ทวาทศม- | (ทะวาทะสะมะ-) ว. ที่ ๑๒ เช่น ทวาทศมสุรทิน = วันที่ ๑๒. |
ทวาทศมณฑล | น. กลมโดยรอบครบ ๑๒ ราศี |
ทวาทศมณฑล | ชื่อมาตราวัดจักรราศีเท่ากับ ๒ อัฒจักร เป็น ๑ จักรราศี คือ ทวาทศมณฑลหนึ่ง. |
กรรเกด | (กัน-) น. การะเกด เช่น จงกลกรรเกดแก้ว กรองมาลย์ (ทวาทศมาส). |
กรอ ๒ | ก. แสดงกิริยาเลียบเคียงกันในเชิงชู้สาว มักเป็นอาการที่ผู้ชายหนุ่ม ๆ แต่งตัวแล้วชวนเพื่อนกันเที่ยวเกี้ยวผู้หญิง เช่น นักเลงหนุ่มหนุ่มนั้น เที่ยวกรอ (พิธีทวาทศมาส), บางทีก็ใช้ว่า กรอผู้หญิง. |
กระละหล่ำ | ก. กลํ้า, เกือบ, เช่น กระละหลํ่าจกกเป็น แต่กี้ (ทวาทศมาส). |
กามิศ, กาเมศ | ว. เต็มไปด้วยกาม เช่น ชงครากามิศน้อง ยังยังติดแม่ (ทวาทศมาส), โกมลมิ่งโกมุท กาเมศ เรียมเอย (ทวาทศมาส). |
การเต | (กาน-) น. กานดา เช่น ธรณีธรณิศแก้ว การเต (ทวาทศมาส). |
เกิง | ว. ล่วง เช่น ตกพ่างบุษบนนเกิง ขาดขว้นน (ทวาทศมาส). |
โกรย | (โกฺรย) น. หลัง เช่น โจนบหลยวโกรยเกรง ท่านข้า (ยวนพ่าย), อกกระอุกรยมโกรย กระด้าง (ทวาทศมาส). |
โกศ ๒ | ดอกไม้ตูม เช่น ชมช่อ ไม้เหมือนแก้ม โกศเกลา (ทวาทศมาส). |
โกสีย์ | น. พระอินทร์ เช่น ลํ้าเลอศกรุงโกสีย์ หยาดหล้า (ทวาทศมาส). |
แครง ๔ | (แคฺรง) ว. งามพรายแพรว, หมดจด, ผ่องใส, เช่น ธก็ทรงพสตรพาสแครง ดุจแสงสังข์ใสสุทธ (ม. คำหลวง นครกัณฑ์), อนนธกทำด้วยไหมประไพแครงเครื่องฟ้า (ม. คำหลวง นครกัณฑ์), พายคํ่าจำรัสแครง ใสส่อง (ทวาทศมาส). |
จระลิ่ง, จระลึง | (จะระ-) ก. ตะลึง เช่น จระลิ่งทางทิพห้อง แห่งองค์ (ทวาทศมาส). |
จาว ๑ | น. สิ่งที่งอกอยู่ภายในผลไม้บางอย่าง เช่น จาวมะพร้าว จาวตาล, (กลอน) โดยปริยายหมายถึงนมผู้หญิง เช่น พวงจาวเจิดแจ่มแก้ว จักรพรรดิ พี่เอย (นิ. นรินทร์), ดวงจาววนิภาคย์พ้น เสาวบุษป์ (ทวาทศมาส). |
จาว ๓ | ว. ตามกันไป, ประสานกันไป, เช่น ชลธารนทีเจือ จาวหลั่ง ไหลนา (ทวาทศมาส). |
จาว ๔ | น. ดอก, ดอกไม้, เช่น ดอกไม้งามเงื่อนแต้ม แชรงยอดแย้มผกาแจรง จาวจำแทงจำเทิด (ม. คำหลวง จุลพน), จราว ก็ใช้, โดยปริยายหมายถึงผู้หญิง เช่น ไฟกามรลุงจาว ทองเทศ (ทวาทศมาส). |
จำราย | ก. กระจาย, แผ่ไป, เช่น เสด็จจรจำรายศักดิ์ โสภิต (ทวาทศมาส). |
จิ | ก. จะ เช่น จิปากทั้งลิ้นล้า เพื่อเจ้าเจียรจันทร์ (ทวาทศมาส). |
จี | ว. ตูม เช่น สงวนมิ่งมาลยจาวจี แกล่กลํ้า (ทวาทศมาส), พายัพว่า จี๋. |
เจียร ๒ | (เจียน) ก. จร, ไป, จากไป, เช่น วันเจียรสุดาพินท์ พักเตรศ (ทวาทศมาส). |
ตระหง่อง, ตระหน่อง | (ตฺระ-) ก. จ้อง, คอยดู, เช่น ตาเรียมตระหง่องตั้ง ตาเรือ แม่ฮา (ทวาทศมาส), เขียนเป็น ตรง่อง ก็มี เช่น อันว่าพระมหาสัตวก็ต้งงตาแลตรง่อง ซึ่งช้นนช่องมรรคา ที่มีผู้จะมาน้นน โสดแล (ม. คำหลวง กุมาร), กระหง่อง หรือ กระหน่อง ก็ใช้. |
โตรด | (โตฺรด) ว. โดดเดี่ยว เช่น เยียยลสุดาเดียวตรอมโตรด (ทวาทศมาส) |
บรรทับ | (บัน-) ก. ประทับ, แนบชิด, เช่น ถนอมบรรทับออมชม ทราบเนื้อ (ทวาทศมาส). |
พรั่นกว้า | (-กฺว้า) ว. หวาดหวั่น, ว้าวุ่น, วุ่นวายใจ, เช่น อกกระอุเปลืองปลิว พรั่นกว้า (ทวาทศมาส). |
เฟ็ด | เล็ด เช่น พระพรุณรายเรื่อฟ้า เฟ็ดโพยม (ทวาทศมาส), ลวงแส้งเฟ็ดไพ่อ้อม เอาชัย (ยวนพ่าย). |