ทานกัณฑ์ | (ทานนะ-) น. ชื่อกัณฑ์ที่ ๓ ในมหาชาติ. |
กณิกนันต์ | (กะนิกนัน) ว. ละเอียดยิ่ง เช่น ลวดหลายลายกณิกนันต์ (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). |
กณิการ์ | น. ไม้กรรณิการ์ เช่น งามดั่งดอกกณิการ์กาญจนสุหร่ายรดเบิกบานน่าชมเชย (ม. ร่ายยาว ทานกัณฑ์). |
ก่น ๑ | ก. ตั้งหน้า, มุ่ง, เช่น อยู่เย็นยงงก่นเกอดพิจลการ (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). |
กรรแสง ๒ | (กัน-) น. ผ้า, ผ้าสไบ เช่น กรรแสงสวมคอหิ้ว ตายบทันลัดนิ้ว หนึ่งดี (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). |
กราสิก | (กฺรา-) น. ผ้าด้ายแกมไหม เช่น พัสตรากราสิกศรี (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). |
กฤดยาเกียรณ | (กฺริดดะยาเกียน) ว. พร้อมด้วยเกียรติยศ เช่น ความชอบกอปรกฤดยา กยรณ (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). |
กฤษฎาญชลี | (กฺริดสะดานชะลี) ก. มีอัญชลีอันกระทำแล้ว, กระทำอัญชลี, เช่น กฤษฎาญชลียะยุ่งแล (ม. คำหลวง ทศพร), ในวรรณคดีแผลงไปเป็นรูปต่าง ๆ คือ กฤษฎาญชลิต เช่น กฤษฎาญชลิตไหว้ (มาลัยคำหลวง), กฤษฎาญชวลิตวา เช่น อันว่ากฤษฎาญชวลิตวา (มาลัยคำหลวง), กฤษฎาญชวลิศ เช่น อนนว่าเจ้าสากลกฤษฎาญชวลิศท่านธแล้ว (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์), กฤษฎาญชวเลศ เช่น ถวายกฤษฎาญชวเลศ ทูลแถลงเหตุนุสนธ์ (เพชรมงกุฎ), กฤษฎาญชุลี เช่น กฤษฎาญชุลีน้อม (ฉันทลักษณ์). |
กลหาย | (กะละ-) ก. กระหาย เช่น อันว่าทวยท่ววทงงหลายหื่นกลหายสาหัส (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). |
กล่าว | แสดง เช่น กล่าวเกลาอรรถเอมอร (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์) |
กษัตรี | (กะสัดตฺรี) น. กษัตริย์ผู้หญิง เช่น สมเด็จพระแก้วกษัตรี (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์) |
กษิดิ, กษีดิ | (กะสิดิ, กะสีดิ) น. แผ่นดิน. (ส. กฺษิติ), ในบทกลอนใช้เป็นส่วนหน้าสมาส แปลว่า พระเจ้าแผ่นดิน เช่น กษิดินทรทายทานแล้ว. (ส. กฺษิติ + อินฺทฺร), อนนว่ากษีดิศรสุริยทงงหลาย. (ส. กฺษิติ + อีศฺวร), อนนว่าพระแพศยันดรกษิดิศวร์. (ส. กฺษิติ + อีศฺวร) (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์, วนปเวสน์). |
ก่าน | เก่ง, กล้า, กั่น, เช่น ปางเมื่อเจ้าเข้าดงด่าน ตววก่านกาจชาติชัฏขน สัตวตนสื่อชื่อมนนหมี ได้ทีทำนำความเข็ญ (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). |
กามามิศ | น. อามิสคือกาม เช่น ฝ่ายเจ้าช้างจงจม ตมเปือกกามามิศ (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). |
กำบน | ก. กัมบน, หวั่นไหว, เช่น ปางน้นนไกรโกรมธาตุ เอาดอยราชเมรู แลนนทพนชูเปนเซรอด ก็เกอดพิการกำบน (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). |
กำสรวล | (-สวน) ก. โศกเศร้า, ครํ่าครวญ, ร้องไห้, เช่น ไทกำสรดสงโรธ ท้ยนสงโกจกำสรวลครวญไปพลาง (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์), (โบ เขียนเป็น กำสรวญ). |
กินริน, กินรี | (กินนะริน, กินนะรี) น. กินนรเพศหญิง เช่น ดุจกินรินแน่ง พักตราแพ่งมานุษย์ (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์), กินรีแอ่นกินรากร (ม. คำหลวง วนปเวสน์). |
กิริเนศวร | (-เนสวน, -เนด) น. ช้างสำคัญ เช่น ทรงนั่งกิริเนศวรโจมทอง (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). |
กุรระ, กุรุระ | (กุระระ, กุรุระ) น. นกเขา, แปลว่า เหยี่ยว ก็มี เช่น แม่กุรร์จาปน้อยหาย แลนา (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). |
เกาทุมพร | (-ทุมพอน) น. ผ้าทอด้วยขนสัตว์เนื้อละเอียด เช่น เกาทุมพรแพงค่าควรแสน (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). |
โกกิล-, โกกิลา | (-ละ-) น. นกดุเหว่า เช่น โกกิลาหรือจะฝ่าเข้าฝูงหงส์ (ม. ร่ายยาว ทานกัณฑ์). |
โกเชาว์ | น. ผ้าทำด้วยขนแพะ เช่น ไพจิตรนิทรกำราล กาฬโกเชาว์ (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). |
โกรมธาตุ | น. ธาตุใต้ฟ้า คือแผ่นดิน เช่น ปางน้นนไกรโกรมธาตุ (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). |
โกษม | (กะโสม) น. ผ้าใยไม้ (ผ้าลินิน), ผ้าขาว, ผ้าป่าน, เช่น อีกโกษมสวัสดิวรรณึก (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). |
ขมอย | (ขะมอย) น. หลาน, ลูกหลาน, เช่น ขมอยเมือเฝือแฝกหญ้า ยุงชุมฉ่าฝ่าเหลือบฝูง (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). |
ขมุกขมัว | (ขะหฺมุกขะหฺมัว) ว. มืด ๆ มัว ๆ, โพล้เพล้, จวนคํ่า, จวนมืด, โดยปริยายใช้หมายถึงสีมัว ๆ, ไม่ผ่องใส, เช่น ครั้นจะทำขมุกขมัวมอมแมม ชายเห็นจะเยื้อนแย้มบริภาษให้บาดจิต (ม. ร่ายยาว ทานกัณฑ์). |
ข่อน | ว. ปั่นป่วน, ไม่สบายใจ, โดยมากใช้เป็นคำคู่ เช่น อกใจมันให้ข่อน ๆ จะนั่งนอนก็ไม่หลับสนิท (ม. ร่ายยาว ทานกัณฑ์). |
ขีณะ | ว. สิ้นไป เช่น ถั่นคํ่าขีณะแล้ว (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). |
คลายเคล่ง | (-เคฺล่ง) ก. ขยายตรงออกไป, เดินตรงไป, เช่น ครองคลายเคล่งอาศรมบทนั้น (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). |
ค้อยค้อย | ว. เนือง ๆ, บ่อย ๆ, เช่น เจ้าแม่แต่จงกรมค้อยค้อย ด้วยบราทุกราพร้อยพราย (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). |
เคจฉะ | (เคดฉะ) ก. ไป, ถึง, เช่น ผู้ข้าคุงควรเคจฉเล็ดลอดลุเขาคด (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). |
เคลี้ยคลิง | (เคฺลี้ยคฺลิง) ก. เกลี้ยกล่อม, ปลอบโยน, เช่น เพื่อเคลี้ยคลิงวิงวอน (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). |
แคบ ๒ | ก. ขลิบ เช่น ล้วนอลงกฎด้วยอลงการ เบาะลอออานแคบคำ (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). |
จรส | (จะหฺรด) ว. จรัส, แจ่มแจ้ง, รุ่งเรือง, สว่าง, เช่น เหลืองจรุลจรสรจนา (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). |
จลนี ๒ | (จะ-) น. ชะนี เช่น จลนีหวนโหนปลายทูม (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). |
จาป ๒ | (จาบ) น. ลูกสัตว์ เช่น แม่นกจากพรากพราก แลนา จากจาปน้อยแนบอก แลนา (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). |
ฉิน ๓ | งาม, มักใช้เข้าคู่กับคำ โฉม เป็น ฉินโฉม หรือ โฉมฉิน เช่น ฉินโฉมเฉกช่างวาด (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). |
เฉท | (เฉด) น. การตัด, การฟัน, การฉีก, การเด็ด, การขาด, เช่น เฉทเฌอ (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). |
ชรลอง, ชระลอง, ชระล่อง | (ชะระ-) ก. ล่อง เช่น ผู้ชระลองล่วงห้วงมหรรณพ (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). น. ทางล่อง, ซอกเขา, ลำธาร. |
ชัฏ | (ชัด) น. ป่าทึบ, ป่ารก, เซิง, เช่น ตัวก่านกาจชาติชัฏขน (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). |
ชุ | น. ต้นไม้ เช่น กินลูกชุลุเพรางาย (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). |
เชีย | ก. ไหว้ เช่น จึ่งพระมัทรีนางหนุ่มเหน้า เชียเชิงเจ้าพ่อผววแม่แง่ (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). |
ซ้อมซัก | ทำร้าย เช่น ยามเมื่อเพลี่ยงพล้ำเขาก็จะช่วยกันกระหน่ำซ้ำซ้อมซัก (ม. ร่ายยาว ทานกัณฑ์). |
ซะซิกซะแซ | ว. เสียงร้องไห้มีสะอื้น, บางทีเขียนเป็น ซซิกซแซ ก็มี เช่น ก็พร้อมกนนกล้นนน้ำตามิได้ ไห้ซซิกซแซไปในที่น้นน (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). |
ด่อม | ว. ดุ่ม เช่น วันนี้จะลีลาศฉนนใด สู่ซุ้มไพรเดียวด่อม (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). |
ดักดน | ว. ลำบาก, ตรากตรำอยู่นาน, เช่น แสนสะดุ้งดักดน (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). |
ดัด ๑ | ปลุก เช่น เคยดัดฤดีตาตื่นตรับ (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). |
ดาร-, ดาระ | ก. ข้าม เช่น ฝ่ายคนผู้ข้าได้ดำรวดดารทาน (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). |
ดาล ๒ | น. พื้น, ฝ่า (ใช้แก่มือหรือเท้า) เช่น นางใดดาลไดบางอ่อนลอยด ลักษณลายลมยดมาลยศุข, นางใดดาลเชองแง่งามตายสุกษุมลายอ่อนเลอศนิ์ (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). |
ดำนู | ส. ฉัน, ข้าพเจ้า, เช่น กึ่งกายกามดำนู (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). |