ตวง ๑ | ก. ตักด้วยภาชนะต่าง ๆ เพื่อให้รู้จำนวนหรือปริมาณ |
ตวง ๑ | นับ, กะ, ประมาณ, ทำให้เต็ม, เช่น ก็นับตวงถ้วนไซร้ยังมาก (จารึกสยาม). |
ตวงพระธาตุ | น. ชื่อเพลงไทย อัตรา ๒ ชั้น หน้าทับปรบไก่ |
ตวงพระธาตุ | ชื่อเพลงไทยประเภทเพลงเถา. |
ตวง ๒ | สัน. จนกระทั่ง เช่น อันนี้ไปอุเบกษา แลอยู่ตวงเจ้าของไปเถิง (จารึกสยาม). |
ตักตวง | ก. หาประโยชน์ใส่ตัว, กอบโกยมาเป็นของตนเมื่อมีโอกาส. |
ถ้วยตวง | น. ถ้วยสำหรับตวงสิ่งของ มีขนาดต่าง ๆ บอกปริมาตรในตัวหรือมีขีดบอกปริมาตร. |
ก๊ง | น. หน่วยตวงเหล้าโรงเป็นต้นตามวิธีประเพณี ๑ ก๊ง เท่ากับ ๕๐ ลูกบาศก์เซนติเมตร. |
กระชุก ๓ | น. อัตราตวงของโบราณ มีพิกัดเท่ากับ ๕ สัด, และ ๔ กระชุก เป็น ๑ ตะลอง. |
กระเชอ | อัตราตวงของโบราณ มีพิกัดเท่ากับ ๕ ทะนาน, และ ๕ กระเชอ เป็น ๑ สัด. |
กระทาย | เครื่องตวง ใช้ตวงข้าวสมัยโบราณ ๒ กระทาย เป็น ๑ กระบุง มีอัตราเท่ากับครึ่งถัง หรือ ๑๐ ลิตร. ก. กระทกของเอากากออก. |
กระผีก | น. มาตราตวง มีพิกัดเท่ากับ ๑ ภาค (คือ ๑ ใน ๔) ของกระเพาะ. |
กระเพาะ | ภาชนะสานสำหรับตวงข้าว มีอัตราจุ ๔ กระผีก. |
กอบ | ชื่อมาตราตวง ๔ กอบ เป็น ๑ ทะนาน. |
กำมือ | มาตราตวงตามวิธีประเพณีของไทยโบราณ ๔ หยิบมือ = ๑ กำมือ ๔ กำมือ = ๑ ฟายมือ และอีกแบบหนึ่ง ๔ ใจมือ = ๑ กำมือ ๘ กำมือ = ๑ จังออน. |
กิโลลิตร | น. ชื่อมาตราตวง เท่ากับ ๑, ๐๐๐ ลิตร หรือ ๑ ลูกบาศก์เมตร, อักษรย่อว่า กล. |
เกวียน | ชื่อมาตราตวง ๘๐ สัด หรือ ๑๐๐ ถัง เป็น ๑ เกวียน. |
เกวียนหลวง | น. มาตราตวงตามแบบราชการ มีอัตราเท่ากับ ๒, ๐๐๐ ลิตร หรือ ๒ กิโลลิตร, อักษรย่อว่า กว. |
คืบ ๑ | น. ช่วงระยะจากปลายนิ้วหัวแม่มือถึงปลายนิ้วก้อยเมื่อกางมือออกเต็มที่ เท่ากับ ๙ นิ้ว (มาตราชั่ง ตวง วัด), ช่วงระยะจากปลายนิ้วหัวแม่มือถึงปลายนิ้วกลางเมื่อกางมือออกเต็มที่ เท่ากับ ๙-๑๐ นิ้ว (ปรัดเล, แมคฟาแลนด์) |
จังออน | น. มาตราตวงตามวิธีประเพณีของไทยโบราณ ๘ กำมือ = ๑ จังออน และ ๒ จังออน = ๑ แล่ง. |
ใจมือ | น. มาตราตวงตามวิธีประเพณีของไทยโบราณ ๑๕๐ เมล็ดข้าว = ๑ ใจมือ ๔ ใจมือ = ๑ กำมือ และ ๘ กำมือ = ๑ จังออน |
ช้อนชา | น. ช้อนด้ามยาวขนาดเล็กใช้สำหรับคนชากาแฟ, มาตราตวงมีขนาดจุ ๕ มิลลิลิตร เช่น ยานี้เด็กรับประทานครั้งละครึ่งช้อนชา. |
ช้อนโต๊ะ | น. ช้อนด้ามยาวขนาดใหญ่ ใช้ตักอาหารสำหรับเสิร์ฟ, มาตราตวงมีขนาดจุ ๑๕ มิลลิลิตร เช่น ยานี้กินครั้งละ ๑ ช้อนโต๊ะ. |
เซนติลิตร | น. ชื่อมาตราตวงตามวิธีเมตริก มีอัตราเท่ากับ ๑ ใน ๑๐๐ ของ ๑ ลิตร, อักษรย่อว่า ซล. |
เดคาลิตร | น. ชื่อมาตราตวงตามวิธีเมตริก มีอัตราเท่ากับ ๑๐ ลิตร, อักษรย่อว่า ดคล. |
เดซิลิตร | น. ชื่อมาตราตวงตามวิธีเมตริก มีอัตราเท่ากับ ๑ ใน ๑๐ ของลิตร, อักษรย่อว่า ดล. |
ต่อ ๕ | เทียบส่วนกันในอัตราชั่งตวงวัด เช่น ๓ ต่อ ๑. |
ตะลอง | น. อัตราตวงของโบราณ มีพิกัดเท่ากับ ๔ กระชุก, และ ๔ ตะลอง เป็น ๑ เกวียน. |
ตะล่อม ๒ | น. อัตราตวงของโบราณ มีพิกัดเท่ากับ ๔ เกวียน, และ ๕ ตะล่อม เป็น ๑ ยุ้ง. |
ต่าง ๑ | ก. บรรทุก เช่น ต่างข้าวเข้ามาส่ง, ใช้อย่างมาตราตวงก็ได้ เช่น ได้ข้าวไม่ถึง ๕ ต่าง. |
ตุมพะ | น. ชื่อมาตราตวงอย่างโบราณ |
แต่ ๓, แต่ว่า | ตาม เช่น เมรยสฺส สุราย จ ตวงเต็มสุราบานโซรแซร ให้กินแต่เต็มใจ (ม. คำหลวง มหาราช). |
ถัง | น. ภาชนะจำพวกหนึ่ง ทำด้วยไม้หรือโลหะเป็นต้น มีรูปร่างต่าง ๆ กัน โดยมากใช้ตักนํ้า, ภาชนะสำหรับตวงข้าว ทำด้วยไม้ รูปทรงกระบอก |
ถัง | ชื่อมาตราตวงเท่ากับ ๒๐ ทะนาน. |
ทะนาน | น. เครื่องตวงอย่างหนึ่งทำด้วยกะโหลกมะพร้าว ด้านที่มีตา โดยตัดด้านตรงข้ามออก หรือทำด้วยทองเหลืองเป็นต้น โบราณใช้ตวงสิ่งของต่าง ๆ เช่น งา ข้าวเปลือก น้ำมัน |
ทะนาน | ชื่อหน่วยในมาตราตวงโบราณ ๒๐ ทะนาน เป็น ๑ ถัง, ชื่อหน่วยในมาตราตวงของไทยโบราณเท่ากับ ๘ ฟายมือ. |
ทะนานหลวง | น. ชื่อหน่วยในมาตราตวง มีอัตราเท่ากับ ๑ ลิตร, อักษรย่อว่า ท. |
เท | น. ชื่อมาตราตวงเหล้าตามวิธีประเพณี ๑ เท เท่ากับ ๒๐ ทะนาน. |
โทณะ | น. ทะนาน, กะละออม, เครื่องตวงอย่างหนึ่ง = ๔ อาฬหก. |
ธัญมาส | น. มาตราตวง เท่ากับ ๗ อูกา. |
นาลี | ทะนาน, เป็นชื่อมาตราตวง. |
นาฬี | ทะนาน, เป็นชื่อมาตราตวง. |
บั้น ๒ | น. ชื่อมาตราตวงข้าวเปลือก มีอัตรา ๒ บั้น เป็น ๑ เกวียน. |
บั้นหลวง | น. ชื่อมาตราตวงตามวิธีประเพณี มีอัตราเท่ากับ ๑, ๐๐๐ ลิตร. |
ปัตถะ | (ปัดถะ) น. ชื่อมาตราตวงในภาษาบาลี แปลว่า แล่ง, กอบ, คือ ๒ ปัตถะ เป็น ๑ นาฬี (ทะนาน). |
เป๊ก ๔ | น. ภาชนะสำหรับตวงเหล้า ทำด้วยแก้วหรือโลหะ ขนาดถ้วยนํ้าชาเล็ก ๆ ประมาณ ๑๘ ซีซี. |
ฟายมือ | น. ชื่อมาตราตวง ๘ ฟายมือ เป็น ๑ ทะนาน. |
มาตรา | (มาดตฺรา) น. หลักกำหนดการวัดขนาด จำนวน เวลา และมุม เช่น มาตราชั่ง ตวง วัด มาตราเมตริก |
มาย | ก. ตวง, นับ. |
มิลลิลิตร | น. ชื่อมาตราตวงตามวิธีเมตริก มีอัตราเท่ากับ ๑ ใน ๑, ๐๐๐ ของ ๑ ลิตร, อักษรย่อว่า มล. |