กระต่องกระแต่ง | ว. อาการที่แขวนหรือห้อยแกว่งไปแกว่งมา, ต่องแต่ง ก็ว่า. |
กระต่ายต้องแร้ว | น. ชื่อท่ารำแบบหนึ่ง โดยมือทั้งสองตั้งวงระดับข้างลำตัว ลำตัวตั้งตรง เอียงศีรษะข้างใดก็ได้. |
ก่อแล้วต้องสาน | ก. เริ่มอะไรแล้วต้องทำต่อให้เสร็จ. |
ข้าวต้อง | น. ต้นข้าวในนาที่โศกใบเหลืองไป ซึ่งถือกันว่าถูกผีกระทำ. |
เข้าเมืองตาหลิ่วต้องหลิ่วตาตาม | ก. ประพฤติตนตามที่คนส่วนใหญ่ประพฤติกัน. |
คนต้องขัง | น. บุคคลที่ถูกขังไว้ตามหมายขัง. |
ต้อง | ก. ถูก เช่น ต้องชะตา ต้องใจ |
ต้อง | เป็นกริยาช่วยบอกความแน่ใจหรือบังคับ เช่น เขาต้องมาแน่ เด็กต้องนอนแต่หัวค่ำ. |
ต้อง | น. เรียกต้นข้าวในนาที่โศกใบเหลืองไป ซึ่งถือกันว่าถูกผีกระทำ ว่า ข้าวต้อง. |
ต้องกัน | ว. ตรงกัน, พ้องกัน, ถูกกัน, เช่น ฤๅวาสนาน้องจะต้องกัน (อิเหนา), พยานให้การต้องกัน. |
ต้องคดี | ก. ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดหรือถูกฟ้องเป็นคดีอาญา. |
ต้องใจ | ก. ชอบ, ถูกใจ. |
ต้องตา | ก. ถูกตา. |
ต้องตา | ว. น่าดู. |
ต้องโทษ | ก. ถูกตัดสินให้ลงโทษในคดีอาญา. |
ต้องธรณีสาร | ก. ประสบสิ่งอัปมงคล. |
ต้องหา | ก. ถูกกล่าวหาในคดีอาญา. |
ต้องการ | ก. อยากได้, ใคร่ได้, ประสงค์. |
ต้องเต | ดู ตั้งเต. |
ต่องแต่ง | ว. อาการที่แขวนหรือห้อยแกว่งไปแกว่งมา, กระต่องกระแต่ง ก็ว่า. |
ต้องสู้ | น. ชนชาติกะเหรี่ยงหรือยางพวกหนึ่ง. |
แตะต้อง | ก. ถูกต้องแต่เบา ๆ หรือเพียงนิดหน่อย, โดยปริยายหมายความว่า ยุ่งเกี่ยว, เกี่ยวข้อง, เช่น ผมไม่เคยแตะต้องการพนัน. |
ถูกต้อง | ก. ไม่ผิด เช่น คำตอบถูกต้อง |
ถูกต้อง | โดน, แตะต้อง, สัมผัส, เช่น อย่ามาถูกต้องตัวฉัน |
ถูกต้อง | ถูก ก็ว่า. |
ผู้ต้องกักขัง | น. ผู้ที่ถูกกักขังตามหมายกักขังของศาล. (ดู กักขัง ประกอบ). |
ผู้ต้องขัง | น. บุคคลที่ถูกขังอยู่ในเรือนจำ. |
ผู้ต้องโทษ | น. ผู้ต้องคำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลให้ลงโทษหรือให้กักกัน. |
ผู้ต้องหา | น. บุคคลผู้ถูกหาว่าได้กระทำความผิด แต่ยังมิได้ถูกฟ้องต่อศาล. |
มะต้อง | น. ต้นกระท้อน. (ดู กระท้อน ๑). |
มีดต้องสู้ | น. มีดขนาดใหญ่ มีลักษณะคล้ายดาบ ปลายตัดเป็นหยัก ด้ามทำด้วยโลหะหรือไม้หุ้มโลหะ ปรกติสอดใบมีดไว้ในฝัก เป็นมีดที่นิยมใช้กันในหมู่ชาวต้องสู้. |
เรียนผูกต้องเรียนแก้ | ก. รู้วิธีทำก็ต้องรู้วิธีแก้ไข, รู้กลอุบายทุกทาง ทั้งทางก่อและทางแก้. |
กฎ | ข้อกำหนดหรือข้อบัญญัติที่บังคับให้ต้องมีการปฏิบัติตาม เช่น พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง |
กฎศีลธรรม | น. กฎว่าด้วยการกระทำที่ถูกต้องและไม่ถูกต้องทางศีลธรรม. |
กฎแห่งกรรม | น. กฎว่าด้วยกรรมและผลแห่งกรรมที่ผู้กระทำจักต้องได้รับ. |
กฐิน, กฐิน- | คำ กฐิน นี้ ใช้ประกอบกับคำอื่นอันเนื่องด้วยพิธีกฐิน ผ้าที่ถวายแก่ภิกษุสงฆ์ในพิธีนี้ เรียกว่า ผ้ากฐิน ในฤดูกาลเรียกว่า กฐินกาล [ กะถินนะกาน ] คือระยะเวลาตั้งแต่แรมคํ่าหนึ่ง เดือน ๑๑ ถึงกลางเดือน ๑๒ ระยะเวลานี้เรียกเป็นสามัญว่าเทศกาลกฐิน [ เทดสะกานกะถิน ] ฤดูกฐิน หรือ หน้ากฐิน ก็มี ก่อนจะถึงกฐินกาลผู้ประสงค์จะถวายผ้ากฐินแก่ภิกษุสงฆ์วัดใดจะต้องไปแจ้งความจำนงว่าจะนำผ้ากฐินไปทอดที่วัดนั้นเป็นการล่วงหน้า การแสดงความจำนงล่วงหน้านี้ เรียกว่า จองกฐิน การทำพิธีถวายผ้ากฐิน เรียกว่า ทอดกฐิน พระภิกษุผู้ได้รับมอบผ้ากฐินจากสงฆ์โดยวิธีที่กำหนดไว้ในพระวินัย เรียกว่า ผู้กรานกฐิน ผู้ครองกฐิน หรือ องค์ครองกฐิน เฉพาะผ้ากฐิน บางทีก็เรียกว่า องค์กฐิน ถ้าพร้อมกับของอื่นอันเป็นบริวารสำหรับถวายภิกษุสงฆ์ เรียกว่า เครื่องกฐิน หรือ บริวารกฐิน [ บอริวานกะถิน ] เมื่อนำผ้ากฐินไปทอดโดยมีขบวนแห่ เรียกว่า แห่กฐิน ถ้ามีพิธีฉลอง เรียกว่า ฉลองกฐิน การที่ภิกษุสงฆ์ผู้ร่วมอยู่ในพิธีอนุโมทนาต่อองค์ครองกฐินตามพระวินัย หรือการที่บุคคลแสดงความยินดีในการที่เขาทอดกฐิน เรียกว่า อนุโมทนากฐิน [ อะนุโมทะนากะถิน ] ภิกษุสงฆ์ผู้ได้อนุโมทนากฐินแล้วนั้น ย่อมได้ชื่อว่าเป็น ผู้กรานกฐิน ด้วย ผลของการทอดกฐิน เรียกว่า อานิสงส์กฐิน , ในทางวินัยสิทธิพิเศษ ๕ ประการซึ่งมีแก่ภิกษุผู้ได้กรานกฐินแล้ว ก็เรียกว่า อานิสงส์กฐิน เช่นกัน. (ดู กรานกฐิน และ จุลกฐิน). |
กบเลือกนาย | น. ผู้ที่ต้องการเปลี่ยนผู้บังคับบัญชาอยู่เรื่อย ๆ. |
ก้มหน้า | ก. จำทน เช่น ต้องก้มหน้าทำตามประสายาก. |
กรด ๑ | มีความหมายหลายอย่าง สุดแล้วแต่ทฤษฎีที่ใช้เป็นหลักกำหนด คือ เป็นสารเคมีที่ประกอบด้วยธาตุไฮโดรเจน และเมื่อสารนี้ละลายนํ้าเป็นสารละลายแล้ว ไฮโดรเจนที่มีอยู่ทั้งหมดหรือบางส่วนต้องแปรสภาพออกมาเป็นไฮโดรเจนไอออน (H+) สารละลายที่ได้มีรสเปรี้ยวเปลี่ยนสีลิตมัสสีนํ้าเงินเป็นสีแดงได้ |
กรม ๓ | (กฺรม) น. หมู่เหล่าอันเป็นที่รวมกำลังไพร่พลของแผ่นดินตามลักษณะปกครองสมัยโบราณ เพื่อประโยชน์ในราชการและเวลาเกิดศึกสงคราม จะได้เรียกระดมคนได้ทันท่วงที บรรดาชายฉกรรจ์ต้องเข้าอยู่ในกรมหรือในหมู่เหล่าใดเหล่าหนึ่ง เรียกว่า สังกัดกรม มีหัวหน้าควบคุมเป็นเจ้ากรม ปลัดกรม ตามลำดับ ซึ่งเมื่อพระเจ้าแผ่นดินทรงตั้งให้เจ้านายปกครองเป็นองค์ ๆ เรียกว่าตั้งกรม แล้ว เจ้านายพระองค์นั้นก็ ทรงกรม เป็น เจ้าต่างกรม เพราะมีกรมขึ้นต่างหากออกไปเป็นกรมหนึ่ง มีอำนาจตั้งเจ้ากรม ปลัดกรม เป็น หมื่น ขุน หลวง พระ พระยา ได้ และเรียกชื่อกรมนั้น ๆ ตามบรรดาศักดิ์เจ้ากรมว่า กรมหมื่น กรมขุน กรมหมื่น กรมขุน กรมหลวง กรมหลวงกรมพระ และกรมพระยา หรือ เมื่อจะทรงกรมสูงขึ้นกว่าเดิม ก็โปรดให้ เลื่อนกรม ขึ้น โดยเจ้ากรมมีบรรดาศักดิ์เลื่อนขึ้น เช่นจากหมื่นเป็นขุน, มาในปัจจุบันชื่อกรมเหล่านี้มีความหมายกลายเป็นพระอิสริยยศและพระนามเจ้านายเท่านั้น. |
กรรตุการก | (กัดตุ-, กันตุ-) น. ผู้ทำหรือผู้ใช้ให้ทำ เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งใน ๒ ส่วนของประโยคที่ไม่ต้องมีกรรมมารับ เช่น เด็กวิ่ง เด็ก เป็น กรรตุการก หรือเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งใน ๓ ส่วนของประโยคที่กริยาต้องมีกรรมรับ เช่น ตำรวจยิงผู้ร้าย ตำรวจ เป็น กรรตุการก. |
กรรมเวร | คำแสดงความรู้สึกเดือดร้อนเพราะกรรมหรือชะตากรรมในอดีต เช่น อายุตั้ง ๗๐ ปีแล้วยังต้องมาหาบขนมขายอีก กรรมเวรแท้ ๆ, เวร หรือ เวรกรรม ก็ว่า. |
กรรมการก | (กำมะ-) น. ผู้ถูกทำ เป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งใน ๓ ส่วนของประโยคที่กริยาต้องมีกรรมรับ เช่น ตำรวจยิงผู้ร้าย ผู้ร้าย เป็น กรรมการก, ถ้าต้องการให้ผู้ถูกทำเด่น ก็เรียงเป็นภาคประธานของประโยค เช่น ผู้ร้ายถูกตำรวจยิง. |
กรรมวาจก | (กำมะ-) น. ระเบียบของกริยาที่บอกว่าประธานเป็นกรรมการกหรือผู้ถูกทำ, กริยาของประโยคที่แสดงว่าประธานทำหน้าที่เป็นกรรมการก คือ ผู้ถูกทำ, กริยาของประโยคกรรมต้องใช้สกรรมกริยา คือ กริยาที่ต้องมีกรรมรับ, บางทีก็มีกริยานุเคราะห์ “ถูก” นำ และใช้หมายไปในทางไม่ดี เช่น เด็กถูกตี ถูกตี เป็นกริยา กรรมวาจก เด็กเป็นกรรมการก แต่บางทีก็ไม่ปรากฏกริยานุเคราะห์ “ถูก” เช่น หนังสือเล่มนี้แต่งดีมาก. |
กรสุทธิ์ | (กะระ-) น. “การชำระมือให้หมดจด”, พิธีอย่างหนึ่งของพราหมณ์ ก่อนที่จะประกอบพิธีใด ๆ จะต้องชำระมือให้สะอาดเสียก่อน, กระสูทธิ์ ก็ว่า. |
กระจองอแง | ว. เสียงเด็กที่ร้องไห้ ก่อให้เกิดความรำคาญ, ใช้เรียกลูกเด็กเล็กแดงหรือที่ยังต้องอุ้มต้องจูงอยู่ว่า ลูกกระจองอแง. |
กระชัง ๒ | น. เครื่องสำหรับขังปลาชนิดหนึ่ง ใช้ไม้ไผ่ทำเป็นกง ๔ อัน แล้วผูกด้วยซี่ไม้ไผ่โดยรอบ รูปกลม หัวท้ายเรียว ตอนบนเจาะเป็นช่อง มีฝาปิด ใช้ไม้ขัดฝา ๒ ข้าง ใช้ไม้ไผ่กระหนาบเพื่อให้ลอยได้ ในขณะออกไปจับปลาตามกรํ่า เมื่อจับปลาหรือกุ้งได้ก็เอาใส่ไว้ในนั้นชั่วคราว, อีกชนิดหนึ่ง สานด้วยไม้ไผ่ มีปากเปิดกว้างคล้าย ๆ ตะกร้าหรือเข่งใส่ของ แต่ใหญ่กว่ากระชังชั่วคราวนั้นหลายเท่า เป็นที่สำหรับจับปลาขนาดใหญ่มาขังไว้หรือเลี้ยงลูกปลาให้โตตามที่ต้องการ เพื่อบริโภคหรือค้าขาย และเอากระชังนี้ผูกติดหลักแช่ลอยนํ้าไว้. |
กระเชา | น. ชื่อไม้ต้นผลัดใบขนาดใหญ่ชนิด Holoptelea integrifolia (Roxb.) Planch. ในวงศ์ Ulmaceae ขึ้นอยู่ทั่วไป ผลแบนบางเป็นปีกโดยรอบ เนื้อไม้สดสีเหลืองมะนาว เมื่อแห้งเป็นสีนวล แข็งพอประมาณ ใช้ในการก่อสร้างที่ไม่ต้องรับนํ้าหนักมากนัก ทำเครื่องเรือน แกนร่ม ก้านและกล่องไม้ขีดไฟ, บางทีเรียก กระเจา หรือ กระจาว, พายัพและปักษ์ใต้เรียก กระเจ้า ขจาว หรือ ขเจา. |
กระเซ้ากระซี้ | ก. พูดรบเร้ารํ่าไรเพื่อให้ได้ตามที่ต้องการ, เซ้าซี้ ก็ว่า. |
กระดี่ ๔ | ก. เคลื่อนย้ายวัตถุที่มีน้ำหนักมากซึ่งเคลื่อนย้ายยาก เช่นเสา เสาเข็ม หรืออื่น ๆ วิธีคือนำไม้หรือวัตถุอื่นที่มีความยาวและแข็งแรงพอ มาปักลงบนพื้นให้ปลายไม้ล้ำเข้าไปใต้วัตถุด้านตรงข้ามกับทิศทางที่ต้องการจะเคลื่อนย้าย แล้วงัดวัตถุนั้นให้เคลื่อนที่. |