เกลือด่างคลี | น. ชื่อเกลือชนิดหนึ่งในตำรายาไทย. |
เกลือฟอง | น. ชื่อเกลือชนิดหนึ่งในตำรายาไทย. |
โกฐ | (โกด) น. ชื่อเครื่องยาสมุนไพรจำพวกหนึ่ง ได้จากส่วนต่าง ๆ ของพืช มีหลายชนิด คือ โกฐทั้ง ๕ ได้แก่ โกฐหัวบัว โกฐสอ โกฐเขมา โกฐเชียง โกฐจุฬาลัมพา, โกฐทั้ง ๗ เพิ่ม โกฐกระดูก โกฐก้านพร้าว, โกฐทั้ง ๙ เพิ่ม โกฐพุงปลา โกฐชฎามังสี, และมีโกฐพิเศษอีก ๓ ชนิด คือ โกฐกักกรา โกฐกะกลิ้ง และโกฐนํ้าเต้า, ตำรายาแผนโบราณเขียนเป็น โกฎ โกฏ โกฏฐ์ โกด หรือ โกษฐ์ ก็มี. |
จตุกาลธาตุ | (-กาละทาด) น. พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำรายาไทย จำกัดจำนวนตัวยาแก้ธาตุตามเวลาไว้ ๔ อย่าง คือ เหง้าว่านน้ำ รากเจตมูลเพลิง รากแคแตร รากพนมสวรรค์. |
จตุทิพยคันธา | (-ทิบพะยะ-) น. พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำรายาไทย จำกัดจำนวนตัวยาอันมีกลิ่นหอมดังยาทิพย์ไว้ ๔ อย่าง คือ ดอกพิกุล รากชะเอมเทศ รากมะกล่ำเครือ รากขิงแครง. |
จตุผลาธิกะ | น. พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำรายาไทย จำกัดจำนวนผลไม้อันให้คุณไว้ ๔ อย่าง คือ ลูกสมอไทย ลูกสมอพิเภก ลูกมะขามป้อม ลูกสมอเทศ. |
จตุวาตผล | (-วาตะผน) น. พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำรายาไทย จำกัดจำนวนตัวยาแก้ลมไว้ ๔ อย่าง ได้แก่ เหง้าขิงแห้ง กระลำพัก อบเชยเทศ โกศหัวบัว. |
ตรีกฏุก | น. พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำรายาไทย จำกัดจำนวนตัวยาอันมีรสเผ็ดร้อน ๓ อย่าง คือ พริกไทย ดีปลี ขิงแห้ง. |
ตรีกาลพิษ | (-กาละพิด, -กานละพิด) น. พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำรายาไทย จำกัดจำนวนตัวยาแก้พิษตามเวลา ๓ อย่าง คือ กระชาย เหง้าข่า รากกะเพรา. |
ตรีเกสรมาศ | น. พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำรายาไทย จำกัดจำนวนตัวยารสเสมอเกสร ๓ อย่าง คือ ผลมะตูมอ่อน เปลือกฝิ่น เกสรบัวหลวง. |
ตรีคันธวาต | (-ทะวาด) น. พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำรายาไทย จำกัดจำนวนตัวยาอันมีกลิ่นสำหรับแก้ลม ๓ อย่าง คือ ผลเร่วใหญ่ ผลจันทน์เทศ กานพลู. |
ตรีฉินทลามกา | (-ฉินทะลามะกา) น. พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำรายาไทย จำกัดจำนวนตัวยาแก้ธาตุลามกให้หมดไป ๓ อย่าง คือ โกฐนํ้าเต้า สมอไทย รงทอง. |
ตรีญาณรส | (-ยานนะรด) น. พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำรายาไทย จำกัดจำนวนตัวยาอันทำให้รู้รสอาหาร ๓ อย่าง คือ ไส้หมาก รากสะเดา เถาบอระเพ็ด. |
ตรีทิพยรส | (-ทิบพะยะรด) น. พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำรายาไทย จำกัดจำนวนตัวยาอันมีรสดี ๓ อย่าง คือ โกฐกระดูก เนื้อไม้ อบเชยไทย. |
ตรีทุรวสา | (-ทุระวะสา) น. พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำรายาไทย จำกัดจำนวนตัวยาแก้ความผิดปรกติของมันเหลว ๓ อย่าง คือ ลูกโหระพาเทศ ลูกกระวาน ลูกราชดัด. |
ตรีธาตุ | (-ทาด) น. พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำรายาไทย จำกัดจำนวนตัวยาอันเป็นวัตถุธาตุ ๓ อย่าง คือ ดอกจันทน์ กระวาน อบเชย. |
ตรีธารทิพย์ | น. พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำรายาไทย จำกัดจำนวนตัวยาอันมีรสดังน้ำทิพย์ ๓ อย่าง คือ รากไทรย้อย รากราชพฤกษ์ รากมะขามเทศ. |
ตรีปิตตผล | (-ปิดตะผน) น. พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำรายาไทย จำกัดจำนวนตัวยาอันมีสรรพคุณแก้ดี ๓ อย่าง คือ รากเจตมูลเพลิงเทศ รากผักแพวแดง รากกะเพราแดง. |
ตรีผลธาตุ | น. พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำรายาไทย จำกัดจำนวนตัวยาอันให้คุณแก่ธาตุทั้ง ๔ จำนวน ๓ อย่าง คือ เหง้ากะทือ เหง้าไพล หัวตะไคร้. |
ตรีผลสมุฏฐาน | (-สะหฺมุดถาน) น. พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำรายาไทย จำกัดจำนวนตัวยาอันมีผลเป็นที่ตั้ง ๓ อย่าง คือ ลูกมะตูม ลูกยอ ลูกผักชีลา. |
ตรีผลา | (-ผะลา) น. พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำรายาไทย จำกัดจำนวนตัวยาอันเป็นผลไม้ ๓ อย่าง คือ สมอไทย สมอพิเภก มะขามป้อม. |
ตรีพิษจักร | (-พิดสะจัก) น. พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำรายาไทย จำกัดจำนวนตัวยาอันมีรสซึมซาบไวดังกงจักร ๓ อย่าง คือ กานพลู ลูกผักชีล้อม ลูกจันทน์เทศ. |
ตรีเพชรสมคุณ | (-เพ็ดสะมะคุน) น. พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำรายาไทย จำกัดจำนวนตัวยาอันมีคุณเสมอเพชร ๓ อย่าง คือ ว่านหางจระเข้ ฝักราชพฤกษ์ รงทอง. |
ตรีมธุรส | (-มะทุรด) น. พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำรายาไทย จำกัดจำนวนตัวยาอันมีรสเลิศ ๓ อย่าง คือ นํ้าผึ้ง นํ้าตาล นํ้ามันเนย. |
ตรีโลหกะ | (-หะกะ) น. พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำรายาไทย จำกัดจำนวนธาตุที่สำเร็จรูปแล้ว ๓ อย่าง คือ ทอง เงิน ทองเหลือง. |
ตรีโลหะ | พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำรายาไทย จำกัดจำนวนตัวยาอันเป็นธาตุที่ถลุงเป็นรูปแล้ว ๓ อย่าง คือ ทองแดง ทองเหลือง ทองหล่อ (ทองสัมฤทธิ์). |
ตรีวาตผล | (-วาตะผน) น. พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำรายาไทย จำกัดจำนวนตัวยาอันมีสรรพคุณแก้ลม ๓ อย่าง คือ ผลสะค้าน รากพริกไทย ข่า. |
ตรีสมอ | น. พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำรายาไทย จำกัดจำนวนสมอ ๓ อย่าง คือ สมอไทย สมอพิเภก สมอเทศ. |
ตรีสัตกุลา | (-สัดตะ-) น. พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำรายาไทย จำกัดจำนวนตัวยาที่มีตระกูลอันสามารถ ๓ อย่าง คือ เทียนดำ ผักชีลา ขิงสด. |
ตรีสันนิบาตผล | น. พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำรายาไทย จำกัดจำนวนตัวยาอันมีสรรพคุณแก้ไข้สันนิบาต ๓ อย่าง คือ ผลดีปลี รากกะเพรา รากพริกไทย. |
ตรีสาร | น. พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำรายาไทย จำกัดจำนวนตัวยาอันให้คุณในฤดูหนาว ๓ อย่าง คือ แสมสาร แสมทะเล ขี้เหล็ก. |
ตรีสินธุรส | น. พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำรายาไทย จำกัดจำนวนตัวยาที่มีรสอันชื่นใจ (ประดุจได้ดื่มน้ำ) ๓ อย่าง คือ รากมะตูม เทียนขาว นํ้าตาลกรวด. |
ตรีสุคติสมุฏฐาน | (-สุคะติสะหฺมุด-) น. พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำรายาไทย จำกัดจำนวนตัวยาอันทำให้มีสรรพคุณเป็นที่ตั้ง ๓ อย่าง คือ รากแคแดง รากเพกา รากมะเดื่ออุทุมพร. |
ตรีสุคนธ์ | น. พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำรายาไทย จำกัดจำนวนตัวยาอันมีกลิ่นหอม ๓ อย่าง คือ ใบกระวาน อบเชยเทศ รากพิมเสน. |
ตรีเสมหผล | น. พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำรายาไทย จำกัดจำนวนตัวยาอันมีสรรพคุณแก้เสมหะ ๓ อย่าง คือ ผลช้าพลู รากดีปลี รากมะกลํ่า. |
ตรีอมฤต | (-อะมะริด, -อะมะรึด) น. พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำรายาไทย จำกัดจำนวนตัวยาอันมีรสเลิศ ๓ อย่าง คือ รากกล้วยตีบ รากกระดอม รากมะกอก. |
ตรีอากาศผล | น. พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำรายาไทย จำกัดจำนวนตัวยาอันมีสรรพคุณขับลม ๓ อย่าง คือ ขิง กระลำพัก อบเชยเทศ. |
เทวตรีคันธา | (ทะเวตฺรี-) น. พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำรายาไทย จำกัดจำนวนตัวยาอันมีกลิ่นหอม ๒ ชนิด ชนิดละ ๓ อย่าง คือ ดอกบุนนาค แก่นบุนนาค รากบุนนาค กับ ดอกมะซาง แก่นมะซาง รากมะซาง. |
ยาแผนโบราณ | น. ยาที่มุ่งหมายสำหรับใช้ในการประกอบโรคศิลปะแผนโบราณ หรือการบำบัดโรคสัตว์ ซึ่งอยู่ในตำรายาแผนโบราณที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศ หรือยาที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขประกาศเป็นยาแผนโบราณ หรือยาที่ได้รับอนุญาตให้ขึ้นทะเบียนตำรับยาเป็นยาแผนโบราณ. |
ยามสามตา | น. ชื่อวิธีจับยามของหมอดู ใช้นับตามหลัก ๓ หลัก คือ อาทิตย์ จันทร์ และอังคาร เวียนกันไป โดยนับขึ้นต้นที่อาทิตย์ ถ้าวันจับยามเป็นวันข้างขึ้น ให้นับเวียนขวาจากอาทิตย์ไปยังจันทร์และอังคาร ถ้าวันจับยามเป็นวันข้างแรม ให้นับเวียนซ้ายจากอาทิตย์ไปยังอังคารและจันทร์ แล้วทำนายตามตำรายามสามตาหรือตรีเนตร. |
สิทธิการิยะ | คำขึ้นต้นในตำราโบราณ เช่น ตำรายา ตำราหมอดู หรือคาถาเมตตามหานิยม เป็นการอธิษฐานขอให้การกระทำนั้น ๆ ประสบความสำเร็จ. |