* | เครื่องหมาย asterisk (ดอกจัน) เป็นอักขระตัวหนึ่ง มีอยู่บนแผงแป้นอักขระ เมื่อนำมาใช้ในคำสั่งระบบดอส สัญลักษณ์ * จะใช้แทนตัวอักษรใด ๆ ก็ได้ กี่ตัวก็ได้ (wildcards) ใช้เมื่อต้องการอ้างถึงชื่อแฟ้มข้อมูล เช่นถ้าใช้ A*.* หมายความถึง แฟ้มข้อมูลทุกแฟ้มที่มีชื่อขึ้นต้นด้วยอักษร A และจะมีนามสกุลอะไรก็ได้ หรือถ้าใช้ *.COM ก็หมายความ ถึงแฟ้มข้อมูลทุกแฟ้มที่มีนามสกุล COM ถ้าใช้ *.* ก็จะหมายถึงทุกแฟ้มข้อมูลที่มีอยู่ในสารบบ หรือในจานบันทึก ดู wildcards ประกอบ |
acronym | (แอค' โรนิม) n. คำย่อจากพยัญชนะตัวแรกหลายคำ. -acronymic adj. คำย่อรัสพจน์หมายถึง คำย่อที่เกิดจากการนำอักษรตัวแรก หรือกลุ่มอักษรบางตัวมาสร้างขึ้นเป็นคำใหม่ประกอบด้วยอักขระตั้งแต่สองตัวขึ้นไป นิยมออกเสียงเหมือนคำปกติ เช่น DOS ซึ่งเอาอักษร D มาจากคำว่า Disk อักษร O มาจาก คำ Operating และ S มาจากคำว่า System คำนี้จะอ่านออกเสียงว่า "ดอส" แทนที่จะอ่านว่า ดีโอเอส คำย่อประเภทนี้ นิยมใช้กันมากใน วงการคอมพิวเตอร์ เช่น BASIC ซึ่งย่อมาจาก Beginner's All-purpose Symbolic Instruction Code ก็อ่านว่า "เบสิก" |
asterisk | (แอส'เทอริสคฺ) n. เครื่องหมายดอกจันทร์ (*) , สิ่งที่มีลักษณะคล้ายดาว. -vt. ใส่เครื่องหมายดอกจันทร์หรือดาว ดอกจัน <คำแปล>* <เครื่องหมาย>เป็นอักขระตัวหนึ่ง มีอยู่บนแผงแป้นอักขระ เมื่อนำมาใช้ในคำสั่งระบบดอส สัญลักษณ์ * จะใช้แทนตัวอักษรใด ๆ ก็ได้ กี่ตัวก็ได้ (wildcards) ใช้เมื่อต้องการอ้างถึงชื่อแฟ้มข้อมูล เช่นถ้าใช้ A*.* หมายความถึง แฟ้มข้อมูลทุกแฟ้มที่มีชื่อขึ้นต้นด้วยอักษร A และจะมีนามสกุลอะไรก็ได้ หรือถ้าใช้ *.COM ก็หมายความ ถึงแฟ้มข้อมูลทุกแฟ้มที่มีนามสกุล COM ถ้าใช้ *.* ก็จะหมายถึงทุกแฟ้มข้อมูลที่มีอยู่ในสารบบ หรือในจานบันทึก ดู wildcards ประกอบ |
attribute | (อะทริบ'บิวทฺ) vt. ให้เหตุผลว่า, ถือเอา, อ้างเหตุผล. -n. คุณลักษณะ. -attributer, attributor n. -attribution n., Syn. assign, consider, quality ลักษณะประจำหมายถึง คุณสมบัติของสิ่งใดสิ่งหนึ่งที่มีลักษณะพิเศษ มีการเน้นความแตกต่างจากของอื่นในประเภทเดียวกัน เช่น ถ้าเป็นแฟ้มข้อมูลในระบบดอส จะมีลักษณะประจำต่างกันเป็น 4 อย่าง คือ แฟ้มข้อมูลที่มีการจัดเก็บเป็นระเบียบ archive แฟ้มที่อ่านได้อย่างเดียว แก้ไขไม่ได้ read only แฟ้มที่ไม่แสดงตัว hidden และแฟ้มระบบ system หรือถ้าต้องการหาคำใดคำหนึ่ง เช่น ในโปรแกรมประมวลผลคำ นอกจากจะบอกคอมพิวเตอร์ว่าสะกดอย่างไรแล้ว อาจบอกเพิ่มเติมว่า ...เป็นคำที่ใช้แบบอักษร Times New Roman ขนาด 14 จุด ข้อความที่บ่งบอกคุณสมบัติเพิ่มเติมไปนี้ก็เรียกว่า " attribute " ทั้งสิ้น |
backslash | \ (อักขระ) <เครื่องหมาย>หมายถึงสัญลักษณ์ \ เครื่องหมายนี้ดูเผิน ๆ คล้ายกับ / (slash) แต่กลับทิศทางกัน บางคนคิดว่าเหมือนกัน แต่ความหมายจะแตกต่างกันมาก ในระบบดอส สัญลักษณ์นี้ใช้แยกระหว่างชื่อสารบบ (directory) กับชื่อแฟ้มข้อมูล (file) เช่น DIR C:\Taksina\June.xlsคำสั่งข้างบนนี้เป็นคำสั่งให้แสดงแฟ้มข้อมูลชื่อ June.xls ซึ่งอยู่ภายใต้สารบบชื่อ Taksina และเก็บอยู่ในหน่วยบันทึก C: |
bundled software | โปรแกรมโหลหมายถึง ซอฟต์แวร์ หรือโปรแกรมที่ร้านขายคอมพิวเตอร์ มักจะให้มา เมื่อซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ ส่วนมากจะเป็นเป็นโปรแกรมที่จำเป็นต้องใช้ เช่น โปรแกรมระบบดอสและวินโดว์แล้ว |
case sensitivity | การบังคับใช้ตัวเล็ก/ตัวใหญ่หมายถึง ความแตกต่างระหว่างการใช้ตัวใหญ่และตัวเล็กของตัวอักษรในภาษาอังกฤษ โปรแกรมบางโปรแกรมหรือระบบบางระบบจะบังคับว่า ต้องใช้ตัวใหญ่ทั้งหมด หรือตัวเล็กทั้งหมด มิฉะนั้นเครื่องจะไม่เข้าใจ เช่น ชื่อโปรแกรมภาษาฟอร์แทรน (FORTRAN) หรือ ระบบยูนิกซ์ (UNIX) จะบังคับให้ใช้ตัวใหญ่เท่านั้น ส่วนระบบดอสและวินโดว์ไม่บังคับ กล่าวคือ ใช้ตัวเล็กก็ได้ตัวใหญ่ก็ได้ |
cd | abbr. ธาตุ cadmium, แผ่นซีดี ย่อมาจาก compact disk แปลตามตัวอักษรว่า จานบันทึกอัดแน่น มีลักษณะเป็นแผ่นจานกลม ๆ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 12 ซม. ใช้เป็นที่เก็บข้อมูล จานบันทึกนี้มีความจุสูงมาก (ประมาณ 600ล้านตัวอักษร) ปัจจุบันมีอุปกรณ์ใช้อ่านข้อมูลจากจานบันทึกนี้ได้ แต่การบันทึกข้อมูลลง ยังทำไม่ได้ง่าย ๆ ต้องมีเครื่องพิเศษเฉพาะ บันทึกได้ทั้งข้อมูลธรรมดา เพลง ภาพยนตร์ ปัจจุบันเป็นที่นิยมใช้มาก เพราะราคาถูก ความจุสูง แต่ยังติดขัดในปัญหาบางประการในเรื่องการบันทึกข้อมูลลง ดู CD ROM ประกอบ 2. ย่อมาจากคำ Change Directory เป็นคำสั่งในระบบดอสที่สั่งให้เข้าไปในสารบบ (directory) ใดสารบบหนึ่ง หรือออกจากสารบบใดสารบบหนึ่ง เช่น C:/>CD <ชื่อสารบบ> \ (หมายความว่าให้เข้าไปในสารบบชื่อนั้น) C:> CD\ (หมายความว่า ให้ออกจากสารบบที่อยู่) |
cls | (ซีแอลเอส) ย่อมาจาก close เป็นคำสั่งหนึ่งมีใช้ทั้งในระบบดอสและระบบวินโดว์ (อยู่ใต้เมนู FILE) ในระบบดอส จะเป็นการล้างสิ่งที่พิมพ์บนจอภาพทั้งหมด ส่วนในระบบวินโดว์ จะมีความหมายว่าปิดการแสดงวินโดว์นั้น |
com- | 1. Pref. รวมกัน, ด้วยกัน, อย่างสมบูรณ์, Syn. co-, 2. คอม 1. ย่อมาจาก COMmunication port หมายถึงช่องที่ใช้สำหรับต่อออกจากเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น เมื่อจะหมุนเลขหมายโทรศัพท์บนคอมพิวเตอร์ผ่านโมเด็ม คอมพิวเตอร์ก็จะต้องรับรู้กันให้ได้ว่า ช่องที่ติดต่อกับโมเด็มนั้นคือช่องไหน กำหนดได้หลายช่องเรียกว่า COM1, COM2 2. ใช้เป็นนามสกุล file type ของแฟ้มข้อมูลในดอสและโอเอสทูว่า .COM เพื่อแสดงว่าเป็นแฟ้มข้อมูลกระทำการ executive program หรือโปรแกรมประเภทเดียวกับ .EXE เช่น FORMAT.COM COMMAND.COM 3. ย่อมาจาก computer output on microfilm ไมโครฟิล์มจากคอมพิวเตอร์ หมายถึง เทคโนโลยีในการนำข้อมูลจากเอกสารหรือผลที่คอมพิวเตอร์ประมวลได้ไปเก็บไว้ในไมโคร ฟิล์ม แล้วสามารถส่งสัญญาณออกมาให้อ่านได้ทางจอภาพ ในการบันทึกเก็บลงในไมโคร ฟิล์มนั้น จะต้องทำผ่านเลนส์ ซึ่งจะย่อส่วนลงประมาณ 24 หรือ48 เท่า ฟิล์มหนึ่งกรอบจะสามารถเก็บข้อมูลได้เต็มหน้าจอภาพ แล้วก็จะเลื่อนต่อไปอีกหนึ่งกรอบ การบันทึกจะสามารถทำด้วยความเร็วอย่างน้อย 120, 000 ตัวอักษรต่อวินาที |
command.com | คอมมานด์จุดคอม (ชื่อแฟ้มระบบ) เป็นชื่อแฟ้มข้อมูลแฟ้มหนึ่งในระบบดอส ซึ่งบรรจุคำสั่งระบบต่าง ๆ เช่น dir, copy, del จานบันทึกที่นำมาจัดรูปแบบการเก็บข้อมูลด้วยคำสั่ง format A:/s แล้ว จะมีแฟ้มข้อมูลนี้อยู่ในแผ่น A: แฟ้มข้อมูลนี้ จะนำมาใช้เป็นแผ่นเริ่มต้นเปิดเครื่อง (boot) ได้ ถ้าใช้คำสั่ง Format ในระบบวินโดว์ ต้องกากบาทที่ช่องสี่เหลี่ยมหน้าคำ system disk ด้วย จึงจะมีแฟ้มข้อมูลนี้ (จานบันทึกที่ไม่มีแฟ้มข้อมูลนี้ ใช้เก็บแฟ้มข้อมูลได้อย่างเดียว จะนำมาสั่งให้เริ่มเครื่อง (boot) ไม่ได้) |
compression | (คัมเพรส'เชิน) n. การอัด, การบีบ, การกด, ผลจากการถูกอัด, ความกดดัน, ภาวะที่ปริมาตร (ในห้องเครื่อง) ต่ำลงและความกดดันของอากาศสูงขึ้นก่อนการเผาไหม้., Syn. compressure การอัดแน่นหมายถึง นำข้อมูลหรือคำสั่งจำนวนมาก ๆ มาอัดให้แน่น เพื่อ ให้ใช้ที่เก็บในหน่วยความจำ หรือจานบันทึกน้อยลง โดยปกติ จะมีโปรแกรม หรือคำสั่ง ในดอส 6.0 ที่สามารถอัดโปรแกรม ใหญ่ ๆ ที่กินเนื้อที่มาก ๆ ให้เหลือน้อยลง เพื่อจะได้เก็บลงในแผ่นจานบันทึกได้ จานบันทึกชนิดอ่อน floppy disk ในปัจจุบัน มีความสูงสุด 1.44 เมกะไบต์ ฉะนั้น ถ้าแฟ้มข้อมูลใหญ่มาก ก็จะไม่สามารถเก็บลงในแผ่นได้ จึงต้องจัดการอัดให้แน่นเสียก่อน อย่างไรก็ตาม เมื่อจะเรียกมาใช้ จะต้องนำมาคลายออกก่อน เรียกว่า "decompress" การอัดแน่นก็ดี การคลายคืนก็ดี จะต้องมีโปรแกรมเฉพาะจัดทำให้ ในระบบดอส นิยมใช้ PKZip/Unzip ในระบบ Windows 95 โปรแกรมที่นิยมชื่อ WinZip ในระบบยูนิกซ์ ใช้ Gunzipดู expand, decompress เปรียบเทียบ |
config.sys | แฟ้มโครงแบบย่อมาจาก configuration system เป็นชื่อแฟ้มข้อมูลที่ใช้ในระบบดอสและโอเอสทูซึ่งจะมีข้อความที่กำหนดในเรื่องการใช้แป้นพิมพ์ จำนวนของบัฟเฟอร์ ที่เครื่องคอมพิวเตอร์ระบบนั้นจะใช้ ฯ พอเริ่มใช้ไมโครคอมพิวเตอร์ไปสักพัก ก็จะต้องเรียนรู้วิธีการสร้างแฟ้มข้อมูลนี้ คอมพิวเตอร์จะแฟ้มข้อมูลนี้เฉพาะเมื่อมีการเริ่มเครื่องใหม่เท่านั้น |
current directory | สารบบปัจจุบัน <คำแปล>สารบบที่กำลังใช้อยู่ <คำแปล>หมายถึงสารบบ (directory) ที่กำลังใช้งานอยู่ในขณะนั้น ในขณะใดขณะหนึ่งจะมี สารบบปัจจุบันได้เพียงสารบบเดียว ในระบบดอสการย้ายเข้า/ออกจากสารบบปัจจุบัน ใช้คำสั่ง CD..... ดู cd |
cursor | ตัวชี้ตำแหน่งในระบบดอส หมายถึง สัญลักษณ์บนจอภาพที่มักจะมีแสงวาบ ๆ บางทีเรียกว่า "ตัวกระพริบ" เพื่อชี้ให้รู้ว่า ตำแหน่งของการพิมพ์อักขระตัวต่อไปจะอยู่ที่ใด ในระบบ วินโดว์ตัวชี้ตำแหน่งจะมีลักษณะเป็นรูปลูกศร แต่ในโปรแกรมบางโปรแกรม อาจมีรูปลักษณ์เป็นอย่างอื่น เช่น กากบาท มือ ฯ |
defrag | นำ (แฟ้มข้อมูล) มาต่อกันในฮาร์ดดิสก์นั้น เมื่อมีการสั่งบันทึกข้อมูลลงไปแล้วมาสั่งลบภายหลัง จะทำให้มีที่ว่างเกิดขึ้นเป็นหย่อม ๆ ฉะนั้น เมื่อมีการนำแฟ้มข้อมูลใหม่บันทึกลงไป คอมพิวเตอร์ก็จะจัดการแบ่งข้อมูลใหม่นี้ให้ได้สัดส่วนพอดีกับช่องที่ว่างอยู่ก่อน ทำให้แฟ้มข้อมูลเดียวถูกเก็บเป็นหย่อม ๆ การเก็บแฟ้มข้อมูลในลักษณะนี้ เรียกว่า เป็นการกระจาย (fragmentation) โปรแกรมระบบดอสรุ่น 6.0 จึงมีคำสั่ง "defrag" ซึ่งจะช่วยจัดการนำแฟ้มข้อมูลเดียวกันมาเรียงให้ติดต่อกัน เพื่อให้การค้นคืนแฟ้มทำได้รวดเร็วขึ้น ในระบบวินโดว์ ก็จะต้องสั่งให้มีการนำแฟ้มมาต่อกันนี้เป็นครั้งคราวเสมอ |
delete | (ดิลีท') vt. ลบออก, เอาออก ลบทิ้งลบออกลบ1. หมายถึง แป้นสำหรับสั่งให้ลบทิ้ง การกดแป้นนี้ จะทำให้ลบตัวอักขระที่ตัวชี้ตำแหน่ง (cursor) นำอยู่ออก ตัวอักขระที่อยู่ถัดไปจะเลื่อนขึ้นมาทางซ้ายอีกตำแหน่งหนึ่งตามกันมาเป็นกระบวน2. ในความหมายทางคอมพิวเตอร์ที่แท้จริงนั้น หมายถึง การลบข้อความหรือข้อมูล หรือระเบียน ออกจากแฟ้มข้อมูล (file) หรือฐานข้อมูล (database) 3. ในระบบดอส ใช้เป็นคำสั่งลบชุดคำสั่ง (program) หรือแฟ้มข้อมูล (file) ที่เก็บไว้ในจานบันทึก (disk) เช่นเดียวกับคำสั่ง ERASE อาจใช้ตัวย่อว่า DEL ก็ได้ เช่น A>DEL* . BASมีความหมายเหมือน erase |
dir | เป็นคำสั่งหนึ่งในระบบปฏิบัติการดอส ที่สั่งให้คอมพิวเตอร์แสดงชื่อ สารบบ และแฟ้มข้อมูลทั้งหมดในสารบบหรือในจานบันทึก |
disk operating system | ระบบปฏิบัติการแบบใช้จานโปรแกรมระบบที่ทำหน้าที่สั่งการให้เครื่องไมโครคอมพิวเตอร์ทำงาน ถ้าจะแปลให้ตรงตัว ก็จะเรียกได้ว่า เป็นระบบปฏิบัติการแบบที่ใช้จานบันทึกข้อมูล เรามักจะใช้คำย่อที่เป็นที่รู้จักกันดีว่า DOS (อ่านว่า ดอส) ส่วนระบบปฏิบัติการของคอมพิวเตอร์เครื่องใหญ่ เรียกว่า OS อ่านว่า โอเอส (Operating System) ระบบปฏิบัติการที่ใช้กับไมโครคอมพิวเตอร์ประเภทเทียบเคียงกับไอบีเอ็ม (IBM compatibles) หรือพีซี (PC) จะใช้ "ดอส" ที่เขียนโดยบริษัทไมโครซอฟต์ นิยมเรียกกันว่าMS-DOS หรือ Microsoft DOS ส่วนระบบปฏิบัติการที่ใช้กับคอมพิวเตอร์แมคอินทอช มีชื่อว่า System 6 หรือ 7 |
disk partition | การแบ่งส่วนของจานบันทึกหมายถึง การแบ่งฮาร์ดดิสก์ออกเป็นส่วน ๆ ตั้งแต่สองส่วนขึ้นไป โดยอาจกำหนดให้ส่วนหนึ่งใช้ระบบดอส และวินโดว์ และอีกส่วนหนึ่งใช้ระบบ โอเอส/ทู |
dos | (ดอส) ย่อมาจาก disk operating system (ระบบปฏิบัติการแบบใช้จาน) หมายถึง ซอฟต์แวร์ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับกับการจัดการควบคุมแผ่นบันทึก (disk) หรือที่เรียกว่าระบบปฏิบัติการ (OS) ดอสที่ใช้เฉพาะกับไมโครคอมพิวเตอร์ (ดอสที่ใช้กับเมนเฟรมก็มี เป็นของบริษัทไอบีเอ็ม) |
dos prompt | (ดอสพรอมพท์) หมายถึง สัญลักษณ์ > ที่แสดงบนจอภาพ ในช่วงที่ยังไม่ได้เข้าไปในโปรแกรมใดโปรแกรมหนึ่ง ดอส พรอมพท์ ทั่ว ๆ ไปจะมีลักษณะเหมือนเครื่องหมายมากกว่า เช่น C:\> หรือ C:\windows\system> ซึ่งแปลความได้ว่า " นี่คือเครื่องคอมพิวเตอร์ ฉันพร้อมแล้วที่จะทำงาน จะให้ทำอะไรก็บอกมาเลย" แล้วก็พิมพ์คำสั่งลงไปได้ที่หลังเครื่องหมายนี้ |
dosser | (ดอส'เซอะ) n. ตะกร้าใส่ของสำหรับหิ้วไว้ด้านหลัง, สิ่งประดับผนังกำแพง., Syn. dorser |
dossier | (ดอส'เซียร์) n. เอกสารเรื่องราวเดียวกันที่เก็บรวมกัน, เรื่องเดิม, แผงเอกสาร -pl. dossiers |
edlin | (เอ็ดลิน) เป็นชื่อโปรแกรมประเภท line editor ที่รวมอยู่ในโปรแกรมระบบดอส รุ่น 5.0 หรือรุ่นต่ำกว่านี้ ถ้าเป็นรุ่น 6.0 จะไม่มีโปรแกรมนี้แล้ว (ปัจจุบันไม่มีใครใช้แล้ว) ดู editor ประกอบ |
end of file | สิ้นสุดแฟ้มใช้ตัวย่อว่า EOF เป็นสัญลักษณ์พิเศษ ที่จะบอกให้รู้ว่า ถึงจุดสิ้นสุดของแฟ้มข้อมูลแล้ว สำหรับแฟ้มข้อมูลภายใต้โปรแกรมระบบดอส การกดแป้น CTRL+Z จะทำให้ได้สัญลักษณ์ที่โปรแกรมจะรู้ว่าเป็น "จุดสิ้นสุดของแฟ้มข้อมูล" แล้ว หากไม่มีสัญลักษณ์นี้ โปรแกรมจะไม่ทราบว่าข้อมูลที่ต้องการ สิ้นสุดตรงไหนมีความหมายเหมือน end of job |
eof | (อีโอเอฟ) ย่อมาจาก end of file (แปลว่าสิ้นสุดแฟ้ม) เป็นสัญลักษณ์พิเศษที่จะบอกให้รู้ว่า ถึงจุดสิ้นสุดของแฟ้มข้อมูลแล้ว สำหรับแฟ้มข้อมูลภายใต้โปรแกรมระบบดอส การกดแป้น CTRL+Z จะทำให้ได้สัญลักษณ์ที่โปรแกรมจะรู้ว่าเป็น "จุดสิ้นสุดของแฟ้มข้อมูล" แล้ว หากไม่มีสัญลักษณ์นี้ โปรแกรมจะไม่ทราบว่าข้อมูลที่ต้องการ สิ้นสุดตรงไหน |
exe | อีเอกซ์อีย่อมาจากคำว่า executable file ใช้เป็นนามสกุล (file type) ของแฟ้มข้อมูลในระบบดอสและ โอเอส/ทู แฟ้มที่มีนามสกุลดังกล่าวนี้ จะเป็นแฟ้มข้อมูลที่เป็นตัวโปรแกรมแท้ ๆ และจะเป็นตัวปฏิบัติการ แฟ้มข้อมูลอื่น ๆ นอกจากนั้นจะเป็นเพียงแฟ้มประกอบ เช่น โปรแกรมสำเร็จ Microsoft Excel จะประกอบด้วยแฟ้มข้อมูลหลายสิบแฟ้ม แต่แฟ้มที่เป็นตัวปฏิบัติการคือแฟ้ม Excel.exe ถ้ากดเมาส์ที่ชื่อแฟ้มข้อมูลนี้ก็จะเท่ากับเป็นการสั่งเรียกโปรแกรมนั้นให้เริ่มทำงาน มีลักษณะคล้ายแฟ้มข้อมูลที่นามสกุล .COM |
executable file | แฟ้มกระทำการในระบบดอสและ โอเอส/ทู แฟ้มประเภทนี้เป็นแฟ้มข้อมูลที่เป็นตัวโปรแกรมแท้ ๆ และจะเป็นตัวกระทำการ แฟ้มข้อมูลอื่น ๆ นอกจากนั้นจะเป็นเพียงแฟ้มประกอบ เช่น โปรแกรมสำเร็จ Microsoft Excel จะประกอบด้วยแฟ้มข้อมูลหลายสิบแฟ้ม แต่แฟ้มที่เป็นตัวกระทำการคือแฟ้ม Excel.exe ถ้ากดเมาส์สองทีที่แฟ้มข้อมูลนี้ก็จะเท่ากับเป็นการสั่งให้โปรแกรมนั้นเริ่มทำงาน แฟ้มประเภทนี้จะใช้นามสกุล (file type) ว่า .exe มีลักษณะคล้ายแฟ้มข้อมูลที่นามสกุล .COM |
expanded memory | หน่วยความจำส่วนขยายหมายถึง หน่วยความจำที่เพิ่มเข้ามาภายหลัง วิธีเพิ่มหน่วยความจำแบบนี้คอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบดอส นิยมใช้อยู่ก่อนจะมีการนำชิป (chip) 80286 มาใช้ หน่วยความจำนี้เป็นหน่วยความจำต่างหากที่บริษัทที่ผลิตคอมพิวเตอร์ทำเป็นรายการแถมให้ เพิ่มจากหน่วยความจำ 640 K ที่ใช้อยู่เดิม ไม่ใช่นำหน่วยความจำเดิมมาทำให้ใหญ่ขึ้น เป็นหน่วยความจำคนละหน่วย แต่คอมพิวเตอร์สามารถเรียกข้อมูลจากหน่วยความจำนี้ได้รวดเร็ว จนทำให้ผู้ใช้รู้สึกเหมือนกับว่าเป็นหน่วยความจำเดียวกัน |
extended memory specifica | ข้อกำหนดหน่วยความจำแบบขยายใช้ตัวย่อว่า XMS (อ่านว่า เอกซ์เอ็มเอส) เป็นมาตรฐานการจัดการเกี่ยวกับหน่วยความจำแบบหนึ่งที่ยอมให้โปรแกรมระบบดอส เข้าถึงส่วนความจำขยายได้ โปรแกรมในดอสที่จัดการเรื่องนี้ มีชื่อว่า Himem.Sys |
extension | (อิคซฺเทน'เชิน) n. การขยายออก, การยืดออก, การแผ่ออก, สิ่งที่ขยายออก, โทรศัพท์พ่วง นามสกุลในระบบดอส หมายถึง ตัวอักษรสามตัวที่อยู่หลังชื่อแฟ้มข้อมูล เนื่องจากอยู่ในตอนท้ายของชื่อ จึงนิยมเรียกกันว่า"นามสกุล" โดยปกติ คอมพิวเตอร์จะใช้นามสกุลนี้เป็นตัวบอกประเภทของแฟ้มข้อมูล จะมีจุดคั่นระหว่างชื่อและนามสกุล เช่น ถ้าแฟ้มข้อมูลที่เป็นภาษาปาสกาล (Pascal) ก็จะมีนามสกุล .PAS ถ้าเป็นแฟ้มภาษาเบสิก ก็จะมีนามสกุล .BAS อย่างนี้เป็นต้น หรือถ้าเป็นแฟ้มข้อมูลสำรอง ก็มักจะใช้นามสกุลว่า .BAK ผู้ใช้คอมพิวเตอร์ควรต้องรู้ว่า นามสกุลอะไร บอกว่าเป็นแฟ้มข้อมูลประเภทไหน โดยเฉพาะนามสกุล .exe, .com, .bin, .doc, .bat ซึ่งจะต้องพบ บ่อย ๆ มีความหมายเหมือน file type |
fat | แฟ็ตย่อมาจาก file allocation table (แปลว่า ตารางการจัดสรรแฟ้ม) ใช้ในระบบดอส หมายถึงส่วนหนึ่งของจานบันทึกที่เป็นตารางสำหรับเก็บชื่อ ขนาด ความจุ และที่อยู่ของแฟ้มข้อมูลต่าง ๆ ที่อยู่ในจานบันทึกนั้น |
file allocation table | ตารางการจัดสรรแฟ้มใช้ตัวย่อว่า FAT (อ่านว่า แฟ็ต) ใช้ในระบบดอส หมายถึงส่วนหนึ่งของจานบันทึกที่เป็นตารางสำหรับเก็บชื่อ ขนาด ความจุ และที่อยู่ของแฟ้มข้อมูลต่าง ๆ ที่อยู่ในจานบันทึกนั้น |
file handle | รหัสเข้าสู่แฟ้มหมายถึง รหัสลับที่ใช้เป็นทางเข้าสู่แฟ้มข้อมูลในระบบดอส โดยปกติ เรา เพียงบอกแต่ชื่อแฟ้มข้อมูลที่ต้องการเปิด คอมพิวเตอร์ก็จะจัดการให้ แต่ถ้าเป็นเรื่องลับ เราอาจสั่งให้ คอมพิวเตอร์นำชื่อไปแปลงเป็นตัวเลขก่อน ตัวเลขเหล่านี้ เรียกว่า " file handle" การเข้าสู่แฟ้มข้อมูล ต้องใช้รหัส เหล่านั้นเท่านั้น |
file name | ชื่อแฟ้ม (ข้อมูล) แฟ้มข้อมูลก็ดี โปรแกรมหรือชุดคำสั่งก็ดี จะต้องมีชื่อที่ ไม่ซ้ำกัน เพื่อให้ผู้ใช้ติดต่อสั่งงานกับคอมพิวเตอร์ได้เมื่อ ต้องการ เรียกใช้ระบบปฏิบัติการแต่ละระบบ จะมีข้อกำหนด กฎเกณฑ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับการตั้งชื่อแฟ้มข้อมูลไว้ เป็นต้นว่า ระบบดอสและวินโดว์ มีข้อกำหนดว่า ชื่อของแฟ้ม ข้อมูล จะต้องยาวไม่เกิน 8 ตัวอักขระ (ตัวอักษรหรือตัวเลข) ต้องขึ้นต้นด้วยตัวอักษร ต้องไม่มีช่องว่าง ฯ และที่สำคัญที่สุด คือตั้งชื่อเป็นภาษาไทยไม่ได้โดยเด็ดขาด นอกจากนั้น อาจจะต้องมีนามสกุล (filetype) ซึ่งต้องประกอบด้วย 3 ตัวอักษร ส่วนระบบของแมคอินทอช มีข้อจำกัดน้อยกว่านั้น มาก เช่น จะใช้ภาษาไทยก็ได้ |
filetype | ชื่อประเภทแฟ้มข้อมูลหมายถึงส่วนหนึ่งของชื่อแฟ้มข้อมูล โดยปกติในระบบดอส จะเขียนมีขนาดความยาวไม่เกิน 3 ตัวอักขระ เช่น EXAM. BAS BAS จะบ่งบอกว่าเป็นแฟ้มข้อมูลที่เขียนด้วยภาษาเบสิก |
filter | (ฟิล'เทอะ) n. ที่กรอง, กระดาษกรอง, สารที่ใช้กรอง, บุหรี่ก้นกรอง. vt. กรองออก, กรอง vi. กรอง. adj. เกี่ยวกับบุหรี่ก้นกรอง., See also: filterer n., Syn. strainer, sieve, sift ตัวกรองหมายถึง โปรแกรมที่ใช้ในการเปลี่ยนรูปแบบ format การเก็บข้อมูลหรือภาพให้ เป็นรูปแบบที่ต้องการใช้ ส่วนมากโปรแกรมนี้จะมีแทรกอยู่ในโปรแกรมประเภทประมวลผลคำ หรือโปรแกมการจัดพิมพ์ ฯ ที่มักจะมีการโอนแฟ้มข้อมูล ประเภทอื่น เช่น จากโปรแกรม dBASE หรือ Lotus เข้ามา ถ้าไม่มีตัวกรองเตรียมไว้ ก็จะโอนเข้ามา ไม่ได้ นอกจากนั้น ยังเป็นคำสั่งในระบบปฏิบัติการ คำสั่งหนึ่งที่สั่งให้ประมวลผล ข้อมูลเสียก่อนที่จะทำอย่างอื่นต่อไป ตัวกรองของระบบดอส จะประกอบด้วยคำสั่ง More, Find, และ Sort คำสั่ง More เป็นคำสั่งให้แสดงผลไปเรื่อย ๆ จอภาพ ก็จะเลื่อนไปเรื่อย ๆ เพื่อแสดงผลต่อไปจนกว่าจะหมด find เป็นคำสั่งให้หาแฟ้มข้อมูลที่ต้องการ และ sort ก็เป็น คำสั่งให้เรียงลำดับแฟ้มข้อมูลที่ใช้รหัสแอสกี ASCII |
format | (ฟอร์'แมท) n. รูปแบบ, แผนการรวมทั้งหมด, Syn. plan, layout รูปแบบจัดรูปแบบ1. หมายถึงรูปแบบการเก็บข้อมูลของโปรแกรมสำเร็จแต่ละโปรแกรม โปรแกรม Word Perfect และโปรแกรม WordStar แม้จะเป็นโปรแกรมประมวลผลคำเหมือนกัน แต่รูปแบบการเก็บข้อมูลก็ไม่เหมือนกัน 2. FORMAT เป็นคำสั่งหนึ่งในระบบดอส และระบบวินโดว์ ที่ใช้เพื่อเตรียมจัดรูปแบบจานบันทึกใหม่ ๆ ไว้สำหรับเก็บข้อมูลหรือโปรแกรม จานบันทึกของแมคอินทอชกับจาน บันทึกของพีซี จะกำหนดรูปแบบการเก็บข้อมูลไม่เหมือนกัน ฉะนั้น หากนำจานบันทึกที่จัดรูปแบบด้วยคำสั่ง "FORMAT" ของระบบดอสไปใช้กับเครื่องแมคอินทอช หน่วยบันทึกก็จะไม่รับ เพราะอ่านไม่ได้ หรือบันทึกข้อมูลลงเก็บไม่ได้ |
fragmentation | การแยกส่วนหมายถึง อาการอย่างหนึ่งที่มักจะเกิดขึ้นกับฮาร์ดดิสก์ที่ ใช้มาเป็นเวลานานแล้ว ในฮาร์ดดิสก์นั้น เมื่อมีการสั่งบันทึก ข้อมูลลงไป แล้วมาสั่งลบภายหลัง ก็จะทำให้มีที่ว่างเกิดขึ้นเป็นหย่อม ๆ ฉะนั้น เมื่อมีการนำแฟ้มข้อมูลใหม่ บันทึกลงไป คอมพิวเตอร์ก็จะจัดการ แบ่งแฟ้มใหม่นี้ให้ได้ สัดส่วนพอดีกับช่องที่ว่างอยู่ก่อน บางที แฟ้มเดียวกันจึงต้อง ถูกเก็บเป็นหย่อม ๆ การเก็บแฟ้มข้อมูลในลักษณะนี้ เรียกว่า เป็นการเก็บแยกส่วน ในโปรแกรมระบบดอสรุ่น 6.0 จะมีคำสั่ง "DE FRAG" ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหา ในเรื่องนี้ได้ |
function keys | แป้นกำหนดหน้าที่หมายถึง แป้นพิเศษกลุ่ม หนึ่งที่มักจะถูกจัดไว้ให้อยู่แถวบน สุดของแป้นพิมพ์ (บางทีก็อยู่ ด้านซ้ายมือ) ปกติจะมีอยู่ราว ๆ 10-15 แป้น บนแป้นจะมีตัวอักษร F ตามด้วยเลขตั้งแต่ 1-15 (แล้วแต่ว่ามีกี่แป้น) แป้นเหล่านี้จะถูกกำหนด หน้าที่ เฉพาะ ให้ใช้แทนคำสั่งบางคำสั่งได้เลย เช่น ในระบบดอส แป้น F3 จะใช้แทนคำสั่ง copy ได้ เป็นต้น |
hfs | (เอชเอฟเอส) ย่อมาจาก hierarchical file system (แปลว่า ระบบการเก็บแฟ้มข้อมูลตามลำดับชั้น) เป็นระบบที่ช่วยทำให้จัดเก็บแฟ้มข้อมูลเป็นกลุ่ม วิธีการเก็บแบบนี้ เป็นการเก็บแฟ้มข้อมูลไว้ในโฟลเดอร์ (folder) เราจะเห็นสัญรูป (icon) ของโฟลเดอร์ต่าง ๆ นี้บนจอภาพ และเมื่อเปิดเข้าไปในแต่ละโฟลเดอร์ ก็จะมองเห็นแฟ้มข้อมูล หรืออาจจะมีโฟลเดอร์ย่อย (subfolder) อยู่ภายในโฟลเดอร์อีกทีหนึ่ง การเก็บแฟ้มในระบบนี้ ผู้ใช้เข้าใจได้ง่ายกว่าเรื่อง สารบบ (directory) และสารบบย่อย (subdirectory) ของดอส เพราะเห็นภาพชัดเจนกว่า |
hidden file | แฟ้มที่ซ่อนไว้ในระบบดอส และวินโดว์ จะมีแฟ้มข้อมูลบางประเภทที่ไม่ปรากฏขึ้นบนจอให้เห็นเมื่อใช้คำสั่ง DIR หรือ โปรแกรม File Manager ของวินโดว์ 3.1 หรือ Windows Explorer ของวินโดว์95 โปรแกรมสำเร็จหลายโปรแกรมจะมีแฟ้มข้อมูลประเภทนี้เพื่อกันมิให้มีการคัดลอก) อย่างไรก็ตาม การที่จะให้แฟ้มข้อมูลใดเป็นแฟ้มประเภทนี้ เราสามารถกำหนดได้โดยใช้คำสั่ง ตัวอย่างแฟ้มที่ซ่อนไว้ของโปรแกรมระบบดอส คือ IO.SYS และ MSDOS.SYS เป็นต้น |
hierarchical file system | ระบบการเก็บแฟ้มข้อมูลตามลำดับชั้นใช้ตัวย่อว่า HFS เป็นระบบที่ช่วยทำให้จัดเก็บแฟ้มข้อมูลเป็นกลุ่ม วิธีการเก็บแบบนี้ เป็นการเก็บแฟ้มข้อมูลไว้ในโฟลเดอร์ (folder) เราจะเห็นสัญรูป (icon) ของโฟลเดอร์ต่าง ๆ นี้บนจอภาพ และเมื่อเปิดเข้าไปในแต่ละโฟลเดอร์ ก็จะมองเห็นแฟ้มข้อมูล หรืออาจจะมีโฟลเดอร์ย่อย (subfolder) อยู่ภายในโฟลเดอร์อีกทีหนึ่ง การเก็บแฟ้มในระบบนี้ ผู้ใช้เข้าใจได้ง่ายกว่าเรื่อง สารบบ (directory) และสารบบย่อย (subdirectory) ของดอส เพราะเห็นภาพชัดเจนกว่า |
high memory area | เขตปฏิบัติการหน่วยความจำสูงใช้ตัวย่อว่า HMA หมายถึงขนาดของหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบดอส (เดิมมี 64 K) ที่สามารถนำมาขยายเพิ่มขึ้นให้เกิน กว่า 1 เมกะไบต์ได้ |
hma | (เอชเอ็มเอ) ย่อมาจากคำว่า high memory area (เขตปฏิบัติการหน่วยความจำสูง) หมายถึงขนาดของหน่วยความจำของคอมพิวเตอร์ที่ใช้ระบบดอส (เดิมมี 64 K) ที่สามารถนำมาขยายเพิ่มขึ้นให้เกิน กว่า 1 เมกะไบต์ได้ |
indocile | (อินดอส'เซิล) adj. ไม่เชื่อง, สอนยาก, ฝึกยาก, ดื้อ |
initialize | เริ่มต้นหมายถึง การเตรียมการให้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์ต่าง ๆ พร้อมที่จะทำงานได้ การเริ่มต้นในอุปกรณ์ส่วนใดก็จะลบล้างข้อมูลเก่าที่บรรจุไว้ที่ส่วนนั้นหมดไป สำหรับเครื่องแมคอินทอช คำ "intialize" จานบันทึก มีความหมายเหมือนคำ format ในระบบดอส กล่าวคือ แปลว่า จัดเตรียมรูปแบบการบันทึก หมายถึง กำหนดแทร็ก (track) และเซ็กเตอร์ (sector) ให้มีความหมายเหมือนคำ format |
kudos | (คู'โดซ, -ดอส) n. การสรรเสริญ, ความรุ่งโรจน์ |
lost cluster | ส่วนตกค้างหมายถึง ส่วนของแฟ้มข้อมูลที่ยังเหลือค้างอยู่ในจานบันทึก แม้ว่าแฟ้มตาราง แสดงรายการข้อมูลจะไม่บ่งบอกว่ามีเหลืออยู่ก็ตาม การที่เป็นเช่นนี้ อาจเป็นเพราะในขณะที่มีการคัดลอกแฟ้มข้อมูลลงไปในแผ่นจานบันทึก ไฟเกิดตก แต่บางทีก็หาสาเหตุไม่พบ โดยปกติ เราอาจใช้คำสั่ง Chkdsk/F ซึ่งเป็นคำสั่งในระบบปฏิบัติการดอส สั่งลบส่วนที่เหลือออกให้หมด จะได้มีที่ว่างไว้เก็บแฟ้มอื่นได้ |