ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด | ว. มีความรู้มากแต่ไม่รู้จักใช้ความรู้ให้เป็นประโยชน์. |
ตัวไม้ ๑ | น. ไม้เครื่องเรือนที่ปรุงไว้เพื่อคุมกันเข้าเป็นเรือน. |
ตัวไม้ ๒ | น. ตัวพิมพ์ขนาดใหญ่ ใช้พาดหัวหนังสือพิมพ์. |
กบดาน | ก. นอนพังพาบกับพื้นใต้นํ้า เป็นอาการของจระเข้, โดยปริยายหมายถึงหลบซ่อนตัวไม่ออกมา. |
กระดูกงู | น. ตัวไม้หรือเหล็กที่ทอดตลอดลำเรือสำหรับตั้งกง. |
กระพอง ๒ | น. ชื่อตัวไม้อันบนที่เป็นราวลูกกรงเรือนหรือเกวียน, กำพอง ก็เรียก. |
กรูด ๒ | (กฺรูด) ว. เสียงอย่างเสียงที่ลากของหนักถูไปกับพื้น. ก. ที่ถอยอย่างรวดเร็วไม่มีระเบียบ, ถอยอย่างตั้งตัวไม่ติด, ในคำว่า ถอยกรูด. |
กำพอง | น. ชื่อตัวไม้อันบนที่เป็นราวลูกกรงเรือนหรือเกวียน, กระพอง ก็เรียก. |
เก็บตัว ๒, เก็บเนื้อเก็บตัว | ก. สงวนตัวไม่ไปงานสังคม, ไม่ออกสังคม, ไม่คบหาสมาคมกับใคร. |
ขานกยาง ๒ | น. ชื่อปลาทะเลชนิด Scomberoides tol (Cuvier) ในวงศ์ Carangidae ลำตัวแบนข้าง เรียวเล็กกว่าปลาสละและปลาเฉียบ แต่พอ ๆ กับปลาสีเสียด ซึ่งทั้งหมดอยู่ในสกุลเดียวกัน ปากไม่กว้างนัก ท้ายขากรรไกรบนอยู่ในแนวใต้จุดศูนย์กลางของตา เกล็ดเล็กและยาวมากคล้ายเข็มฝังแน่นในหนัง เส้นข้างตัวไม่มีเกล็ดที่เป็นสันแข็ง ครีบหลังตอนแรกเป็นหนามแข็ง ๖-๗ ก้าน เรียงห่างกัน มีกระดูกเป็นหนาม ๒ อัน อยู่หน้าครีบก้นและพับซ่อนในร่องเนื้อได้ ลำตัวสีเงินเทา มีจุดสีเทาดำอยู่ในแนวเส้นข้างตัว ๕-๘ จุด ขนาดยาวได้ถึง ๔๓ เซนติเมตร. |
เข้ารางลิ้น | ก. นำไม้อันหนึ่งที่ทำให้เป็นร่องยาวมาประกบกับไม้อีกอันหนึ่งที่ทำให้เป็นลิ้นยาวไปตามตัวไม้ให้เข้ากันสนิทพอดี, พูดสั้น ๆ ว่า เข้าลิ้น. |
เข้าลิ้น | ก. นำไม้อันหนึ่งที่ทำให้เป็นร่องยาวมาประกบกับไม้อีกอันหนึ่งที่ทำให้เป็นลิ้นยาวไปตามตัวไม้ให้เข้ากันสนิทพอดี, พูดเต็มว่า เข้ารางลิ้น. |
แขวน ๒ | (แขฺวน) น. ตัวไม้โครงหลังคา เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวระหว่างเต้ากับจันทันระเบียง, ค้างคาว หรือ โตงเตง ก็เรียก. |
คลุมถุงชน | น. ลักษณะการแต่งงานที่ผู้ใหญ่จัดการให้ โดยที่เจ้าตัวไม่รู้จักคุ้นเคยหรือรักกันมาก่อน. |
คอหยัก ๆ สักแต่ว่าคน | น. คนที่ประพฤติตัวไม่สมศักดิ์ศรีของความเป็นคน. |
คันบวย | น. ตัวไม้ยึดช่อฟ้าต่อกับสันอกไก่. |
ค้างคาว ๔ | น. ตัวไม้โครงหลังคา เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวระหว่างเต้ากับจันทันระเบียง, แขวน หรือ โตงเตง ก็เรียก. |
เครื่องบน | น. ตัวไม้ที่เป็นส่วนของหลังคา เช่น ขื่อ จันทัน แป กลอน. |
จันทัน | น. ชื่อตัวไม้เครื่องบนแห่งเรือนอยู่ตรงกับขื่อสำหรับรับแปลานหรือรับระแนง. |
จันทันพราง | น. ตัวไม้จันทันที่ไม่ได้อยู่บนหัวเสา. |
เฉลียบ ๑ | (ฉะเหฺลียบ) น. ชื่อปลาทะเลชนิด Scomberoides tala (Cuvier) ในวงศ์ Carangidae ลำตัวแบนข้างและกว้างใกล้เคียงกับปลาสละ แต่มากกว่าปลาสีเสียดและปลาขานกยางซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกัน ปากกว้าง ท้ายขากรรไกรบนยาวเลยแนวขอบหลังของตาเพียงเล็กน้อย เกล็ดเล็กยาวคล้ายเสี้ยนฝังแน่นในหนัง เส้นข้างตัวไม่มีเกล็ดที่เป็นสันแข็ง ครีบหลังตอนแรกมีก้านครีบแข็ง ๖-๗ ก้าน เรียงห่างกัน มีกระดูกเป็นหนาม ๒ อัน อยู่หน้าครีบก้นและพับซ่อนในร่องเนื้อได้ ลำตัวด้านบนสีเงินเทา ด้านข้างสีเงิน มีแต้มรูปไข่ยาวรีเรียงขวางอยู่ในแนวเส้นข้างตัว ๔-๘ แต้ม ขนาดยาวได้ถึง ๖๐ เซนติเมตร, เสลียบ ก็เรียก. |
ช่อฟ้า | น. ชื่อตัวไม้เครื่องประกอบกรอบหน้าบัน รูปอย่างครุฑ มีอกใหญ่ คอเรียว ศีรษะเล็ก ปากเป็นจะงอย หงอนยาวเรียว ติดตั้งอยู่ตอนปลายสุดหน้าบัน. |
เชิงกลอน | น. ตัวไม้หน้าสี่เหลี่ยมแบนยาวติดกับปลายเต้ายาวไปตลอดชายคาเรือนทรงไทย. |
เชิงชาย | น. ตัวไม้หน้าสี่เหลี่ยมแบนยาวติดปลายจันทันตลอดชายคาเรือนหลังคาทรงปั้นหยาหรือหลังคาทรงมนิลา. |
เชิงแป | น. ตัวไม้หน้าสี่เหลี่ยมแบน ติดอยู่ใต้แปหัวเสา เพื่อรับไม้กลอนของหลังคาปีกนก. |
แซ่ด ๆ | ก. อาการที่เซไปทรงตัวไม่อยู่ เช่น เซแซ่ด ๆ. |
โซเซ | ว. กิริยาที่เดินเป๋ไปเป๋มา ทรงตัวไม่อยู่เพราะอ่อนแรงหรือเมาเหล้าเป็นต้น. |
ตกม้าตาย | ว. แพ้, เสียเชิง, เช่น ถ้าเตรียมตัวไม่ดี ถูกกรรมการซักเข้าหน่อยก็คงตกม้าตาย. |
ต้นร้ายปลายดี | น. ตอนแรกประพฤติตัวไม่ดี แต่ภายหลังกลับสำนึกตัวได้แล้วประพฤติดีตลอดไป, ตอนต้นไม่ดีไปดีเอาตอนหลัง. |
ตะเข้ ๒ | น. ตัวไม้จากกลางจั่วบ้านตรงมายังชายคา พาดเป็นมุม ๔ มุม มีเฉพาะบ้านทรงปั้นหยาหรือทรงมนิลา |
ตัวเปล่า | ว. ยังไม่มีครอบครัว เช่น ฉันยังตัวเปล่าอยู่, ตัวเปล่าเล่าเปลือย ก็ว่า, ลำพังตัวไม่ได้มีอะไรมาด้วย เช่น มาตัวเปล่า เดินตัวเปล่า. |
โตงเตง ๒ | น. ตัวไม้โครงหลังคา เป็นเครื่องยึดเหนี่ยวระหว่างเต้ากับจันทันระเบียง, แขวน หรือ ค้างคาว ก็เรียก. |
ถลำตัว | ก. พลั้งพลาดไปจนยากที่จะหลุดพ้นออกมาได้ เช่น เขาถลำตัวเสพยาเสพติดจนถอนตัวไม่ขึ้น. |
ถอยกรูด | ก. ถอยอย่างรวดเร็วไม่มีระเบียบ, ถอยอย่างตั้งตัวไม่ติด. |
ถือตัว | ก. ไว้ตัวไม่ยอมลดตัวเพราะหยิ่งในศักดิ์หรือฐานะของตนเป็นต้น. |
ทับหลัง | เรียกตัวไม้ที่อยู่ตอนบนหลังกรอบเช็ดหน้าของประตูหรือหน้าต่าง ใช้สอดเดือยบานประตูหรือบานหน้าต่าง เรียกว่า ทับหลังหน้าต่าง หรือ ทับหลังประตู. |
ทำตัว | ก. วางตัว, ประพฤติ, เช่น ทำตัวดี ทำตัวไม่ดี. |
เท้าแขน | น. ตัวไม้สำหรับคํ้ายันของหนักเช่นกันสาดให้มีกำลังทรงตัวอยู่ได้ |
นาคเบือน | น. ตัวไม้ที่สลักเป็นรูปศีรษะนาคหันออกทางด้านหน้า ใช้ปักบนปลายสันหลังคาปราสาทหรือบุษบก หรือปลายนาคสะดุ้งสำหรับปราสาท. |
นาครวย | (นาก-รวย) น. ตัวไม้ที่ทำอย่างตัวนาค ทอดตรงลงมาจากอกไก่ถึงแปหาญ ทั้ง ๒ ข้างของหน้าบัน. |
นาคสะดุ้ง | น. ตัวไม้ที่ทำอย่างตัวนาค ทอดต่อลงมาจากแปหาญถึงหางหงส์ทั้ง ๒ ข้างของหน้าบัน โบราณเรียกว่า เครื่องสะดุ้ง. |
เบญพาด | (เบ็นยะ-) น. ตัวไม้ที่คุมกันเข้าเป็นเครื่องคํ้ายันเสาตะลุงให้มั่นคง. |
ใบปรือ | น. ชื่อตัวไม้หรือปูนทำเป็นครีบคล้ายใบระกา ติดที่หลังตะเข้ตรงมุมหลังคาเฉลียง |
ใบระกา | น. ชื่อตัวไม้หรือปูนปั้นทำเป็นครีบ หรือลวดลายต่าง ๆ ติดกับตัวลำยองระหว่างช่อฟ้ากับหางหงส์ ประกอบ ๒ ข้างหน้าบันโบสถ์ วิหาร และปราสาท เป็นต้น. |
ปะหงับปะง่อน | ว. อาการที่โงนเงนทรงตัวไม่อยู่เพราะเจ็บป่วยเป็นต้น, ปะงับปะง่อน ก็ว่า. |
ปัญญาอ่อน | น. ภาวะที่มีระดับสติปัญญาด้อยหรือตํ่ากว่าปรกติ มักมีสาเหตุเกิดขึ้นในระหว่างพัฒนาการ ทำให้เด็กมีความสามารถจำกัดในด้านการเรียนรู้และมีพฤติกรรมปรับตัวไม่อยู่ในระดับที่ควรเป็น. |
ปั่นใย | น. ชื่อแมลงอันดับ Embioptera ลักษณะลำตัวเป็นรูปทรงกระบอก ยาว ๐.๕-๒.๐ เซนติเมตร เพศเมียทุกตัวและเพศผู้บางตัวไม่มีปีก ตีนมี ๓ ข้อ สามารถสร้างใยได้จากต่อมสร้างใยอยู่ที่ตีนข้อแรกของขาคู่หน้าที่โป่งพองออก อาศัยอยู่รวมกันเป็นกลุ่มภายในอุโมงค์ เส้นใยมักพบตามใต้เปลือกไม้ รอยแตกในดินและหิน ที่พบบ่อย เช่น ชนิด Oligotoma saundersii Westwood ในวงศ์ Oligotomidae, ชักใย ก็เรียก. |
ปั้วเปี้ย | ว. อ่อนกำลังจนแทบจะทรงตัวไม่ได้. |
ปากไม้ | น. รอยบากหรือรอยเจาะที่ตัวไม้สำหรับเอาตัวไม้นั้นประกบกัน. |
ปากแตร ๒ | น. ชื่อปลาทะเลในสกุล Fistularia วงศ์ Fistulariidae หัวและลำตัวแบนลงแต่แคบและยาวมาก ตาโต ปากเป็นท่อยาวคล้ายแตร มีช่องปากขนาดเล็กอยู่ปลายสุด ลำตัวไม่มีเกล็ดยกเว้นเฉพาะที่แนวสันหลัง ครีบหลังและครีบก้นอยู่ค่อนไปทางหาง ครีบหางเป็นแฉกมีเส้นยาวคล้ายแส้ยื่นออกจากกึ่งกลางครีบ ลำตัวทั่วไปรวมทั้งหัวและครีบสีนํ้าตาลแดง ขนาดยาวได้ถึง ๑ เมตร เช่น ชนิด F. villosa Klunzinger, สามรส ก็เรียก. |