Silica | ซิลิกา [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
Silica gel | ซิลิกาเจล [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
Silica fume | ซิลิกาฟูม [วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี] |
ชอล์ก | 1. ชื่อแร่ชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยแคลเซียมคาร์บอเนต มีซิลิกาปนอยู่เล็กน้อย เกิดขึ้นตามธรรมชาติโดยการรวมตัวของหินปูนจากซากสัตว์ พืช และเปลือกหอยในทะเล 2. เครื่องเขียนกระดานดำชนิดหนึ่งที่เป็นสีขาวทำจากแคลเซียมซัลเฟต ซึ่งได้จากเกลือจืดหรือยิปซัมผสมน้ำ, Example: คำที่มักเขียนผิด คือ ชอคล์ [คำที่มักเขียนผิด] |
Silica | ซิลิกา [TU Subject Heading] |
Silan | คราบซิลิกา, Example: คราบที่เกิดจากการเคลื่อนย้ายของซิลิกา ซึ่งส่วนใหญ่มีขนาดทรายแป้งและดินเหนียว ไปเคลือบตามผิว ของเม็ดแร่รอบหน่วยโครงสร้างดินและผนังช่องว่างในดิน [สิ่งแวดล้อม] |
Acrylic rubber or Polyacrylate rubber (ACM) | ยาง ACM เป็นยางสังเคราะห์ชนิดหนึ่งที่เกิดจากการทำปฏิกิริยาระหว่างมอนอเมอร์ของอะ ไครเลต (acrylic ester) และมอนอเมอร์ที่ว่องไวต่อปฏิกิริยาคงรูป (cure site monomer) มีหลายเกรดขึ้นกับชนิดของอะไครเลตที่ใช้ในการสังเคราะห์ สมบัติเชิงกลของยางชนิดนี้สูงเพียงพอสำหรับการใช้งานส่วนใหญ่โดยเฉพาะเมื่อ เติมสารเสริมแรง เช่น เขม่าดำ ซิลิกา ยางชนิดนี้ทนต่อการเสื่อมสภาพอันเนื่องมาจากออกซิเจน โอโซน และความร้อนได้เป็นอย่างดี ทนต่อน้ำมันส่วนใหญ่ได้ดี แต่ไม่ทนต่อน้ำมันเชื้อเพลิง ไม่ทนต่อน้ำและสารเคมีต่างๆ ยางชนิดนี้นำไปผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ที่ต้องการทั้งความทนทานต่อความร้อนและ น้ำมัน โดยเฉพาะชิ้นส่วนยานยนต์ เช่น ยางโอริง ปะเก็นท่อน้ำมัน วาวล์ เป็นต้น [เทคโนโลยียาง] |
Coupling agent | สารเติมแต่งที่ทำหน้าที่เพิ่มอันตรกิริยา (เกิดการเชื่อมโยง) ระหว่างยางกับสารเสริมแรงประเภทซิลิกาให้มีแรงยึดเหนี่ยวเพิ่มสูงขึ้น โดยหมู่อัลคอกซีบนสารคู่ควบจะทำปฏิกิริยาเคมีกับหมู่ไซลานอลที่อยู่บนพื้น ผิวของซิลิกาเกิดเป็นพันธะไซลอกเซนที่เสถียร ทำให้หมู่ไซลานอลลดลง อันตรกิริยาระหว่างอนุภาคของซิลิกาจึงลดลงด้วย ตัวอย่างของสารคู่ควบ ได้แก่ ไทรเอทอกซีไซลีลโพรพีลเททระซัลไฟด์ (Si-69) เมอร์แคปโตโพรพีลไทรเมทอกซีไซเลน (A-189) ไทโอไซยาเนโตโพรพีลไทเอทอกซีไซเลน (Si-264) เป็นต้น [เทคโนโลยียาง] |
Epoxidised or Epoxidized natural rubber | ยางธรรมชาติอิพ็อกซิไดซ์เป็นยางที่ได้จากการเติมออกซิเจนเข้าไปใน โมเลกุลของยางตรงบริเวณพันธะคู่เกิดเป็นวงแหวนอิพ็อกไซด์โดยผ่านปฏิกิริยาอิ พ็อกซิเดชัน (Epoxidation) โดยมีระดับของการเกิดอิพ็อกซิเดชันตั้งแต่ร้อยละ 10-50 ยาง ENR ที่ได้จึงมีความเป็นขั้วสูงกว่ายางธรรมชาติทั่วไป ทำให้ทนต่อความร้อนและน้ำมันได้ดีขึ้น โดยยาง ENR เกรดที่มีระดับอิพ็อกซิเดชันสูงถึงร้อยละ 50 จะมีความเป็นขั้วสูงเทียบเท่ากับยาง NBR ที่มีปริมาณอะไครโลไนไทรล์ปานกลาง นอกจากนี้ยังพบว่ายาง ENR ที่เสริมแรงด้วยซิลิกาจะมีสมบัติคล้ายกับยางธรรมชาติที่เสริมแรงด้วยเขม่าดำ อีกด้วย การเตรียมยาง ENR นี้สามารถเตรียมได้ทั้งในรูปของน้ำยางและยางแห้ง [เทคโนโลยียาง] |
Reinforcing agent or reinforcing filler | สารตัวเติมเสริมแรง คือ สารตัวเติมที่เติมลงไปในยางแล้วช่วยเพิ่มประสิทธิภาพสมบัติเชิงกล เช่น มอดุลัส ความทนต่อแรงดึง ของยางให้สูงขึ้น ตัวอย่างสารตัวเติมเสริมแรง ได้แก่ เขม่าดำ และซิลิกา [เทคโนโลยียาง] |
Silica | ซิลิกาเป็นสารตัวเติมเสริมแรงอีกชนิดหนึ่งที่นิยมใช้กันมากใน อุตสาหกรรมยางนอกเหนือจากเขม่าดำ มีสีขาวและมีขนาดอนุภาคเล็กมาก เมื่อเติมลงไปในยางจะทำให้ยางมีสมบัติเชิงกลต่าง ๆ ดีขึ้น แต่เนื่องจากซิลิกามีราคาแพงกว่าเขม่าดำ จึงมักใช้ในการผลิตผลิตภัณฑ์ยางที่มีสี เช่น พื้นรองเท้ากีฬา เป็นต้น [เทคโนโลยียาง] |
Silicone rubber | ยางซิลิโคนเป็นยางสังเคราะห์ชนิดหนึ่งซึ่งในแกนสายโซ่หลักของโมเลกุล ประกอบด้วยอะตอมของซิลิกอน (Si) และออกซิเจน (O) มีสูตรโครงสร้างทางเคมีเป็นพอลิไซลอกเซน (polysiloxane) ยางซิลิโคนมีหลายเกรด แต่ละเกรดจะแตกต่างกันที่หมู่ R ที่เกาะอยู่บนสายโซ่หลัก ดังนี้ MQ หมู่ R เป็นหมู่เมทิล (CH 3 ) VMQ หมู่ R เป็นหมู่ไวนิล (CH 2 = CH 2) PMQ หมู่ R เป็นหมู่ฟีนิล (C 6 H 5 ) PVMQ หมู่ R มีทั้งหมู่ฟีนิล หมู่ไวนิล และหมู่เมทิล FVMQ หมู่ R มีทั้งหมู่ไตรฟลูออโรโพรพิล หมู่ไวนิล และหมู่เมทิล แต่เกรดที่ใช้กันมากที่สุดจะเป็นพอลิเมอร์ของไดเมทิลไซลอกเซน (หมู่ R คือ CH 3) หรือที่มีชื่อย่อว่า MQ สมบัติโดยทั่วไปมีค่าความทนต่อแรงดึง ความต้านทานต่อการขัดถู และความต้านทานต่อแรงกระแทกต่ำมาก ดังนั้นจึงต้องมีการเติมสารตัวเติมเสริมแรงเช่น ซิลิกาเข้าช่วย แต่ยางซิลิโคนทนต่อสภาพอากาศ ออกซิเจน โอโซน แสงแดด และความร้อนได้ดี นอกจากนี้ยังสามารถใช้งานได้ที่อุณหภูมิสูงหรือต่ำมากๆ ได้ เนื่องจากยางชนิดนี้มีราคาสูงมาก ดังนั้นการใช้งานจึงจำกัดอยู่ในผลิตภัณฑ์ที่ไม่สามารถใช้ยางชนิดอื่นๆ ได้ เช่น การผลิตชิ้นส่วนของยานอวกาศ เครื่องบิน รถยนต์ ยางโอริง หน้ากากออกซิเจน แป้นกดของโทรศัพท์มือถือ งานทางการแพทย์และเภสัชกรรม เป็นต้น [เทคโนโลยียาง] |
silica | ซิลิกา, สารประกอบชนิดหนึ่ง สูตรเคมีคือ SiO2 จุดหลอมเหลว 1, 700°C จุดเดือด 2, 230°C เป็นของแข็งไม่มีสี ในธรรมชาติอยู่ในรูปของทราย ควอตซ์ และหินบางชนิด ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องแก้ว เครื่องดินเผา และทำผงขัด [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
conglomerate | หินกรวดมน, หินตะกอนชนิดหนึ่งประกอบด้วยกรวดชนิดต่าง ๆ ที่มีลักษณะมนเชื่อมติดกันอยู่ด้วยตัวประสานจำพวกแคลเซียมคาร์บอเนต เหล็กออกไซด์ ซิลิกาหรือดินกรวดที่เป็นส่วนประกอบนี้อาจเป็นหินหรือแร่ซึ่งมุมและเหลี่ยมถูกลบหายไปหมดเนื่องจากการพัดพาและเสียดสี [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
igneous rock | หินอัคนี, หินที่เกิดจากหินหนืดใต้เปลือกโลกซึ่งจะแข็งตัวอยู่ภายในเปลือกโลกหรือพุ่งพ้นเปลือกโลกออกมาบนผิวโลกแล้วเย็นตัวลง หินอัคนีมีหลายชนิดแล้วแต่ลักษณะการเย็นตัวและส่วนผสมของซิลิกา เช่น หินแกรนิต หินบะซอลต์ หินพัมมิช เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
radiolarian | เรดิโอลาเรียน, โพรโทซัวพวกหนึ่งที่อาศัยอยู่ในน้ำทะเล มีโครงสร้างที่ประกอบด้วยสารพวกซิลิกา เมื่อตายจะทับถมอยู่ใต้มหาสมุทร [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |