กำแพงมีหูประตูมีช่อง, กำแพงมีหูประตูมีตา | น. การที่จะพูดหรือทำอะไร ให้ระมัดระวัง แม้จะเป็นความลับเพียงไรก็อาจมีคนล่วงรู้ได้. |
จุกช่อง | ก. อารักขาพระเจ้าแผ่นดินและพระบรมวงศ์ที่สำคัญ ตามช่องทางเสด็จพระราชดำเนินเมื่อเสด็จไปนอกพระราชวัง โดยจัดเจ้าหน้าที่ให้รักษาการณ์อยู่ตามช่องทาง เช่น ตรอก ซอย ปากคลอง. |
จุกช่องล้อมวง | ก. อารักขาพระเจ้าแผ่นดินและพระบรมวงศ์ที่สำคัญในสถานการณ์ต่าง ๆ เพื่อความปลอดภัย. (ดู จุกช่อง และ ล้อมวง ประกอบ). |
ช่อง | น. ที่ว่างซึ่งเป็นทางเข้าออกได้ เช่น ช่องเขา ช่องหน้าต่าง ช่องลม, ที่ว่างซึ่งเป็นที่กำหนดเฉพาะ เช่น จอดรถให้ตรงช่อง ช่องซื้อตั๋ว ช่องจ่ายเงิน |
ช่อง | ย่านความถี่ที่ใช้สัญญาณภาพและเสียงที่กำหนดไว้ต่าง ๆ กัน ตามมาตรฐานการส่งกระจายเสียงวิทยุโทรทัศน์, (ปาก) คำเรียกสถานีโทรทัศน์แต่ละสถานี เช่น ดูละครช่อง ๗ |
ช่อง | โอกาส เช่น ไม่มีช่องที่จะทำได้. |
ช่องกุฎ | ดู ช่องกุด. |
ช่องกุด | น. ประตูที่เจาะกำแพงพระราชวังหรือกำแพงเมือง เป็นช่องสี่เหลี่ยมเพดานโค้งมนบ้าง โค้งแหลมบ้าง อยู่ใต้แนวใบเสมาลงมา เป็นช่องทางสำหรับคนสามัญเข้าออก, เขียนเป็น ช่องกุฎ ก็มี เช่น ซุ้มทวารบานสุวรรณชมพูนุท ประตูลักช่องกุฎสลับกัน (อิเหนา). |
ช่องเขา | น. เส้นทางที่ใช้เป็นทางข้ามทิวเขาจากด้านหนึ่งไปยังอีกด้านหนึ่ง, ช่องที่อยู่ในระหว่างเขา ๒ ลูก. |
ช่องคลอด | น. ส่วนของอวัยวะสืบพันธุ์ของเพศหญิง เป็นช่องที่ต่อมาจากปากมดลูก และเป็นทางที่ทารกคลอดออกมา. |
ช่องแคบ | น. ทางนํ้ายาวที่อยู่ระหว่างแผ่นดินหรือเกาะ เชื่อมต่อทะเลทั้ง ๒ ข้าง. |
ช่องดาล | น. รูสำหรับสอดลูกดาลเข้าไปเขี่ยดาลที่ขัดบานประตู. |
ช่องตีนกา | น. ช่องรูปกากบาทอยู่ระหว่างแนวบัวผ่าหวายทั้งคู่ตอนใต้ใบเสมาของกำแพงพระราชวังและกำแพงเมือง. |
ช่องทาง | น. ทางที่กำหนดเป็นช่องเฉพาะให้ไปหรือมา เช่น ถนนนี้มีช่องทางเดินรถ ๔ ช่องทาง |
ช่องทาง | หนทางหรือโอกาสที่จะทำอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น ที่จังหวัดนี้มีช่องทางทำมาหากินได้ง่าย. |
ช่องไฟ | น. ช่องขนาดย่อม ๆ และตื้นที่ทำไว้บนฝาผนังหรือกำแพง สำหรับตั้งเครื่องตามไฟให้แสงสว่างเวลากลางคืน |
ช่องไฟ | บริเวณที่เว้นไว้เป็นพื้นเท่า ๆ กันระหว่างลวดลายแต่ละตัว |
ช่องไฟ | ช่องว่างระหว่างตัวหนังสือ. |
ช่องว่าง | น. พื้นที่ว่างในระหว่างที่กั้น เช่น ช่องว่างระหว่างตึก ๒ หลัง |
ช่องว่าง | ความไม่เข้าใจกันของคนที่มีความคิด ฐานะ หรืออื่น ๆ ที่แตกต่างกัน เช่น ช่องว่างระหว่างคนมั่งมีกับคนยากจน ช่องว่างระหว่างวัย. |
ช่องโหว่ | น. ส่วนที่ไม่ครบถ้วนสมบูรณ์, จุดอ่อน, เช่น ช่องโหว่ของกฎหมาย. |
ช้อง | น. ผมสำหรับเสริมทรงผมให้ใหญ่หรือยาว. |
ช้องนาง | น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Thunbergia erecta (Benth.) T. Anderson ในวงศ์ Acanthaceae ดอกสีม่วงนํ้าเงินเข้มหรือขาว หลอดดอกด้านในสีเหลืองเข้ม. |
ช้องนางคลี่ | น. ชื่อไม้อิงอาศัยไร้ดอกชนิด Lycopodium phlegmaria L. ในวงศ์ Lycopodiaceae ลำต้นยาวห้อยลง แยกแขนงเป็นคู่ ๆ. |
ช้องแมว | ดู ซ้องแมว. |
ชะช่อง | น. ช่อง, รูที่ผ่านได้, โอกาส, ทาง. |
ชี้ช่อง | ก. แนะลู่ทางให้. |
ได้ช่อง, ได้ท่า | ก. ได้โอกาส. |
ตัดช่องน้อยแต่พอตัว | ก. ด่วนตายไปก่อนโดยทิ้งภาระไว้ภายหลัง |
ตัดช่องน้อยแต่พอตัว | เอาตัวรอดแต่ผู้เดียว. |
ตัดช่องย่องเบา | ก. ลักลอบเข้าไปในบ้านเรือนของผู้อื่นเพื่อขโมยของ. |
บ้านช่อง, บ้านช่องห้องหอ | น. บ้านที่อยู่อาศัย เช่น บ้านช่องรกรุงรัง. |
รัดช้อง | น. เครื่องประดับสำหรับรัดชายผมที่ปล่อยยาวลงทางท้ายทอย ใช้ประกอบกับรัดเกล้า. |
ลอดช่อง | น. ชื่อขนมอย่างหนึ่งทำด้วยแป้งข้าวเจ้ากวนพอสุก กดลงในกะโหลกที่มีรูให้ไหลออกเป็นตัว ๆ หัวท้ายแหลม กินกับน้ำกะทิ. |
ลากหนามจุกช่อง | ก. ยกเรื่องต่าง ๆ มาอ้างป้องกันตัว, ขัดขวางไม่ให้คนอื่นได้รับประโยชน์ในเมื่อตนเองไม่ได้รับประโยชน์ด้วย. |
เว้นช่องไฟ | ก. เว้นช่องว่างระหว่างตัวหนังสือหรือลวดลายแต่ละตัว. |
กรอก ๑ | (กฺรอก) ก. เทลงในช่องแคบ เช่น กรอกหม้อ กรอกขวด, หรือใช้โดยปริยายก็ได้ เช่น พูดกรอกหู |
กระชัง ๒ | น. เครื่องสำหรับขังปลาชนิดหนึ่ง ใช้ไม้ไผ่ทำเป็นกง ๔ อัน แล้วผูกด้วยซี่ไม้ไผ่โดยรอบ รูปกลม หัวท้ายเรียว ตอนบนเจาะเป็นช่อง มีฝาปิด ใช้ไม้ขัดฝา ๒ ข้าง ใช้ไม้ไผ่กระหนาบเพื่อให้ลอยได้ ในขณะออกไปจับปลาตามกรํ่า เมื่อจับปลาหรือกุ้งได้ก็เอาใส่ไว้ในนั้นชั่วคราว, อีกชนิดหนึ่ง สานด้วยไม้ไผ่ มีปากเปิดกว้างคล้าย ๆ ตะกร้าหรือเข่งใส่ของ แต่ใหญ่กว่ากระชังชั่วคราวนั้นหลายเท่า เป็นที่สำหรับจับปลาขนาดใหญ่มาขังไว้หรือเลี้ยงลูกปลาให้โตตามที่ต้องการ เพื่อบริโภคหรือค้าขาย และเอากระชังนี้ผูกติดหลักแช่ลอยนํ้าไว้. |
กระถอบ | น. แผ่นทองคำฉลุลายเป็นกิ่งต้นเครือวัลย์กระหนก สำหรับเสียบห้อยที่ชายพกลงมาในระหว่างช่องหน้าขาทั้ง ๒ สามัญเรียกว่า ช่อทับชาย เช่น ที่ประดับเทวรูปทรงเครื่องทั่วไป เรียกกันว่า สุวรรณกระถอบ หรือ สุวรรณกัญจน์ถอบ. |
กระทั่ง ๑ | ให้เสียงสัญญาณ เช่น ตามช่องฉากบังกระทั่งไอ (คาวี), ถ้าใช้เข้าคู่กับคำ กระทบ เป็น กระทบกระทั่ง หมายถึง แตะต้อง, ทำให้กระเทือนถึง, ทำให้กระเทือนใจ |
กระบอกสูบ | น. ส่วนของเครื่องจักรเครื่องยนต์ ลักษณะเป็นโพรงรูปกระบอกอยู่ในเสื้อสูบ เป็นช่องสำหรับบังคับให้ลูกสูบเคลื่อนไปมา. |
กระเบน | น. ชื่อปลากระดูกอ่อนพวกหนึ่ง มีหลายชนิด หลายสกุล และหลายวงศ์ ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ลำตัวกว้างตั้งแต่ ๑๕-๓๐๐ เซนติเมตร ลำตัวแบนลงมาก และต่อเนื่องกับครีบอกแผ่ออกด้านข้าง บางชนิดแผ่ออกไปจดด้านหน้าและด้านท้ายเกือบเป็นวงกลมดูคล้ายจานหรือว่าว บางชนิดแผ่ยื่นด้านข้างออกไปเป็นปีกคล้ายนกหรือผีเสื้อ และบางชนิดครีบอกแผ่ไปไม่ถึงส่วนหน้า ทำให้หัวแยกจากลำตัวและส่วนยื่นของหัวเป็นลอน มีเหงือก ๕ คู่ อยู่ด้านล่างของส่วนหัว บริเวณถัดจากส่วนท้ายของนัยน์ตามีรูเปิดข้างละช่อง ซึ่งด้านในติดต่อกับโพรงเหงือกและปาก หางส่วนมากเรียว สั้นบ้างยาวบ้าง มักมีผิวหยาบหรือขรุขระ บางพวกมีเงี่ยงอยู่บนหางตอนใกล้ลำตัว และมีต่อมน้ำพิษอยู่บริเวณโคนเงี่ยง เมื่อใช้เงี่ยงแทงจะปล่อยน้ำพิษออกมาด้วย ทำให้คนหรือสัตว์ที่ถูกแทงรู้สึกปวด |
กระเบื้องปรุ, กระเบื้องรู | น. กระเบื้องเคลือบจีน มีลายโปร่งสำหรับกรุตามผนังหรือกำแพงให้มีช่องลม. |
กระเสียน | อาการที่ของสิ่งใดสิ่งหนึ่งสอดเสียดลงไปในช่องในรูไม่คับไม่หลวมพอครือ ๆ กัน. |
กระไส | น. ทราย เช่น สีคงคาขุ่นเป็นเปือกเทือกกระไส (ม. กาพย์ วนปเวสน์), ประทับทอดจอดอ่าวเข้าไม่ได้ โขดกระไสติดช่องร่องวิถี (นิ. เกาะแก้วกัลกตา). |
กระหมิบ | ก. บีบเข้าหรือเม้มเข้าซ้ำ ๆ กัน (มักใช้แก่ปาก ช่องทวารหนัก และทวารเบา) |
กระแอม ๒ | น. ลายที่ผูกเป็นตัวลอย ๆ อยู่ในรูปทรงสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน คล้ายลายกระหนกหางโต ใช้สำหรับอุดหรือปิดช่องไฟระหว่างปลายกระหนกเครือวัลย์ เรียกว่า ลูกกระแอม หรือ ตัวกระแอม. |
กรุ ๒ | (กฺรุ) ก. ปิดกันช่องโหว่หรือที่ว่าง เช่น กรุฝาเรือน, รองไว้ข้างล่าง เช่น กรุก้นชะลอม, ปิดกั้น เช่น กรุบ่อ. |
กะบังลม | น. แผ่นกั้นประกอบด้วยกล้ามเนื้อ เอ็นกล้ามเนื้อ และแผ่นพังผืด กั้นระหว่างช่องอกกับช่องท้อง ยืดและหดช่วยการหายใจ, คนทั่วไปเรียกบริเวณระหว่างหัวหน่าวกับสะดือ ว่า กะบังลม ด้วย. |
กะโหลก | (-โหฺลก) น. กระดูกที่หุ้มมันสมอง, ส่วนแข็งที่หุ้มเนื้อมะพร้าวหรือตาลเป็นต้น เรียกว่า กะโหลกมะพร้าว กะโหลกตาล, ภาชนะที่ทำด้วยกะโหลกมะพร้าวโดยตัดทางตาออกพอเป็นช่องกว้างเพื่อใช้ตักนํ้า |