ก้นปล่อง | น. ชื่อยุงในสกุล Anopheles วงศ์ Culicidae ที่พบทั่วไป เช่น ชนิด A. dirus Peyton & Harrison, A. minimusTheobald, A. maculatus Theobald ยุงเหล่านี้เวลาเกาะหรือดูดเลือดคนหรือสัตว์ หัวจะปักลง ก้นชี้ขึ้น ผนังด้านล่างของส่วนท้องไม่มีเกล็ด ทั้งเพศผู้และเพศเมียมีรยางค์ปากยื่นยาวออกมา ๑ คู่ ทำให้เหมือนกับมีปากเป็นสามแฉก เพศเมียดูดเลือดและบางชนิดเป็นพาหะในการนำโรคมาสู่คนและสัตว์ เช่น ไข้มาลาเรีย เพศผู้กินนํ้าหรือนํ้าหวานจากเกสรดอกไม้. |
กระจาบ | น. ชื่อนกขนาดเล็ก วงศ์ย่อย Ploceinae ในวงศ์ Ploceidae ปากหนารูปกรวย ปลายหางมน ขนหัวและขนตัวลาย ในฤดูผสมพันธุ์ขนหัวเพศผู้เปลี่ยนเป็นสีเหลือง มี ๓ ชนิด คือ กระจาบธรรมดาหรือกระจาบอกเรียบ[ Ploceus philippinus (Linn.) ] กระจาบอกลาย [ P. manyar (Horsfield) ] ทำรังด้วยหญ้าหรือฟางข้าวห้อยอยู่กับกิ่งไม้หรือต้นพืชน้ำเช่นกก ปากรังอยู่ด้านล่าง และกระจาบทอง [ P. hypoxanthu s (Sparrman) ] ทำรังด้วยหญ้าหรือฟางข้าวโอบหุ้มกิ่งไม้หรือใบพืชน้ำ ปากรังอยู่ทางด้านข้าง มักอยู่รวมกันเป็นหมู่ กินเมล็ดพืช. |
กระโฉม | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Limnophila rugosa (Roth) Merr. ในวงศ์ Scrophulariaceae ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะ ลำต้นและกิ่งอวบน้ำ สีม่วง ใบรูปไข่ ค่อนข้างหนา ด้านล่างมีขน ขอบหยักห่าง ๆ ก้านใบแบน ๆ โคนก้านโอบกิ่งหรือลำต้น ดอกเล็ก ๆ สีม่วงแกมชมพู กลางเหลือง ออกเป็นกระจุกที่ง่ามใบหรือปลายกิ่ง ทุกส่วนของไม้นี้มีกลิ่นหอม ใช้เป็นอาหาร และใช้ทำยาได้, ผักโฉม ก็เรียก เช่น ผักโฉมชื่อเพราะพร้อง เป็นโฉมน้องฤๅโฉมไหน (เห่เรือ). |
กระด้าง ๑ | ชื่อเห็ดหลายชนิดในวงศ์ Polyporaceae ขึ้นบนขอนไม้ เนื้อเหนียว กินไม่ได้ เช่น ชนิด Daedaleaopsis confragosa (Bolt. ex Fr.) Schroet. ดอกเห็ดรูปพัด สีน้ำตาลแดงสลับน้ำตาลอ่อน ผิวไม่เรียบ ด้านล่างมีรู เนื้อในเห็ดแข็ง. |
กระทุ | น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Rhodomyrtus tomentosa (Aiton) Hassk. ในวงศ์ Myrtaceae ขึ้นชุมตามป่าโปร่งทางปักษ์ใต้ ใบหนา สีเขียวแก่ ออกเป็นคู่ ๆ ตามกิ่ง บางทีออกเป็น ๓ ใบจากข้อเดียวกัน ด้านล่างของใบมีขนทึบสั้น ๆ ดอกสีชมพู สัณฐานคล้ายกุหลาบลาขนาดเล็ก ๆ ออกตามง่ามใบ ดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อ ๒-๓ ดอกก็มี ผลกลม เมื่อสุกสีม่วงดำ กินได้ มีรสหอมหวาน, ทุ พรวด พรวดใหญ่ หรือ พรวดกินลูก ก็เรียก. |
กระบือเจ็ดตัว | น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Excoecaria cochinchinensis Lour. ในวงศ์ Euphorbiaceae สูง ๑-๒ เมตร ใบด้านบนสีเขียว ด้านล่างสีแดงเลือดหมู ใช้ทำยาได้, ลิ้นกระบือ ก็เรียก, จันทบุรีเรียก ใบท้องแดง. |
กระเบน | น. ชื่อปลากระดูกอ่อนพวกหนึ่ง มีหลายชนิด หลายสกุล และหลายวงศ์ ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ลำตัวกว้างตั้งแต่ ๑๕-๓๐๐ เซนติเมตร ลำตัวแบนลงมาก และต่อเนื่องกับครีบอกแผ่ออกด้านข้าง บางชนิดแผ่ออกไปจดด้านหน้าและด้านท้ายเกือบเป็นวงกลมดูคล้ายจานหรือว่าว บางชนิดแผ่ยื่นด้านข้างออกไปเป็นปีกคล้ายนกหรือผีเสื้อ และบางชนิดครีบอกแผ่ไปไม่ถึงส่วนหน้า ทำให้หัวแยกจากลำตัวและส่วนยื่นของหัวเป็นลอน มีเหงือก ๕ คู่ อยู่ด้านล่างของส่วนหัว บริเวณถัดจากส่วนท้ายของนัยน์ตามีรูเปิดข้างละช่อง ซึ่งด้านในติดต่อกับโพรงเหงือกและปาก หางส่วนมากเรียว สั้นบ้างยาวบ้าง มักมีผิวหยาบหรือขรุขระ บางพวกมีเงี่ยงอยู่บนหางตอนใกล้ลำตัว และมีต่อมน้ำพิษอยู่บริเวณโคนเงี่ยง เมื่อใช้เงี่ยงแทงจะปล่อยน้ำพิษออกมาด้วย ทำให้คนหรือสัตว์ที่ถูกแทงรู้สึกปวด |
กวัก ๑ | (กฺวัก) น. ชื่อนกขนาดกลางชนิด Amaurornis phoenicurus (Pennant) ในวงศ์ Rallidae ลำตัวสั้น รูปร่างป้อม ขาและนิ้วยาว หน้าผากและด้านล่างลำตัวสีขาว อาศัยอยู่ตามหนองนํ้า เดินหากินบนพื้นดินหรือบนใบพืชนํ้า เช่น บัว จอก แหน ขณะเดินหางมักกระดกขึ้นกระดกลง ในตอนเช้าหรือพลบคํ่าร้องเสียงดัง “กวัก ๆ ”. |
กังสดาล | (-สะดาน) น. เครื่องตีให้เกิดเสียงอย่างหนึ่ง เป็นแผ่นโลหะหล่อจากสัมฤทธิ์หรือทองเหลือง รูปร่างคล้ายพัดที่คลี่ออก ด้านบนเจาะรูแขวน ด้านล่างเป็นวงโค้งคล้ายวงเดือน เช่น แว่วสำเนียงเสียงระฆังกังสดาล (อิเหนา). |
กันภัย, กันภัยมหิดล | น. ชื่อไม้เถาชนิด Afgekia mahidoliae Burtt et Chermsir. ในวงศ์ Leguminosae พบทางจังหวัดกาญจนบุรี ใบเป็นใบประกอบ ช่อหนึ่งมีใบย่อยหลายใบ ด้านล่างของใบมีขนสีนํ้าตาล ดอกเป็นช่อตั้ง สีขาวปนม่วง ฝักสั้นป้อมแบน ๆ ตั้งชื่อวิทยาศาสตร์เพื่อเฉลิมพระเกียรติแด่สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี. |
ก้ามปูหลุด | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Tradescantia zebrina Hort ex Bosse ในวงศ์ Commelinaceae ลำต้นเรียว และเป็นปล้อง ๆ เลื้อยไปตามดิน ใบสีเขียวหม่น ใบด้านบนมีแถบสีเทาคาดตามยาว ด้านล่างสีม่วงแดง ดอกสีชมพู. |
กุยเฮง | น. เสื้อแบบจีนชนิดหนึ่ง คอกลม ผ่าอกตลอด ติดกระดุม มีกระเป๋าด้านล่างข้างละกระเป๋า. |
แก๊ก | น. ชื่อนกเงือกชนิด Anthracoceros albirostris (Shaw) ในวงศ์ Bucerotidae เป็นนกเงือกขนาดเล็กที่สุดของไทย ปากและโหนกแข็งสีงาช้างคาดดำ ลำตัวสีดำ ท้องสีขาว ปีกสีดำขอบปีกสีขาว หางสีดำปลายหางด้านล่างสีขาว กินผลไม้และสัตว์ขนาดเล็ก, แกง ก็เรียก. |
ข้าวข้า | น. ชื่อไม้ล้มลุกมีหัวใต้ดินชนิด Euphorbia sessiliflora Roxb. ในวงศ์ Euphorbiaceae สูงประมาณ ๒๐ เซนติเมตร ต้นและใบอวบนํ้า เส้นกลางใบด้านล่างเป็นสันแหลม ทุกส่วนมียางขาว หัวใช้ทำยาได้, ว่านพระฉิม ก็เรียก, เขียนเป็น เข้าค่า ก็มี. |
ข้าวตอก ๒ | ชื่อเห็ดหลายชนิดในสกุล Hemimycena วงศ์ Tricholomataceae ขึ้นตามพื้นดินเป็นกลุ่มใหญ่ ดอกเห็ดสีขาวขนาดเท่าดอกมะลิบาน ด้านล่างมีครีบ ก้านยาวตั้งตรง เช่น ชนิด H. cucullata (Pers. ex Fr.) Sing. กินได้. |
แขวก | (แขฺวก) น. ชื่อนกยางขนาดกลางชนิด Nycticorax nycticorax (Linn.) ในวงศ์ Ardeidae หัวค่อนข้างโต คอสั้น ท้ายทอยมีขนหงอนคล้ายผมเปีย ๒-๓ เส้น ขนลำตัวด้านบนสีเขียวอมเทา ขนลำตัวด้านล่างสีขาว ขาสั้นกว่านกยางชนิดอื่น อยู่เป็นฝูง หากินในเวลากลางคืน กินปลาและสัตว์ขนาดเล็ก. |
ค่องอ้อย | น. ชื่อการพนันด้วยการทายความสั้นยาวของท่อนอ้อย โดยเอามีดสับคาไว้ที่ประมาณส่วนกลางลำอ้อย แล้วตั้งพิงไว้ให้ผู้เล่นทายว่าส่วนของท่อนอ้อยด้านบนกับด้านล่างของมีดยาวเท่ากันหรือสั้นยาวกว่ากันเท่าใด ผู้ใดทายได้ถูกต้องหรือใกล้เคียงที่สุดเป็นผู้ชนะ. |
ค้างคาว ๒ | ชื่อไม้เถาชนิด Passiflora lunata Willd. ในวงศ์ Passifloraceae ใบคล้ายปีกค้างคาว ด้านล่างของใบมีจุด ๓-๔ จุด ดอกกินได้. |
เคด, เค็ด | น. ชื่อไม้ต้นชนิด Catunaregum tomentosa (Blume ex DC.) Tirveng. ในวงศ์ Rubiaceae ลำต้นมีหนามยาว ใบรูปไข่กลับหรือค่อนข้างกลม ตามยอดอ่อนด้านล่างของใบและดอกมีขนนุ่ม ผลมีเนื้อหลายเมล็ด เช่น ปรูปรางเคดดวงดาษก็มี (ม. คำหลวง มหาพน), มะเค็ด ก็เรียก. |
โคน ๒ | น. ชื่อเห็ดหลายชนิดในสกุล Termitomyces วงศ์ Amanitaceae ขึ้นบริเวณจอมปลวก ดอกเห็ดรูปร่ม ยอดแหลม สีขาวนวลจนถึงนํ้าตาลดำ ด้านล่างมีครีบก้านยาวตั้งตรง โคนเรียวเล็กหยั่งลึกลงไปถึงรังปลวก กินได้ เช่น ชนิด T. fuliginosusHeim. |
จักจั่น ๑ | (จักกะ-) น. ชื่อแมลงในวงศ์ Cicadidae ลำตัวยาวตั้งแต่ ๒-๑๐ เซนติเมตร หัวและอกกว้าง ปีกมี ๒ คู่ เนื้อปีกส่วนใหญ่ใสเหมือนกันทั้ง ๒ คู่ เมื่อเกาะอยู่กับที่ปีกพับเป็นรูปหลังคาคลุมตัว มีปากชนิดเจาะดูด ตาโตเห็นได้ชัด เพศผู้มีอวัยวะทำเสียงอยู่ทางด้านล่างของส่วนท้องได้ยินไปไกล ส่วนใหญ่ลำตัวสีน้ำตาลเข้ม ที่พบบ่อยเป็นชนิด Dundubia intermerata Walker. |
จาบดิน | น. ชื่อนกขนาดเล็ก ในวงศ์ Timaliidae ปากเรียวแหลม ด้านบนลำตัวสีเขียวหรือน้ำตาลเรียบ คอหอยและด้านล่างลำตัวอาจมีลายจุด หากินตามไม้พื้นล่างของป่าหรือตามพื้นดิน กินแมลง ในประเทศไทยมี ๓ ชนิด คือ จาบดินสีน้ำตาลคอลาย [ Pellorneum albiventre (Godwin-Austen) ] จาบดินอกลาย (P. ruficepsSwainson) และจาบดินหัวดำ [ P. capistratum (Temminck) ]. |
ฉก ๒ | น. ชื่อปาล์มชนิด Arenga westerhoutiiGriff. ในวงศ์ Palmae ขึ้นตามป่าดิบชื้นทางภาคใต้ ใบด้านล่างเป็นคราบสีเทา ไม่ใคร่หักหรือพับ จั่นเป็นพวงห้อย ออกผลเป็นทะลายใหญ่, รังกับ รังไก่ หรือ หลังกับ ก็เรียก. |
ช้างแอฟริกา | น. ชื่อช้างชนิด Loxodonta africana (Blumenbach) รูปร่างสูงเพรียวกว่าช้างเอเชีย หัวเล็กลาดลงไปข้างหน้าถึงโคนงวง ปลายงวงทั้งด้านบนและด้านล่างมีจะงอยด้านละ ๑ จะงอย ใบหูใหญ่รูปคล้ายพัด มีงาทั้งตัวผู้และตัวเมีย หนังหยาบแข็ง มีขนสีดำทั่วตัวแต่ที่เห็นได้ชัดบริเวณตา ปลายหาง และมุมปาก ท้องป่อง หลังแอ่น นูนสูงขึ้นบริเวณท้ายลำตัว หางสั้น ขาหน้ามีเล็บข้างละ ๔ หรือ ๕ เล็บ ขาหลังมีเล็บข้างละ ๓ เล็บ แต่บางตัวมี ๔ เล็บ. |
เชิง ๑ | น. ตีนซึ่งเป็นฐานที่ตั้งของบางสิ่งบางอย่าง เช่น เชิงสะพาน เชิงเขา เชิงกำแพง, ชายหรือปลายของบางสิ่งบางอย่างที่ยื่นออกมา เช่น เชิงตะพาบนํ้า เชิงปลากราย เชิงเลน เชิงกลอน, ริมหรือชายด้านล่างของผ้าที่มีลวดลายเช่น เชิงผ้า เชิงผ้าซิ่น. |
ดาดตะกั่ว ๒ | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Hemigraphis alternataT. Anderson ในวงศ์ Acanthaceae ใบสีเทา ด้านล่างสีแดง ดอกเล็ก สีม่วงอ่อน ปลูกเป็นไม้ประดับ. |
ดีด ๒, ดีดขัน ๑ | น. ชื่อแมลงพวกด้วงหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Elateridae ลำตัวยาว แบนเล็กน้อย และเรียวไปทางหาง สีดำ นํ้าตาล หรือเทา บางชนิดมีจุดเป็นลาย แผ่นแข็งด้านล่างของอกปล้องแรกมีแกนยาวเป็นเครื่องดีด ซึ่งยึดโดยร่องของแผ่นแข็งด้านล่างของอกปล้องที่ ๒ ทำให้สามารถดีดตัวกลับได้เมื่อถูกจับให้หงายท้อง มีชื่อเรียกต่าง ๆ กัน เช่น ดีดกะลา คอลั่น ชนิดที่พบบ่อย เช่น ชนิด Agrypnus aegualiaCandèze ลำตัวยาวประมาณ ๒.๕ เซนติเมตร สีดำ. |
เด้าดิน | ชื่อนกขนาดเล็กชนิด Actitis hypoleucos (Linn.) ในวงศ์ Scolopacidae ด้านบนลำตัวสีน้ำตาลแกมเขียว ด้านล่างลำตัวสีขาว ปีกสีออกดำมีแถบสีขาวพาด เวลาเดินมักกระดกหางขึ้นลงตลอดเวลา กินแมลงและสัตว์น้ำ. |
ตะกรับ ๓ | (-กฺรับ) น. ชื่อปลาทะเลหรือนํ้ากร่อยชนิด Scatophagus argus (Linn.) ในวงศ์ Scatophagidae ลำตัวสั้น แบนข้าง หัวทู่ ปากเล็ก หางมน เกล็ดเล็กสากมือ สีพื้นลำตัวมีแตกต่างกันมาก อาจเป็นสีเขียว เทา หรือนํ้าตาล ครึ่งบนของลำตัวสีเข้มกว่าและมีแถบสีเทาเข้มหรือดำพาดขวางหลายแนว และแตกเป็นจุดที่ด้านล่างหรือเป็นแต้มเป็นจุดทั่วตัว ครีบต่าง ๆ มีสีเหลืองอ่อนอมเทา, กระทะ หรือ เสือดาว ก็เรียก. |
ตับเต่า ๑ | ชื่อเห็ดหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Boletaceae ขึ้นตามพื้นดินใต้พุ่มไม้ยืนต้นหลายชนิด ดอกเห็ดใหญ่ สีนํ้าตาลเข้ม ด้านล่างมีรูสีเหลืองอมเขียวหม่นไปจนถึงสีนํ้าตาลอมเขียวหม่น โคนก้านใหญ่ กินได้. |
ตาว ๒, ต๋าว | น. ชื่อปาล์มชนิด Arenga pinnata (Wurmb) Merr. ในวงศ์ Palmae ใบคล้ายใบมะพร้าว ด้านล่างมีนวลขาว จั่นเป็นพวงห้อย ให้นํ้าตาลอย่างมะพร้าว ออกผลเป็นทะลาย เนื้อในเมล็ดอ่อนเรียกว่า ลูกชิด เชื่อมกินได้. |
ตีนตุ๊กแก | ชื่อเห็ดชนิด Schizophyllum communeFr. ในวงศ์ Schizophyllaceae ขึ้นตามเปลือกไม้ ดอกเห็ดรูปพัดขอบจักม้วนลง สีขาวอมเทาอ่อน ด้านล่างมีครีบสีนํ้าตาลเข้ม เนื้อเหนียว กินได้, เห็ดข้าวตอก ก็เรียก, ปักษ์ใต้เรียก เห็ดแครง. |
ตีนเทียน | น. ชื่อนกขนาดกลางชนิด Himantopus himantopus (Linn.) วงศ์ย่อย Recurvirostrinae ในวงศ์ Charadriidae ปากสีดำและยาวเรียว ลำตัวด้านบนลายเขียว ด้านล่างสีขาว ขายาวสีแดง ตัวผู้หัวสีดำ ตัวเมียหัวสีขาว พบตามชายทะเลและชายฝั่งแม่นํ้า กินกุ้ง ปลา และแมลง. |
ตู้ ๑ | น. เครื่องเรือนสำหรับเก็บหรือใส่สิ่งของ มีรูปทรงสี่เหลี่ยม มีฝาด้านข้าง ด้านหลัง และด้านบน ด้านล่างมีพื้น ทางด้านหน้ามีบานปิดเปิดได้, โดยปริยายหมายถึงสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ตู้ยาม รถตู้. |
ถั่วแปบช้าง | น. ชื่อไม้เถาชนิด Afgekia sericea Craib ในวงศ์ Leguminosae พบทางภาคอีสาน ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อยหลายใบ ด้านล่างของใบมีขนสีขาวเป็นมันเลื่อม ดอกเป็นช่อตั้ง สีชมพู ฝักสั้นป้อม แบน ปลูกเป็นไม้ประดับ. |
ทองแดง ๒ | น. ชื่อจิ้งหรีดชนิด Teleogryllus mitratus (Burmeister) ในวงศ์ Gryllidae ตัวยาวประมาณ ๓ เซนติเมตร โดยทั่วไปสีนํ้าตาลทั้งตัว โดยเฉพาะด้านล่างของหัว อก ท้อง และขา ส่วนทางด้านหลังสีนํ้าตาลอมแดง. |
ท้ายน้ำ | น. บริเวณที่ระบายนํ้าออกทางด้านล่างของตัวเขื่อน, ท้ายเขื่อน ก็เรียก. |
ทึดทือ | น. ชื่อนกขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ ในวงศ์ Strigidae ตาสีเหลือง ตัวสีนํ้าตาลมีลายกระสีขาว ลำตัวด้านบนและปีกสีเข้มกว่าด้านล่าง ขนคิ้วยาวเห็นได้ชัด ขาไม่มีขน หากินในเวลากลางคืน กินปลาเป็นส่วนใหญ่ อาจกินหนูและสัตว์ขนาดเล็กอื่น ๆ บ้าง ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด คือ ทึดทือพันธุ์เหนือ [ Ketupa zeylonensis (Gmelin) ] และทึดทือมลายู [ K. ketupa (Horsfield) ]. |
บัว | ส่วนประกอบทางสถาปัตยกรรมที่ทำเป็นรูปกลีบบัว ติดอยู่บนหัวเสา เรียกว่า บัวหัวเสา หรือที่ส่วนล่างของฐานเป็นต้น เรียกว่า ฐานบัว, ส่วนประดับที่ใช้ในงานสถาปัตยกรรม ใช้ตกแต่งตรงส่วนขอบของพื้นผนังด้านล่างและด้านบน เพื่อประสานระหว่างพื้นที่ต่างระดับหรือพื้นที่ในแนวนอนกับแนวตั้ง เช่น เพดานกับผนัง พื้นกับผนัง ลักษณะเป็นแผ่นหรือแถบที่มีความกว้างตามความเหมาะสมของพื้นที่แต่ยาวทอดไปตามมุมหรือขอบ เช่น เชิงผนัง ขอบเพดาน อาจเป็นปูนที่ปั้นแต่งเป็นรูปแบบต่าง ๆ เป็นไม้แกะสลักหรือไสเซาะเป็นลวดลาย หรือเป็นไม้แถบขนาดเล็กไม่มีลวดลายที่ช่างทั่วไปมักเรียกว่า ไม้มอบ, ลวดบัว ก็เรียก, เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายดอกบัว เช่น โคมบัว |
พัดหน้านาง | น. พัดยศเปรียญหรือพระครูฐานานุกรมบางชั้นที่ต่ำกว่าพระครูวินัยธรและพระครูธรรมธร มีลักษณะกลมอย่างหน้านาง ด้านบนกลมมนโตกว่าด้านล่าง พื้นทำด้วยสักหลาด กำมะหยี่ อัตลัดสีต่าง ๆ ปักลวดลายต่างกันตามชั้นแห่งสมณศักดิ์, ถ้าเป็นพัดเปรียญ ๙ ประโยค พื้นทำด้วยตาดทอง. |
แฟ้ม | น. ภาชนะชนิดหนึ่ง สานด้วยไม้ไผ่หรือหวาย รูปร่างคล้ายฝาหอยแครงประกบเป็นคู่ ขอบปากตอนบนมีหูสำหรับสอดไม้คานเพื่อหาบไป ใต้หูมีห่วงและลูกสลักสำหรับขัดปาก ขอบด้านล่างถักพันให้ติดกันอย่างบานพับ ใช้ใส่เสบียงกรัง เช่น ปลาย่าง เนื้อเค็ม พริกแห้ง |
มุ้งกระโจม | น. มุ้งที่มีรูปร่างอย่างจอมแห ใช้แขวนจากเพดาน ให้ชายด้านล่างคลุมเตียงหรือที่นอนจนถึงพื้นโดยรอบ. |
แมงกะพรุน | น. ชื่อสัตว์นํ้าไม่มีกระดูกสันหลังหลายชนิดในไฟลัม Cnidaria ลำตัวคล้ายร่ม ลักษณะเป็นวุ้น ปากอยู่ด้านล่าง มีอวัยวะคล้ายหนวดรอบปาก เช่น แมงกะพรุนจาน หรือแมงกะพรุนหนัง ซึ่งกินได้ ส่วนแมงกะพรุนถ้วย แมงกะพรุนไฟ และแมงกะพรุนลาย มีพิษ, กะพรุน ก็เรียก. |
แมงคาเรือง | น. ชื่อตะขาบหลายชนิดที่สามารถผลิตสารเรืองแสงลักษณะเป็นเมือกเหนียว ๆ ออกมาจากรูเล็ก ๆ จำนวนมากอยู่ทางด้านล่างของลำตัวในแต่ละปล้องเมื่อถูกรบกวนหรือมีสิ่งเร้า ส่วนใหญ่อยู่ในสกุล Geophilus วงศ์ Geophilidae เช่น ชนิด G. electricus (Linn.) ขนาดเล็กเท่าก้านไม้ขีด ยาว ๓.๕-๔.๕ เซนติเมตร มีจำนวนปล้อง ๓๐-๖๖ ปล้องหรือมากกว่า ขายาวกว่าความยาวของปล้องมาก อาศัยอยู่ตามที่รกรุงรัง กองขยะมูลฝอย ฯลฯ กินสัตว์อื่น, แมงคา ก็เรียก. |
แม่ม่ายลองไน | น. ชื่อจักจั่นขนาดใหญ่ที่มีแถบสีดำ ขาว เหลือง หรือส้มพาดขวางเด่นตามลำตัวและปีก เฉพาะเพศผู้มีอวัยวะทำเสียงบริเวณด้านล่างของส่วนท้อง เสียงนั้นก้องได้ยินไปไกล มีหลายชนิด ชนิดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย คือ ชนิด Tosena melanoptera (White) ในวงศ์ Cicadidae เมื่อหุบปีกวัดจากหัวถึงปลายปีกยาว ๙-๑๐ เซนติเมตร, ลองไน ก็เรียก. |
รวงผึ้ง ๒ | น. ชื่อไม้ต้นขนาดเล็กชนิด Schoutenia glomerata King subsp. peregrina (Craib) Roekm. ในวงศ์ Tiliaceae ใบออกเรียงสลับกัน ด้านล่างสีขาว ดอกสีเหลือง ออกเป็นช่อสั้น ๆ ตามง่ามใบ ปลูกเป็นไม้ประดับ, นํ้าผึ้ง หรือ ดอกนํ้าผึ้ง ก็เรียก. |
ระนาดทุ้ม | น. ระนาดที่มีเสียงนุ่มนวลกว่าระนาดเอก ลูกระนาดเช่นเดียวกับระนาดเอก แต่มีขนาดใหญ่และยาวกว่า ปรกติมี ๑๗ ลูก ปากรางระนาดเว้าโค้งขึ้นคล้ายปากเปลญวน ด้านล่างตัดตรงขนานกับพื้น มีเท้าเล็ก ๆ ตรงมุม ๔ เท้า ไม้ตีใช้แต่ไม้นวมอย่างเดียว. |
รักหมู | น. ชื่อไม้ต้นชนิด Semecarpus albescens Kurz ในวงศ์ Anacardiaceae ขึ้นตามริมนํ้าในป่าเบญจพรรณและป่าดิบ ใบเดี่ยว เรียงสลับ แผ่นใบด้านล่างขาว, กุกขี้หมู หรือ รักขี้หมู ก็เรียก. |
ลม ๓ | น. ชื่อเห็ดชนิด Lentinus polychrous Lév. ในวงศ์ Polyporaceae ขึ้นบนขอนไม้ผุ ดอกเห็ดรูปปากแตร ด้านบนมีเกล็ดสีนํ้าตาลอ่อน ด้านล่างมีครีบสีนํ้าตาลแดง เนื้อเหนียว กินได้. |
ลวดบัว | น. ส่วนประดับที่ใช้ในงานสถาปัตยกรรม ใช้ตกแต่งตรงส่วนขอบของพื้นผนังด้านล่างและด้านบน เพื่อประสานระหว่างพื้นที่ต่างระดับหรือพื้นที่ในแนวนอนกับแนวตั้ง เช่น เพดานกับผนัง พื้นกับผนัง ลักษณะเป็นแผ่นหรือแถบที่มีความกว้างตามความเหมาะสมของพื้นที่แต่ยาวทอดไปตามมุมหรือขอบ เช่น เชิงผนัง ขอบเพดาน อาจเป็นปูนที่ปั้นแต่งเป็นรูปแบบต่าง ๆ เป็นไม้แกะสลักไสเซาะเป็นลวดลาย หรือเป็นไม้แถบขนาดเล็กไม่มีลวดลายที่ช่างทั่วไปมักเรียกว่า ไม้มอบ, บัว ก็เรียก. |