just how high the British soldier can get his tail. | แสดงนี้ที่ประชุมคณะกรรมการ ที่สำคัญมากเพียงวิธีการที่สูง ทหารอังกฤษจะได้รับหางของ เขา How I Won the War (1967) | I can't believe that there's a mole on the executive council. | ฉันไม่อยากเชื่อเลยว่าจะมี พวกแมลงชอนไชที่ประชุมสภาชั้นสูง Akira (1988) | I n any case, at the next executive council meeting, your poor management of this last incident will be called into question. | ในกรณีอื่นๆ, ที่ประชุมคณะบริหารคราวหน้า ความไม่มีฝีมือในการจัดการของคุณจาก เหตุการณ์ล่าสุดที่ผ่านมา จะถูกหยิบยกขึ้นมาตั้งคำถาม Akira (1988) | If this is indeed the will of the Council then Gondor will see it done. | หากนี่เป็นมติของที่ประชุม... ...กอนดอร์ก็จะขออยู่ดูจนสำเร็จ The Lord of the Rings: The Fellowship of the Ring (2001) | It is customary for the sorceress to be present at these meetings. | ตามประเพณีเเล้ว ผู้พยากรณ์ต้องอยู่ในที่ประชุมด้วย The Scorpion King (2002) | Where is everybody? | - แบรดย้ายที่ประชุม - อะไรนะ I Heart Huckabees (2004) | - Mitä sanoo konsulaatti? | ที่ประชุมมีอะไรจะพูดไหม ? Kingdom of Heaven (2005) | - Jefferson, you can't go to the conference. | - เจฟเฟอร์สัน! คุณอย่าเข้าไปในที่ประชุม. Transporter 2 (2005) | I can refer you to my associate, Gary Mitchell who may be able to provide you with the information. | ฉันจะพูดถึงคุณในที่ประชุม, Gary Mitchell... ...ใครที่สามารถเตรียมให้คุณ ด้วยข้อมูลนี่ Firewall (2006) | He speaks truth. | ไล่นางออกจากที่ประชุมนี้เถิด ก่อนนางจะแปดเปื้อนเรากว่านี้ 300 (2006) | -Just up the way at the meetinghouse. | เธออยู่ที่ประชุม.. The Wicker Man (2006) | - Here is where we will have the next Pan-African Congress. - Nice. | อาจจะเป็นที่ประชุมสภาแห่งแอฟริกาในอนาคต The Last King of Scotland (2006) | I rushed out of an investment committee meeting. | ผมรีบออกมาจากที่ประชุม The Devil Wears Prada (2006) | So you came to see me before the actual meeting? | คุณก็เลยมาหาฉัน ก่อนที่เราจะพบกันจริงๆ ในที่ประชุม? Love Now (2007) | It's still in use as a market, a meeting place. | ก็ยังคงอยู่ในการใช้เป็นตลาด สถานที่ประชุม Sex Trek: Charly XXX (2007) | I requested your audience so that I could show it to you. | หม่อมฉันอยากให้พระองค์ไปที่ประชุม หม่อมฉันจะแสดงให้พระองค์ดูพะยะค่ะ Lee San, Wind of the Palace (2007) | No one should interrupt a meeting to say such nonsense | ไม่ควรมีใครพูดขัดในที่ประชุมเพื่อพูดเรื่องไร้สาระ Attack on the Pin-Up Boys (2007) | So he breaks into a meeting of the Joint chiefs of Staff, OK? | จากนั้นเข้าก็ฝ่าเข้าไปในที่ประชุมพวกหัวหน้าฝ่ายต่างๆ Live Free or Die Hard (2007) | So they put a gun to his head and forced him to stop the hack, | ที่ประชุมก็เลยเอาปืนจ่อหัวเค้า แล้วก็สั่งให้หยุด Live Free or Die Hard (2007) | That's all you will do for us? | นั่นแหละคือสิ่งที่คุณควรทำให้กับเรา ที่ประชุม บริษัทโทชิโมโตะ Eiga: Kurosagi (2008) | It was 15 years ago that he appeared at the meeting. | เมื่อสิบห้าปีก่อน เขาปรากฎตัวขึ้นมาที่ที่ประชุมนั่น Eiga: Kurosagi (2008) | The whole dog and pony. I assume you're well enough. | ที่ประชุมพรุ่งนี้ ฉันหวังว่าคุณจะดีพอ Chapter Two 'The Butterfly Effect' (2008) | I'm just catching Tig up on what he missed. | ฉันเเค่ทวนคำพูดในที่ประชุมให้ทิกฟัง ที่เขาไม่ได้ฟัง Capybara (2008) | King Daeso slew one of them in the Council Hall, just because he disagreed. | กษัตริย์แทโซฆ่าหนึ่งคนในพวกเขาในที่ประชุมสภา, เพียงเพราะเขาไม่เห็นด้วย The Kingdom of the Winds (2008) | He's not the only one though, there's Lincoln Kirstein, and Lucia Chase and Agnes DeMille... she has just torn up all those conventions, all that straight up and down stuff... | ไม่ใช่เขาคนเดียวหรอก มี ลินคอลน คริสเตน ลูเซีย ซีส และ เอเนส เดมอล เธอดึงเรื่องเหล่านี้ขึ้นมาในที่ประชุม The Curious Case of Benjamin Button (2008) | Directions to the group meeting. | ทางไปที่ประชุมกลุ่ม Passengers (2008) | I will give you a call once the meeting ends. | ผมจะโทรกลับ ทันทีที่ประชุมเสร็จ Episode #1.8 (2008) | You see, he and Mao didn't get along, and Khrushchev knew that the Chairman would talk to me, no one else. | รู้มั้ย เขาและประธานเหม๋า ไม่เอาด้วย และครูซเชฟรู้แล้วว่าประธานที่ประชุม คงมาคุยกับผม ไม่ใช่คนอื่น Frost/Nixon (2008) | The fate of the entire universe hung in the balance, as the Supreme Galactic Council | ที่ประชุมสภาของกาแลกซี่นี้ ได้มีการเปิดประชุมเพื่อที่จะตัดสินใจ Bedtime Stories (2008) | He's giving a lecture tomorrow at the conference and I'd like to make sure that his findings don't debunk the foundation of our project before we even get off the ground. | เขามีบรรยายพรุ่งนี้ที่ประชุม และฉันต้องการให้แน่ใจว่าการค้นพบของเขา จะไม่ขัดกับพื้นฐานของโครงการของพวกเรา VS. (2009) | I was in a meeting. In a meeting, yes. | ฉันกำลังประชุมอยู่ ใช่ อยู่ในที่ประชุม Dogtooth (2009) | Briefing room in five minutes. Strategy meeting. | -สรุปสำนวนให้ฉันใน 5 นาที\แล้วเจอกันที่ประชุม Blinded by the Light (2009) | But this? This is what passes for idolatry? Celebrities? | ฉันมีที่ประชุมระดับเพ้นท์เฮ้ามากพอนะพวก ตัวฉันเอง อาจจะ แต่.. Fallen Idols (2009) | After the neurobiology conference in berlin. | หลังจากที่ประชุมประสาทชีววิทยาในเบอร์ลิน Of Human Action (2009) | I have something to announce, but out of respect for convention, I will wait for you | ฉันมีบางอย่างจะประกาศ แต่ด้วยความเคารพต่อที่ประชุม ฉันจะรอ The Vengeance Formulation (2009) | All the material in this meeting is classified. | เนื้อหาทั้งหมดในที่ประชุมนี้ กรรมธิการข้าหลวง? Daybreakers (2009) | At the end of the mourning period, the College of Cardinals will lock itself behind the doors of the Sistine Chapel for Conclave. | สิ้นทุกข์, พระราชาคณะวิทยาลัย ไปล็อคประตูด้านหลัง Sixtine เสริมสวยสำหรับที่ประชุมสงฆ์, Angels & Demons (2009) | The process by which they will choose a new leader for the world's one billion Catholics who now find their church at a crossroads, its ancient traditions threatened by a modern world. | ในที่ประชุม จะเลือกใหม่สันตะปาปา หนึ่งพันล้าน ของซื่อสัตย์ Catholics ในโลก ซึ่งมีโบสถ์ตั้งอยู่ที่ rascruce, Angels & Demons (2009) | The conclave? Was to begin today. | ที่ประชุมสงฆ์. Angels & Demons (2009) | As long as the cardinals are in conclave, your security concerns are at a minimum. | ขณะที่ cardinalii อยู่ในที่ประชุมสงฆ์, Angels & Demons (2009) | My belief is we should proceed with the sealing of conclave. | ของฉันมีความคิดเห็นที่เราควรจะ ประตูให้ที่ประชุมสงฆ์ประทับตรา. Angels & Demons (2009) | Conclave will go on without us. | ที่ประชุมสงฆ์จะดำเนินการต่อโดยไม่เรา. Angels & Demons (2009) | And if I'm correct, the segno is hidden on page number... Five. | ไปล็อคประตูด้านหลัง Sixtine เสริมสวยสำหรับที่ประชุมสงฆ์, Angels & Demons (2009) | Yeah. | ในที่ประชุม จะเลือกใหม่สันตะปาปา Angels & Demons (2009) | Commandante, if you care at all about your church, you'll listen to me. | ที่ประชุมสงฆ์. Angels & Demons (2009) | Santa Maria della Vittoria. Do you know it? | ของฉันมีความคิดเห็นที่เราควรจะ ประตูให้ที่ประชุมสงฆ์ประทับตรา. Angels & Demons (2009) | "Slow down." "Think. Wait." | ที่ประชุมสงฆ์จะดำเนินการต่อโดยไม่เรา. Angels & Demons (2009) | There's a fifth brand. | ... เพื่อที่จะรับ Camerlengo เมื่อที่ประชุมสงฆ์เริ่ม. Angels & Demons (2009) | The first pope was crucified upside down. | วิทยาลัยจะไม่ผิดที่ประชุมสงฆ์. ฉันขอแนะนำให้ ฉันช่องพลังงาน Angels & Demons (2009) | The third is an exchange agreement allowing you to exchange the old shares for new shares, and then finally a voter holding agreement. | ฉบับที่สามเป็นข้อตกลงแลกเปลี่ยน ให้คุณแปลงหุ้นเก่าเป็นหุ้นใหม่ แล้วฉบับสุดท้ายก็เป็นข้อตกลง ในการออกเสียงที่ประชุม The Social Network (2010) |
| สถานที่ประชุม | [sathānthī prachum] (n, exp) EN: venue of the meeting | ที่ประชุม | [thīprachum] (n) EN: conference ; meeting ; convention ; assembly ; congress ; convention ; colloquium ; council ; parley ; interchange | ที่ประชุมทั่วไป | [thīprachum thūapai] (n, exp) EN: general assembly FR: assemblée générale [ f ] | ที่ประชุมใหญ่ | [thīprachum yai] (n, exp) EN: plenary session ; general meeting FR: assemblée plénière [ f ] ; réunion plénière [ f ] ; séance plénière [ f ] |
| talking-shop | (idm) ที่ประชุม (คำไม่เป็นทางการ) | lodge | (n) สมาคม, See also: สโมสร, สถานที่ประชุม, Syn. club, association, society | motion | (n) ญัตติ, See also: เรื่อง, ข้อเสนอเพื่อการอภิปรายในที่ประชุม, Syn. offer, submission | walkout | (n) การเดินออกไปเพื่อแสดงความไม่เห็นด้วย, See also: การเดินออกจากที่ประชุมเพื่อประท้วง |
| assembly | (อะเซม'บลี) n. ชุมนุมชน, การชุมนุม, การมั่วสุม, ที่ประชุมสภา, สมัชชา, สัญญาณรวมพล, การเคลื่อน (รถถังหรือทหาร) , เข้าสู่บริเวณหนึ่ง, ประกอบชิ้นส่วนต่าง ๆ ของเครื่องจักร, Syn. collection, meeting, Ant. dispersal, separation | chairman | (แชร์'เมิน) n.ประธาน, -vt. เป็นประธานที่ประชุม | chapter house | n. สถานที่ประชุมของคณะพระคริสเตียน | forum | (ฟอ'รัม) n. สภา, ที่ประชุมสำหรับการอภิปราย, ศาล, ศาลกลางเมือง, วิธีการอภิปรายปัญหา, -Phr. (the Forum ตลาดหรือสนามกว้างของเมืองโบราณสมัยโบราณ), Syn. assembly, meeing -pl. forums, fora | order | (ออร์'เดอะ) n. คำสั่ง, ใบสั่ง, ตั๋วแลกเงิน, ธนาณัติ, หนังสือมอบอำนาจ, ระดับ, ลำดับ, ขั้น, นิกาย, คณะสงฆ์, อนุกรม, ชนิด, แบบแผน, ระเบียบ, สมณศักดิ์, เครื่องอิสริยาภรณ์, การลงมติในที่ประชุมนิติบัญญัติ. -Phr. (in order เหมาะสม, เป็นระเบียบ) -Phr. (in order that เพื่อว่า) vt.ออกคำสั่ง, สั่งซื้อ, ทำให้เป็นระเบียบ, บรรพชา, แต่งตั้งให้เป็นพระ | rapporteur | (แรพพอเทอ') n. ผู้ถูกกำหนดให้เขียนรายงานต่อที่ประชุมใหญ่ | veto | (วี'โท) n. อำนาจยับยั้ง, ลัทธิยับยั้ง, การใช้สิทธิยับยั้ง, เอกสารแสดงการใช้สิทธิยับยั้งและเหตุผลที่ยับยั้ง, การยับยั้ง, การห้าม, การออกเสียงยับยั้งของสมาชิกหนึ่งในห้าเสียงของสมาชิกถาวรของสภาความมั่นคง (ในสหประชาชาติ) สามารถยับยั้งการปฎิบัติการหรือมติของที่ประชุมไ | walk | (วอล์ค) vi. vt. เดิน, ดำเนินวิถีชีวิต -Phr. (walk out ประท้วงโดยการเดินออกจากที่ประชุม) n. การเดิน, ระยะที่เดิน, ท่าทางการเดิน, ฐานะ, สภาพ, ทางเดิน, สถานที่เดิม, ไร่นา, กลุ่ม, ฝูง, ทางเร่ขาย, See also: walkable adj. | walkout | (วอค'เอาทฺ) n. การประท้วงโดยเดินออกจากที่ประชุม S. strike |
| assembly | (n) การชุมนุม, การประชุม, ที่ประชุม, สมัชชา | capitol | (n) ศาลากลาง, สถานที่ประชุมของรัฐสภาอเมริกัน | conclave | (n) ที่ประชุมสงฆ์, หัองประชุม, การประชุมลับ | congress | (n) ที่ประชุม, รัฐสภา, สภานิติบัญญัติ, สภาคองเกรส | convocation | (n) การชุมนุมทางศาสนา, การเรียกประชุม, ที่ประชุม, ความสนุกสนาน | forum | (n) การประชุม, ที่ประชุม, สภา, ศาล |
| European Council | (name) ที่ประชุมยุโรป เป็นการประชุมของผู้นำในสหภาพยุโรป | panegyric | (n) บทสดุดี คือสุนทรพจน์อย่างเป็นทางการหรือต่อมาเป็นบทเขียนที่ใช้ในการสรรเสริญบุคคลหรือสิ่งของ เป็นคำที่มาจากภาษากรีกที่หมายถึงสุนทรพจน์ที่เหมาะแก่ที่ประชุม (panegyris) ในเอเธนส์การกล่าวบทสดุดีจะทำกันในเทศกาลระดับชาติหรือในการแข่งขันกีฬาโดยมีจุดประสงค์ในการเร้าใจผู้ที่มาร่วมเพื่อให้ปฏิบัติตนเช่นตัวอย่างอันดีของบรรพบุรุษ (Source:wikipedia.org), See also: eulogy |
| 可決 | [かけつ, kaketsu] (vt) (สภา ที่ประชุม) มีมติเห็นชอบ (ให้ผ่าน) | 否決 | [ひけつ, hiketsu] (vt) (สภา ที่ประชุม) มีมติไม่เห็นชอบ |
| jedenfalls | ไม่ว่ากรณีใดๆ, ในทุกๆ กรณี เช่น Ich weiß nicht wie lange die Sitzung dauert. Ich komme jedenfalls nach. ฉันไม่รู้ว่าที่ประชุมเลิกกี่โมง อย่างไรซะฉันก็จะตามไปนะ, Syn. auf jeden Fall | Antrag | (n) |der, pl. Anträge| ข้อเสนอที่ต้องลงมติในที่ประชุม เช่น Ich stelle den Antrag, daß die Fakultät keine ausländische Studenten mehr aufnimmt. ผมขอเสนอให้ทางคณะไม่รับนักศึกษาต่างชาติเข้ามาอีก |
|
เพิ่มคำศัพท์
ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ
Are you satisfied with the result?
Discussions | | |