กระชดกระช้อย | ว. ชดช้อย. |
กระช้อย | ว. ชดช้อย เช่น ดูเราะรายเรียบร้อยกระช้อยชด (นิ. เดือน), และใช้เข้าคู่กับคำ กระชด เป็น กระชดกระช้อย. |
กระช้อยนางรำ | น. ชื่อไม้พุ่มชนิด <i> Codariocalyx motorius</i> (Houtt.) H. Ohashi ในวงศ์ Leguminosae ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย ๓ ใบ ใบคู่ล่างเล็กกว่าและกระดิกไหวไปมาได้, ช้อยนางรำ ช้อยช่างรำ หรือ นางรำ ก็เรียก. |
ชดช้อย | ว. อ่อนช้อย เช่น กิริยาชดช้อย, มีลักษณะกิริยาท่าทางงดงาม เช่น คนชดช้อย, ช้อยชด หรือ กระชดกระช้อย ก็ว่า. |
ช่อย | ก. ช่วย เช่น คนใดขี่ช้างมาหา พาเมืองมาสู่ช่อยเหนือเฟื้อกู้ (จารึกหลัก ๑). |
ช้อย | ว. งอนงาม. |
ช้อยชด | ว. อ่อนช้อย, มีลักษณะกิริยาท่าทางงดงาม, ชดช้อย หรือ กระชดกระช้อย ก็ว่า. |
ช้อยช่างรำ, ช้อยนางรำ | <i>ดู กระช้อยนางรำ</i>. |
แช่มช้อย | ว. มีกิริยามารยาทนุ่มนวลน่ารัก. |
แมงอ่อนช้อย | <i>ดู แมงแงว</i>. |
อ่อนช้อย | ว. มีกิริยาท่าทางงดงามละมุนละไม, มีลักษณะงอนงาม, มีลักษณะงอนขึ้นอย่างลายกระหนก, โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น. |
กระตุ้งกระติ้ง | ว. มีกิริยาท่าทางกระชดกระช้อย, ตุ้งติ้ง หรือ ดุ้งดิ้ง ก็ว่า. |
กระบะ | น. ภาชนะไม้ก้นแบนมีขอบ ใช้อย่างถาด, ใช้ว่า ตระบะ ก็มี |
กระพา | น. เครื่องสานชนิดหนึ่ง สำหรับใส่สิ่งของบรรทุกไว้ที่หลังคน ใช้อย่างเป้ มีสายรัดไขว้ที่หน้าอก หรือคาดที่หน้าผาก, อีสานว่า กะพา. |
กระโลง | น. เครื่องสานด้วยใบลานชนิดหนึ่ง ใช้อย่างกระสอบ สำหรับใส่ข้าวเปลือกหรือข้าวสาร. |
กวะแกว่ง | (กฺวะแกฺว่ง) ก. แกว่งไปมา เช่น ช่อช้อยกวะแกว่งไกว (ม. คำหลวง จุลพน). |
กะพา | น. เครื่องสานชนิดหนึ่ง สำหรับใส่สิ่งของบรรทุกไว้ที่หลังคน ใช้อย่างเป้ มีสายรัดไขว้ที่หน้าอก หรือคาดที่หน้าผาก. |
กำแพงขาว | น. ชื่อว่านชนิดหนึ่ง ใบคล้ายหมากผู้หมากเมีย ต้นและใบเขียว มีลายดั่งว่านเสือ แต่ลายเบา มีพรายปรอท หัวเหมือนกระชาย ตุ้มรากกลมทอดไปยาว หัวมีกลิ่นหอม ใช้อยู่คงเขี้ยวเขานองา, อีกชนิดหนึ่งเรียก มายาประสาน เป็นว่านประสานบาดแผล. |
ข้าพเจ้า | (ข้าพะเจ้า) ส. คำใช้แทนตัวผู้พูด มักใช้อย่างเป็นทางการ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. |
คนละ | ต่างหากจากกัน ไม่ใช่อย่างเดียวกัน เช่น ผ้าคนละชนิด หนังสือคนละเล่ม. |
ครบมือ | มีเครื่องมือเครื่องใช้อย่างพร้อมเพรียง เช่น ช่างไม้มีอุปกรณ์ครบมือ. |
ค่ะ | ว. คำรับที่ผู้หญิงใช้อย่างเดียวกับ จ้ะ, คำลงท้ายที่ผู้หญิงใช้ในการบอกให้ทราบอย่างสุภาพ เช่น ไปค่ะ ไม่ไปค่ะ. |
คำประสาน | น. คำที่เกิดจากการนำคำตั้งแต่ ๒ คำขึ้นไปมาประกอบกัน อาจเป็นคำที่เกิดอิสระไม่ได้ ๒ คำมาประกอบกัน เช่น ชดช้อย ครื้นเครง หรือเป็นคำที่เกิดอิสระไม่ได้คำหนึ่งประกอบกับคำที่เกิดอิสระได้อีกคำหนึ่ง เช่น ชาวไร่ อ่อนช้อย, คำผสาน ก็เรียก. |
งอน ๑ | น. ส่วนปลายแห่งของบางอย่างที่เป็นรูปยาวเรียวและช้อยขึ้น เช่น งอนไถ. |
งอน ๑ | ว. ช้อยขึ้น, โง้งขึ้น. |
จั่นห้าว | น. เครื่องยิงสัตว์ ใช้หอก หรือปืน หรือหลาว ขัดสายใยไว้ เมื่อคนหรือสัตว์ไปถูกสายใยเข้า ก็ลั่นแทงเอาหรือยิงเอา ใช้อย่างเดียวกับหน้าไม้ก็ได้. |
จาก ๑ | น. ชื่อปาล์มชนิด <i> Nypa</i> <i> fruticans</i> Wurmb ในวงศ์ Palmae ขึ้นเป็นกออยู่ตามริมฝั่งน้ำกร่อยในป่าชายเลน ใบใช้มุงหลังคาและกรุฝา ออกดอกเป็นช่อยาว ผลรวมเป็นทะลาย กินได้ เรียกว่า ลูกจาก |
จิก ๒ | น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางหลายชนิดในสกุล <i> Barringtonia</i> วงศ์ Lecythidaceae ขึ้นในที่ชุ่มชื้นและที่นํ้าท่วมถึง ดอกสีขาว เกสรเพศผู้สีแดงมักออกเป็นช่อยาวห้อยเป็นระย้า เช่น จิกนา [ <i> B</i>. <i> acutangula</i> (L.) Gaertn. ] จิกบ้านหรือจิกสวน [ <i> B</i>. <i> racemosa</i> (L.) Spreng. ] จิกเล [ <i> B</i>. <i> asiatica</i> (L.) Kurz ]. |
แฉล้ม | (ฉะแล่ม) ว. สวย, งดงาม, แช่มช้อย, (โบ) แชล่ม. |
ชด | ว. อ่อน, ช้อย, เช่น ขาอ่อนชด (ปรัดเล), ชดกรกระลึง กุมแสง (ลอ), งอนอย่างงอนรถ เช่น เรือนแปรกแอกงอนอ่อนชด (อุณรุท). |
ชมดชม้อย | (ชะมดชะม้อย) ก. ช้อนตาชำเลืองด้วยทีท่าชดช้อย. |
ชรุก | (ชะรุก) ก. ซุก, แอบ, แทรก, เอาของไปแอบแฝงไว้, เช่น ช่อช้อยชรุกระโยงยาน (ม. คำหลวง จุลพน). |
แช่ | ก. ใส่ลงในนํ้าหรือของเหลวอย่างอื่น ชั่วระยะเวลาหนึ่ง เช่น เอาเท้าแช่น้ำอุ่น แช่ข้าว กุ้งแช่น้ำปลา, ใส่ไว้ในน้ำแข็ง หรือตู้ทำความเย็นเป็นต้น เช่น เอาปลาแช่น้ำแข็ง เอาผักแช่ตู้เย็น, โดยปริยายใช้หมายถึง อาการที่ชักช้าอยู่กับที่เกินสมควรโดยไม่จำเป็น เช่น ไปนั่งแช่อยู่ได้. |
แช่ม | ว. แจ่มใส, ชื่นบาน, มักใช้เข้าคู่กับคำอื่น เช่น แช่มช้อย แช่มชื่น. |
แชรง | (ชะแรง) ก. แซง, เบียดเสียด, เช่น ไม้มีผลต่างต่าง ช่อช้อยช่างแชรงดวง (ม. คำหลวง จุลพน). |
แชล่ม | (ชะแล่ม) ว. แฉล้ม, สวย, งดงาม, แช่มช้อย. |
ใช้ลากใช้ถู | ก. ใช้อย่างไม่ทะนุถนอม, ใช้อย่างไม่ปรานีปราศรัย. |
ตะกรน ๑ | (-กฺรน) น. อุปกรณ์ของเครื่องทอผ้า ใช้อย่างกระสวย แต่เป็นกระบอกมีหลอดด้ายอยู่ข้างใน. |
ต่าง ๑ | ก. บรรทุก เช่น ต่างข้าวเข้ามาส่ง, ใช้อย่างมาตราตวงก็ได้ เช่น ได้ข้าวไม่ถึง ๕ ต่าง. |
ตุ้งติ้ง ๑ | ว. มีกิริยาท่าทางกระชดกระช้อย, กระตุ้งกระติ้ง หรือ ดุ้งดิ้ง ก็ว่า |
เตือนตา | ก. ชวนดู เช่น สุวรรณหงส์ทรงภู่ห้อย งามชดช้อยลอยหลังสินธุ์ เพียงหงส์ทรงพรหมินทร์ ลินลาศเลื่อนเตือนตาชม (กาพย์เห่เรือ). |
ถนอม | (ถะหฺนอม) ก. คอยระวังประคับประคองไว้ให้ดี เช่น ถนอมนํ้าใจ, ใช้อย่างระมัดระวังเพื่อไม่ให้เสียหรือหมดเร็ว เช่น ถนอมของกินของใช้ ถนอมแรง, เก็บไว้อย่างดี เช่น ถนอมเอาไว้ก่อน, สนอม ก็ว่า. |
ถลุง | โดยปริยายใช้ในความหมายต่าง ๆ กันแล้วแต่ข้อความแวดล้อม เช่น ถลุงเงินเสียเรียบ หมายถึง ผลาญเงิน นักมวยถูกถลุงเสียยํ่าแย่ หมายถึง ถูกเตะต่อยเสียยํ่าแย่ เอารถยนต์ไปถลุงเสียยับเยิน หมายถึง เอาไปใช้อย่างไม่ปรานีปราศรัย. |
ถูลู่ถูกัง | อาการที่ใช้อย่างไม่ทะนุถนอม, อาการที่ใช้อย่างไม่ปรานีปราศรัย, เช่น ใช้กระเป๋าถูลู่ถูกังก็พังหมด. |
ท้วย | ว. อ่อนช้อย, งอน. |
นางรำ | <i>ดู กระช้อยนางรำ</i>. |
บรรดา | (บัน-) ว. ทั้งหลาย, ทั้งปวง, ทั้งหมด, (มักใช้อยู่ข้างหน้า) เช่น บรรดามนุษย์ บรรดาทรัพย์สมบัติที่มีอยู่, ประดา ก็ว่า. |
บาพก | (บา-พก) น. ไฟ, (โบ) ใช้ว่า บ่าพก ก็มี เช่น ผ้าช้อยช่นยยืน บ่าพกปืนชัชวาลย์ (ม. คำหลวง นครกัณฑ์). |
ปรานีปราศรัย | (ปฺรานีปฺราไส) ก. ปรานี (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น ใช้อย่างไม่ปรานีปราศรัย. |
พยับเมฆ ๒ | น. ชื่อไม้พุ่มชนิด <i> Orthosiphon aristatus</i> (Blume) Miq. ในวงศ์ Labiatae ดอกเล็กสีขาวอมม่วงอ่อน ออกเป็นช่อยาว เกสรเพศผู้ยาว ใบใช้ทำยาได้, หญ้าหนวดแมว ก็เรียก. |