ขนมเบื้องญวน | น. อาหารว่างแบบญวนชนิดหนึ่ง ใช้วิธีกลอกแป้งลงในกระทะให้บางกรอบใส่ไส้มีกุ้งเป็นต้นแล้วพับ ๒. |
ฉลอมท้ายญวน | น. ชื่อเรือใบเดินทะเลรูปท้ายตัด ใช้ทางทะเลด้านตะวันออก. |
ญวน ๑ | น. ชื่อประเทศและชนชาติหนึ่งอยู่ทางทิศใต้ของประเทศจีน และทางทิศตะวันออกของประเทศลาวและเขมร, ปัจจุบันเรียกว่า เวียดนาม. |
ญวนหก | น. การแสดงกายกรรมอย่างหนึ่ง. |
ญวน ๒ | <i>ดู ใบขนุน (๑)</i>. |
เบื้องญวน | น. ชื่ออาหารว่างแบบญวนชนิดหนึ่ง ใช้วิธีกลอกแป้งในกระทะให้บางกรอบ ใส่ไส้มีกุ้งเป็นต้นแล้วพับ ๒ อีกชนิดหนึ่งผสมแป้งกับไข่ กลอกแป้งในกระทะ ใส่ไส้แล้วพับเป็นสี่เหลี่ยม ทอดน้ำมันอีกครั้งหนึ่ง เรียกว่า ขนมเบื้องญวน, กินกับอาจาด. |
เปลญวน | น. เปลที่ถักด้วยป่านเป็นตาโปร่ง. |
แป้งญวน | น. แป้งข้าวเจ้า. |
กงเต๊ก | น. การทำบุญให้แก่ผู้ตายตามพิธีของนักบวชนิกายจีนและญวน มีการสวดและเผากระดาษที่ทำเป็นรูปต่าง ๆ มีบ้านเรือน คนใช้ เป็นต้น. |
กลอก | (กฺลอก) ก. เคลื่อนหรือขยับเขยื้อนกลับไปกลับมาภายในเขตของสิ่งนั้น ๆ เช่น กลอกตา กลอกหน้า, ทำให้เคลื่อนวนกลับไปกลับมา เช่น กลอกแป้งขนมเบื้องญวน กลอกไข่, ทำให้มีอาการเช่นนั้น เช่น กลอกนํ้าร้อนในถ้วยเพื่อให้เย็น. |
กินเจ, กินแจ | ก. ถือศีลอย่างญวนหรือจีน โดยกินอาหารจำพวกผักล้วน ไม่มีเนื้อสัตว์. |
กี๋ | ภาชนะมีรูปต่าง ๆ สำหรับใส่เครื่องนํ้าชาแบบจีน เช่น กี๋ญวน. |
เข้ารีต | น. เรียกผู้เปลี่ยนไปถือคริสต์ศาสนาส่วนใหญ่เป็นนิกายโรมันคาทอลิก ว่า ผู้เข้ารีต เช่น ญวนเข้ารีต. |
คณานุกรม | น. ฐานานุกรมของเจ้าคณะใหญ่และรองเจ้าคณะใหญ่ฝ่ายพระสงฆ์จีนและพระสงฆ์ญวน. |
ฉลาง | ชื่อผ้าที่มีลายชนิดหนึ่ง เรียกว่า ผ้าลายฉลาง เช่น พวกโขลนเลวลายฉลางกับริ้วญวน (ขุนช้างขุนแผน). |
ใบขนุน | น. ชื่อปลาทะเลขนาดเล็กถึงขนาดกลางชนิด <i>Lactarius lactarius</i> (Bloch & Schneider) ในวงศ์ Lactariidae ลำตัวกว้าง แบนข้าง หัวโต ปากกว้างและเชิดขึ้น เกล็ดหลุดง่าย มีครีบหลัง ๒ ตอน ตอนที่ ๒ ยาวและมีลักษณะคล้ายครีบก้นซึ่งอยู่ตรงข้ามและยาวกว่าเล็กน้อย ลำตัวสีเงินตลอด ที่ขอบด้านบนของแผ่นปิดเหงือกมีจุดสีดำเด่น ครีบต่าง ๆ สีเหลืองอ่อน พบตลอดชายฝั่ง ขนาดยาวได้ถึง ๔๐ เซนติเมตร, ขนุน ญวน ซับขนุน หรือ สาบขนุน ก็เรียก. |
ปลาม้ำ | น. ปลาร้าญวน ทำด้วยปลาดิบหมักเกลือ ใส่ข้าวคั่ว ใช้เป็นเครื่องจิ้ม. |
พระ | นักบวช เช่น พระไทย พระแขก พระฝรั่ง พระจีน พระญวน |
มหายาน | น. ชื่อนิกายในพระพุทธศาสนาฝ่ายเหนือที่นับถือกันในทิเบต จีน ญี่ปุ่น เกาหลี และญวน เป็นต้น, อาจริยวาท ก็ว่า. |
มั้ม | น. ปลาร้าญวน ทำด้วยปลาดิบหมักเกลือใส่ข้าวคั่ว เรียกว่า ปลามั้ม. |
ระนาดทุ้ม | น. ระนาดที่มีเสียงนุ่มนวลกว่าระนาดเอก ลูกระนาดเช่นเดียวกับระนาดเอก แต่มีขนาดใหญ่และยาวกว่า ปรกติมี ๑๗ ลูก ปากรางระนาดเว้าโค้งขึ้นคล้ายปากเปลญวน ด้านล่างตัดตรงขนานกับพื้น มีเท้าเล็ก ๆ ตรงมุม ๔ เท้า ไม้ตีใช้แต่ไม้นวมอย่างเดียว. |
ระนาดเอก | น. ระนาดที่มีเสียงแกร่งกว่าระนาดทุ้ม ลูกระนาดโดยมากทำด้วยไม้ไผ่บง ไม้ชิงชัน หรือไม้มะหาด ฝานหัวท้ายและท้องตอนกลาง โดยปรกติมี ๒๑ ลูก รางระนาดมีรูปทรงคล้ายเปลญวน หัวตัดท้ายตัด มีเท้ารูปสี่เหลี่ยมคล้ายเชิงขันรับอยู่ใต้รางสำหรับตั้ง ไม้ตีมี ๒ อย่าง คือ ไม้แข็งใช้เมื่อต้องการเสียงแกร่งกร้าว และไม้นวมเมื่อต้องการเสียงเบาและนุ่มนวล. |
หมูแนม | น. ชื่ออาหารว่าง มีหลายแบบ เช่น หมูแนมสด (แบบปลาแนม) หมูแนมแข็ง หมูแนมญวน, หมูแนมสดทำด้วยเนื้อหมูไม่ติดมันบดหรือโขลกรวมกับข่าและแป้งแดงจีน ทำให้สุกด้วยการผัดในน้ำสะเออะให้เนื้อหมูกระจายแล้วผสมด้วยมันหมูแข็งและหนังหมูต้มสุกหั่นชิ้นเล็ก ๆ ยาว ๆ ข้าวคั่วป่นเป็นต้น ปรุงรสเปรี้ยว เค็มและหวาน รับประทานกับผักสด เช่น ใบทองหลาง ใบผักกาดหอม, หมูแนมแข็งต้องห่อหมูที่โขลกหรือบดและผสมเครื่องปรุงแล้วด้วยใบทองหลางที่ซ้อนบนใบตอง มัดแน่น เก็บไว้ ๓ วัน จึงปิ้งทั้งห่อ แกะออกรับประทานกับผักและน้ำจิ้ม หรือรับประทานแบบเมี่ยงเครื่องสด, หมูแนมญวนใช้เนื้อหมูล้วนสับ ใส่เกลือรวนให้สุก ใส่ยอดสะระแหน่และแตงกวาหั่น แล้วห่อด้วยข้าวเกรียบแก้ว ตัดเป็นคำ ๆ รับประทานกับน้ำจิ้มและผักต่าง ๆ. |
หลวง ๑ | คำเรียกพระภิกษุโดยความเคารพ เช่น หลวงปู่ หลวงพี่ หลวงน้า, คำเรียกพระจีน พระญวน ว่า หลวงจีน หลวงญวน. |
อง | น. คำนำหน้านามของบุคคลซึ่งเป็นเชื้อพระวงศ์ของกษัตริย์ญวน เช่น องเชียงสือ องเชียงชุน, คำนำหน้าสมณศักดิ์พระสงฆ์อนัมนิกายชั้นปลัดขวาปลัดซ้ายและพระคณานุกรม เช่น องสรภาณมธุรส องสุตบทบวร. |
อนัม | น. ญวน, ใช้ว่า อนำ อานำ หรือ อานัม ก็มี. |
อนำ | น. ญวน, ใช้ว่า อนัม อานัม หรือ อานำ ก็มี. |
อบเชย | น. ชื่อไม้ต้นหลายชนิดในสกุล <i> Cinnamomum</i> วงศ์ Lauraceae ใช้ทำยาและปรุงนํ้าหอม เช่น อบเชยญวนหรือฝนแสนห่า [ <i> C. bejolghota</i> (Buch.-Ham.) Sweet ], อบเชยจีน (<i> C. aromaticum</i> Nees), อบเชยเทศ (<i> C. verum</i> J. Presl). |
ออกภาษา | น. เพลงที่บรรเลงขับร้องทำนองออกสำเนียงภาษาต่างชาติ เช่น ออกภาษาแขก จีน ญวน ซึ่งนิยมใช้บรรเลงต่อท้ายเพลง ๓ ชั้นหรือเพลงเถา, ถ้าบรรเลงครบ ๑๒ ภาษา เรียกว่า ออกสิบสองภาษา. |
อานัม | น. ญวน, ใช้ว่า อนำ อนัม หรือ อานำ ก็มี. |
อานำ | น. ญวน, ใช้ว่า อนำ อนัม หรือ อานัม ก็มี. |