กระซุง | น. พนักงาน, ตำแหน่ง. (พจน). |
ชักซุงตามขวาง | ก. ทำอะไรที่ไม่ถูกวิธีย่อมได้รับความลำบาก |
ชักซุงตามขวาง | ขัดขวางผู้มีอำนาจย่อมได้รับความเดือดร้อน. |
ซุง ๑ | น. ต้นสักที่โค่นแล้วตัดกิ่งก้านออกก่อนแปรรูป, ขอนสัก. |
ซุง ๒ | น. ต้นไม้ขนาดใหญ่ที่โค่นแล้วตัดกิ่งก้านออกก่อนแปรรูป เช่น อย่าเอาไม้ซีกไปงัดไม้ซุง. |
ซุง ๓ | น. เชือกที่ยาวประมาณ ๓ เท่าของอกว่าว ผูกปลายทั้ง ๒ กับอกว่าวให้ห่างกันพอสมควรสำหรับต่อกับสายป่าน เพื่อให้ว่าวทรงตัวตรงเมื่อต้านลม. |
ไม้ซุง | น. ต้นไม้ขนาดใหญ่ที่ตัดเป็นท่อน ๆ ก่อนแปรรูป. |
เอาไม้ซีกไปงัดไม้ซุง | ก. คัดค้านผู้ใหญ่ ผู้มีฐานะสูงกว่า หรือผู้มีอำนาจมากกว่าย่อมไม่สำเร็จ และอาจได้รับผลร้ายแก่ตัวอีกด้วย. |
กระดาน ๑ | น. ไม้ซุงที่เลื่อยออกเป็นแผ่น ๆ |
กลิ้ง ๑ | (กฺลิ้ง) ก. อาการอย่างของกลมพลิกเลื่อนไปตามพื้น เช่น ซุงกลิ้ง ครกกลิ้ง ลูกหินกลิ้ง, ทำให้ของกลมพลิกเลื่อนไปตามพื้น เช่น กลิ้งครก กลิ้งซุง กลิ้งลูกหิน |
กะดี่ | ก. ดีดหรืองัดของหนักขึ้น เช่น กะดี่ซุง กะดี่เสา. |
กินหน้า, กินหลัง, กินหาง | ว. ลักษณาการของว่าวที่สายซุงบนสั้น เรียกว่า กินหน้า, ที่สายซุงบนยาว เรียกว่า กินหลัง, ที่เสียหางตัวเอง เรียกว่า กินหาง. |
โกลน | เรียกเรือที่ทำจากซุงเพียงเปิดปีกเจียนหัวเจียนท้ายเป็นเลา ๆ พอให้มีลักษณะคล้ายเรือแต่ยังไม่ได้ขุด ว่า เรือโกลน. |
ขมวดยา | (ขะหฺมวด-) น. ชื่อเรือที่ขุดขึ้นจากซุงทั้งต้น ใหญ่กว่าเรือกราบ รูปร่างค่อนข้างเพรียว หัวและท้ายเรือเสริมไม้ต่อเป็นโขนงอนเชิดขึ้น ด้านข้างหัวเรือเขียนลวดลายด้วยนํ้ายาสีต่าง ๆ วางกระทงขวางลำสำหรับคนนั่งพายได้ประมาณ ๕๐ คน เป็นเรือตามเสด็จในการเสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพยุหยาตราชลมารคหรือเสด็จพระราชดำเนินลำลองทางชลมารค ใช้เป็นเรือกันหรือเรือพิฆาตได้, โขมดยา ก็ว่า. |
ขอนสัก | น. ซุงไม้สัก, ลำต้นไม้สักที่ตัดเป็นท่อนยาวก่อนแปรรูป. |
ขุด | เรียกเรือชนิดที่ทำด้วยไม้ซุงทั้งต้นหรือทั้งท่อน ขุดด้านบนให้เป็นรางแล้วเบิกปากออกให้กว้าง ถากหัวและท้ายเรือให้เรียวเชิดขึ้นตามส่วน ว่า เรือขุด |
โขมดยา | (ขะโหฺมด-) น. ชื่อเรือที่ขุดขึ้นจากซุงทั้งต้น ใหญ่กว่าเรือกราบ รูปร่างค่อนข้างเพรียว หัวและท้ายเรือเสริมไม้ต่อเป็นโขนงอนเชิดขึ้น ด้านข้างหัวเรือเขียนลวดลายด้วยนํ้ายาสีต่าง ๆ วางกระทงขวางลำสำหรับคนนั่งพายได้ประมาณ ๕๐ คน เป็นเรือตามเสด็จในการเสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพยุหยาตราชลมารคหรือเสด็จพระราชดำเนินลำลองทางชลมารค ใช้เป็นเรือกันหรือเรือพิฆาตได้, ขมวดยา ก็ว่า. |
คัด ๑ | งัดให้เผยอหรือเคลื่อนที่ เช่น คัดไม้ซุง, ใช้พายหรือแจวงัดนํ้าออกจากตัว ตรงข้ามกับ วาดเรือ |
งัด | ก. ทำให้เผยอหรือเคลื่อนที่โดยใช้วัตถุยาวคัด เช่น งัดตะปู งัดซุง |
จมูก | (จะหฺมูก) น. อวัยวะส่วนหนึ่งที่ยื่นออกมา อยู่เหนือปาก มีรู ๒ รู สำหรับดมกลิ่นและหายใจเข้าหายใจออก, (ปาก) ตมูก ก็ว่า, ราชาศัพท์ว่า พระนาสิก พระนาสา โดยปริยายเรียกสิ่งที่ยื่นออกมาคล้ายจมูก, เรียกสิ่งที่เจาะเป็นรู ๒ รูเพื่อร้อยเชือกเป็นต้น เช่น จมูกซุง. |
จั่น ๒ | เรียกประตูนํ้าอย่างโบราณที่ใช้ไม้ซุงขวางกัน ว่า ปากจั่น. |
จำปา | อุปกรณ์สำหรับว่าวจุฬาใช้คว้าว่าวปักเป้า ทำด้วยผิวไม้ไผ่ประมาณ ๔-๕ ชิ้น ยาวประมาณคืบเศษ เหลาปลายให้แหลมงอนเหมือนดอกจำปา แล้วผูกรวมกันเป็นพูติดกับสายป่านต่อจากหน้าซุง |
เจาะจมูก | ก. เจาะด้านหัวและท้ายของซุงเป็นรูปสามเหลี่ยมคล้ายจมูกห่างจากหัวไม้ประมาณ ๗๕ เซนติเมตร กว้างประมาณ ๑๒.๕ เซนติเมตร แล้วเอาลวดหรือหวายร้อยเข้ากับคานแพซึ่งเป็นไม้ยาว ๆ ขวางลำกับท่อนซุงเพื่อผูกเป็นแพ. |
แซ | น. เรือที่ขุดขึ้นจากซุงทั้งต้น รูปร่างเช่นเดียวกับเรือกราบแต่เพรียวน้อยกว่า ใช้ในการลำเลียงพล ศัสตราวุธ ยุทโธปกรณ์ และเสบียงกรัง อาจใช้เป็นเรือทุ่นหรือทำหน้าที่อื่นได้. |
ต๋ง ๒ | ก. อาการที่เอาเชือกผูกของหนัก ๆ เช่นเรือนแพ แพซุง ยึดหรือพันไว้กับหลักเป็นต้นบนตลิ่งแล้วค่อย ๆ ผ่อนไป, เอาเชือกเป็นต้นผูกของหนัก ๆ เช่นเสาไว้แล้วค่อย ๆ พยุงให้ตั้งขึ้นแล้วผ่อนลงหลุม, ขัดไว้ไม่ให้เลื่อนหลุดออกอย่างขัดไม้ขันชะเนาะ. |
ทับแพ | น. เพิงพักชั่วคราวบนแพไม้ไผ่หรือแพซุง. |
ปากจั่น | น. ประตูน้ำอย่างโบราณที่ใช้ไม้ซุงขวาง. |
ปีกไม้ | น. ปีกทั้ง ๔ ข้างของซุงที่เลื่อยเปิดออก. |
เปิดปีก | ก. เลื่อยเปิดข้างไม้ซุงแผ่นแรกของทั้ง ๔ ด้านให้เป็นสี่เหลี่ยม. |
แปรรูป | เรียกไม้ซุงที่เลื่อยเปิดปีกแล้วทำเป็นแผ่นกระดานเป็นต้นว่า ไม้แปรรูป. |
แพ | น. ไม้ไผ่หรือซุงเป็นต้นที่ผูกมัดเรียงติดกันมาก ๆ สำหรับใช้เป็นพาหนะทางนํ้า หรือล่องมาขาย เช่น แพไม้ไผ่ แพซุง แพหยวกกล้วย, โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่ติดเนื่องกันเป็นตับอย่างแพ เช่น ธูปแพเทียนแพ สวะลอยเป็นแพ |
แพน ๑ | น. หางนกบางชนิดที่แผ่ออกไปเป็นแผ่น เช่น แพนหางนกยูง แพนหางนกพิราบ, สิ่งอื่นที่มีลักษณะเป็นแผ่นคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น แพนสำหรับคัดท้ายแพซุง. |
ไม้กระดาน | น. ไม้ซุงที่เลื่อยออกเป็นแผ่น ๆ สำหรับปูพื้นหรือทำฝาเรือนเป็นต้น, ถ้าใช้ปูพื้น เรียกว่า กระดานพื้น, ถ้าใช้ทำฝา เรียกว่า ไม้ฝา, เรียกเรือนไม้จริงที่ฝาทำด้วยไม้กระดานว่า เรือนฝากระดาน. |
ไม้เปิดปีก | น. ซุงที่เลื่อยเปิดปีกแล้วทั้ง ๔ ด้าน. |
ไม้แปรรูป | น. ไม้ซุงที่เลื่อยเปิดปีกแล้วทำเป็นแผ่นกระดานเป็นต้น. |
ไม้ไหลลอย | น. ไม้ต้น ไม้ซุง ไม้ท่อน ไม้เสา ไม้เข็ม ไม้หลัก ไม้เหลี่ยม ไม้กระดานซึ่งเป็นไม้หวงห้าม ที่ได้ไหลลอยโดยปราศจากการควบคุม. |
เรือกราบ | น. เรือที่ขุดขึ้นจากซุงทั้งต้น รูปร่างเพรียว หัวท้ายเรียวแหลมและเชิดขึ้นเล็กน้อย เสริมกราบที่แคมยาวตลอด ๒ ข้างลำเรือ วางกระทงขวางลำสำหรับคนนั่งพายได้ประมาณ ๓๐ คน แล่นเร็วกว่าเรือแซ เป็นเรือที่ใช้ในราชการมาแต่โบราณ ในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคใช้เป็นเรือกลอง เรือแซง หรือเรือกันได้. |
เรือโกลน | (-โกฺลน) น. เรือที่ทำจากซุง เพียงเปิดปีกเจียนหัวเจียนท้ายเป็นเลา ๆ พอให้มีลักษณะคล้ายเรือแต่ยังไม่ได้ขุด. |
เรือขุด | น. เรือชนิดที่ทำด้วยไม้ซุงทั้งต้นหรือทั้งท่อน ขุดด้านบนให้เป็นรางแล้วเบิกปากออกให้กว้าง ถากหัวและท้ายเรือให้เรียวเชิดขึ้นตามส่วน เช่น เรือมาด เรือชะล่า เรือพายม้า. |
เรือโขมดยา | น. เรือขุดขึ้นจากซุงทั้งต้น ใหญ่กว่าเรือกราบ รูปร่างค่อนข้างเพรียว หัวและท้ายเรียว บนหัวและท้ายเรือเสริมไม้ต่อเป็นโขนงอนเชิดขึ้น ด้านข้างหัวเรือเขียนลวดลายด้วยน้ำยาสีต่าง ๆ วางกระทงขวางลำสำหรับคนนั่งพายได้ประมาณ ๕๐ คน เป็นเรือตามเสด็จในการเสด็จพระราชดำเนินโดยกระบวนพยุหยาตราทางชลมารคหรือเสด็จพระราชดำเนินลำลองในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค ใช้เป็นเรือกันหรือเรือพิฆาตได้. |
เรือแซ | น. เรือที่ขุดขึ้นจากซุงทั้งต้น รูปร่างเช่นเดียวกับเรือกราบแต่เพรียวน้อยกว่า ใช้ในการลำเลียงพล ศัสตราวุธ ยุทโธปกรณ์ และเสบียงกรัง อาจใช้เป็นเรือทุ่นหรือทำหน้าที่อื่นได้. |
เรือประกอบ | น. เรือชนิดที่ท้องเรือทำด้วยปีกไม้ซุง ขุดเป็นรางแล้วต่อข้างขึ้นเป็นตัวเรือโดยอาศัยกงหรือมือลิงเป็นเครื่องยึดแล้วเสริมกราบ ได้แก่ เรือยาว เรือเพรียว เรือแซ. |
เรือยาว | น. เรือขุดชนิดหนึ่ง ตามปรกติทำด้วยไม้ซุงตะเคียน ในสมัยโบราณใช้เป็นเรือรบ ปัจจุบันใช้เป็นเรือแข่ง บางลำยาวมากสามารถบรรจุฝีพาย ๕๕-๖๐ คนก็มี. |
เรือรูปสัตว์ | น. เรือหลวง มีทั้งประเภทเรือที่ขุดขึ้นจากซุงทั้งต้นกับเรือเสริมกราบ มีลักษณะพิเศษตรงศีรษะเรือต่อไม้ขึ้นไปแล้วสลักเป็นรูปสัตว์หิมพานต์ หรือรูปอมนุษย์ต่าง ๆ เช่น ครุฑ อสุรปักษา พญานาค ตอนท้ายเรือต่อไม้ทำเป็นทวนเชิดงอนไปล่ปลิวไปทางด้านหลัง เช่น เรือเอกไชยเหินหาว เรือพาลีรั้งทวีป เรือครุฑเหินระเห็จ เรืออสุรปักษี, บางทีเรียกว่า เรือกระบวนปิดทอง. |
โรงเลื่อย | น. สถานที่เลื่อยซุงแปรรูปให้เป็นแผ่นกระดานเป็นต้น, ถ้าใช้เลื่อยด้วยเลื่อยจักรวงเดือน เรียกว่า โรงเลื่อยจักร หรือเรียกสั้น ๆ ว่า โรงเลื่อย. |
ลอย | ไม่จม เช่น เรือลอย ซุงลอย |
วงพาด | น. รั้วสี่เหลี่ยมภายในเพนียด ใช้ล้อมช้าง ทำด้วยซุงเป็นต้น ๆ ปักเรียงรายเว้นระยะพอให้คนลอดเข้าออกได้ มีไม้ตีพาดเสาเหล่านั้นให้ยึดติดกันโดยรอบ. |
ว่าว ๑ | น. เครื่องเล่นอย่างหนึ่ง มีไม้ไผ่เป็นต้นผูกเป็นโครงรูปต่าง ๆ แล้วปิดด้วยกระดาษหรือผ้าบาง ๆ มีสายเชือกหรือป่านผูกกับสายซุงสำหรับชักให้ลอยตามลมสูงขึ้นไปในอากาศ มีหลายชนิด เช่น ว่าวจุฬา ว่าวปักเป้า ว่าวงู. |
เหนียง | สายป่านที่ผูกยาวห้อยเป็นบ่วงจากสายซุงว่าวปักเป้า. |
อู่ | ที่ที่ไขนํ้าเข้าออกได้ สำหรับเก็บเรือหรือซุง. |