ผลลัพธ์การค้นหาสำหรับ

*ทางการเมือง*

   
ภาษา
Dictionaries languages

English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์มากขึ้นหรือน้อยลง: ทางการเมือง, -ทางการเมือง-
มีผลลัพธ์ที่ไม่แสดงผลอยู่
ปรับการตั้งค่า
Dictionaries languages

English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


Thai-English: NECTEC's Lexitron-2 Dictionary [with local updates]
ทางการเมือง(adj) political, Example: สถานการณ์ทางการเมืองขณะนี้ยังวุ่นๆ อยู่, Thai Definition: ที่เกี่ยวกับการเมือง
กลไกทางการเมือง(n) political machinery, Syn. กลยุทธ์ทางการเมือง, Example: แผนการนี้คือกลไกทางการเมืองของสภารสช.
สถาบันทางการเมือง(n) political institution, Example: คณะผู้วิจัยคาดว่ากิจกรรมนี้จะเป็นประโยชน์ต่อสถาบันครอบครัว สถาบันทางการเมือง ประเทศชาติ และผู้ที่เกี่ยวข้อง, Count Unit: แห่ง, Thai Definition: สิ่งซึ่งคนในส่วนรวม คือ สังคม จัดตั้งให้มีขึ้น อันเกี่ยวข้องกับการเมือง
เสรีภาพทางการเมือง(n) political liberty, Thai Definition: ความสามารถของบุคคลที่จะกระทำกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเมือง
ผู้ลี้ภัยทางการเมือง(n) refugee, Syn. ผู้ลี้ภัยการเมือง, Count Unit: คน, Thai Definition: บุคคลผู้ซึ่งมีหลักฐานปรากฏว่า ถูกกลั่นแกล้งทางการเมือง ด้วยเหตุของเชื้อชาติ ศาสนา สัญชาติ หรือการเป็นสมาชิกขององค์กรในสังคมองค์กรใดองค์กรหนึ่ง เขาเหล่านั้นย่อมต้องได้รับความคุ้มครอง
อุดมการณ์ทางการเมือง(n) political ideology, Thai Definition: แนวความคิดทางการเมืองที่มีความสำคัญต่อกลุ่มชน และกลุ่มชนยึดถือร่วมกัน

ไทย-ไทย: พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองน. ผู้ซึ่งได้รับเลือกตั้งหรือแต่งตั้งให้ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งทางการเมือง เช่น สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี นายกเทศมนตรี.
กฎหมายรัฐธรรมนูญน. กฎหมายที่วางระเบียบการปกครองรัฐในทางการเมือง โดยกำหนดโครงสร้างของรัฐ ระบอบการปกครอง การใช้อำนาจอธิปไตย การคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และความสัมพันธ์ระหว่างสถาบันที่ใช้อำนาจอธิปไตย.
การก่อวินาศกรรมน. การกระทำใด ๆ อันเป็นการมุ่งทำลายทรัพย์สินของประชาชนหรือของรัฐ หรือสิ่งอันเป็นสาธารณูปโภค หรือการรบกวนขัดขวางหน่วงเหนี่ยวระบบการปฏิบัติงานใด ๆ ตลอดจนการประทุษร้ายต่อบุคคลอันเป็นการก่อให้เกิดความปั่นป่วนทางการเมืองการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยมุ่งหมายที่จะก่อให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของรัฐ.
ขวา(ขฺวา) น. เรียกกลุ่มที่มีอุดมคติทางการเมืองการเศรษฐกิจเป็นต้นโน้มไปทางอนุรักษนิยมว่า ฝ่ายขวา.
คตินิยมน. แบบอย่างความคิดเห็น ความเชื่อ หรือวิธีการคิดรวมกันที่เป็นลักษณะของกลุ่มชน เช่น คตินิยมของกลุ่มวิชาชีพ คตินิยมทางศาสนา คตินิยมทางการเมือง.
ค่ายกักกันน. สถานที่คุมขังเชลยศึกหรือนักโทษทางการเมือง.
จุดยุทธศาสตร์น. พื้นที่และสถานที่ตั้งที่มีความสำคัญในทางการเมือง เศรษฐกิจ จิตวิทยา และกำลังรบทางทหารทั้งในยามสงบและยามสงคราม.
ทายาทน. ผู้สืบสันดาน, ผู้สืบสกุล, โดยปริยายหมายถึงผู้รับหรือผู้อยู่ในฐานะที่จะรับตำแหน่งหน้าที่ต่อจากบุคคลอื่น เช่น ทายาททางการเมือง
ที่ประชุมใหญ่ของศาลฎีกาน. การประชุมของผู้พิพากษาศาลฎีกาและผู้พิพากษาอาวุโสในศาลฎีกาทุกคนเพื่อปฏิบัติหน้าที่ตามที่มีกฎหมายกำหนด เช่น การวินิจฉัยปัญหาในคดีตามที่ประธานศาลฎีกาเห็นสมควร หรือการเลือกองค์คณะผู้พิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง.
นักการเมืองน. ผู้ฝักใฝ่ในทางการเมือง, ผู้ที่ทำหน้าที่ทางการเมือง เช่นรัฐมนตรี สมาชิกรัฐสภา.
ปัญหาน. ข้อสงสัย, ข้อขัดข้อง, เช่น ทำได้โดยไม่มีปัญหา, คำถาม, ข้อที่ควรถาม, เช่น ตอบปัญหา, ข้อที่ต้องพิจารณาแก้ไข เช่น ปัญหาเฉพาะหน้า ปัญหาทางการเมือง.
ฝ่ายขวาน. กลุ่มที่มีอุดมคติทางการเมืองการเศรษฐกิจเป็นต้นโน้มไปทางอนุรักษนิยม.
ฝ่ายเป็นกลางน. กลุ่มที่มีอุดมคติทางการเมืองการเศรษฐกิจเป็นต้นไม่ฝักใฝ่หนักไปทางฝ่ายซ้ายหรือฝ่ายขวา.
พรรคการเมืองน. กลุ่มบุคคลที่มีอุดมการณ์ทางการเมืองอย่างเดียวกัน ร่วมกันจัดตั้งและจดทะเบียนเป็นพรรคการเมืองตามกฎหมาย.
ฟาสซิสต์น. ลัทธิการเมืองที่ผู้นำรวบอำนาจทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมไว้หมด และมีนโยบายชาตินิยมอย่างรุนแรง แต่เคารพในกรรมสิทธิ์ของเอกชน, ผู้ที่นิยมลัทธินั้น.
ภูมิภาคอาณาบริเวณที่มีลักษณะบางอย่างเช่นลักษณะทางธรรมชาติ ทางเศรษฐกิจ ทางวัฒนธรรม ทางการเมือง คล้ายคลึงกันจนสามารถจัดเข้าพวกกันได้ และแตกต่างกับบริเวณใกล้เคียงโดยรอบ.
ภูมิรัฐศาสตร์(พูมิ-) น. วิชาในหมวดสังคมศาสตร์สาขาหนึ่ง มีลักษณะคล้ายวิชาภูมิศาสตร์การเมือง แต่เน้นหนักไปทางการเมือง.
ยุทธศาสตร์น. วิชาว่าด้วยการพัฒนาและการใช้อำนาจทางการเมือง เศรษฐกิจ จิตวิทยา และกำลังรบทางทหารตามความจำเป็นทั้งในยามสงบและยามสงคราม.
ยุทธศาสตร์ว. ที่มีความสำคัญทางการเมือง เศรษฐกิจ จิตวิทยา และกำลังรบทางทหาร ทั้งในยามสงบและยามสงคราม เช่น จุดยุทธศาสตร์.
วิกฤตการณ์, วิกฤติการณ์น. เหตุการณ์อันวิกฤติ เช่น เกิดวิกฤติการณ์ทางการเมือง.
สงครามเย็นน. การต่อสู้ระหว่างประเทศต่อประเทศโดยไม่ใช้อาวุธ แต่ใช้อำนาจอื่นแทน เช่น อำนาจทางการเมือง อำนาจทางเศรษฐกิจ.
สันนิบาตเทศบาลน. องค์กรของเทศบาลทั่วประเทศรวมทั้งเทศบาลเมืองพัทยาและกรุงเทพมหานคร ซึ่งรวมตัวกันโดยมีจุดมุ่งหมายช่วยเหลือ สนับสนุน และติดต่อประสานงานเทศบาลทั่วประเทศ โดยไม่มีจุดประสงค์ทางการเมือง เรียกว่า สันนิบาตเทศบาลแห่งประเทศไทย.
เสถียรภาพ(สะเถียนระ-) น. ความมั่นคง, ความคงตัว, ความไม่เปลี่ยนแปลง, เช่น เสถียรภาพทางการเมือง เศรษฐกิจไม่ดีรัฐบาลก็ไม่มีเสถียรภาพ.
อนาธิปไตย(อะนาทิปะไต, อะนาทิบปะไต) ว. ภาวะที่บ้านเมืองไม่มีรัฐบาล ไม่มีกฎหมายและระเบียบ ทำให้เกิดความวุ่นวายทางการเมือง.
อนุรักษนิยม(อะนุรักสะนิยม, อะนุรักนิยม) น. อุดมคติทางการเมือง การเศรษฐกิจ เป็นต้น ที่มีแนวโน้มไปในทางต้านทานการเปลี่ยนแปลง โดยยึดถือสนับสนุนระเบียบที่ตั้งมั่นอยู่แล้ว.
อาวุโสน. ความมีอายุมากกว่าหรือมีประสบการณ์ในอาชีพมากกว่าเป็นต้น เช่น เขามีอาวุโสในการทำงาน ผู้มีอาวุโสทางการเมือง.
เอกภาคี(เอกะ-, เอกกะ-) น. ฝ่ายเดียว หมายถึงประเทศที่ปลีกตัวปฏิบัติการทางการเมืองเป็นต้นโดยลำพัง ไม่มีประเทศอื่นร่วมหรือรับรู้ด้วย.

อังกฤษ-ไทย: ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน [เชื่อมโยงจาก orst.go.th แบบอัตโนมัติและผ่านการปรับแก้]
plumตำแหน่งที่ให้เป็นบำเหน็จทางการเมือง [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
politicizationการทำให้เป็นเรื่องการเมือง, การปลุกสำนึกทางการเมือง [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
polity๑. องค์การทางการเมือง๒. การจัดระเบียบองค์การทางการเมือง [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
political socializationการกล่อมเกลาทางการเมือง, การปลูกฝังให้เข้าร่วมสังคมการเมือง [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
political suicideอัตวินิบาตกรรมทางการเมือง [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
political culture, parochial-participant; parochial-participant political cultureวัฒนธรรมทางการเมืองในวงแคบแบบมีส่วนร่วม [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
political culture, parochial-subjectวัฒนธรรมทางการเมืองในวงแคบแบบข้าแผ่นดิน [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
political culture, subject-participantวัฒนธรรมทางการเมืองแบบข้าแผ่นดินมีส่วนร่วม [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
political developmentการพัฒนาทางการเมือง [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
political disabilityการขาดคุณสมบัติทางการเมือง [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
political divisionเขตทางการเมือง [ประชากรศาสตร์ ๔ ก.พ. ๒๕๔๕]
political equilibriumสมดุลทางการเมือง [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
political forecastingการคาดคะเนทางการเมือง [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
pluralism, political; political pluralismพหุนิยมทางการเมือง [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
power, political; political powerอำนาจทางการเมือง [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
parochial-participant political culture; political culture, parochial-participantวัฒนธรรมทางการเมืองในวงแคบแบบมีส่วนร่วม [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
parochial-subject political cultureวัฒนธรรมทางการเมืองในวงแคบแบบข้าแผ่นดิน [ ดู subject-participant political culture ประกอบ ] [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
political bargainการต่อรองทางการเมือง [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
political blackmailการกรรโชกทางการเมือง [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
political boundaryแนวแบ่งเขตทางการเมือง [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
political changeการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
political clearanceการได้รับความเห็นชอบจากผู้นำทางการเมือง [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
political communicationการสื่อสารทางการเมือง [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
political cultureวัฒนธรรมทางการเมือง [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
politicalเกี่ยวกับการเมือง, ทางการเมือง [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
political appointeeผู้ได้รับแต่งตั้งทางการเมือง [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
political appointmentการแต่งตั้งทางการเมือง [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
political asylumที่ลี้ภัยทางการเมือง [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
political ideologyอุดมการณ์ทางการเมือง [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
political institutionสถาบันทางการเมือง [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
political libertyเสรีภาพทางการเมือง [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
political libertyเสรีภาพทางการเมือง [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
political machineตัวจักรทางการเมือง [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
political machineryกลไกทางการเมือง [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
political nationalityสัญชาติทางการเมือง [ประชากรศาสตร์ ๔ ก.พ. ๒๕๔๕]
political neutralityความเป็นกลางทางการเมือง [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
political obligationพันธะทางการเมือง [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
political offenceความผิดทางการเมือง [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
political offenceความผิดทางการเมือง [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
political offensiveการรุกทางการเมือง [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
political orientation๑. การปรับแนวคิดทางการเมือง๒. แนวคิดทางการเมือง [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
political participation; participation, politicalการมีส่วนร่วมทางการเมือง [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
provocateur, agentสายลับเพื่อก่อกวนทางการเมือง [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
political pluralism; pluralism, politicalพหุนิยมทางการเมือง [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
political power; power, politicalอำนาจทางการเมือง [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
political recruitmentการสรรหาบุคคลเพื่อร่วมงานทางการเมือง [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
political responsibilityความรับผิดชอบทางการเมือง [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
political rightสิทธิทางการเมือง [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
political rightสิทธิทางการเมือง [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
participation, political; political participationการมีส่วนร่วมทางการเมือง [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]

อังกฤษ-ไทย: คลังศัพท์ไทย โดย สวทช.
Women political activistsนักปฏิบัติการเชิงรุกทางการเมืองสตรี [TU Subject Heading]
Advertising, Politicalโฆษณาทางการเมือง [TU Subject Heading]
Communication in politicsการสื่อสารทางการเมือง [TU Subject Heading]
Income tax deductions for political contributionsการนำเงินบริจาคเพื่อสนับสนุนทางการเมืองมาหักลดหย่อนภาษี [TU Subject Heading]
International Covenant on Civil and Political Rights (1966)กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (ค.ศ. 1966) [TU Subject Heading]
Patronage, Politicalระบบอุปถัมภ์ทางการเมือง [TU Subject Heading]
Political activistsนักปฏิบัติการเชิงรุกทางการเมือง [TU Subject Heading]
Political activityกิจกรรมทางการเมือง [TU Subject Heading]
Political alienationความผิดแปลกสภาวะทางการเมือง [TU Subject Heading]
Political ballads and songsเพลงและบัลลัดทางการเมือง [TU Subject Heading]
Political candidatesผู้สมัครรับเลือกตั้งทางการเมือง [TU Subject Heading]
Political correctnessอุดมการณ์ทางการเมือง [TU Subject Heading]
Political corruptionการทุจริตทางการเมือง [TU Subject Heading]
Political crimes and offensesความผิดทางการเมือง [TU Subject Heading]
Political cultureวัฒนธรรมทางการเมือง [TU Subject Heading]
Political developmentการพัฒนาทางการเมือง [TU Subject Heading]
Political ethicsจริยธรรมทางการเมือง [TU Subject Heading]
Political leadershipความเป็นผู้นำทางการเมือง [TU Subject Heading]
Political oratoryวาทศิลป์ทางการเมือง [TU Subject Heading]
Political participationการมีส่วนร่วมทางการเมือง [TU Subject Heading]
Political posters, Thaiแผ่นโฆษณาทางการเมืองไทย [TU Subject Heading]
Political rightsสิทธิทางการเมือง [TU Subject Heading]
Political socializationสังคมประกิตทางการเมือง [TU Subject Heading]
Political stabilityเสถียรภาพทางการเมือง [TU Subject Heading]
Political strikeการต่อสู้ทางการเมือง [TU Subject Heading]
Political violenceความรุนแรงทางการเมือง [TU Subject Heading]
Radio in politicsวิทยุทางการเมือง [TU Subject Heading]
Refugees, Politicalผู้ลี้ภัยทางการเมือง [TU Subject Heading]
Symbolism in politicsสัญลักษณ์นิยมทางการเมือง [TU Subject Heading]
ASEAN-EU Ministerial Meetingการประชุมระดับรัฐมนตรีอาเซียน-สหภาพยุโรป เป็นการประชุมระหว่างรัฐมนตรีต่างประเทศของประเทศสมาชิก อาเซียน 10 ประเทศ กับรัฐมนตรีต่างประเทศของสหภาพยุโรป 15 ประเทศ จัดขึ้นทุก 18-24 เดือน เพื่อหารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นประเด็นทางการเมืองและเศรษฐกิจระหว่าง ประเทศ และการส่งเสริมความร่วมมือระหว่างกัน [การทูต]
aide-mémoireบันทึกช่วยจำ " 1. เป็นเอกสารที่สร้างข้อผูกพัน ถือเป็นรูปแบบหนึ่งของสัญญา 2. ในทางการเมืองระหว่างประเทศ เป็นเอกสารที่ช่วยย้ำประเด็นที่ได้มาพบและพูดไว้ " [การทูต]
Amnesty Internationalองค์การนิรโทษกรรมสากล องค์การนี้เริ่มต้นจากเป็นขบวนการเล็ก ๆ ก่อน เพื่อทำหน้าที่ประท้วง (Protest) แต่ภายในเวลาไม่นานนัก ได้ขยายตัวออกเป็นองค์การ เพื่อให้สมกับเป้าหมายและภารกิจที่ต้องปฏิบัติเพิ่มขึ้นมากมาย คติดั้งเดิมของการรณรงค์ระหว่างประเทศเพื่อสนับสนุนบรรดาบุคคลที่ต้องถูกคุม ขังอยู่ทั่วโลก ด้วยข้อหาเกี่ยวกับความเชื่อถือทางการเมืองและการศาสนานั้น ได้บังเกิดจากความคิดของบุคคลหนึ่งชื่อปีเตอร์ เบเนนสันปีเตอร์ เบเนนสัน ได้เขียนบทความลงในหนังสือพิมพ์ประจำวันอาทิตย์ของอังกฤษชื่อ Sunday Observer เมื่อเดือนพฤษภาคม ค.ศ. 1961 โดยให้หัวเรื่องบทความว่า ?นักโทษที่ถูกลืม? (The Forgotten Prisoners) บทความนี้ได้ประทับใจมติมหาชนทั่วโลกทันที และภายในปีเดียว องค์การได้รับเรื่องร้องเรียนในนามของนักโทษกว่า 200 รายองค์การนิรโทษกรรมสากลมีเป้าหมายนโยบายกว้างๆ อยู่ 3 ข้อ คือ ต้องการให้ปล่อยนักโทษผู้มีนโนธรรม (Prisoners of Conscience) ทั้งหมด ให้มีการยุติการทรมานนักโทษไม่ว่าด้วยวิธีใดๆ รวมทั้งการลงโทษประหารชีวิตและให้มีการพิจารณาพิพากษาคดีนักโทษการเมืองทั้ง หมดอย่างเป็นธรรมและไม่รอช้า องค์การนี้นอกจากจะมีชื่อเสียงว่าเป็นผู้ดำรงความเป็นกลางไม่เข้ากับฝ่ายใด และเป็นที่น่าเชื่อถือไว้วางใจได้อย่างแท้จริงแล้ว ยังเป็นเสมือนศูนย์ข้อมูลและข้อสนเทศที่สำคัญ ซึ่งบรรดาบุคคลสำคัญๆ ทางการเมืองทั่วโลกได้ใช้อ้างอิงอีกด้วยในปัจจุบัน องค์การนิรโทษกรรมมีสมาชิกและผู้สนับสนุนเป็นจำนวนกว่า 1 ล้านคน จากประเทศต่างๆ กว่า 150 ประเทศ องค์การอยู่ภายใต้การบริหารของคณะกรรมการบริหารจำนวน 9 คน รวมทั้งตัวเลขาธิการอีกผู้หนึ่ง ทำหน้าที่ปฏิบัติให้เป็นไปตามข้อมติเกี่ยวกับนโยบาย และเป็นหัวหน้าของสำนักเลขาธิการขององค์การด้วย มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ องค์การมีผู้แทนของตนประจำอยู่กับองค์การสหประชาชาติ เมื่อปี ค.ศ. 1978 ได้รับรางวัลเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนของสหประชาชาติ และในปี ค.ศ. 1977 ก็ได้รับรางวัลสันติภาพโนเบลมาแล้ว [การทูต]
Bangkok Declaration : Global Dialogue and Dynamic Engagementปฏิญญากรุงเทพ : การหารือและการมีส่วนร่วมอย่างมีพลวัตของประชาคมโลก " หนึ่งในสองของเอกสารผลการประชุมอังค์ถัด ครั้งที่ 10 ที่แสดงฉันทามติของประเทศสมาชิกอังค์ถัด 190 ประเทศ เกี่ยวกับผลกระทบของกระแสโลกาภิวัตน์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม รวมทั้งแสดงเจตนารมณ์ร่วมทางการเมืองของประเทศสมาชิกอังค์ถัดที่จะร่วมมือ กันดำเนินนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศเพื่อทำให้สมาชิกทั้งหมด โดยเฉพาะประเทศกำลังพัฒนา ได้รับประโยชน์จากกระบวนการโลกาภิวัตน์ในด้านการค้า การเงิน การลงทุน และการถ่ายทอดเทคโนโลยี ได้อย่างทั่วถึงและเป็นธรรม อีกทั้งเพื่อให้ประเทศกำลังพัฒนาสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในระบบเศรษฐกิจโลก ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถหลีกเลี่ยงผลกระทบด้านลบของกระบวนการโลกาภิวัตน์ได้ แม้ปฏิญญากรุงเทพจะไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย แต่ก็เป็นเอกสารที่มีผลผูกพันทางการเมือง เป็นสัญญาประชาคมที่ทุกประเทศสมาชิกอังค์ถัดมีพันธะที่จะต้องปฏิบัติตามแนว นโยบายที่ได้ร่วมกันแถลงไว้ในเอกสารดังกล่าว และเอกสารนี้สามารถใช้เป็นเอกสารอ้างอิงในการเจรจาหารือระหว่างประเทศ เกี่ยวกับการกำหนดนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศในเรื่องของการเงิน การค้า การลงทุน และการพัฒนาได้ " [การทูต]
Bangkok Plan of Actionแผนปฏิบัติการกรุงเทพ (ในการประชุมอังค์ถัด) เป็นเอกสารที่ระบุรายละเอียดของแนวนโยบาย วิธีการ และมาตรการในการดำเนินนโยบายด้านการค้า การเงิน การลงทุน และการพัฒนาที่ประเทศสมาชิกอังค์ถัดได้ตกลงโดยฉันทามติเมื่อการประชุมอัง ค์ถัด ครั้งที่ 10 เพื่อให้ประเทศสมาชิกอังค์ถัดและสำนักเลขาธิการอังค์ถัดดำเนินการให้บรรลุ วัตถุประสงค์ตามที่แถลงไว้ในแถลงการณ์กรุงเทพ และเป็นเอกสารที่มีผลผูกพันทางการเมืองเช่นเดียวกัน แผนปฏิบัติการกรุงเทพแบ่งออกเป็น 4 ส่วนหลัก ดังนี้ (1) การประเมินผลกระทบทั้งด้านบวกและด้านลบของโลกาภิวัตน์และการเปิดเสรีต่อการ พัฒนา (2) การประมวลพัฒนาการของข้อริเริ่มระหว่างประเทศที่สำคัญ ๆ (3) มาตรการและข้อริเริ่มต่าง ๆ ที่นำมาใช้โดยประชาคมระหว่างประเทศ เพื่อให้มั่นใจว่าประเทศกำลังพัฒนารวมตัวเข้ากับเศรษฐกิจโลกได้ และ (4) บทบาทในอนาคตของอังค์ถัด [การทูต]
Commonwealth of Nationsการรวมตัวของชาติต่าง ๆ เข้าเป็นสมาคมทางการเมือง ประกอบด้วยประเทศสหราชอาณาจักร ออสเตรเลีย แคนาดา ลังกา ไซปรัส แกมเบีย กาน่า อินเดีย จาไมก้า คีเนีย มาเลเซีย มาลาวี มอลต้า นิวซีเแลนด์ ไนจีเรีย ปากีสถาน ซิเอร่าเลโอน แทนเซียเนีย ทรินิแดด-โทเบโก ยูแกนดา และแซมเบียตามทรรศนะของ Oppenheim ศาสตราจารย์นักกฎหมายระหว่างประเทศในระดับโลก สมาคมทางการเมืองแห่งนี้ก็คือกลุ่มของรัฐที่รวมกันโดยไม่มีพื้นฐานการรวมตัว ทางกฎหมายที่เคร่งครัดแต่อย่างใด หากแต่มีความผูกพันร่วมกันในด้านประวัติศาสตร์ จารีตประเพณี กฎหมาย และมีผลประโยชน์ร่วมกันอย่างแน่นแฟ้นมากกว่า [การทูต]
Council for Security and Cooperation in the Asia-Pacificชมรมด้านความมั่นคงและความร่วมมือในเอเชียแปซิฟิก เป็นสถาบันเอกชนก่อตั้งขึ้นเมื่อ 8 มิถุนายน 2536 ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ โดยมีสถาบันศึกษาความมั่นคงและนานาชาติ (Institute of Security and International Studies : ISIS) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นสถาบันก่อตั้งร่วมกับสถาบันอื่น ๆ จากประเทศอาเซียนและประเทศในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก CSCAP เป็นกลไกที่ไม่ใช่เป็นทางการ เพื่อให้นักวิชาการ เจ้าหน้าที่รัฐบาลในฐานะส่วนตัวและบุคคลอื่นได้อภิปรายปัญหาทางการเมืองและ ความมั่นคงในภูมิภาคเอเชีย-แปซิฟิก [การทูต]
Dean (หรือ Doyen) of the Diplomatic Corpsหัวหน้า (Dean) ของคณะทูตานุทูตในนครหลวงของประเทศใดก็ตาม ได้แก่ ตัวทูตที่อาวุโสที่สุด (คือเป็นทูตอยู่ในประเทศนั้นๆ เป็นเวลานานที่สุด) ตัวหัวหน้าคณะทูตานุทูตจะมีลำดับอาวุโสเหนือทุกคนในคณะทูตานุทูต ทำหน้าที่เป็นโฆษกของคณะทูตเมื่อถึงความจำเป็น และเป็นผู้ดูแลและคุ้มครองบรรดาเอกสิทธ์และความคุ้มกันทางการทูตที่คณะ ทูตานุทูตมีอยู่ แต่หน้าที่ที่แท้จริงนั้น โดยมากเกี่ยวกับเรื่องพิธีการทูตมากกว่า อาทิเช่น เมื่อถึงวันที่ระลึกครบรอบวันเกิดประมุขของรัฐ (เช่นวันเฉลิมพระชนมพรรษาในประเทศไทย) Dean ของคณะทูตจะเป็นผู้กล่าวแสดงความยินดีในโอกาสดังกล่าวในนามของคณะทูตทั้งหมด แต่การที่จะเรียกหรือขอให้บุคคลในคณะทูตไปประชุมเพื่อจุดประสงค์ทางการเมือง นั้น เป็นสิ่งที่ Dean ไม่พึงกระทำ อย่างไรก็ตาม จะไม่มีผู้แทนทางการทูตคนใดไปร่วมการประชุมระหว่างบุคคลในคณะทูตด้วยกัน เกี่ยวกับปัญหาระหว่างประเทศโดยมิได้รับคำสั่งโดยเฉพาะจากรัฐบาลของตนก่อน ภริยาของ Dean หรือ Doyen นั้นเรียกว่า Doyenneเมื่อหัวหน้าคณะทูตวายชนม์ขณะที่ดำรงตำแหน่งอยู่ บุคคลในคณะทูตที่มีอาวุโสรองลงมาหรือเป็นบุคคลที่สองจะเป็นผู้รับช่วงงาน ทันที และมีตำแหน่งเรียกว่า อุปทูตชั่วคราว (Chargé d?Affaires ad interim) ทั้งจะต้องดูว่า เอกสารทางราชการต่าง ๆ โดยเฉพาะเอกสารลับหรือปกปิด จะไม่ทิ้งรวมอยู่กับ เอกสารส่วนตัวของทูตผู้วายชนม์อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทาง การทูต ซึ่งได้รับการรับรองเมื่อวันที่ 18 เมษายน ค.ศ. 1961 จากการประชุมสหประชาชาติ เกี่ยวกับการติดต่อและความคุ้มกันทางการทูต ได้บัญญัติไว้ว่า?ข้อ 39 (3) ในกรณีการถึงแก่กรรมของบุคคลในคณะผู้แทนทางการทูต ให้คนในครอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทนอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันซึ่งเขามี สิทธิที่จะได้รับไปจนกว่าจะสิ้นกำหนดเวลาอันสมควรที่จะออกจากประเทศไป(4) ในกรณีการถึงแก่กรรมของบุคคลในคณะผู้แทนซึ่งไม่ใช่คนชาติของรัฐผู้รับ หรือมีถิ่นที่อยู่ถาวรในรัฐผู้รับ หรือของคนในครอบครัว ซึ่งประกอบเป็นส่วนของครัวเรือนของบุคคลในคณะผู้แทนดังกล่าว ให้รัฐผู้รับอนุญาตให้ถอนสังหาริมทรัพย์ของผู้วายชนม์ไป ยกเว้นแต่ทรัพย์สินใดที่ได้มาในประเทศที่ส่งออกซึ่งทรัพย์สินนั้นเป็นอัน ต้องห้ามในเวลาที่บุคคลในคณะผู้แทน หรือคนในคราอบครัวของบุคคลในคณะผู้แทนนั้นถึงแก่กรรม อากรกองมรดก การสืบมรดกและการรับมรดกนั้น ๆ ไม่ให้เรียกเก็บแก่สังหาริมทรัพย์ซึ่งอยู่ในรัฐผู้รับ เพราะการไปอยู่ ณ ที่นั้นแต่ฝ่ายเดียวของผู้วายชนม์ในฐานะเป็นบุคคลในคณะผู้แทนอนึ่ง อนุสัญญากรุงเวียนนาว่าด้วยความสัมพันธ์ทางกงสุล ซึ่งได้รับการรับรองจากที่ประชุมสหประชาชาติ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางกงสุล ซึ่งได้รับการรับรองจากที่ประชุมสหประชาชาติ เกี่ยวกับความสัมพันธ์ทางกงสุล เมื่อวันที่ 24 เมษายน ค.ศ. 1963 ได้บัญญัติไว้ว่า ?ข้อ 51 ในกรณีมรณกรรมของบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุล หรือของคนในครอบครัว ซึ่งเป็นส่วนแห่งครัวเรือนของบุคคลดังกล่าว รัฐผู้รับ(ก) จะอนุญาตให้ส่งออกซึ่งสังหาริมทรัพย์ของผู้วายชนม์ โดยมีข้อยกเว้นแก่ทรัพย์สินเช่นว่า ทรัพย์ใด ๆ ที่ได้มาในรัฐผู้รับนั้น ซึ่งการส่งออกของทรัพย์ต้องห้าม ในเวลาที่บุคคลดังกล่าวถึงแก่มรณกรรม(ข) จะไม่เรียกเก็บอากรกองมรดก อากรสืบช่วงมรดกหรืออากรรับมรดก และอากรการโอน ไม่ว่าจะเป็นอากรของชาติ ของภูมิภาค หรือของเทศบาล จากสังหาริมทรัพย์ ซึ่งการที่สังหาริมทรัพย์นั้นอยู่ในรัฐผู้รับก็เนื่องมาแต่ฝ่ายเดียว จากการที่ผู้วายชนม์อยู่ในรัฐนั้นฐานะบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุลหรือใน ฐานะคนในครอบครัวของบุคคลในที่ทำการกงสุล? ?ข้อ 53(5) กรณีมรณกรรมของบุคคลในสถานที่ทำการทางกงสุล คนในครอบครัวซึ่งเป็นส่วนแห่งครัวเรือนของบุคคลดังกล่าว จะคงได้รับอุปโภคเอกสิทธิ์และความคุ้มกันที่ได้ประสาทให้แก่ตนต่อไป จนกว่าตนจะออกไปจากรัฐผู้รับ หรือจนกว่าจะสิ้นกำหนดเวลาอันสมควรที่จะสามารถให้ตนกระทำดังนั้นได้ แล้วแต่ว่าเวลาไหนจะมาถึงก่อนกัน? [การทูต]
emergency certificateเอกสารเดินทางฉุกเฉิน เอกสารเดินทางที่ออกให้แก่ผู้ลี้ภัยทางการเมือง เด็กที่ไม่มีสัญชาติไทยในความดูแลของกรมประชาสงเคราะห์ คนต่างด้าวที่เดินทางเข้ามาในราชอาณาจักรและทำหนังสือเดินทางสูญหาย รวมทั้งเด็กต่างด้าวที่เกิดในประเทศไทย ซึ่งไม่มีสถานทูต/สถานกงสุลของคนชาตินั้นในประเทศไทย [การทูต]
Extraditionการส่งผู้ร้ายข้ามแดน การที่ชาติหนึ่งยอมส่งคนในชาติของตนให้แก่อีกชาติหนึ่ง คือคนในชาติที่ถูกกล่าวหา หรือต้องโทษฐานกระทำความผิดภายนอกเขตแดนของตน และเป็นความผิดที่กระทำขึ้นในเขตอำนาจของอีกชาติหนึ่ง ซึ่งมีความสามารถที่จะตัดสินคดี รวมทั้งลงโทษบุคคลที่ถูกกล่าวหานั้นข้ออ้างว่า ในกรณีที่ชนชาติหนึ่งซึ่งถูกกล่าวหาว่าประกอบอาชญากรรมแล้วหลบหนีไปยังต่าง ประเทศนั้น รัฐของผู้ที่ประกอบอาชญากรรมมีสิทธิที่จะขอให้ต่างประเทศนั้นส่งตัวผู้กระทำ ผิดกลับคืนมา เพื่อส่งตัวขึ้นศาลเพื่อพิจารณาลงโทษได้ แต่หลายคนยังมีความเห็นแตกต่างกันอยู่ในข้อนี้ มีไม่น้อยที่สนับสนุนหลักการที่ว่า กฎหมายระหว่างประเทศมิได้รับรองหน้าที่ที่จะต้องส่งผู้ร้ายข้ามแดน กล่าวคือ นอกจากสนธิสัญญาส่งผู้ร้ายข้ามแดนที่มีต่อกันแล้ว กฎหมายระหว่างประเทศมิได้รับรองสิทธิที่จะส่งผู้ร้ายข้ามแดนให้แก่กัน อย่างไรก็ดี ตามสนธิสัญญาที่มีต่อกัน ผู้ร้ายที่หนีความยุติธรรมจะถูกส่งไปให้อีกประเทศหนึ่งตามสนธิสัญญานั้น จักกระทำโดยวิถีทางการทูต ส่วนผู้หลบหนีเจ้าหน้าที่เพราะเหตุผลทางการเมือง จะส่งข้ามแดนอย่างผู้ร้ายไม่ได้ และเมื่อหลบหนีไปยังอีกประเทศหนึ่งได้สำเร็จ ประเทศนั้นๆ มักจะให้อาศัยพักพิงในประเทศของตนเป็นในฐานะผู้ลี้ภัยทางการเมือง [การทูต]
Geneva Conference on the Problem of Restoring Peace in Indo-Chinaการประชุม ณ นครเจนีวา ว่าด้วยปัญหาการนำสันติภาพกลับคืนสู่อินโดจีน ในการประชุมนี้ มีการทำความตกลงกันเกี่ยวกับการหยุดสู้รบระหว่างกำลังทหารในประเทศเวียดนาม กัมพูชา และลาว กับกำลังทหารฝรั่งเศส ความตกลงดังกล่าวได้กระทำกันในนครเจนีวา เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม ค.ศ. 1954 มีผู้แทนจากประเทศกัมพูชา สาธารณรัฐประชาธิปไตยเวียดนาม ฝรั่งเศส ลาว สาธารณรัฐประชาชนจีน รัฐเวียดนาม (เวียดนามใต้) สหภาพโซเวียต สหราชอาณาจักร และสหรัฐอเมริกา เข้าร่วมการประชุมตามข้อตกลงนี้ให้มีการยุติการสู้รบในกัมพูชา ลาว และเวียดนาม และการปฏิบัติให้เป็นไปตามบทบัญญัติในความตกลงดังกล่าว ให้อยู่ใต้ความควบคุมและดูแลระหว่างประเทศ ที่ประชุมเจนีวาได้แสดงความมั่นใจว่า ในการปฏิบัติตามข้อตกลงจะปล่อยให้กัมพูชา ลาว และเวียดนาม ได้แสดงบทบาทภายใต้ความเป็นเอกราชและอำนาจอธิปไตยของตนอย่างสมบูรณ์ภายใน ประชาคมนานาชาติ สำหรับความตกลงเกี่ยวกับเวียดนามใด้ห้ามมิให้นำกองทหารและเจ้าหน้าที่ฝ่าย ทหารของต่างชาติ รวมทั้งอาวุธและอุปกรณ์ทางทหารทุกชนิดเข้าไปในประเทศนั้น ที่ประชุมยังได้รับรองว่า วัตถุประสงค์สำคัญยิ่งของความตกลงเกี่ยวกับเวียดนามคือ ต้องการระงับปัญหาต่าง ๆ ทางทหาร เพื่อยุติการสู้รบ และการปักปันเส้นเขตแดนทางทหารนั้น ให้ถือเป็นการชั่วคราว มิได้หมายความว่าเป็นแนวแบ่งเขตทางการเมืองหรือทางดินแดนแต่ประการใดทั้งสิ้น [การทูต]
Gorbachev doctrineนโยบายหลักของกอร์บาชอฟ เป็นศัพท์ที่สื่อมวลชนของประเทศฝ่ายตะวันตกบัญญัติขึ้น ในตอนที่กำลังมีการริเริ่มใหม่ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เกี่ยวกับนโยบายต่างประเทศของโซเวียตในด้านความร่วมมือระหว่างประเทศอภิมหา อำนาจตั้งแต่ ค.ศ. 1985 เป็นต้นมา ภายใต้การนำของ นายมิคาอิล กอร์บาชอฟ ในระยะนั้น โซเวียตเริ่มเปลี่ยนทิศทางของสังคมภายในประเทศใหม่ โดยยึดหลักกลาสนอสต์ (Glasnost) ซึ่งหมายความว่า การเปิดกว้าง รวมทั้งหลักเปเรสตรอยก้า (Perestroika) อันหมายถึงการปรับเปลี่ยนโครงสร้างใหม่ในช่วงปี ค.ศ. 1985 ถึง 1986 บุคคลสำคัญชั้นนำของโซเวียตผู้มีอำนาจในการตัดสินใจนี้ ได้เล็งเห็นและสรุปว่าการที่ประเทศพยายามจะรักษาสถานภาพประเทศอภิมหาอำนาจ และครองความเป็นใหญ่ในแง่อุดมคติทางการเมืองของตนนั้นจำต้องแบกภาระทาง เศรษฐกิจอย่างหนักหน่วง แต่ประโยชน์ที่จะได้จริง ๆ นั้นกลับมีเพียงเล็กน้อย เขาเห็นว่า แม้ในสมัยเบรสเนฟ ซึ่งได้เห็นความพยายามอันล้มเหลงโดยสิ้นเชิงของสหรัฐฯ ในสงครามเวียดนาม การปฏิวัติทางสังคมนิยมที่เกิดขึ้นในแองโกล่า โมซัมบิค และในประเทศเอธิโอเปีย รวมทั้งกระแสการปฏิวัติทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นในแถบประเทศละตินอเมริกา ก็มิได้ทำให้สหภาพโซเวียตได้รับประโยชน์ หรือได้เปรียบอย่างเห็นทันตาแต่ประการใด แต่กลับกลายเป็นภาระหนักอย่างยิ่งเสียอีก แองโกล่ากับโมแซมบิคกลายสภาพเป็นลูกหนี้อย่างรวดเร็ว เอธิโอเปียต้องประสบกับภาวะขาดแคลนอาหารอย่างสาหัส และการที่โซเวียตใช้กำลังทหารเข้ารุกรานประเทศอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1979 ทำให้ระบบการทหารและเศรษฐกิจของโซเวียตต้องเครียดหนักยิ่งขึ้น และการเกิดวิกฤตด้านพลังงาน (Energy) ในยุโรปภาคตะวันออกระหว่างปี ค.ศ. 1984-1985 กลับเป็นการสะสมปัญหาที่ยุ่งยากมากขึ้นไปอีก ขณะเดียวกันโซเวียตตกอยู่ในฐานะต้องพึ่งพาอาศัยประเทศภาคตะวันตกมากขึ้นทุก ขณะ ทั้งในด้านวิชาการทางเทคโนโลยี และในทางโภคภัณฑ์ธัญญาหารที่จำเป็นแก่การดำรงชีวิตของพลเมืองของตน ยิ่งไปกว่านั้น การที่เกิดการแข่งขันกันใหม่ด้านอาวุธยุทโธปกรณ์กับสหรัฐอเมริกา โดยเฉพาะแผนยุทธการของสหรัฐฯ ที่เรียกว่า SDI (U.S. Strategic Defense Initiative) ทำให้ต้องแบกภาระอันหนักอึ้งทางการเงินด้วยเหตุนี้โซเวียตจึงต้องทำการ ประเมินเป้าหมายและทิศทางการป้องกันประเทศใหม่ นโยบายหลักของกอร์บาซอฟนี่เองทำให้โซเวียตต้องหันมาญาติดี รวมถึงทำความตกลงกับสหรัฐฯ ในรูปสนธิสัญญาว่าด้วยกำลังนิวเคลียร์ในรัศมีปานกลาง (Intermediate Range Force หรือ INF) ซึ่งได้ลงนามกันในกรุงวอชิงตันเมื่อปี ค.ศ. 1987เหตุการณ์นี้ถือกันว่าเป็นมาตรการที่มีความสำคัญที่สุดในด้านการควบคุม ยุทโธปกรณ์ตั้งแต่เริ่มสงครามเย็น (Cold War) ในปี ค.ศ. 1946 เป็นต้นมา และเริ่มมีผลกระทบต่อทิศทางในการที่โซเวียตเข้าไปพัวพันกับประเทศ อัฟกานิสถาน แอฟริกาภาคใต้ ภาคตะวันออกกลาง และอาณาเขตอ่าวเปอร์เซีย กอร์บาชอฟถึงกับประกาศยอมรับว่า การรุกรานประเทศอัฟกานิสถานเป็นการกระทำที่ผิดพลาด พร้อมทั้งถอนกองกำลังของตนออกไปจากอัฟกานิสถานเมื่อปี ค.ศ. 1989 อนึ่ง เชื่อกันว่าการที่ต้องถอนทหารคิวบาออกไปจากแองโกล่า ก็เป็นเพราะผลกระทบจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟ ซึ่งได้เปลี่ยนท่าทีและบทบาทใหม่ของโซเวียตในภูมิภาคตอนใต้ของแอฟริกานั้น เอง ส่วนในภูมิภาคตะวันออกกลาง นโยบายหลักของกอร์บาชอฟได้เป็นผลให้ นายเอ็ดวาร์ด ชวาดนาเซ่ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ซึ่งเป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากนายกอร์บาชอฟ เริ่มแสดงสันติภาพใหม่ๆ เช่น ทำให้โซเวียตกลับไปรื้อฟื้นสัมพันธภาพทางการทูตกับประเทศอิสราเอล ทำนองเดียวกันในเขตอ่าวเปอร์เซีย โซเวียตก็พยายามคืนดีด้านการทูตกับประเทศอิหร่าน เป็นต้นการเปลี่ยนทิศทางใหม่ทั้งหลายนี้ ถือกันว่ายังผลให้มีการเปลี่ยนแปลงนโยบายภายในประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและ ด้านสังคมของโซเวียต อันสืบเนื่องมาจากนโยบาย Glasnost and Perestroika ที่กล่าวมาข้างต้นนั่นเองในที่สุด เหตุการณ์ทั้งหลายเหล่านี้ก็ได้นำไปสู่การล่มสลายอย่างกะทันหันของสหภาพ โซเวียตเมื่อปี ค.ศ. 1991 พร้อมกันนี้ โซเวียตเริ่มพยายามปรับปรุงเปลี่ยนแปลง รวมทั้งปรับโครงสร้างทางเศรษฐกิจการเมืองของประเทศให้ทันสมัยอย่างขนานใหญ่ นำเอาทรัพยากรที่ใช้ในด้านการทหารกลับไปใช้ในด้านพลเรือน พฤติกรรมเหล่านี้ทำให้เกิดจิตใจ (Spirit) ของการเป็นมิตรไมตรีต่อกัน (Détente) ขึ้นใหม่ในวงการการเมืองโลก เห็นได้จากสงครามอ่าวเปอร์เซีย ซึ่งโซเวียตไม่เล่นด้วยกับอิรัก และหันมาสนับสนุนอย่างไม่ออกหน้ากับนโยบายของประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรนัก วิเคราะห์เหตุการณ์ต่างประเทศหลายคนเห็นพ้องต้องกันว่า การที่เกิดการผ่อนคลาย และแสวงความเป็นอิสระในยุโรปภาคตะวันออกอย่างกะทันหันนั้น เป็นผลจากนโยบายหลักของกอร์บาชอฟโดยตรง คือเลิกใช้นโยบายของเบรสเนฟที่ต้องการให้สหภาพโซเวียตเข้าแทรกแซงอย่างจริง จังในกิจการภายในของกลุ่มประเทศยุโรปตะวันออก กระนั้นก็ยังมีความรู้สึกห่วงใยกันไม่น้อยว่า อนาคตทางการเมืองของกอร์บาชอฟจะไปได้ไกลสักแค่ไหน รวมทั้งความผูกพันเป็นลูกโซ่ภายในสหภาพโซเวียตเอง ซึ่งยังมีพวกคอมมิวนิสต์หัวรุนแรงหลงเหลืออยู่ภายในประเทศอีกไม่น้อย เพราะแต่เดิม คณะพรรคคอมมิวนิสต์ในสหภาพโซเวียตนั้น เป็นเสมือนจุดรวมที่ทำให้คนสัญชาติต่าง ๆ กว่า 100 สัญชาติภายในสหภาพ ได้รวมกันติดภายในประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก คือมีพื้นที่ประมาณ 1 ใน 6 ส่วนของพื้นที่โลก และมีพลเมืองทั้งสิ้นประมาณ 280 ล้านคนจึงสังเกตได้ไม่ยากว่า หลังจากสหภาพโซเวียตล่มสลายไปแล้ว พวกหัวเก่าและพวกที่มีความรู้สึกชาตินิยมแรง รวมทั้งพลเมืองเผ่าพันธุ์ต่างๆ เกิดความรู้สึกไม่สงบ เพราะมีการแก่งแย่งแข่งกัน บังเกิดความไม่พอใจกับภาวะเศรษฐกิจที่ตนเองต้องเผชิญอยู่ จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้จักรวรรดิของโซเวียตต้องแตกออกเป็นส่วน ๆ เช่น มีสาธารณรัฐที่มีอำนาจ ?อัตตาธิปไตย? (Autonomous) หลายแห่ง ต้องการมีความสัมพันธ์ในรูปแบบใหม่กับรัสเซีย เช่น สาธารณรัฐยูเกรน ไบโลรัสเซีย มอลดาเวีย อาร์เมเนีย และอุสเบคิสถาน เป็นต้น แต่ก็เป็นการรวมกันอย่างหลวม ๆ มากกว่า และอธิปไตยที่เป็นอยู่ขณะนี้ดูจะเป็นอธิปไตยที่มีขอบเขตจำกัดมากกว่าเช่นกัน โดยเฉพาะสาธารณรัฐมุสลิมในสหภาพโซเวียตเดิม ซึ่งมีพลเมืองรวมกันเกือบ 50 ล้านคน ก็กำลังเป็นปัญหาต่อเชื้อชาติสลาฟ และการที่พวกมุสลิมที่เคร่งครัดต่อหลักการเดิม (Fundamentalism) ได้เปิดประตูไปมีความสัมพันธ์อันดีกับประะเทศอิหร่านและตุรกีจึงทำให้มีข้อ สงสัยและครุ่นคิดกันว่า เมื่อสหภาพโซเวียตแตกสลายออกเป็นเสี่ยง ๆ ดังนี้แล้ว นโยบายหลักของกอร์บาชอฟจะมีทางอยู่รอดต่อไปหรือไม่ ซึ่งเป็นเรื่องที่ถกเถียงและอภิปรายกันอยู่พักใหญ่และแล้ว เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม ค.ศ. 1991 ก็ได้เกิดความพยายามที่จะถอยหลังเข้าคลอง คือกลับนโยบายผ่อนเสรีของ Glasnost และ Perestroika ทั้งภายในประเทศและภายนอกประเทศโดยมีผุ้ที่ไม่พอใจได้พยายามจะก่อรัฐประหาร ขึ้นต่อรัฐบาลของนายกอร์บาชอฟ แม้การก่อรัฐประหารซึ่งกินเวลาอยู่เพียงไม่กี่วันจะไม่ประสบผลสำเร็จ แต่เหตุการณ์นี้ก่อให้เกิดผลสะท้อนลึกซึ้งมาก คือเป็นการแสดงว่า อำนาจของรัฐบาลกลางย้ายจากศูนย์กลางไปอยู่ตามเขตรอบนอกของประเทศ คือสาธารณรัฐต่างๆ ซึ่งก็ต้องประสบกับปัญหานานัปการ จากการที่ประเทศเป็นภาคีอยู่กับสนธิสัญญาระหว่างประเทศต่างๆ โดยเฉพาะความตกลงเกี่ยวกับการควบคุมอาวุธยุทโธปกรณ์ ซึ่งสหภาพโซเวียตเดิมได้ลงนามไว้หลายฉบับผู้นำของสาธารณรัฐที่ใหญ่ที่สุดคือ นายบอริส เยลท์ซินได้ประกาศว่า สหพันธ์รัฐรัสเซียยังถือว่า พรมแดนที่เป็นอยู่ขณะนี้ย่อมเปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ ไม่ใช่เป็นสิ่งที่จะแก้ไขเสียมิได้และในสภาพการณ์ด้านต่างประทเศที่เป็นอยู่ ในขณะนี้ การที่โซเวียตหมดสภาพเป็นประเทศอภิมหาอำนาจ ทำให้โลกกลับต้องประสบปัญหายากลำบากหลายอย่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งปัญหาเศรษฐกิจระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ ที่เคยสังกัดอยู่ในสหภาพโซเวียตเดิม จึงเห็นได้ชัดว่า สหภาพโซเวียตเดิมได้ถูกแทนที่โดยการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐต่างๆ อย่างหลวมๆ ในขณะนี้ คล้ายกับการรวมตัวกันระหว่างสาธารณรัฐภายในรูปเครือจักรภพหรือภายในรูป สมาพันธรัฐมากกว่า และนโยบายหลักของกอร์บาชอฟก็ได้ทำให้สหภาพโซเวียตหมดสภาพความเป็นตัวตนใน เชิงภูมิรัฐศาสตร์ (Geopolitics) [การทูต]
Human Rights Committeeคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน เป็นกลไกติดตามผลการอนุวัติกติการะหว่างประเทศว่าด้วย สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง (International Covenant on Civil and Political Rights : ICCPR) [การทูต]
Hugo Grotius (1583-1645)บรมครูทางกฎหมายของเนเธอร์แลนด์ เป็นบุคคลแรกที่ได้ประกาศเสรีภาพของทะเล (Freedom of the Seas) ในตำราของท่านชื่อ Mare Liberumนักกฎหมาย รัฐบุรุษ และปรัชญาเมธีด้านมนุษยธรรมของเนเธอร์แลนด์ผู้นี้ ภายหลังเกิดมาได้ไม่กี่ปีก็ส่อให้เห็นว่าเป็นเด็กที่เฉลียวฉลาดอย่างน่า มหัศจรรย์ เขาเริ่มศึกษาวิชากฎหมายตั้งแต่มีอายุได้ 11 ขวบ ณ สถาบันศึกษาชั้นสูงแห่งเลย์เด็นในเนเธอร์แลนด์ และได้รับปริญญาเอกทางกฎหมายจากมหาวิทยาลัย ณ เมืองออร์ลีนส์ ในประเทศฝรั่งเศสเมื่อมีอายุได้เพียง 15 ปี โดยที่เป็นผู้ฝักใฝ่ในการเมือง เขาได้ถูกลงโทษจำคุกตลอดชีวิตเมื่อปี ค.ศ. 1618 ด้วยข้อหาทางการเมือง แต่ต่อมาใน ค.ศ. 1621 ได้หลบหนีไปยังประเทศฝรั่งเศสเมื่อปี ค.ศ 1625 เขาได้แต่งตำรากฎหมายซึ่งถือกันว่าเป็นตำราอมตะชื่อว่า Jure Belli ac Pacis (แปลว่า เกี่ยวกับกฎหมายว่าด้วยสงครามและสันติภาพ) เป็นงานเขียนที่เหมาะกับสมัย และเขียนอย่างนักวิชาการอันเยี่ยมยอดที่สุดไม่มีใครเหมือนในสมัยนั้น และด้วยความรู้สึกที่รักความยุติธรรมอย่างแรงกล้าด้วยเหตุนี้ ทั่วโลกจึงขนานนาม Hugo Grotius ว่าเป็นบิดาแห่งกฎหมายระหว่างประเทศหรือกฎหมายนานาชาติ (Father of the Law of Nations) [การทูต]
International Covenant on Civil and Political Rightsกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง เป็นสนธิสัญญาระหว่างประเทศภายใต้กรอบสหประชาชาติหลักด้านสิทธิมนุษยชน 1 ใน 2 ฉบับ ซึ่งแปรข้อบทในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนให้มีพันธะผูกพันทางกฎหมายแก่ ประเทศภาคี สหประชาชาติรับรองเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2509 มีผลใช้บังคับเมื่อปี พ.ศ. 2519 ไทยเข้าเป็นภาคีโดยการภาคยานุวัติเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 2539 และมีผลบังคับใช้กับไทยเมื่อวันที่ 29 มกราคม 2540 [การทูต]
Iron Curtainม่านเหล็ก เป็นศัพท์ที่อดีตนายกรัฐมนตรีของอังกฤษ ผู้ล่วงลับไปแล้ว คือ เซอร์วินสตัน เชอชิลล์ เป็นผู้บัญญัติขึ้นหมายถึงเครื่องกีดขวางปิดกั้นเขต ซึ่งโซเวียตรัสเซียและประเทศคอมมิวนิสต์ในยุโรปตะวันออกไม่ยอมให้มีการ ติดต่อหรือเดินทางเข้าไปในอาณาเขตของประเทศดังกล่าว ที่เรียกกันว่า ประเทศหลังม่านเหล็ก เป็นปรากฏการณ์ทางการเมืองในระหว่างสงครามเย็น แต่ภายหลังที่ลัทธิคอมมิวนิสต์ล่มสลาย ม่านเหล็กก็พลอยหมดสภาพไปในที่สุด [การทูต]
Leaque of Arab States หรือ Arab Leaqueก่อตั้งเมื่อวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ.2488 มีเป้าหมายทางการเมืองเป็นเป้าหมายหลัก คือ สร้างเอกภาพ รักษาและส่งเสริมผลประโยชน์อาหรับ รวมทั้งเป็นกลไก [การทูต]
Niccolo Machiavelli (1469-1527)คือรัฐบุรุษและปรัชญาเมธีทางการเมืองของสาธารณรัฐ ฟลอเรนส์ (Florence) ระหว่างรับราชการ ท่านดำรงตำแหน่งฝ่ายธุรการหลายตำแหน่งซึ่งไม่สู้มีความสำคัญเท่าใด แต่สิ่งที่ท่านสนใจมากที่สุดได้แก่ศิลปะของการเมือง หนังสือสำคัญ ๆ ที่ท่านประพันธ์ขึ้นไว้คือ The Prince เล่มหนึ่ง อีกเล่มหนึ่งชื่อ The Art of War และอีกเล่มหนึ่งคือ Discourses on the First Ten Books of Livyมีนักเขียนหลายคนวิพากษ์ Machiavelli ที่แสดงความเห็นสนับสนุนว่า รัฐบาลใดก็ตมที่ต้องการรักษาอำนาจการปกครองตนให้เข้มแข็งไว้ ย่อมจะใช้วิถีทางใด ๆ ก็ได้ ถึงแม้หนทางเช่นนั้นจะผิดกฎหมายหรือไร้ศีลธรรมก็ตาม และก็มีนักเขียนอีกหลายคนสนับสนุนท่าน โดยชี้ให้เห็นว่า ท่านเป็นแต่เพียงตีแผ่ให้เห็นพฤติกรรมที่แท้จริงของรัฐบาลประเทศต่าง ๆ ในยุคสมัยที่ท่านมีชีวิตอยู่มากกว่าอย่างอื่น อาทิเช่น ในหนังสือ The Prince ของท่านตอนหนึ่งอ้างว่า การต่อสู้นั้นมีอยู่สองวิธี วิธีแรกเป็นการต่อสู้โดยวิถีทางกฎหมาย อีกวิธีหนึ่งคือการต่อสู้โดยใช้กำลัง (Force) วิธีแรกนั้นเป็นวิธีที่มนุษย์พึงใช้ ส่วนวิธีที่สองเป็นวิธีเยี่ยงสัตว์ป่า แต่การใช้วิธีแรกมักจะไม่ค่อยได้ผลเสมอไป เพราะไม่เพียงพอ ก็ย่อมจะหันเข้าใช้วิธีที่สองได้ ฉะนั้น ผู้ปกครองประเทศสมัยนั้น ซึ่ง Machiavelli เรียกว่า Prince จึงจำเป็นต้องรู้ดีว่าจะใช้ทั้งวิธีที่มนุษย์จะพึงใช้ และวิธีเยี่ยงสัตว์ป่าอย่างไร ด้วยเหตุนี้ ผู้ปกครองประเทศสมัยนั้นไม่จำเป็นต้องมีสัจธรรม หากการกระทำนั้น ๆ จะทำความเสียหายแก่ผลประโยชน์ของประเทศ ท่านเห็นว่า หากมนุษย์ทุกคนเป็นคนดี กฎเช่นนี้ก็เป็นกฎที่ไม่ถูกต้อง แต่โดยที่มนุษย์ไม่ใช่คนดีทั้งหมด ในเมื่อเขาไม่ยอมให้ความศรัทธาความไว้วางใจในตัวท่าน ก็ไม่มีอะไรที่จะมาห้ามมิให้ท่านเลิกศรัทธากับเขาเหล่านั้นได้ [การทูต]
Organization of American Statesคือองค์การของรัฐในสหรัฐอเมริกา เมื่อวันที่ 2 กันยายน ค.ศ. 1947 สหรัฐอเมริกา และประเทศต่าง ๆ ในละตินอเมริกา ยกเว้นประเทศนิคารากัวและอีเควดอร์ ได้ตกลงทำสนธิสัญญาระหว่างรัฐในอเมริกาด้วยกัน ณ กรุงริโอเดจาเนโร เพื่อให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า สนธิสัญญาริโอ ประเทศเหล่านั้นต่างมุ่งมั่นที่จะให้ความช่วยเหลือกันอย่างมีประสิทธิผล ถ้าหากรัฐในอเมริกาหนึ่งใดถูกโจมตีด้วยกำลังอาวุธหรือถูกคุกคามจาการรุกราน ต่อมาในเดือนเมษายน ค.ศ. 1948 ได้มีการจัดตั้งองค์การของรัฐอเมริกัน (Organization of American States) ขึ้น ณ กรุงโบโกตา ประเทศโบลิเวีย ประกอบด้วยรัฐต่าง ๆ ในอเมริการวม 21 ประเทศ ยกเว้นประเทศแคนาดา เพื่อดำเนินการให้เป็นผลตามสนธิสัญญาริโอ และจัดวางระบบการรักษาความมั่นคงร่วมกันขึ้น กฎบัตร (Charter) ขององค์การได้มีผลบังคับให้เมื่อวันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ. 1951องค์การโอเอเอสนี้ เป็นองค์การส่วนภูมิภาคแห่งหนึ่ง ภายในกรอบของสหประชาชาติ ประเทศสมาชิกต่างปฏิญาณร่วมกันที่จะทำการธำรงรักษากระชับสันติภาพ ตลอดจนความมั่นคงในทวีปอเมริกา เพื่อป้องกันมิให้เกิดเหตุแห่งความยุ่งยากใด ๆ และต้องการระงับกรณีพิพาทที่อาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างประเทศสมาชิกด้วยกันโดย สันติวิธี อนึ่ง ถ้าหากมีการรุกรานเกิดขึ้นก็จะมีการปฏิบัติการร่วมกัน นอกจากนี้ ยังจะหาทางระงับปัญญาหาทางการเมือง ทางการศาล และทางเศรษฐกิจ ที่อาจเกิดขึ้นได้ในระหว่างประเทศสมาชิก พร้อมทั้งจะพยายามร่วมกัน ในการหาหนทางส่งเสริมพัฒนาการทางเศรษฐกิจสังคม และวัฒนธรรม สำนักงานใหญ่ขององค์การโอเอเอสตั้งอยู่ ณ กรุงวอชิงตันดีซี นครหลวงของสหรัฐอเมริกา [การทูต]
persona non grataบุคคลทางการทูตที่รัฐผู้รับไม่ยอมรับ เช่น กรณีนักการทูตทำผิดกฎหมายหรือข้อบังคับทางศาสนาในประเทศที่พำนักอยู่ จนทางรัฐบาลของประเทศนั้นไม่อาจยอมรับได้และต้องให้เดินทางกลับออกนอกประเทศ นั้น อย่างไรก็ตาม นักการทูตอาจถูกรัฐบาลของรัฐผู้รับให้ออกนอกประเทศเป็น persona non grata ด้วยเหตุผลของการดำเนินการโต้ตอบทางการเมืองระหว่างรัฐผู้รับและรัฐผู้ส่งก็ เป็นได้ โดยที่นักการทูตผู้นั้นมิได้กระทำผิดกฎหมายของรัฐผู้รับหรือกระทำผิดทาง ศาสนาของรัฐผู้รับแต่อย่างใด [การทูต]
Political Appointeeหมายถึง บุคคลที่ได้รับแต่งตั้งด้วยเหตุผลทางการเมือง คือ ผู้ที่มิได้มีอาชีพทางการทูตโดยแท้ได้รับแต่งตั้งให้เป็นทูต ซึ่งต่างกับนักการทูตอาชีพ (Career diplomat) ในประเทศอังกฤษ ฝรั่งเศส เยอรมนี และสหภาพโซเวียต ธรรมเนียมปฏิบัติโดยทั่วไปจะแต่งตั้งเฉพาะบุคคลที่มีอาชีพนักการทูตแท้ ๆ เข้าดำรงตำแหน่งเอกอัครราชทูตและอัครราชทูต อย่างไรก็ดี เฉพาะในกรณีพิเศษจริง ๆ เท่านั้นจึงจะแต่งตั้งบุคคลจากภายนอก และบุคคลจากภายนอกที่ได้รับแต่งตั้งเป็นเอกอัครราชทูตได้รับผลสำเร็จในการ ปฏิบัติหน้าที่ก็มีอยู่หลายราย ทั้งในประเทศไทยและประเทศอื่น ๆ ทั่วโลก แฮโรลด์ นิโคลสัน ได้ให้ความเห็นไว้ในหนังสือเรื่องการทูตของท่านว่า ในประเทศใหญ่ ๆ เป็นที่พึงปรารถนาอย่างยิ่งที่จะให้นักการทูตอาชีพเท่านั้นเป็นผู้รับผิดชอบ ในการดำเนินนโยบายการต่างประเทศ เพราะได้ผ่านการศึกษาและฝึกฝนในวิชาการทูตมาเป็นอย่างดีแล้ว ส่วนเอกอัครราชทูตที่แต่งตั้งจากคนภายนอกจะมีข้อเสียบางอย่าง เช่น ในการเขียนรายงานไปยังรัฐบาล เช่น รายงานการเมือง เขาอาจมุ่งแต่จะอวดความเฉียบแหลมของเขาเอง และร้อยกรองคำอย่างไพเราะเพราะพริ้ง มากกว่าที่จะมุ่งเสนอรายงานข้อเท็จจริงอย่างรอบคอบและมีเหตุผลอันสมควร เป็นต้น [การทูต]

ตัวอย่างประโยค จาก Open Subtitles  **ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
- She is making a political speech.- - เธอคือการพูดทางการเมือง In the Name of the Father (1993)
Between politics and school, he never saw her.แนวคิดทางการเมือง ชีวิตในโรงเรียน พ่อไม่เคยเข้าใจแม่ Wild Reeds (1994)
With that money they can buy more police and political power.ด้วยเงินที่พวกเขาสามารถซื้อตำรวจมากขึ้นและอำนาจทางการเมือง The Godfather (1972)
So I receive 30% for finance, political influence and legal protection?ดังนั้นผมจึงได้รับ 30% สำหรับเงินทุน อิทธิพลทางการเมืองและการป้องกันกฎหมายหรือไม่ The Godfather (1972)
If we lose the old man, we lose the political contacts and half our strength.ถ้าเราสูญเสียคนเก่าเราสูญเสียการติดต่อทางการเมืองและครึ่งหนึ่งความแข็งแกร่งของเรา The Godfather (1972)
Even the old man's political protection would run for cover.แม้กระทั่งการป้องกันทางการเมืองของชายชราจะวิ่งหาที่กำบัง The Godfather (1972)
Besides attending the conference he has found time to meet political and religious leaders like Mr. Lloyd George the Archbishop of Canterbury, George Bernard Shaw and Charlie Chaplin.นอกจากจะเข้าร่วมประชุม เขายังได้พบกับผู้นำ ทางการเมืองและศาสนา อย่างลอยด์ ยอร์จ Gandhi (1982)
They're holding Gandhi and congress politicians there.ใช้เป็นที่กักขังคานธีและ ผู้นำทางการเมืองทั้งหมด Gandhi (1982)
Despite our political differences we're real close.แม้ว่าเราจะมีความแตกต- ่างทางการเมืองอยู่ก็ตาม Idemo dalje (1982)
OK, but nothing political.ตกลง แต่ไม่มีอะไรทางการเมือง Idemo dalje (1982)
What's important is diplomacy and political maneuvering, which you seem to despise.สิ่งสำคัญก็คือความชำนาญในการเจรจาและยุทธศาสตร์ทางการเมือง เหล่านี้ดูเหมือนเป็นสิ่งที่คุณชิงชังยิ่งนัก Akira (1988)
They are promising regional autonomy and religious freedom... if Tibet accepts that China be its political master.พวกเขาสัญญาว่าจะให้ปกครองตนเอง และมีอิสรภาพทางศาสนา ถ้าทิเบตยอมให้จีน เป็นผู้นำทางการเมือง Seven Years in Tibet (1997)
We humbly ask the Tibetan government to honor our request... and let the Dalai Lama attain his political majority.เราขอวอนให้รัฐบาลทิเบต รับฟังคำขอร้องของเรา และคืนอำนาจทางการเมือง ให้กับองค์ทะไลลามะ Seven Years in Tibet (1997)
There was an interesting connection between the rise of fascism in Europe and the consciousness of politically radical people about corporate power.มีความเชื่อมโยงพัวพันที่น่าสนใจ ระหว่างการขึ้นสู่อำนาจของระบอบฟาสซิสต์ในยุโรป กับจิตสำนึกของพวกหัวรุนแรงทางการเมือง The Corporation (2003)
Personally, I'm inclined to deport him, forcibly, if necessary but I'd have to come up with a politically acceptable reason for it.โดยส่วนตัวแล้ว ผมพร้อมเสมอที่จะใช้กำลังเนรเทศเขา ถ้าจำเป็น... ...แต่เราต้องปฏิบัติตามข้อตกลงทางการเมืองนี่สิ Ghost in the Shell (1995)
Many are the same experts who have consulted on the Machine's design and function.มุมมองทางการเมืองและศาสนา หลายคนเป็นผู้เชี่ยวชาญด้าน เดียวที่ได้รับการพิจารณา ในการออกแบบเครื่อง และฟังก์ชั่น Contact (1997)
But until you can get it in your head there are politics involved... delicate politics, not to mention economics, you're only gonna do these people more harm than good.แต่จนกว่าคุณจะได้รับมันในของคุณ หัวมีส่วนร่วมทางการเมือง ... การเมืองที่ละเอียดอ่อน ไม่ต้องพูดถึงเศรษฐกิจ คุณเท่านั้นที่จะทำคนเหล่านี้ อันตรายมากกว่าดี Dante's Peak (1997)
She's a political. So that would explain it.เธอเป็นทางการเมือง เพื่อที่จะอธิบายมัน Cubeº: Cube Zero (2004)
He's my political adviser.ที่ปรึกษาทางการเมืองของฉัน The Longest Yard (2005)
Her parents were political activists.พ่อแม่เธอ เป็นนักเคลื่อนไหวทางการเมือง. V for Vendetta (2005)
The Thule organization assists the Nationalist Socialist Party, also known as the Nazi political party.งานวิจัยทรูล์มีส่วนช่วยองค์การทางการเมือง ที่เรียกว่าพรรคนาซีไงล่ะ Fullmetal Alchemist the Movie: Conqueror of Shamballa (2005)
Due to some political problems that are being resolved...เพราะว่าปัญหาทางการเมืองหลายๆ ปัญหาจะมีมติ... Babel (2006)
I don't give a shit about political problems. I need help now.ฉันไม่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับ ปัญหาทางการเมือง ฉันต้องช่วยตอนนี้ Babel (2006)
It was only about political security.มันเป็นเพียงเรื่อง ความปลอดภัยทางการเมือง Hollow Man II (2006)
He's killing their political enemies.เขาฆ่าศัตรูทางการเมืองของเขาทีละคน Hollow Man II (2006)
ultimately this is really not a political issue so much as a moral issue.ถึงที่สุดแล้ว นี่ไม่ใช่ประเด็นทางการเมือง ค่อนไปทางประเด็นทางศีลธรรมมากกว่า An Inconvenient Truth (2006)
It is a political issue.มันเป็นประเด็นทางการเมือง An Inconvenient Truth (2006)
We have everything we need, save perhaps political will.เรามีทุกสิ่งทุกอย่างที่ต้องการ ลดความมุ่งหมายทางการเมือง An Inconvenient Truth (2006)
But you know what? In America, political will is a renewable resource.แต่รู้ไหม ในอเมริกา ความมุ่งหมายทางการเมือง เป็นทรัพยากรแบบกลับใช้ได้ใหม่ An Inconvenient Truth (2006)
So now we have to use our political processes in our democracy, and then decide to act together to solve those problems.ถึงตอนนี้เราต้องใช้กระบวนการทางการเมือง ในระบอบประชาธิปไตยของเรา ตัดสินใจที่จะร่วมมือกันแก้ไขปัญหาเหล่านั้น An Inconvenient Truth (2006)
Mr. President, like you, I have staked much of my political future on the success of this treaty.ท่านปธน. เช่นเดียวกับท่าน... ผมก็เอาอนาคตทางการเมืองมาเสี่ยงเหมือนกัน Day 5: 10:00 a.m.-11:00 a.m. (2006)
Nick, you're asking him to commit political suicide by granting a stay of execution to Illinois' most notorious death row inmate.นิค คุณจะขอให้ผู้พิพากษาทำลายเส้นทางการเมืองของตัวเอง โดยชะลอการประหารนักโทษที่ดังที่สุดในอิลลินอยส์เนี่ยนะ The Rat (2006)
So, for it to be expedited, there had to have been some sort of political influence, right?ที่คดีของลินคอล์น ตัดสินเร็วขนาดนี้ เพราะอิทธิพลทางการเมืองด้วยรึเปล่า ? 445 00: Cute Poison (2005)
It upsets me that Prince Dae-So is using your wedding for political gain.ข้ารู้สึกผิดหวังที่องค์ชายแดโซใช้งานแต่งงานของเจ้า เพื่อเป้าหมายทางการเมืองอีกครั้ง Episode #1.43 (2006)
Really? I found him very politically motivated.จริงเหรอ ผมว่าเขามีแรงจูงใจทางการเมืองนะ That Night, a Forest Grew (2007)
His report has been politically motivated.จากแรงจูงใจทางการเมือง Pilot (2007)
Even though he has given military authority to Prince Young-Po, the fact that he has given Prince Dae-So the task of understanding the political and military status of foreign lands is an enormously powerful and important task.ถึงแม้ว่าพระองค์ยังไม่พระราชทาน อำนาจทางการทหารให้กับเจ้าชายยองโพ ความจริงที่ว่าพระองค์ทรงมอบหมายงานให้เจ้าชายแดโซ ทางการเมืองและการทหาร ของต่างเมืองนั่นหมายถึงอำนาจเต็มที่ และเป็นงานที่สำคัญมาก Episode #1.8 (2006)
There's a political spotlight on whistler due to the nature of his crime.มีเรื่องที่น่าสนใจ/ทางการเมือง เกี่ยวกับวิสท์เลอร์ Fire/Water (2007)
He ignored me. He used me politically.เค้าเมินฉัน ใช้ฉันเพื่อประโยชน์ทางการเมือง Welcome to Kanagawa (2008)
The poster child for political redemption.ผู้ไถ่บาปทางการเมือง Chapter One 'The Second Coming' (2008)
Because the political road is a tough journey 00:33:00, 162 -- 00:33:03, 555 On the way here, I have seen that the people are restlessเพราะถนนทางการเมืองนี้ เป็นเส้นทางที่ยากลำบาก Iljimae (2008)
Breaking with Rome would isolate England politically and leave us at the mercy of the Protestants.การแตกหักกับโรม หมายถึงการแยกตัวทางการเมืองของอังกฤษ... และนำไปสู่การเผชิญกับความปรานีของพวกโปรแตสแตนท์ The Other Boleyn Girl (2008)
I will invest in your political venture too.ผมจะลงทุนในความเสี่ยงทางการเมืองของคุณด้วย. Episode #1.5 (2008)
Well, I'm a political adviser.ผมเป็นที่ปรึกษาทางการเมือง Body of Lies (2008)
I told you, Cala, he's a political adviser.บอกแล้วไง เขาเป็นที่ปรึกษาทางการเมือง Body of Lies (2008)
Political adviser.ที่ปรึกษาทางการเมือง Body of Lies (2008)
I've got 1 4 children seeking political asylum.ผมมีเด็ก ทั้งหมด 14 คน ที่ต้องการหลบภัยทางการเมือง 24: Redemption (2008)
Political assassination wasn't in the contract.การลอบยิงผู้นำทางการเมือง ไม่ได้อยู่ในสัญญา Bangkok Dangerous (2008)
The truth is almost anyone one can take out a politician.เรื่องจริงก็คือ เกือบทุกๆคน ที่สามารถขอใบอนุญาติทางการเมืองได้ Bangkok Dangerous (2008)
Dean read through a 245-page statement characterizing a president who was easily outraged over war protesters and political adversaries, and outlining a range of offenses, including wiretapping of newsmen, a Charles Colson plan to firebomb and burglarize the Brookings Institution, ทางคณะศาลได้อ่านเอกสารทั้งหมด 245 หน้า เพื่อจำแนกว่าท่านปธน ผู้ซึ่งกระทำฝ่าฝืน ต่อผู้ประท้วงและ\ การโฆษณาชวนเชื่อทางการเมือง Frost/Nixon (2008)

Thai-English-French: Volubilis Dictionary 1.0
อำนาจทางการเมือง[amnāt thāng kānmeūang] (n, exp) EN: political power  FR: pouvoir politique [ m ]
การพัฒนาทางการเมือง[kān phatthanā thāng kānmeūang] (n, exp) EN: political development
ความคิดทางการเมือง[khwāmkhit thāng kānmeūang] (n, exp) EN: political thought  FR: pensée politique [ f ]
ความคิดทางการเมืองไทยสมัยใหม่[khwāmkhit thāng kānmeūang Thai samaimai] (n, exp) EN: Thai modern political thought
กลไกทางการเมือง[konkai thāng kānmeūang] (n, exp) EN: political machinery
กลยุทธ์ทางการเมือง[konlayut thāng kānmeūang] (n, exp) EN: political machinery
ประเด็นทางการเมือง[praden thāng kānmeūang] (n, exp) EN: political issue
สถาบันทางการเมือง[sathāban thāng kānmeūang] (n, exp) EN: political institution  FR: institution politique [ f ]
สถานการณ์ทางการเมือง[sathānakān thāng kānmeūang] (n, exp) EN: political situation  FR: situation politique [ f ]
เสรีภาพทางการเมือง[sērīphāp thang kānmeūang] (n, exp) EN: political liberty  FR: liberté poltique [ f ]
ทางการเมือง[thāng kānmeūang] (adj) EN: political  FR: politique
อุดมการณ์ทางการเมือง[udomkān thāng kānmeūang] (n, exp) EN: political ideology  FR: idéologie politique [ f ]
วิกฤตทางการเมือง[wikrit thāng kānmeūang] (n, exp) EN: political crisis  FR: crise politique [ f ]

English-Thai: Longdo Dictionary
political deadlock(n) ภาวะชะงักงันทางการเมือง
pork-barrel(n) การแบ่งสรรปันส่วน(ผลประโยชน์)ในรัฐบาลด้วยเหตุผลทางการเมือง เช่น The pork barrel was to become as central to our national political culture.

English-Thai: NECTEC's Lexitron-2 Dictionary [with local updates]
absolutism(n) ระบบเผด็จการทางการเมือง, Syn. absolute monarchy, dictatorship
activism(n) ลัทธิที่ดำเนินการเพื่อให้บรรลุผลทางการเมือง
bilateral(adj) เกี่ยวกับกลุ่มทางการเมืองสองกลุ่ม
black out(phrv) ปิดข่าว (เพราะเหตุผลทางการเมือง), Syn. blacken out
blacken out(phrv) ปิดข่าว (เพราะเหตุผลทางการเมือง), Syn. black out
cabal(n) กลุ่มคนที่รวมกลุ่มกันอย่างลับๆ เพื่อจุดประสงค์ทางการเมือง, Syn. plotter
card-carrying(adj) ที่เป็นสมาชิกขององค์กร (โดยเฉพาะทางการเมือง)
caucus(n) การประชุมของสมาชิกหรือกลุ่มผู้นำของพรรคการเมืองเพื่อลงคะแนนเลือกหรือวางแผนทางการเมือง
centrist(n) ผู้ที่มีความคิดทางการเมืองเป็นกลาง, Syn. moderate, moderationist
coexist with(phrv) อยู่ร่วมกันอย่างสงบ (โดยเฉพาะกับผู้มีความคิดแตกต่างกันทางการเมือง)
file for(phrv) เสนอให้อย่างเป็นทางการ (เช่นตำแหน่งทางการเมือง)
deliberative(adj) เกี่ยวกับการอภิปราย (ทางการเมือง), See also: เป็นผลของการอภิปราย
destabilise(vt) ทำให้ไม่มั่นคง (โดยเฉพาะทางการเมืองหรือเศรษฐกิจ), See also: ทำให้ไม่ประสบความสำเร็จ โดยเฉพาะทางการเมือง
destabilize(vt) ทำให้ไม่มั่นคง (โดยเฉพาะทางการเมืองหรือเศรษฐกิจ), See also: ทำให้ไม่ประสบความสำเร็จ โดยเฉพาะทางการเมือง
deviationist(n) ผู้ไม่เห็นด้วยกับระบบหรือความเชื่อบางอย่างทางการเมือง, Syn. secessionist, schismatic
entente cordiale(n) ความเข้าใจอันดีกันทางการเมืองระหว่างประเทศ (โดยเฉพาะข้อตกลงระหว่างฝรั่งเศสกับอังกฤษในปี ค.ศ.1904), Syn. concord, rapport, understanding
gradualism(n) การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองแบบค่อยเป็นค่อยไป
heteronomy(n) ซึ่งอยู่ใต้การควบคุมหรือกฎเกณฑ์ของผู้อื่น (ทางการเมือง)
middle-of-the-road(idm) อยู่ระหว่างสองขั้วที่ต่างกัน (โดยเฉพาะทางการเมือง)
inauguration(n) พิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่ง (ทางการเมือง), See also: สุนทรพจน์ในพิธีสาบานตนเข้ารับตำแหน่ง, Syn. coronation, enthronement
instrumentality(n) หน่วยงานย่อยๆ (ทางการเมือง), See also: แผนกย่อยๆ, Syn. agency
lobby against(phrv) พยายามโน้มน้าวคนมีอำนาจไม่ให้อนุมัติกฎหมาย, See also: พยายามวิ่งเต้นเพื่อป้องกันบางสิ่งไม่ให้เกิดขึ้นด้วยวิธีการเขียน, วิธีทางการเมือง
lobby through(phrv) ได้รับอนุมัติกฎหมายโดยการวิ่งเต้น (ทางการเมือง), See also: ล้อบบี้ผ่าน / ทาง
junto(n) กลุ่มที่แต่งตั้งตัวเองขึ้นมาโดยมีจุดประสงค์ทางการเมือง, Syn. cabal
machine(n) คณะหรือกลุ่มที่ทำหน้าที่ควบคุมโดยตรง (โดยเฉพาะทางการเมือง), See also: องค์กรที่เป็นกลไกสำคัญ, Syn. party, gang, system
marginal(adj) ซึ่งเป็นเสียงข้างน้อย (ทางการเมือง)
moderate(n) ผู้ที่มีความคิดไม่รุนแรง (โดยเฉพาะทางการเมือง), Syn. centrist
panel(n) คณะผู้อภิปรายทางการเมือง, Syn. committee, group
patronage(n) ตำแหน่งที่ถูกแต่งตั้ง, See also: เส้นสายทางการเมือง, Syn. backing
pink(n) คนหัวเอียงซ้ายในทางการเมือง (ปานกลาง)
politic(vi) ทำการรณรงค์ทางการเมือง, Syn. suave
politician(n) ผู้ดำรงตำแหน่งหน้าที่ทางการเมือง
politics(n) การเมือง, See also: กิจกรรมทางการเมือง, หลักการทางการเมือง, ข้อคิดเห็นทางการเมือง, Syn. campaigning, seeking nomination, electioneering
politics(n) เล่ห์เหลี่ยมทางการเมือง, See also: ้อุบายทางการเมือง
rabble-rouser(n) ผู้ก่อกวน (โดยเฉพาะทางการเมือง), Syn. agitator
radicalism(n) ลัทธิที่ยึดหลักความรุนแรง, See also: ลัทธิหัวรุนแรง, นโยบาย, ความเชื่อที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เศรษฐกิจและสัง, Ant. conservatism
stay in office(idm) ยังควบคุมได้ (มักใช้ในทางการเมือง), See also: ยังอยู่ในอำนาจ, Syn. remain in
stay in power(idm) ยังควบคุมได้ (มักใช้ในทางการเมือง), See also: ยังอยู่ในอำนาจ, Syn. remain in
terror(n) การเคลื่อนไหวที่ก่อให้เกิดความรุนแรงเพื่อจุดประสงค์ทางการเมือง, See also: การก่อการร้าย
terrorism(n) การใช้ความรุนแรงเพื่อข้อเรียกร้องทางการเมือง, See also: ลัทธิก่อการร้าย, Syn. disorder, lawlessness, nihilism
ward(n) เขตเลือกตั้ง (ทางการเมือง)
wheel horse(n) คนงานที่แข็งแรง ขยันและไว้ใจได้, See also: โดยเฉพาะในองค์กรทางการเมือง
witch-hunt(n) การสอบสวนและเปิดเผยแผนการกบฏ หรือศัตรูทางการเมือง, See also: มักเป็นการอาศัยหลักฐานที่คลุมเครือ หรือแค่ความสงสัยเท่านั้น
woman suffrage(n) สิทธิเลือกตั้งของสตรี, See also: สิทธิทางการเมืองของสตรี, Syn. female suffrage, woman's suffrage
write-in(n) การลงคะแนนเสียงให้ผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ไม่ได้อยู่ในรายชื่อ, See also: ทางการเมือง
write-in(n) ผู้สมัครรับเลือกตั้งคนอื่นที่ไม่ได้อยู่ในรายชื่อ (ทางการเมือง)

English-Thai: HOPE Dictionary [with local updates]
activism(แอค' ทิฟวิซึม) n. ทฤษฎีที่ว่าความจริงคือการดำเนินการที่บริสุทธิ์โดยเฉพาะทางจิต, ทฤษฎีที่ว่าความสัมพันธ์ระหว่างจิตและวัตถุ การดำเนินการหรือขบวนการของจิต, ลัทธิดำเนินการเพื่อวัตถุประสงค์ทางการเมือง (essence of reality)
agora(แอก' โกระ) n., (pl. -orae) การชุมนุมทางการเมืองที่มีชื่อเสียง , สถานที่ ๆ มีการชุมนุมดังกล่าว (popular political assembly)
apolitical(เอพะลิท'ทิคัล) adj. ไม่ใช่การเมือง, ไม่มีความสำคัญทางการเมือง, ไม่สนใจการเมือง
cataclysm(แคท'ทะคลิซ'ซึม) n. การเปลี่ยนแปลงที่รุนแรง (โดยเฉพาะทางการเมืองและสังคม) , ความเกลียด, ความหายนะ., See also: cataclysmic adj, ดูcataclysm cataclysmal adj. ดูcataclysm, Syn. disaster
corporatism(คอ'พะระทิศซึม) n. หลักการลัทธิหรือระบบการร่วมกันทางการเมือง
counterrevolution(เคา'เทอะเรฟโวลู'เชิน) n. การปฏิวัติซ้อน, การเคลื่อนไหวทางการเมืองที่ต่อต้านการปฏิวัติที่เกิดขึ้น.
detente(เดทานทฺ') n. ความผ่อนคลายของวิกฤติการณ์ (ความตึงเครียด) ทางการเมืองระหว่างประเทศ
junto(จัน'โท) n. คณะกรรมการที่ตั้งขึ้นเอง (โดยเฉพาะที่มีจุดประสงค์ทางการเมือง) , กลุ่มอิทธิพลทางการเมือง, ฝ่าย, พรรค, Syn. cabal
pan-germanismn. ทฤษฏีการรวมชาวเยอรมันเข้าเป็น อันหนึ่งอันเดียวกันในทางการเมือง
pansophism(แพน'ซะฟิสซึม) n. ลัทธิความรู้ทั้งหมดเข้าด้วยกันในทางการเมือง, See also: pansophist n. pansophy n.
revue(รีวิว') n. ละครชุดประเภทเสียดสีทางการเมือง, บทประพันธ์เสียดสี, บทเพลงเสียดสี, See also: revuist n., Syn. review
statesman(สเททซฺ'เมิน) n. รัฐบุรุษ, นักการเมือง, ผู้เชี่ยวชาญทางการเมือง., See also: statesmanly adj. statesmanship n. pl. statesmen, Syn. politician
superpower(ซู'เพอเพา'เออะ) n. มหาอำนาจ, อภิมหาอำนาจ (ที่มีอิทธิพลทางการเมืองเหนือประเทศอื่น)
suzerain(ซูซะริน, -เรน) n., adj. (เกี่ยวกับ) รัฐหรือผู้ปกครองที่มีอำนาจควบคุมทางการเมืองเหนืออีกรัฐหนึ่ง, เจ้านครสมัยศักดินา, ประเทศเหนือหัว., Syn. sovereign
unseat(อันซีท') vt. เอาออกจากที่, เอาลงจากหลังม้า, ปลดจากตำแหน่งทางการเมือง
utopia(ยูโท'เพีย) n. ดินแดนที่มีสภาพทางการเมือง และสังคมที่สมบูรณ์, ระบบการเมืองหรือสังคมสมบูรณ, Syn. Eden, salvation, bliss -Utopian n., adj. -Utopianism n.
woman suffragen. สิทธิเลือกตั้งของสตรี, สิทธิทางการเมืองของสตรี, See also: woman-suffrage adj. woman-suffragist n.

English-Thai: Nontri Dictionary
democracy(n) การปกครองระบอบประชาธิปไตย, ความเสมอภาคทางการเมือง
political(adj) เกี่ยวกับการเมือง, ในทางการเมือง, เป็นการเมือง

English-Thai: Longdo Dictionary (UNAPPROVED version -- use with care )  **ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
atlanticist(n) ผู้นิยมแนวคิดที่สนับสนุนการให้ความร่วมมือกันในทางการเมือง, เศรษฐกิจ, และการทหาร ระหว่างประเทศในยุโรปตะวันตกและอเมริกาเหนือ, See also: Atlanticism
body man[บอดี้แมน] (n, jargon) ผู้ช่วยส่วนตัวของนักการเมือง หรือ ผู้สมัครชิงตำแหน่งทางการเมือง (ศัพท์ในวงการเมืองอเมริกัน)
hegemonyมุขยภาพ คืออำนาจครอบงำทางการเมือง, เศรษฐกิจ และการทหารของรัฐหนึ่งเหนือรัฐอื่น
International Covenant on Civil and Political Rights (ICCPR)(n, jargon, abbrev, uniq) กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
Political Office Holder(jargon) ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง

Japanese-Thai: Longdo Dictionary (UNAPPROVED version -- use with care )  **ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
政情[せいじょう, seijou] (n) สถานการณ์ทางการเมือง
政治倫理[せいじりんり, seijirinri] จริยธรรมทางการเมือง

German-Thai: Longdo Dictionary
Absolutismus(n) |der| การปกครองระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์, ระบบเผด็จการทางการเมือง

เพิ่มคำศัพท์


ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ


Are you satisfied with the result?



Discussions

ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
Go to Top