กระษัย | (-ไส) น. ชื่อโรคตามตำราแพทย์แผนโบราณว่า ทำให้ร่างกายทรุดโทรม มีอาการผอมแห้งตัวเหลืองเท้าเย็น, เขียนเป็น กษัย ก็มี. |
กระษัยกล่อน | (-ไสกฺล่อน) น. ชื่อโรคตามตำราแพทย์แผนโบราณว่า ทำให้ร่างกายผอมแห้ง ซึ่งเกิดจากโรคกร่อน, เขียนเป็น กษัยกล่อน ก็มี. |
กระสือ ๒ | ชื่อว่านชนิดหนึ่ง ต้นและหัวคล้ายขมิ้นอ้อย สีขาว ฉุนร้อน ตามตำรากบิลว่านว่า เมื่อหัวแก่มีธาตุปรอทลงกิน มีพรายเป็นแสงแมงคาเรืองในเวลากลางคืน ถือกันว่ามีสรรพคุณอยู่คง แต่เป็นกายสิทธิ์ ชอบไปเที่ยวหากินของโสโครก และเข้าสิงกินคนดั่งกระสือหรือปอบ แล้วบอกชื่อเจ้าของว่านที่ปลูกนั้นว่า เป็นตัวกระสือหรือผีปอบ ทำให้ขายหน้าจึงไม่ค่อยมีใครกล้าปลูก. |
กรามช้าง ๑ | น. ชื่อโรคมะเร็งชนิดหนึ่ง ตามตำราแพทย์แผนโบราณว่าขึ้นที่แถวกราม มีอาการเป็นเนื้อร้ายงอกขึ้นที่ต่อมแถวก้านคาง ทำให้ขากรรไกรพองโตใหญ่ออกมา เรียกว่า มะเร็งกรามช้าง. |
กล่อน | (กฺล่อน) น. ชื่อโรคชนิดหนึ่ง ตามตำราแพทย์แผนโบราณว่าเกิดจากของเหลวเข้าไปขังอยู่ในถุงอัณฑะ, ถ้าของเหลวนั้นเป็นนํ้า เรียกว่า กล่อนนํ้า, ถ้าเป็นเลือด เรียกว่า กล่อนเลือด, ถ้าเป็นหนอง เรียกว่า กล่อนหนอง. |
กษัย, กษัย- | ชื่อโรคตามตำราแพทย์แผนโบราณว่า ทำให้ร่างกายทรุดโทรม มีอาการผอมแห้งตัวเหลืองเท้าเย็น, เขียนเป็น กระษัย ก็มี. |
กิเลน | น. ชื่อสัตว์ในนิยายจีน, ตามตำราของจีนว่า หัวเป็นมังกร มีเขาอ่อน ๑ เขา ตัวเป็นกวาง ตีนมีกีบเหมือนม้า หางเป็นพวง. |
เขม่าซาง | น. ชื่อโรคชนิดหนึ่งตามตำราแพทย์แผนโบราณ. |
โขลนทวาร | (โขฺลนทะวาน) น. ประตูป่า, ประตูป่าที่ทำตามตำราพราหมณ์ คือทำเป็นประตูสะด้วยใบไม้ให้ทหารผู้ไปทัพนั้นลอดไป มีพราหมณ์คู่หนึ่งนั่งบนร้านสูง ๒ ข้างประตูคอยประนํ้าเทพมนตร์ เพื่อเป็นชัยมงคลแก่กองทัพที่ยกไป เรียกว่า เบิกโขลนทวาร. |
โคลง ๑ | (โคฺลง) น. คำประพันธ์ประเภทหนึ่ง มีจำนวนคำในวรรคสัมผัสและบังคับเอกโทตามตำราฉันทลักษณ์. |
จับยาม | ก. นับยามตามหลักยามสามตา (ตรีเนตร) โดยนับตามหลัก ๓ หลัก คือ อาทิตย์ จันทร์ อังคาร เวียนกันไป โดยนับขึ้นต้นที่อาทิตย์ ถ้าวันจับยามเป็นวันข้างขึ้น ให้นับเวียนขวาจากอาทิตย์ไปยังจันทร์และอังคาร ถ้าวันจับยามเป็นวันข้างแรม ให้นับเวียนซ้ายจากอาทิตย์ไปยังอังคารและจันทร์ แล้วทำนายตามตำรา. |
ชิวหาสดมภ์ | น. ชื่อโรคลม ตามตำราแพทย์แผนโบราณว่าทำให้มีอาการลิ้นกระด้างคางแข็ง. |
ซาง ๒ | น. ชื่อโรคชนิดหนึ่ง ตามตำราแพทย์แผนโบราณว่าเป็นแก่เด็กเล็ก มีลักษณะเกิดเป็นเม็ดขึ้นในปากในคอ ลิ้นเป็นฝ้า มีอาการ เช่น ไม่กินนม ไม่กินข้าว ปวดหัวตัวร้อน มีชื่อต่าง ๆ เช่น ซางเพลิง ซางนํ้า ซางขโมย ซางโจร ซางโค. |
ตะกัง | น. ชื่อโรคลมชนิดหนึ่ง ตามตำราแพทย์แผนโบราณว่า ทำให้มีอาการปวดหัวเวลาเช้า ๆ ปวดกระบอกตา เมื่อเห็นแดดจะลืมตาไม่ขึ้น เรียกว่า ลมตะกัง, ปะกัง ก็ว่า. |
ตะพั้น | น. ชื่อโรคชนิดหนึ่ง มักเกิดแก่เด็กอ่อนหรือเด็กเล็ก ๆ มีอาการชัก มือเท้ากำ ตามตำราแพทย์แผนโบราณว่า มักเกิดเพราะผิดอากาศเป็นต้น, สะพั้น ก็ว่า. |
ทศเบญจกูล | น. เครื่องเผ็ดร้อน ๑๐ อย่างตามตำราแพทย์แผนโบราณ. |
เบิกโขลนทวาร | ก. ทำพิธีเปิดประตูป่าตามตำราพราหมณ์ คือทำเป็นประตูสะด้วยใบไม้ให้ทหารผู้ไปทัพนั้นลอดไป มีพราหมณ์คู่หนึ่งนั่งบนร้านสูง ๒ ข้างประตูคอยประนํ้าเทพมนตร์ เพื่อเป็นชัยมงคลแก่กองทัพที่ยกไป. |
ประดง | น. ชื่อโรคผิวหนังจำพวกหนึ่ง ทำให้คันเป็นต้น ตามตำราแพทย์แผนโบราณว่ามีหลายชนิด เช่น ประดงเลือด ประดงลม. |
ปะกัง | น. ชื่อโรคลมชนิดหนึ่ง ตามตำราแพทย์แผนโบราณว่า ทำให้มีอาการปวดหัวเวลาเช้า ๆ ปวดกระบอกตา เมื่อเห็นแดดจะลืมตาไม่ขึ้น เรียกว่า ลมปะกัง, ตะกัง ก็ว่า. |
ปานดง | น. ชื่อโรคชนิดหนึ่ง ตามตำราแพทย์แผนโบราณว่ามีอาการเจ็บปวดแล่นไปตามผิวหนัง. |
เปลี่ยวดำ | น. ชื่อโรคอย่างหนึ่ง ตามตำราแพทย์แผนโบราณว่าเกิดจากความเย็นมาก, เกลี่ยวดำ ก็ว่า. |
ฝังเข็ม | วิธีการรักษาโรคแบบหนึ่งตามตำราแพทย์จีนโดยใช้เข็มปักลงตามตำแหน่งจุดต่าง ๆ เพื่อรักษาโรคหรือไม่ให้รู้สึกเจ็บเวลาผ่าตัด. |
มหาสดมภ์ | (มะหาสะดม) น. ชื่อโรคลมชนิดหนึ่งตามตำราแพทย์แผนโบราณซึ่งอาจทำให้ขากรรไกรแข็ง. |
ยามสามตา | น. ชื่อวิธีจับยามของหมอดู ใช้นับตามหลัก ๓ หลัก คือ อาทิตย์ จันทร์ และอังคาร เวียนกันไป โดยนับขึ้นต้นที่อาทิตย์ ถ้าวันจับยามเป็นวันข้างขึ้น ให้นับเวียนขวาจากอาทิตย์ไปยังจันทร์และอังคาร ถ้าวันจับยามเป็นวันข้างแรม ให้นับเวียนซ้ายจากอาทิตย์ไปยังอังคารและจันทร์ แล้วทำนายตามตำรายามสามตาหรือตรีเนตร. |
ลมตะกัง | น. ชื่อโรคลมชนิดหนึ่ง ตามตำราแพทย์แผนโบราณว่าทำให้มีอาการปวดหัวเวลาเช้า ๆ ปวดกระบอกตา เมื่อเห็นแดดจะลืมตาไม่ขึ้น, ลมปะกัง ก็ว่า. |
สะพั้น | น. ชื่อโรคชนิดหนึ่ง มักเกิดแก่เด็กอ่อนหรือเด็กเล็ก ๆ มีอาการชัก มือเท้ากำ ตามตำราแพทย์แผนโบราณว่า มักเกิดเพราะผิดอากาศเป็นต้น, ตะพั้น ก็ว่า. |
อาถรรพ์, อาถรรพณ์, อาถรรพณะ | (-ถัน, -ถัน, -ถับพะนะ) น. สิ่งสืบเนื่องจากคัมภีร์อถรรพเวท, การทำพิธีตามตำราไสยศาสตร์เพื่อให้เกิดสิริมงคลป้องกันภยันตราย หรือทำอันตรายผู้อื่น เช่น ทำพิธีฝังเสาหินหรือฝังบัตรพลี ซึ่งเรียกว่า ฝังอาถรรพ์ |