abc | (เอบีซี) ย่อมาจาก Atanasoff-Berry Computer ว่ากันว่า เป็นชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์อิเล็กทรอนิกส์เครื่องแรกของโลก (หนังสือบางเล่มว่า เครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องแรกของโลกมีชื่อว่า ENIAC) ศาสตราจารย์ John Atanasoff แห่งมหาวิทยาลัยไอโอวา และ Clifford Berry เป็นผู้ประดิษฐ์เครื่องเอบีซีนี้เมื่อราวทศวรรษ 1940 ABEND การหยุดงานผิดปกติ <คำแปล>ย่อมาจาก abnormal end of task หมายถึงการหยุดงานที่เกิดขึ้นโดยที่ไม่ได้มีคำสั่งให้หยุดในโปรแกรมหรือชุดคำสั่งมักจะเกิดขึ้น เมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ถูกสั่งให้ปฏิบัติงานหนึ่งงานใด แล้วไม่ยอมปฏิบัติ อาจจะเป็นเพราะเครื่องเสีย หรือโปรแกรมผิดพลาด |
access method | วิธีเข้าถึงโปรแกรมสำหรับเข้าถึงหมายถึง ระเบียบวิธีการเขียนโปรแกรมหรือชุดคำสั่งสำหรับการเก็บและเรียกใช้ข้อมูลมี 2 วิธี คือ วิธีการเข้าถึงโดยตรง (direct) หรือโดยสุ่ม (random) และวิธีการเข้าถึงโดยอ้อม (indirect) หรือโดยลำดับ (sequential) ดู direct และ indirect access ประกอบ |
all-purpose computer | คอมพิวเตอร์เอนกประสงค์หมายถึง คอมพิวเตอร์ที่ออกแบบขึ้นใช้เพื่อให้ทำงานสนองความต้องการได้หลายวัตถุประสงค์ เป็นคอมพิวเตอร์ที่อาจใช้วิธีการเขียนโปรแกรมหรือชุดคำสั่งเพื่อสั่งให้ทำงานได้ด้วยภาษาต่าง ๆ หลายภาษา (คอมพิวเตอร์ที่พูดถึงโดยทั่วไปในปัจจุบันนี้ ส่วนมากจะเป็นคอมพิวเตอร์เอนกประสงค์ทั้งสิ้นดู special purpose computer เปรียบเทียบ |
bootstrap | n. รูเชือกผูกรองเท้า ปลุกเครื่องเรียกย่อ ๆ ว่า boot1. หมายถึงการเปิดเครื่องด้วยการบรรจุซอฟต์แวร์ระบบ (systems software) เข้าไปในหน่วยความจำหลัก (main memory) 2. อาจหมายถึงเทคนิควิธีในการบรรจุโปรแกรมหรือชุดคำสั่ง (program) ทั้งปวงที่มีอยู่ ลงไปในหน่วยความจำหลัก |
branch instruction | คำสั่งแยก (ทาง) หมายถึง การสั่งให้แยกไปทำงาน ณ จุดใดจุดหนึ่งตามคำสั่งในโปรแกรมหรือ ชุดคำสั่ง เช่น คำสั่ง GOTO หรือคำสั่งให้ CALL โปรแกรมย่อย (subroutine) |
computer organization | ระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ระบบการทำงานของคอมพิวเตอร์ต้องมีองค์ประกอบ 3 ประการ คือ1. ฮาร์ดแวร์ (hardware) หมายถึง ส่วนตัวเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมทั้งอุปกรณ์ต่อพ่วงต่าง ๆ 2. ซอฟต์แวร์ (software) หมายถึงโปรแกรมต่าง ๆ หรือชุดคำสั่งทั่เครื่องสั่งให้ทำงานตามความประสงค์3. บุคลากรคอมพิวเตอร์ (peopleware) หมายถึงแรงงานบุคคลที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทำงานจนบรรลุผลตามวัตถุประสงค์ |
computer personnel | บุคลากรคอมพิวเตอร์หมายถึง บุคคลที่ทำงานเกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ หรือทำงานในศูนย์คอมพิวเตอร์ทั้งหมด เริ่มตั้งแต่ผู้จัดการ นักวิเคราะห์ระบบ วิศวกรคอมพิวเตอร์ นักเขียนโปรแกรมหรือชุดคำสั่ง ผู้ควบคุมเครื่อง พนักงานเตรียมข้อมูล ๆ บางทีเรียกรวม ๆ ว่า นักคอมพิวเตอร์ (computerese) หรือ peoplewareมีความหมายเหมือน liveware |
computer program | โปรแกรมคอมพิวเตอร์ชุดคำสั่งคอมพิวเตอร์หมายถึง คำสั่งคอมพิวเตอร์ชุดหนึ่ง ๆ ที่เขียนขึ้นเป็นภาษาคอมพิวเตอร์ภาษาใดภาษาหนึ่ง เช่น ภาษาซี (C) ภาษาโคบอล (COBOL) ภาษาเบสิก (BASIC) หรือ ภาษาแอสเซมบลี (Assembly) ฯ คำ "โปรแกรม" นี้ อาจจะเรียกเป็นชื่ออื่นก็ได้ เช่น ซอฟต์แวร์ (software) หรือ แอพพลิเคชัน (application) โปรแกรมนั้น แบ่งได้เป็นหลายประเภท ประเภทแรกคือประเภทที่ผู้ใช้เขียนขึ้นเองเพื่อให้ตรงกับความต้องการ กับอีกประเภทหนึ่งมีคนทำสำเร็จรูปไว้ขาย เช่น โปรแกรมสำหรับวาดภาพ (graphics) โปรแกรมประมวลผลคำ (word processing) โปรแกรมตารางจัดการ (spreadsheet) นอกจากนั้น ยังมีโปรแกรมระบบ (systems software) ซึ่งเป็นโปรแกรมที่ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ มีบางส่วนติดตั้งมาจากโรงงานที่ผลิตเลย และโปรแกรมระบบปฏิบัติการ (operating system) ที่จะทำหน้าที่เหมือนแม่บ้านคอยดูแลให้อุปกรณ์ต่าง ๆ ทำงานให้ประสานกัน สรุปว่า คอมพิวเตอร์สามารถทำงานได้ทุกอย่าง แต่คนเขียนคำสั่งต้องเข้าใจขั้นตอน วิธี (algorithm) และภาษาที่จะใช้เป็นอย่างดี จึงจะสามารถเขียนสั่งเครื่องให้ทำงานได้ |
control card | บัตรควบคุมหมายถึง บัตรซึ่งบรรจุข้อความที่เป็นภาษาควบคุมงานซึ่งได้มีการกำหนดไว้เป็นรหัสเป็นการเฉพาะ เพื่อใช้ในโอกาสต่าง ๆ กัน หรือใช้กับงานชนิดต่าง ๆ เช่น บัตรควบคุม อาจจะเป็นตัวบอกว่า โปรแกรมหรือชุดคำสั่งชุดต่อไปจะเป็นภาษาฟอร์แทรน ภาษาโคบอล หรือภาษาอื่น ๅ บัตรควบคุมอาจทำให้รู้ได้ว่างานนี้เป็นงานของนิสิต หรือเป็นงานของนักวิจัยทั่วไป เพราะบางทีอาจมีการกำหนดข้อห้ามบางอย่างสำหรับงานของนิสิตไว้ในระบบ ปัจจุบัน ไม่ค่อยมีการใช้บัตรแล้ว คำนี้จึงไม่มีที่ใช้ไปด้วยดู card (บัตร) |
control statement | ข้อความสั่งควบคุมในการเขียนโปรแกรมหรือชุดคำสั่งนั้น โดยปกติ เครื่องคอมพิวเตอร์จะทำงานตามคำสั่งไปทีละคำสั่ง โดยเรียงไปตามลำดับก่อนหลัง แต่เราอาจใช้ข้อความสั่งให้ควบคุมการทำงานได้เช่น กระโดดข้าม, วนกลับไปทำบางคำสั่งใหม่หรือวนหลาย ๆ รอบหรือหยุดทำถ้า ... ข้อความสั่งเหล่านี้มีอยู่หลายคำสั่ง ขึ้นอยู่กับภาษาเป็นต้นว่า GOTO, DO, IF ในภาษาฟอร์แทรน หรือ FOR.....NEXT ในภาษาเบสิก |
control unit | หน่วยควบคุมเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยประมวลผลกลาง (central processing unit) หน่วยควบคุม มีหน้าที่ควบคุมการทำงานทั้งหมด กล่าวคือ ควบคุมการทำงานของหน่วยคำนวณและตรรกะ ควบคุมการรับ/ส่งข้อมูลระหว่างหน่วยความจำหลัก (main memory) กับหน่วยความจำในหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ติตต่อและควบคุมการทำงานของหน่วยรับข้อมูลและแสดงผล (input/output unit) เป็นต้นว่า รับข้อมูลเข้ามาเก็บในหน่วยความจำ ปฏิบัติตามคำสั่งในโปรแกรมหรือชุดคำสั่ง รวมทั้งจัดการให้การทำงานเป็นไปตามขั้นตอน และแสดงผลตามคำสั่งด้วยดู central processing unit ประกอบ |
data card | บัตรข้อมูลหมายถึงบัตรคอมพิวเตอร์ที่ใช้ เจาะเป็นรหัสแสดงถึงตัวอักขระต่าง ๆ อาจเป็นตัวเลข ตัวอักษร หรืออักขระพิเศษ เพื่อให้คอมพิวเตอร์อ่านเข้าไปเก็บในหน่วยความจำ บัตรข้อมูลนั้น เราสามารถใช้ได้ทั้ง 80 คอลัมน์ของบัตร (แต่บัตรที่เป็นบัตรชุดคำสั่ง ที่เรียกว่า program card นั้น ใช้ได้เฉพาะคอลัมน์ 7 ถึง 70) เมื่อส่งเข้าประมวลผลในคอมพิวเตอร์ บัตรข้อมูลจะต้องส่งตามหลังบัตรชุดคำสั่งเสมอดู card code ประกอบ |
debugging aids | ชุดคำสั่งตรวจแก้จุดบกพร่องหมายถึงโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่เขียนขึ้น เพื่อเตรียมไว้เพื่อให้คอมพิวเตอร์ชี้หาจุดบกพร่อง หรือที่ผิดในชุดคำสั่งอื่น ๆ ให้ |
delete | (ดิลีท') vt. ลบออก, เอาออก ลบทิ้งลบออกลบ1. หมายถึง แป้นสำหรับสั่งให้ลบทิ้ง การกดแป้นนี้ จะทำให้ลบตัวอักขระที่ตัวชี้ตำแหน่ง (cursor) นำอยู่ออก ตัวอักขระที่อยู่ถัดไปจะเลื่อนขึ้นมาทางซ้ายอีกตำแหน่งหนึ่งตามกันมาเป็นกระบวน2. ในความหมายทางคอมพิวเตอร์ที่แท้จริงนั้น หมายถึง การลบข้อความหรือข้อมูล หรือระเบียน ออกจากแฟ้มข้อมูล (file) หรือฐานข้อมูล (database) 3. ในระบบดอส ใช้เป็นคำสั่งลบชุดคำสั่ง (program) หรือแฟ้มข้อมูล (file) ที่เก็บไว้ในจานบันทึก (disk) เช่นเดียวกับคำสั่ง ERASE อาจใช้ตัวย่อว่า DEL ก็ได้ เช่น A>DEL* . BASมีความหมายเหมือน erase |
detailed flowchart | ผังงานละเอียดหมายถึงผังงานที่แสดงลำดับขั้นตอนการทำงานอย่างละเอียด จนแทบจะนำแต่ละขั้นตอนมาถอดโยงกันเป็นชุดคำสั่งหรือโปรแกรมได้เลยดู program flowchart ประกอบ |
diagnostic program | ชุดคำสั่งวินิจฉัยหมายถึง โปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่ใช้ในการวินิจฉัยข้อบกพร่องของเครื่องคอมพิวเตอร์หรือส่วนประกอบใด ๆ ของเครื่อง หรือวินิจฉัยข้อผิดพลาดของการลงรหัส |
dry running | การตรวจสอบ (โปรแกรม) นอกเครื่องหมายถึง การตรวจสอบดูชุดคำสั่งในเชิงตรรกะ และการใช้รหัสคำสั่งจากผังงาน (flowchart) และคำสั่งข้อเขียน เพื่อดูว่า ชุดคำสั่งที่เขียนขึ้นถูกต้องหรือไม่ก่อนที่จะนำไปใช้กับคอมพิวเตอร์ อาจใช้ตัวเลขสมมติใส่เข้าไปก็ได้ ในบางครั้ง ใช้คำว่า การไล่สอบบนโต๊ะทำงาน (desk check) |
edit progam | ชุดคำสั่งบรรณาธิกรหมายถึงโปรแกรม หรือชุดคำสั่งที่เตรียมไว้ในซอฟต์แวร์ระบบ มีหน้าที่ช่วยตรวจแก้ไขชุดคำสั่งต่าง ๆ มีความหมายเหมือน editor |
entry point | เลขที่อยู่แรกเข้าจุดแรกเข้าหมายถึง จุดเริ่มต้นของคำสั่งแรกในชุดคำสั่ง (program) หรือชุดคำสั่งประจำ (routine) การปฏิบัติงานจะเริ่มต้น ณ จุดนี้ |
error code | รหัสระบุความผิดพลาดหมายถึง รหัสที่มีกำหนดไว้ เพื่อบ่งบอกข้อผิดพลาดต่าง ๆ ว่าเป็นข้อผิดพลาดจากสาเหตุใด เช่น ศัพท์ที่ใช้ในชุดคำสั่งภาษานั้น ๆ ตัวแปลภาษาไม่รู้จัก (bad command) หรือไวยากรณ์ผิด (syntax error) เป็นต้น |
execution phase | ช่วงกระทำการหมายถึง ช่วงเวลาที่คอมพิวเตอร์กระทำตามคำสั่งในชุดคำสั่งชุดหนึ่ง ๆ เริ่มนับแต่การไปนำข้อมูลมา (fetch) การถอดรหัส (decode) และการกระทำการ (execute) ตามข้อความสั่งนั้น ๆ ดู compilation phase เปรียบเทียบ |
executive program | โปรแกรมกระทำการหมายถึง โปรแกรมระบบ (systems software) ซึ่งมีหน้าที่กำกับดูแล หรือควบคุมการกระทำการ (execution) ของคอมพิวเตอร์ให้สอดคล้องกัน เป็นต้นว่า ดูแลการทำงานของหน่วยรับข้อมูล หน่วยแสดงผล (input/output unit) การดำเนินการและกำหนดการใช้หน่วยประมวลผลกลาง (CPU) หน่วยความจำ (memory unit) ให้ทำงานให้สอดคล้องกัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในระบบทำงานแบบหลายชุดคำสั่ง หรือระบบมัลติโปรแกรมมิ่ง (multiprogramming) ชุดคำสั่งชุดนี้ เป็นส่วนหนึ่งของระบบปฏิบัติการ (operating system) มีหน้าที่หลักในการดูแลไม่ให้การประมวลผล โปรแกรมทีละหลาย ๆ โปรแกรม เกิดความสับสนกัน มีความหมายเหมือน supervisor |
file name | ชื่อแฟ้ม (ข้อมูล) แฟ้มข้อมูลก็ดี โปรแกรมหรือชุดคำสั่งก็ดี จะต้องมีชื่อที่ ไม่ซ้ำกัน เพื่อให้ผู้ใช้ติดต่อสั่งงานกับคอมพิวเตอร์ได้เมื่อ ต้องการ เรียกใช้ระบบปฏิบัติการแต่ละระบบ จะมีข้อกำหนด กฎเกณฑ์ต่าง ๆ เกี่ยวกับการตั้งชื่อแฟ้มข้อมูลไว้ เป็นต้นว่า ระบบดอสและวินโดว์ มีข้อกำหนดว่า ชื่อของแฟ้ม ข้อมูล จะต้องยาวไม่เกิน 8 ตัวอักขระ (ตัวอักษรหรือตัวเลข) ต้องขึ้นต้นด้วยตัวอักษร ต้องไม่มีช่องว่าง ฯ และที่สำคัญที่สุด คือตั้งชื่อเป็นภาษาไทยไม่ได้โดยเด็ดขาด นอกจากนั้น อาจจะต้องมีนามสกุล (filetype) ซึ่งต้องประกอบด้วย 3 ตัวอักษร ส่วนระบบของแมคอินทอช มีข้อจำกัดน้อยกว่านั้น มาก เช่น จะใช้ภาษาไทยก็ได้ |
halt | (ฮอลทฺ) vi., n.adj. (การ) หยุด, ชะงัก, เป็นง่อย, ขาเป๋, ลังเล, สองจิตสองใจ interj. หยุด, Syn. stand, check ชะงัก1. การที่เครื่องคอมพิวเตอร์หยุดปฏิบัติงานตามชุดคำสั่ง ซึ่งอาจเกิดจากการขัดจังหวะหรือมีที่ผิดมีความหมายเหมือน hang2. มีคำสั่งใดคำสั่งหนึ่งในชุดคำสั่งนั้นเองที่สั่งให้หยุดคำสั่งในชุดคำสั่งหรือในโปรแกรมเพียงชั่วขณะใดขณะหนึ่ง เพื่อทำการตรวจสอบโปรแกรมเปลี่ยนแถบบันทึกหรือจานบันทึก การหยุดแบบนี้ ถ้าผู้คุมเครื่อง operator กดปุ่ม START โปรแกรมจะทำงานต่อได้ทันทีมีความหมายเหมือน pause |
human oriented language | ภาษาแนวมนุษย์หมายถึงภาษาที่ใกล้เคียงภาษามนุษย์ เขียนได้ง่าย เข้าใจง่าย และกระทัดรัด สะดวกในการใช้งาน ภาษานี้มีลักษณะเหมือนภาษาหนังสือ ใช้เขียนสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงาน แต่คอมพิวเตอร์จะต้องนำไปแปลให้เป็นภาษาเครื่อง (machine language) ก่อนจึงจะเข้าใจ และนำไปปฏิบัติได้ แบ่งเป็น 2 ระดับ คือ1. ภาษาระดับสูง (high level language) 2. ภาษาระดับต่ำ (low level language) การใช้ภาษามนุษย์เขียนชุดคำสั่งนี้มีข้อดีคือ ทำได้ง่าย มีความผิดพลาดน้อย แก้ไขตอนหนึ่งตอนใดได้ง่าย เขียนได้สั้น เพราะบางทีคำสั่งเพียงคำสั่งเดียวก็มีผลเท่ากับหลายคำสั่งในภาษาเครื่อง แต่ภาษาเครื่องก็มีส่วนดีตรงที่สามารถใช้เวลาของเครื่องน้อยกว่าเพราะไม่เสียเวลาในการแปลดู computer language ประกอบดู machine language เปรียบเทียบ |
in line program | โปรแกรมแทรกชุดคำสั่งแทรกหมายถึง ชุดคำสั่งส่วนหนึ่งที่เขียนแทรกไว้ในโปรแกรม ใช้ชื่อที่กำหนดขึ้นเป็นพิเศษ เพื่อสะดวกในการเรียกใช้ คำสั่งกลุ่มนี้ โดยปกติ จะประกอบด้วยคำสั่งหลายคำสั่ง ที่ผู้ทำโปรแกรมนำมารวมไว้ ชุดคำสั่งแทรกนี้จะต้องกำหนดชื่อคำสั่งไว้ตอนต้นโปรแกรม เมื่อใดก็ตาม ที่มีการเรียกชื่อคำสั่งที่กำหนดนี้ ก็จะเท่ากับเป็นการเรียกใช้กลุ่มคำสั่งที่ประกอบด้วยคำสั่งนี้ทั้งชุด ชุดคำสั่งแทรกนี้ เราสามารถเรียกใช้ได้ตลอดเวลาที่เรียกใช็โปรแกรมนี้อยู่ หรือทุกแห่งที่ต้องการใช้คำสั่งกลุ่มนั้นมีความหมายเหมือน macro instruction, macro program |
instruction register | เรจิสเตอร์คำสั่งเครื่องหน่วยความจำที่อยู่ในหน่วยประมวลผลกลาง (CPU) ที่ใช้เก็บชุดคำสั่งที่ไปนำมาเพื่อใช้กระทำการ (execute) |
instruction time | เวลาทำคำสั่งเครื่องหมายถึงช่วงเวลาที่เครื่องคอมพิวเตอร์ปฏิบัติตามคำสั่ง ตั้งแต่เริ่มต้นจนกระทั่งดำเนินการแล้วเสร็จ หรือได้รับคำตอบที่ต้องการจากชุดคำสั่งหนึ่ง ๆ โดยปกติ การทำงานของคอมพิวเตอร์จะแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ1. ช่วงการแปล (compilation time) 2. ช่วงการกระทำการ (execution time) มีความหมายเหมือน execution time |
integratd program | ชุดคำสั่งเบ็ดเสร็จหมายถึง โปรแกรมที่ผู้ผลิต ผลิตออกมาเป็นชุดเดียวกัน สามารถทำงานได้หลาย โดยเฉพาะงานสำนักงานทั่วไป ที่ใช้กันมาก ได้แก่ โปรแกรมการประมวลผลคำ ตารางจัดการ ฐานข้อมูล และการสื่อสาร เป็นต้น โดยปกติโปรแกรมประเภทนี้จะทำงานแต่ละอย่างได้ไม่ดีนัก แต่ถ้าต้องเสียเงินซื้อก็จะถูกกว่าไปจ้างเขาเขียน |
integrated software | ซอฟต์แวร์เบ็ดเสร็จส่วนชุดคำสั่งเบ็ดเสร็จหมายถึง โปรแกรมที่ผู้ผลิต ผลิตออกมาเป็นชุดเดียวกัน สามารถทำงานได้หลาย โดยเฉพาะงานสำนักงานทั่วไป ที่ใช้กันมาก ได้แก่ โปรแกรมการประมวลผลคำ ตารางจัดการ ฐานข้อมูล และการสื่อสาร เป็นต้น โดยปกติโปรแกรมประเภทนี้จะทำงานแต่ละอย่างได้ไม่ดีนัก แต่ถ้าต้องเสียเงินซื้อก็จะถูกกว่าไปจ้างเขาเขียน |
job control program | ชุดคำสั่งควบคุมงานหมายถึงชุดคำสั่งหรือโปรแกรมชุดหนึ่ง ที่มีหน้าที่ควบคุมสายงานในการปฏิบัติการของเครื่องคอมพิวเตอร์ เริ่มตั้งแต่อ่านข้อมูลเข้าไปเก็บ กำหนดว่าจะต้องใช้อุปกรณ์หรือชุดคำสั่งใดบ้าง (เช่น ตัวแปลภาษาใด) กำหนดการเริ่มกระทำการ (execute) และการส่งผลที่คำนวณแล้วไปยังเครื่องพิมพ์ ฯมีความหมายเหมือน job control language |
liveware | หมายถึง บุคคลที่ทำงานเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เป็นต้นว่า1. วิศวกรคอมพิวเตอร์ (computer engineer) ซึ่งมีหน้าที่ดูแลเรื่องการบำรุงรักษาตัวเครื่อง หรือเรื่องอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับส่วนตัวเครื่อง (hardware) 2. นักวิเคราะห์ระบบ (system analyst) คือ ผู้ที่จะวิเคราะห์ระบบงานที่จะใช้คอมพิวเตอร์ในการประมวลผล3. นักเขียนชุดคำสั่งหรือผู้ทำโปรแกรม (programmer) คือผู้ที่จะเขียนคำสั่งต่าง ๆ ให้คอมพิวเตอร์ปฏิบัติตาม4. ผู้ควบคุมเครื่อง (operator) คือผู้ที่จะบังคับควบคุมคอมพิวเตอร์ ด้วยการกดปุ่มบนแผงหน้าปัด ให้ทำงานตามคำสั่ง5. ผู้เตรียมข้อมูล (data entry operator) หมายถึงผู้ที่นำข้อมูลลงในสื่อชนิดใดชนิดหนึ่ง เช่น แถบบันทึก จานบันทึกมีความหมายเหมือน peopleware |
non executable statement | ข้อความสั่งไม่ทำการหมายถึง คำสั่งที่เครื่องคอมพิวเตอร์จะไม่ทำการใด ๆ แต่เป็นการแจ้งให้ตัวแปลชุดคำสั่ง (compiler) รับรู้ข้อความบางอย่างที่ต้องการแจ้งให้ทราบเท่านั้น เช่น คำสั่ง END เป็นต้น คำสั่งนี้เป็นเพียงต้องการแจ้งให้ทราบว่า จบโปรแกรมนั้น ๆ แล้วเท่านั้น นอกจากนั้น ก็อาจเป็นคำสั่งให้เตรียมที่ในหน่วยความจำบ้าง เตรียมจัดรูปแบบข้อมูลบ้าง ถ้าสั่งให้อ่านข้อมูลโดยใช้คำสั่ง Read คำสั่งนี้เป็นข้อความสั่งทำการ (excutable statement) เครื่องจะทำการทันทีที่พบคำสั่งนี้ แต่อ่านข้อมูลแล้วนำไปจัดเก็บในรูปแบบตามคำสั่ง FORMAT (ในภาษาฟอร์แทรน) คำสั่ง FORMAT ถือว่าเป็นข้อความสั่งไม่ทำการดู excutable statement เปรียบเทียบ |
object language | ภาษาจุดหมายหมายถึง ชุดคำสั่งที่เป็นภาษาเครื่อง (machine language) หรือภาษาที่คอมพิวเตอร์เข้าใจและปฏิบัติตามได้ทันที่ถ้าผ่านการเชื่อมโยง (link) โดยปกติ ในการเขียนโปรแกรมหรือชุดคำสั่ง เรามักจะเขียนคำสั่งให้เครื่องปฏิบัติตามเป็นภาษาระดับสูง (high level language) หรือที่เรียกว่าภาษาต้นฉบับ (source language) ซึ่งคอมพิวเตอร์ไม่เข้าใจและจะต้องนำไปแปลให้เป็นภาษาเครื่องหรือภาษาจุดหมายก่อน คอมพิวเตอร์จึงจะทำงานตามคำสั่งที่ต้องการได้ |
object-oriented programmi | การทำโปรแกรมเชิงวัตถุหมายถึง วิธีการเขียนโปรแกรมของนักเขียนโปรแกรมรุ่นใหม่ ที่จัดแบ่งการเขียนคำสั่งกันออกเป็นชุด ๆ แต่ละชุดเรียกว่า "วัตถุ" (object) แล้วจึงนำเอาชุดคำสั่งแต่ละชุดนั้นมารวมกันเป็นโปรแกรมชุดใหญ่อีกทีหนึ่ง ในบางครั้งยังอาจนำ "วัตถุ" ของโปรแกรม หนึ่งไปรวมกับ "วัตถุ" ของอีกโปรแกรมหนึ่ง แล้วเรียกออกมาใช้ได้เลย ทั้งนี้ทำให้ผู้เขียนโปรแกรมใหม่ไม่จำเป็นต้องเริ่มต้นใหม่ทั้งหมด วิธีการดังกล่าวนี้ช่วยประหยัดเวลาได้มาก พูดให้ง่ายก็คือ ทุกโปรแกรมไม่ต้องเริ่มต้นจากศูนย์ อนึ่ง คำว่า "วัตถุ" นั้น หมายรวมไปถึงภาพหรือกราฟิกด้วย ภาพหนึ่งภาพ เช่น การสร้างวงกลมนั้น เกิดจากการเขียนโปรแกรมโดยใช้สูตรคำนวณเส้นโค้ง ซึ่งจะประกอบด้วยคำสั่งหลายร้อยคำสั่ง แล้วเก็บไว้เป็น "วัตถุ" หนึ่ง ฉะนั้น เมื่อใดที่เราสั่งวาดวงกลม ก็เท่ากับไปเรียก "วัตถุ" นี้มาใช้ หลังจากนั้น หากเราจะต่อเติมเป็นภาพอื่นต่อไป คอมพิวเตอร์ก็จะไปดึงอีก "วัตถุ" หนึ่งมาทำต่อให้ |
oop | (โอโอพี, อุป) ย่อมาจาก object-oriented programming หมายถึง วิธีการเขียนโปรแกรมของนักเขียนโปรแกรมรุ่นใหม่ ที่จัดแบ่งการเขียนคำสั่งกันออกเป็นชุด ๆ แต่ละชุดเรียกว่า "วัตถุ" (object) แล้วจึงนำเอาชุดคำสั่งแต่ละชุดนั้นมารวมกันเป็นโปรแกรมชุดใหญ่อีกทีหนึ่ง ในบางครั้งยังอาจนำ "วัตถุ" ของโปรแกรม หนึ่งไปรวมกับ "วัตถุ" ของอีกโปรแกรมหนึ่ง แล้วเรียกออกมาใช้ได้เลย ทั้งนี้ทำให้ผู้เขียนโปรแกรมใหม่ไม่จำเป็นต้องเริ่มต้นใหม่ทั้งหมด วิธีการดังกล่าวนี้ช่วยประหยัดเวลาได้มาก พูดให้ง่ายก็คือ ทุกโปรแกรมไม่ต้องเริ่มต้นจากศูนย์ อนึ่ง คำว่า "วัตถุ" นั้น หมายรวมไปถึงภาพหรือกราฟิกด้วย ภาพหนึ่งภาพ เช่น การสร้างวงกลมนั้น เกิดจากการเขียนโปรแกรมโดยใช้สูตรคำนวณเส้นโค้ง ซึ่งจะประกอบด้วยคำสั่งหลายร้อยคำสั่ง แล้วเก็บไว้เป็น "วัตถุ" หนึ่ง ฉะนั้น เมื่อใดที่เราสั่งวาดวงกลม ก็เท่ากับไปเรียก "วัตถุ" นี้มาใช้ หลังจากนั้น หากเราจะต่อเติมเป็นภาพอื่นต่อไป คอมพิวเตอร์ก็จะไปดึงอีก "วัตถุ" หนึ่งมาทำต่อให้ |
preprocssor | ตัวประมวลผลก่อนเป็นชุดคำสั่งที่ใช้ให้จัดการเตรียมข้อมูลไว้สำหรับการประมวลผลขั้นต่อไป เป็นต้นว่า จัดรูปแบบไว้ก่อน หรือคำนวณไว้ให้ขั้นตอนหนึ่งก่อน เป็นต้น |
private library | คลังชุดคำสั่งส่วนตัวหมายถึง ที่เก็บรวบรวมชุดคำสั่งหรือโปรแกรมต่าง ๆ ซึ่งแปลไว้เป็นภาษาเครื่อง (machine language) แล้ว อาจเรียกใช้ได้ทันที มักเป็นชุดคำสั่งที่มีการเรียกใช้บ่อย ๆ มีความหมายเหมือน program library |
program card | บัตรชุดคำสั่งหมายถึง บัตรที่เจาะรูไว้เป็นรหัสของคำสั่งหรือชุดคำสั่ง ใช้เมื่อต้องการแยกความแตกต่างกับ "บัตรข้อมูล" (data card) เมื่อส่งเข้าเครื่องเพื่อประมวลผล ต้องให้เครื่องอ่านบัตรชุดคำสั่งก่อนบัตรข้อมูล บัตรชุดคำสั่งนี้ ใช้เจาะได้ตั้งแต่คอลัมน์ 7 ถึง 72 เท่านั้น แต่บัตรข้อมูลเจาะได้ทั้ง 80คอลัมน์ของบัตร |
program check | ชุดคำสั่งตรวจสอบหมายถึง โปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่มีเก็บไว้ภายในเครื่องคอมพิวเตอร์ มีหน้าที่คอยตรวจสอบการวิ่ง (run) ชุดคำสั่ง ว่าเป็นไปอย่างถูกต้องหรือไม่ |
program library | คลังโปรแกรมหมายถึง ที่เก็บรวบรวมชุดคำสั่งหรือโปรแกรมต่าง ๆ ซึ่งแปลไว้เป็นภาษาเครื่อง (machine language) แล้ว อาจเรียกใช้ได้ทันที มักเป็นชุดคำสั่งที่มีการเรียกใช้บ่อย ๆ มีความหมายเหมือน private library |
programmer | นักเขียนโปรแกรมนักเขียนชุดคำสั่งหมายถึง คนที่เขียนโปรแกรมสั่งให้คอมพิวเตอร์ทำงานตามที่ต้องการได้ และควรจะมีความชำนาญด้วย (สำหรับคนที่หัดเขียนใหม่ ๆ ไม่ควรจะใช้คำ ๆ นี้) นักเขียนโปรแกรมที่ดีนั้น จะต้องรู้วิธีแก้ปัญหา และรู้ด้วยว่า จะแก้อย่างไร รวมทั้งต้องเข้าใจหลักและกฎเกณฑ์ของภาษาต่าง ๆ ที่จะทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจด้วย เพื่อจะได้ปฏิบัติตามคำสั่งได้ |
relative address | เลขที่อยู่สัมพัทธ์หมายถึงเลขที่อยู่ (address) ที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมหรือชุดคำสั่ง โดยใช้จำนวนไบต์ จากเลขที่อยู่อื่นที่มีอยู่แล้ว เช่น เลขที่อยู่สัมพัทธ์ของ "0004" บ่งชี้ว่าข้อมูลนั้นได้เก็บเอาไว้ ห่างจากเลขที่อยู่อีกอันหนึ่งไปอีก 4 ที่ เป็นต้น |
rom bios | รอมไบออส <คำอ่าน>ย่อมาจาก read only memory basic input/ output system หมายถึงไบออสที่อยู่ในรอม ซึ่งจะทำหน้าที่ทันทีที่เปิดไฟที่เครื่องคอมพิวเตอร์ โดยจะทำการทดสอบฮาร์ดแวร์ส่วนกลาง ตรวจสอบหน่วยความจำ หน่วยบันทึก ตรวจหาโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่ต้องใช้ในการเริ่มเครื่องใหม่จนพบโปรแกรม autoexec.bat จึงจะถือว่าหมดหน้าที่ ถ้าไม่พบ ก็จะแสดงคำสั่ง date และ time เมื่อตอบคำถามเรียบร้อย ก็จะปรากฏเครื่องหมาย > (prompt) อยู่หลังชื่อหน่วยบันทึก จึงถือว่าหมดหน้าที่ หน่วยความจำส่วนนี้ จะเก็บคำสั่งทั้งหมดไว้ได้แม้ว่าจะปิดสวิตซ์ที่คอมพิวเตอร์ดู BIOS ประกอบ |
run | (รัน) { ran, run, running, runs } vi., vt. วิ่ง, เข้าแข่ง, รีบ, ขับ, แล่น, เดินเครื่อง, ดำเนินการ, ปฏิบัติการ, (เวลา) ผ่านไป, เป็นจำนวน, เป็นดังต่อไปนี้, เป็นหนี้, มีอายุ, ผ่านไปอย่างรวดเร็ว, เคลื่อนไปตาม, วิ่งไปตาม, กระทำ n. การวิ่ง, ระยะทางที่ไป, เส้นทาง, ทางน้ำไหล, เที่ยวเรือ, เที่ยวรถ, ความต่อเนื่อง, ก้าวหน้า, ทิศทาง, ดำเนินงานหมายถึง การทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นไปตามชุดคำสั่ง หรือโปรแกรมในภาษาเบสิก (BASIC) ใช้เป็นคำสั่งให้เริ่มกระทำการตามคำสั่งในโปรแกรม |
semantic | (ซีแมน'ทิค) adj. เกี่ยวกับหรือเนื่องจากความหมายแตกต่างของคำหรือสัญลักษณ์อื่น, เกี่ยวกับsemantics (ดู) -semantically adv. ความหมายหมายถึง สัมพันธภาพระหว่างคำกับสัญลักษณ์ในภาษาที่ใช้การเขียนโปรแกรมหรือชุดคำสั่ง รวมทั้งความหมายที่กำหนดให้สำหรับคำและสัญลักษณ์นั้น ๆ ด้วย อย่างไรก็ตาม คำสั่งต่าง ๆ ในการเขียนโปรแกรมหรือชุดคำสั่งมักใช้อธิบายด้วยภาษาคณิตศาสตร์ เพราะมีความชัดเจนแน่นอน |
software | ซอฟต์แวร์ส่วนชุดคำสั่งหมายถึง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ หรือชุดคำสั่งที่เขียนขึ้นด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ ภาษาใดภาษาหนึ่ง ที่เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถแปลและรับรู้ได้ คำนี้มักจะใช้เพื่อชี้ให้เห็นความแตกต่างเมื่อเทียบกับส่วนตัวเครื่องหรือฮาร์ดแวร์ (hardware) ดู hardware เปรียบเทียบ |
software package | ส่วนชุดคำสั่งสำเร็จซอฟต์แวร์สำเร็จในทางคอมพิวเตอร์ บางทีใช้สั้น ๆ ว่าpackage ซึ่งก็คือ โปรแกรมสำเร็จที่มีผู้เขียนไว้จำหน่าย มีการจดลิขสิทธิ์ (ห้ามการคัดลอก) ปัจจุบันได้รับความนิยมมาก ราคาถูกกว่าการจ้างเขียน การใช้ก็ไม่ยาก ผู้ที่ซื้อไปใช้เพียงแต่อ่านคู่มือเอาเอง หรือเรียนรู้วิธีใช้คำสั่งเล็ก ๆ น้อย ๆ ผู้ผลิตจะแข่งขันกันในการทำให้โปรแกรมเหล่านี้ใช้ง่าย มีทั้งโปรแกรมระบบ เช่น MS DOS และ Windows โปรแกรมตารางจัดการเช่น Excel, Lotus โปรแกรมประมวลผลคำ เช่น Word Perfect, MS Word, CU Writer ฯลฯมีความหมายเหมือน packaged program |
target language | ภาษาเป้าหมายหมายถึง ภาษาเครื่อง (machine language) หรือภาษาที่คอมพิวเตอร์เข้าใจ และปฏิบัติตามได้ทันที โดยปกติในการเขียนโปรแกรมหรือชุดคำสั่ง เรามักจะเขียนคำสั่งให้เครื่องปฏิบัติตามเป็นภาษาต้นฉบับ (source language) หรือภาษาระดับสูง (high level language) ซึ่งคอมพิวเตอร์ไม่เข้าใจ และจะต้องนำไปแปลให้เป็นภาษาเครื่องก่อนคอมพิวเตอร์จึงจะทำงานตามคำสั่งที่ต้องการได้ ภาษาเป้าหมายก็คือภาษาเครื่องนั่นเองมีความหมายเหมือน object language หรือ machine languageดู source language เปรียบเทียบ |
task management | การจัดภารกิจหมายถึงการจัดภารกิจในด้านการปฏิบัติการของชุดคำสั่ง เป็นต้นว่า การกำหนด ตำแหน่งที่เก็บข้อมูล (เป็นหน้าที่ของระบบปฏิบัติการ หรือ operating system) |