Deed | ตราสาร, โฉนด [เศรษฐศาสตร์] |
Commercial paper | ตราสารพาณิชย์ [เศรษฐศาสตร์] |
Equity fund | กองทุนรวมตราสารแห่งทุน, Example: กองทุนรวมที่มีวัตถุประสงค์ที่จะลงทุนในหรือมีไว้ซึ่งตราสารแห่งทุนโดยเฉลี่ยในรอบปีบัญชีไม่น้อยกว่าร้อยละ 65 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิของกองทุนรวม ซึ่งตราสารแห่งทุนหมายความถึงหุ้นสามัญของบริษัทต่าง ๆ หุ้นของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น เป็นต้น [ตลาดทุน] |
Fixed income fund | กองทุนรวมตราสารแห่งหนี้, Example: กองทุนรวมที่มีวัตถุประสงค์ที่จะลงทุนในตราสารแห่งหนี้ เช่น พันธบัตร ตั๋วเงินคลัง บัตรเงินฝาก ตั๋วสัญญาใช้เงิน ตั๋วแลกเงิน หุ้นกู้ เป็นต้น โดยจะไม่ลงทุนในหุ้นหรือใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น [ตลาดทุน] |
Equity instruments | ตราสารแห่งทุน, Example: หมายถึงตราสารที่แสดงความเป็นเจ้าของกิจการในฐานะผู้ถือหุ้น การลงทุนในตราสารทุนนี้ จะมีความเสี่ยงมากกว่าการลงทุนในตราสารหนี้ เพราะสิทธิเรียกร้องในทรัพย์สินของกิจการในกรณีที่เกิดการล้มละลายจะอยู่หลังเจ้าหนี้ ข้อดีของการเป็นเจ้าของ หรือผู้ถือหุ้นของกิจการก็คือ ถ้ากิจการมีกำไร จะมีส่วนแบ่งในกำไรของกิจการ อย่างเต็มที่ในรูปของเงินปันผล แต่ในทางกลับกันถ้ากิจการขาดทุน ผู้เป็นเจ้าของอาจจะไม่ได้รับผลตอบแทนเลย เพราะกิจการไม่สามารถจ่ายเงินปันผลได้นอกจากนี้ผู้ลงทุนในตราสารทุนก็อาจจะได้รับกำไร หรือขาดทุนจากการเปลี่ยนแปลงของราคาหุ้นที่อยู่ในตลาดด้วย ตัวอย่างตราสารทุน ได้แก่ หุ้น ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้น [ตลาดทุน] |
Debt instruments | ตราสารแห่งหนี้, Example: เป็นตราสารที่ออกโดยเจ้าของกิจการ รัฐวิสาหกิจ หรือรัฐบาล มีการจ่ายผลตอบแทนในรูปของดอกเบี้ยเป็นงวด ๆ พร้อมกับจ่ายเงินต้นให้แก่เจ้าของเงินเมื่อครบกำหนดที่ตกลงกันไว้ ซึ่งระยะเวลาครบกำหนดของตราสารหนี้ จะมีทั้งที่เป็นระยะสั้น (ไม่เกิน 1 ปี) ปานกลาง (1 ถึง 5 ปี) และระยะยาว(5 ปีขึ้นไป) ผู้ถือตราสารหนี้มีฐานะ เป็นเจ้าหนี้ของผู้ออกตราสาร เนื่องจากเป็นผู้ให้กิจการกู้ยืมไปลงทุน และผู้ลงทุน ที่มีฐานะเป็นเจ้าหนี้นั้นจะมีสิทธิเรียกร้องการชำระคืนเงินต้นก่อนผู้เป็นเจ้าของหรือ ผู้ถือหุ้นของกิจการ ในกรณีที่เลิกบริษัทหรือล้มละลาย การลงทุนในตราสารหนี้ก็ยังคงมีความเสี่ยง ถ้าหากว่ากิจการที่ออกตราสารนั้นมีปัญหาทางด้านการเงิน หรือล้มละลาย ไม่สามารถจ่ายคืนเงินต้นได้ทั้งหมด หรือหากตราสารหนี้มีมูลค่าเปลี่ยนแปลงลดลงเนื่องจากภาวะการซื้อขายในตลาดรอง ก็จะทำให้ผู้ลงทุนขาดทุนได้ ตัวอย่างตราสารหนี้ ได้แก่ ตั๋วเงินคลัง พันธบัตร ตั๋วสัญญาใช้เงิน ตั๋วแลกเงิน ใบสำคัญแสดงสิทธิที่จะซื้อหุ้นกู้ [ตลาดทุน] |
Options | ตราสารสิทธิที่จะซื้อหรือขายทรัพย์สิน, Example: ตราสารที่กำหนดให้สิทธิแก่ผู้ถือที่จะซื้อทรัพย์สินจากหรือขายทรัพย์สินให้ผู้ออกตราสารนั้น ทั้งนี้ตามเงื่อนไขที่ระบุไว้ เช่น ประเภทและคุณภาพทรัพย์สิน จำนวน ราคา วันหมดอายุของตราสารและกำหนดเวลาให้ใช้สิทธิได้ หากเป็นตราสารที่ให้สิทธิผู้ถือซื้อทรัพย์สินจะเรียกว่า ตราสารสิทธิเรียกซื้อทรัพย์สิน (call options) ถ้าเป็นตราสารที่ให้สิทธิผู้ถือขายทรัพย์สินจะเรียกว่าตราสารสิทธิให้ขายทรัพย์สิน (put options) สิ่งที่นำมากำหนดให้สิทธิซื้อหรือขายอาจจะเป็นหุ้นสามัญ ดัชนีราคาหุ้น พันธบัตรรัฐบาล เงินตราต่างประเทศ หรือสินค้าโภคภัณฑ์ เช่น ข้าวโพด ทองคำ เป็นต้น ผู้ถือ (หรือผู้ซื้อ) options มีสิทธิเลือกที่จะใช้สิทธิหรือไม่ใช้สิทธิตาม options ก็ได้ แต่ผู้ขาย options มีพันธะจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขใน options หากว่าผู้ถือขอใช้สิทธิ ถ้าผู้ถือไม่ใช้สิทธิจนกระทั่ง options นั้นหมดอายุ options นั้นจะไม่มีผลผูกพันต่อผู้ขายอีกต่อไป [ตลาดทุน] |
Derivatives | ตราสารอนุพันธ์, Example: เป็นสัญญาทางการเงินระหว่างบุคคลตั้งแต่ 2 ฝ่ายขึ้นไปเพื่อตกลงกันซื้อขายสินทรัพย์ทางการเงินในปัจจุบัน แต่ทำการส่งมอบและชำระราคากันในอนาคต โดยอัตราผลตอบแทนอ้างอิงกับสินค้าหรือตัวแปรอื่น อาทิเช่น ราคาหลักทรัพย์ ดัชนีตลาดหลักทรัพย์ อัตราดอกเบี้ย หรือราคาสินค้าใด ๆ [ตลาดทุน] |
Bond Electronic Exchange | ตลาดตราสารหนี้, Example: จัดตั้งขึ้นโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย และเปิดให้บริการการซื้อขายแก่นักลงทุนทั่วไป ตั้งแต่วันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ.2546 โดยให้บริการผ่านระบบการซื้อขายแบบเรียลไทม์ เพื่อที่จะพัฒนาตลาดตราสารหนี้ให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น ทั้งในด้านปริมาณการซื้อขาย คุณภาพของตราสารหนี้ ตัวกลางการซื้อขาย และแหล่งข้อมูลอ้างอิง โดยมีเป้าหมายในการดำเนินการตลาดรองตราสารหนี้ที่สมบูรณ์แบบของประเทศไทย ให้บริการครอบคลุมผู้ลงทุนและผู้ค้าตราสารหนี้ทั้งหมด [ตลาดทุน] |
Derivative instrument | ตราสารอนุพันธ์, Example: ตราสารทางการเงินประเภทที่มูลค่าหรือราคาของตราสารนั้นเกี่ยวเนื่องอยู่กับมูลค่าของสินทรัพย์ที่ตราสารนั้นอิงอยู่ เช่น ตราสารสิทธิที่จะซื้อหรือขายหุ้น (Stock Options) เป็นตราสารอนุพันธ์ เพราะราคาของตราสาร ดังกล่าวจะเกี่ยวโยงกับราคา ของหุ้นที่จะใช้ตราสารสิทธินั้นไปซื้อหรือขายได้ สัญญาซื้อขายดัชนีราคาหุ้นล่วงหน้า (Stock Index Futures) เป็นตราสารอนุพันธ์ เพราะราคาของตราสารนี้สืบเนื่องมาจากดัชนีราคาหุ้นที่ตราสารอิงอยู่ การจัดให้มีการซื้อขายตราสารอนุพันธ์จะช่วยให้ผู้เกี่ยวข้อง กับ ตลาดการเงินมีเครื่องมือไว้ปกป้องและบริหารความเสี่ยงที่มีอยู่ และเป็นการเพิ่มช่องทางลงทุนซื้อขายที่หลากหลายยิ่งขึ้น [ตลาดทุน] |
Stock index options | ตราสารสิทธิที่จะซื้อหรือขายดัชนีราคาหุ้น, Example: เป็น options ที่ให้สิทธิแก่ผู้ถือที่จะซื้อหรือขายกลุ่มหุ้นที่เป็นองค์ประกอบในการคำนวณดัชนีราคาหุ้นกับผู้ขาย options ในตราสาร options จะต้องระบุว่าให้สิทธิผู้ถือซื้อ (call) หรือให้สิทธิขาย (put) ให้ใช้สิทธิได้ทุกวันหรือให้ใช้สิทธิในวันที่ ครบกำหนด อีกทั้งต้องระบุถึงดัชนีราคาหุ้นที่ใช้อ้างอิง มูลค่าตัวคูณที่ใช้แปลงค่า 1 หน่วยดัชนีเป็นจำนวนเงิน ระดับดัชนีที่ถือเป็น ราคาให้ใช้สิทธิ (exercise price) เดือนหมดอายุของตราสาร (มักกำหนดเดือนปัจจุบันและเดือนถัดไปต่อเนื่องกัน 3 ถึง 4 เดือน เป็นต้น) และวิธีการส่งมอบเมื่อมีการใช้สิทธิซึ่งจะให้ส่งมอบเป็นเงินสดตามผลต่างของระดับดัชนีบน options กับระดับดัชนีที่ ใช้อ้างอิง ณ วันใช้สิทธิ stock index options เป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่ผู้เกี่ยวข้องกับธุรกิจหลักทรัพย์และเกี่ยวข้องกับการลงทุนในหลัก ทรัพย์นิยมใช้ปกป้องความเสี่ยงจากความผันผวนของภาวะตลาดหลักทรัพย์ การให้ซื้อขายตราสารนี้ยังเป็นการเพิ่มช่องทางลงทุนในตลาดทุน และสร้างโอกาสให้มีการทำ arbitrage มาช่วยให้กลไกตลาดมีประสิทธิภาพในการสะท้อนปัจจัยพื้นฐานได้ดีขึ้น [ตลาดทุน] |
Stock options | ตราสารสิทธิที่จะซื้อหรือขายหุ้น, Example: Options ที่ให้สิทธิผู้ถือที่จะซื้อหรือขายหุ้นสามัญกับผู้ขาย options ตราสารสิทธิประเภทนี้จะต้องระบุว่าให้สิทธิซื้อ หรือขายหุ้นสามัญบริษัทใด จำนวนเท่าใด ณ ราคาเท่าใด อายุของตราสารสิ้นสุดเดือนใด ให้ผู้ถือใช้สิทธิได้ทุกวันหรือเฉพาะเมื่อวัน ตราสารหมดอายุ และให้ส่งมอบอย่างไรเมื่อมีการใช้สิทธิ การจัดให้มีการซื้อขาย stock options จะช่วยให้ผู้ลงทุนมีช่องทางลงทุนที่หลากหลายให้เลือก และยังช่วยให้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับหุ้นสามัญที่มี Stock Options ไม่ว่าจะในแง่ทำธุรกิจหลักทรัพย์หรือการลงทุนมีเครื่องมือที่จะปกป้องความ เสี่ยงจากความผันผวนของราคาหุ้นสามัญตัวนั้น stock options ประเภท call (ประเภทให้สิทธิผู้ถือที่จะซื้อ) ของหุ้นใดมีลักษณะใกล้เคียง short-term warrants ของหุ้นนั้นอย่างมาก จะแตกต่างกันตรงที่ stock options มีอายุไม่เกิน 1 ปีและใครจะเป็นผู้ออกก็ได้ แต่ short-term warrants มักมีอายุประมาณ 2 เดือนและบริษัทผู้ออกหุ้นสามัญนั้นเท่านั้นที่เป็นผู้ออกได้ การใช้สิทธิ stock options ไม่ก่อให้เกิดหุ้นใหม่แต่ การใช้สิทธิ short-term warrants จะทำให้เกิดหุ้นใหม่ [ตลาดทุน] |
Over the counter market | ตลาดรองตราสารทุน, Example: ตลาดซื้อขายหลักทรัพย์หรือตราสารทางการเงินอื่น ๆ ที่ไม่ได้จดทะเบียนทำการซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์อย่างเป็นทางการ เช่น การซื้อขายนอกตลาดโดยปกติจะมีขนาดหรือปริมาณการค้าจำนวนน้อยกว่า มีสภาพคล่องน้อยกว่า และมีการคุ้มครองผลประโยชน์ของนักลงทุนน้อยกว่าตลาดที่เป็นทางการ ในสหรัฐอเมริกาได้มีการจัดทำระเบียบกฎเกณฑ์สำหรับการซื้อขายนอกตลาดขึ้นเพื่อใช้ปฏิบัติกันเอง โดยสมาคมผู้ค้าหลักทรัพย์แห่งชาติ (The National Association of Securities Dealer : NASD) สำหรับประเทศไทยสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ได้เห็นชอบในหลักการในการจัดตั้งตลาดรองตราสารทุนเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. 2537 โดยมุ่งเน้นนักลงทุนที่เป็นสถาบันเข้ามาลงทุนในตลาดนี้ [ตลาดทุน] |
Face value | มูลค่าตามหน้าตราสาร (มูลค่าที่ตราไว้), Example: มูลค่าของหลักทรัพย์ที่กำหนดระบุไว้บนใบตราสารซึ่งจะเป็นไปตามข้อกำหนดในหนังสือบริคณห์สนธิของแต่ละบริษัท มูลค่าที่ตราไว้เป็นข้อมูลที่แสดงให้ทราบถึงมูลค่าเงินลงทุนเริ่มแรกสำหรับหุ้นแต่ละหน่วย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการวิเคราะห์ทางบัญชี และใช้แสดงให้ทราบถึงทุนจดทะเบียนตามกฎหมาย เช่น ทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาท แบ่งเป็น 10 ล้านหุ้น มูลค่าตราไว้หุ้นละ 10 บาท เป็นต้น มูลค่าที่ตราไว้มีประโยชน์ในการกำหนดอัตราผลตอบแทนสำหรับผู้ถือหุ้นกู้ พันธบัตร และหุ้นบุริมสิทธิ เพราะดอกเบี้ยที่จ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นกู้ พันธบัตร รวมถึงเงินปันผลตอบแทนแก่ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิจะกำหนดเป็นอัตราร้อยละของมูลค่าที่ตราไว้ มูลค่าที่ตราไว้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับราคาตลาดที่ตกลงซื้อขายกันในตลาดหลักทรัพย์ ราคาตลาดจะถูกกำหนดขึ้นโดยภาวะอุปสงค์และอุปทานในตลาด ซึ่งเป็นไปตามปัจจัยพื้นฐานของหลักทรัพย์นั้น ๆ และสภาวะการซื้อขายในตลาด par value อาจเรียก face value (มูลค่าตามหน้าตราสาร) หรือ nominal value (มูลค่าที่กำหนดไว้) [ตลาดทุน] |
Par value | มูลค่าตามหน้าตราสาร (มูลค่าที่ตราไว้), Example: มูลค่าของหลักทรัพย์ที่กำหนดระบุไว้บนใบตราสารซึ่งจะเป็นไปตามข้อกำหนดในหนังสือบริคณห์สนธิของแต่ละบริษัท มูลค่าที่ตราไว้เป็นข้อมูลที่แสดงให้ทราบถึงมูลค่าเงินลงทุนเริ่มแรกสำหรับหุ้นแต่ละหน่วย ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการวิเคราะห์ทางบัญชี และใช้แสดงให้ทราบถึงทุนจดทะเบียนตามกฎหมาย เช่น ทุนจดทะเบียน 100 ล้านบาท แบ่งเป็น 10 ล้านหุ้น มูลค่าตราไว้หุ้นละ 10 บาท เป็นต้น มูลค่าที่ตราไว้มีประโยชน์ในการกำหนดอัตราผลตอบแทนสำหรับผู้ถือหุ้นกู้ พันธบัตร และหุ้นบุริมสิทธิ เพราะดอกเบี้ยที่จ่ายให้แก่ผู้ถือหุ้นกู้ พันธบัตร รวมถึงเงินปันผลตอบแทนแก่ผู้ถือหุ้นบุริมสิทธิจะกำหนดเป็นอัตราร้อยละของมูลค่าที่ตราไว้ มูลค่าที่ตราไว้ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับราคาตลาดที่ตกลงซื้อขายกันในตลาดหลักทรัพย์ ราคาตลาดจะถูกกำหนดขึ้นโดยภาวะอุปสงค์และอุปทานในตลาด ซึ่งเป็นไปตามปัจจัยพื้นฐานของหลักทรัพย์นั้น ๆ และสภาวะการซื้อขายในตลาด par value อาจเรียก face value (มูลค่าตามหน้าตราสาร) หรือ nominal value (มูลค่าที่กำหนดไว้) [ตลาดทุน] |
The Thai Bond Market Association | สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย, Example: ได้รับใบอนุญาตจัดตั้งเป็นสมาคมที่เกี่ยวเนื่องกับธุรกิจหลักทรัพย์ ภายใต้มาตรา 230 แห่งพระราชบัญญัติหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ พ.ศ. 2535 เพื่อทำหน้าที่หลักในการเป็นองค์กรกำกับดูแลสมาชิกและเป็นศูนย์รวมข้อมูลด้านตลาดตราสารหนี้ รวมถึงส่งเสริมและพัฒนาตลาดตราสารหนี้ [ตลาดทุน] |
Asset-backed financing | ตราสารสินเชื่อ [TU Subject Heading] |
Constitution | ตราสารจัดตั้ง [TU Subject Heading] |
Derivative securities | ตราสารอนุพันธ์ [TU Subject Heading] |
Documentary credit | สินเชื่อทางตราสาร [TU Subject Heading] |
Mortgage-backed securities | ตราสารหนี้หนุนโดยสินเชื่อที่อยู่อาศัย [TU Subject Heading] |
Negotiable instruments | ตราสารที่เปลี่ยนมือได้ [TU Subject Heading] |
credentials, letters of credence | " 1. อักษรสาส์นตราตั้ง พระราชสาส์นตราตั้ง (การทูต) หมายถึง หนังสือแต่งตั้งเอกอัครราชทูตจากประมุขของรัฐผู้ส่ง ถึงประมุขของรัฐผู้รับ 2. ตราสารแต่งตั้ง (ผู้แทนในการประชุมระหว่างประเทศ) " [การทูต] |
instrument of acceptance | ตราสารรับรอง " เป็นหนังสือรับรองว่ายินยอมที่จะผูกพันทางสนธิสัญญาหลังจาก ลงนามในสนธิสัญญาแล้ว " [การทูต] |
money market | ตลาดสำหรับการกู้ยืมเงินหรือให้สินเชื่อ รวมทั้งการซื้อขายตราสารทางการเงินในระยะสั้น (หากเป็นระยะยาวเรียกว่าตลาดทุน หรือ capital market) หน่วยงานที่ทำหน้าที่เป็นตลาดทางการเงินรวมทั้งการกำกับดูแลที่สำคัญได้แก่ ธนาคารพาณิชย์ บริษัทเงินทุน บริษัทประกันภัย [เศรษฐศาสตร์] |
Accrued Interest | ดอกเบี้ยค้างรับ คือ ดอกเบี้ยสะสมที่เกิดจากการลงทุน ในตราสารหนี้นับจากวันจ่ายดอกเบี้ยงวดล่าสุดจนถึงวันส่งมอบตราสาร [การเงิน-การลงทุน] |
Currency futures | ตราสารจากการซื้อขายเงินตราต่างประเทศล่วงหน้า [การบัญชี] |
Interest rate futures | ตราสารอัตราดอกเบี้ยล่วงหน้า [การบัญชี] |
Warrants | ตราสารแสดงสิทธิในการซื้อหุ้น [การบัญชี] |