ผลลัพธ์การค้นหาสำหรับ

*ชำนัญ*

   
ภาษา
Dictionaries languages

English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์มากขึ้นหรือน้อยลง: ชำนัญ, -ชำนัญ-
มีผลลัพธ์ที่ไม่แสดงผลอยู่
ปรับการตั้งค่า
Dictionaries languages

English Phonetic Symbols




Chinese Phonetic Symbols


Thai-English: NECTEC's Lexitron-2 Dictionary [with local updates]
ชำนัญ(v) know, See also: be aware of, understand, comprehend, perceive, Syn. รู้
ชำนัญพิเศษ(n) expert, See also: specialist, master, Syn. ผู้เชี่ยวชาญ, ผู้ชำนาญพิเศษ, Example: ผู้ชำนัญพิเศษสาขานิเวศน์วิทยากำลังอภิปรายอยู่, Count Unit: คน, Thai Definition: เรียกนักวิชาการผู้มีความเชี่ยวชาญเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะว่า ผู้ชำนัญพิเศษ

ไทย-ไทย: พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๕๔
ชำนัญก. รู้.
ชำนัญพิเศษน. เรียกนักวิชาการผู้มีความเชี่ยวชาญเรื่องใดเรื่องหนึ่งโดยเฉพาะ ว่า ผู้ชำนัญพิเศษ
ชำนัญพิเศษเรียกองค์การต่าง ๆ ในสังกัดองค์การสหประชาชาติ ว่า ทบวงการชำนัญพิเศษ.
ผู้พิพากษาสมทบน. บุคคลซึ่งได้รับแต่งตั้งตามกฎหมายจัดตั้งศาลชำนัญพิเศษ ให้เป็นองค์คณะร่วมกับผู้พิพากษาซึ่งเป็นข้าราชการตุลาการ มีอำนาจและหน้าที่ในการพิจารณาพิพากษาคดี เช่น ผู้พิพากษาสมทบในศาลเยาวชนและครอบครัว ผู้พิพากษาสมทบในศาลแรงงาน.

อังกฤษ-ไทย: ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน [เชื่อมโยงจาก orst.go.th แบบอัตโนมัติและผ่านการปรับแก้]
specialistผู้ชำนัญพิเศษ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
special jurisdictionศาลชำนัญพิเศษ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
specialistผู้ชำนัญพิเศษ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
specializationความชำนัญพิเศษ, การมีความชำนัญพิเศษ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
specialized agencyทบวงการชำนัญพิเศษ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
specialized agencyทบวงการชำนัญพิเศษ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
specialized staffหน่วยงานชำนัญพิเศษ, คณะผู้ชำนัญพิเศษ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
agency, specializedทบวงการชำนัญพิเศษ [รัฐศาสตร์ ๑๗ ส.ค. ๒๕๔๔]
agency, specializedทบวงการชำนัญพิเศษ [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]
tribunal๑. ศาล, ศาลชำนัญพิเศษ๒. บัลลังก์ผู้พิพากษา [นิติศาสตร์ ๑๑ มี.ค. ๒๕๔๕]

อังกฤษ-ไทย: คลังศัพท์ไทย โดย สวทช.
Economic and Social Councilคณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม (แห่งสหประชาชาติ) เป็นองค์กรหลักของสหประชาชาติ ที่ทำหน้าที่ในการศึกษาและรายงานเกี่ยวกับเรื่องระหว่างประเทศทางเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การศึกษา อนามัย และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง และจัดทำคำแนะนำเสนอต่อสมัชชา สมาชิกของสหประชาชาติ ตลอดจนทบวงการชำนัญพิเศษที่เกี่ยวข้อง โดยมุ่งเน้นที่จะส่งเสริมการเคารพ และการปฏิบัติตามสิทธิมนุษยชน และอิสรภาพของมวลมนุษย์ ทั้งนี้ ประกอบด้วยสมาชิกของสหประชาชาติ 54 ประเทศ [การทูต]
Food and Agriculture Organizationองค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ " เป็นทบวงการชำนัญพิเศษขององค์การสหประชาชาติ ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 16 ตุลาคม 2488 มีหน้าที่บรรเทาความอดอยากและหิวโหยของ ประชากรโลกด้วยการส่งเสริม และพัฒนาเกษตรกรรม การปรับปรุงโภชนาการ และแสวงหาความมั่นคงทางด้านอาหาร ปัจจุบันมีสมาชิก 171 ประเทศ มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงโรม ประเทศอิตาลี " [การทูต]
International Civil Aviation Organizationองค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ " เป็นทบวงการชำนัญพิเศษขององค์การสหประชาชาติ ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 4 เมษายน 2490 โดยอนุสัญญาว่าด้วยการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (Convention on International Civil Aviation) มีวัตถุประสงค์ที่จะเป็นหน่วยงานกลางระหว่างประเทศสมาชิก ในการออกกฎ ระเบียบ และ ข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการบินพลเรือน ปัจจุบันมีสมาชิก 185 ประเทศ มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่เมืองมอนทรีออล ประเทศแคนาดา " [การทูต]
International Labor Organizationองค์การแรงงานระหว่างประเทศ มีสถานะเป็นทบวงการชำนัญพิเศษ ตั้งอยู่ที่นครเจนีวา สวิตเซอร์แลนด์ มีหน้าที่ส่งเสริมปรับปรุงสภาพความเป็นอยู่ของผู้ใช้แรงงาน โดยการตั้งมาตรฐานในด้านค่าจ้าง ชั่วโมงการทำงาน เงื่อนไขการว่าจ้าง และการประกันสังคม [การทูต]
International Maritime Organizationองค์การกิจการทางทะเลระหว่างประเทศ " เป็นทบวงการชำนัญพิเศษขององค์การสหประชาชาติ ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2502 โดยมีวัตถุประสงค์ที่จะเป็นเวทีระหว่างประเทศสมาชิก ในการกำหนดมาตรฐาน และแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับความปลอดภัย ในการเดินเรือ และการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมทางทะเล รวมทั้งเป็นกลไกในการสร้างความร่วมมือทางวิชาการระหว่างประเทศสมาชิก ปัจจุบัน มีสมาชิก 155 ประเทศ สำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ที่กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร " [การทูต]
Inter-Governmental Maritime Consultative Organizationองค์การที่ปรึกษาทางทะเลระหว่างรัฐบาล หมายถึงองค์การที่ปรึกษาเกี่ยวกับการเดินเรือทางทะเล ระหว่างรัฐบาล องค์การนี้มีฐานะเป็นองค์การชำนัญพิเศษแห่งหนึ่งขององค์การสหประชาชาติ ประเทศทั้งหมดรวม 35 ประเทศ ได้ประชุมร่วมกันจัดทำอนุสัญญาขององค์การนี้ขึ้นเป็นครั้งแรก ในการประชุมขององค์การที่ปรึกษาการเดินเรือทางทะเล ณ กรุงเจนีวา เมื่อวันที่ 6 มีนาคม ค.ศ. 1948 อนุสัญญามีผลบังคับใช้เมื่อ วันที่ 17 มีนาคม ค.ศ. 1958 เมื่อมีประเทศต่าง ๆ รวม 21 ประเทศได้ให้สัตยาบัน ซึ่งในจำนวนนี้ 7 ประเทศเป็นอย่างน้อยจะต้องมีเรือเดินทะเลของตนไม่น้อยกว่า 1 ล้านตัน (Gross tons) วัตถุประสงค์ขององค์การ IMCO คือ1. จัดวางกลไกเพื่อความร่วมมือกันระหว่างรัฐบาลประเทศสมาชิก ในด้านการวางระเบียบข้อบังคับของราชการ และการปฏิบัติซึ่งเกี่ยวข้องกับเรื่องทางวิชาการหรือเทคนิค รวมทั้งเรื่องที่เกี่ยวกับความปลอดภัยทางทะเล2. สนับสนุนให้มีการยกเลิกการกระทำที่เลือกที่รักมักที่ชัง และข้อจำกัดต่าง ๆ ที่ไม่จำเป็นของรัฐบาล3. รับพิจารณาเรื่องต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติในทำนองตั้งข้อจำกัดอย่างไม่ยุติธรรมของบริษัท หรือองค์การเดินเรือทั้งหลาย4. รับพิจารณาเรื่องใด ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเดินเรือ ที่องค์การหนึ่งใดหรือองค์การชำนัญพิเศษของสหประชาชาติส่งมาให้พิจารณา 5. จัดให้มีการแลกเปลี่ยนข่าวสารข้อสนเทศใด ๆ ระหว่างรัฐบาลเกี่ยวกับเรื่องที่องค์การ IMCO กำลังพิจารณาอยู่องค์การนี้ยังจัดให้มีการร่างอนุสัญญาและความตกลงต่าง ๆ รวมทั้งส่งข้อเสนอแนะเหล่านี้ไปให้รัฐบาล และองค์การระหว่างรัฐบาลทั้งหลาย รวมทั้งจัดการประชุมเท่าที่พิจารณาเห็นว่าจำเป็นองค์การนี้ประชุมกันทุกสอง ปี มีหน้าที่วางนโยบายเกี่ยวกับการเดินเรือทางทะเล ระหว่างสมัยประชุมจะมีคณะเจ้าหน้าที่ขององค์การ เรียกว่า คณะมนตรี (Council) ทำหน้าที่บริหารงานในองค์การ คณะมนตรีประกอบด้วยสมาชิก 16 คน ในจำนวนนี้ 8 คน เป็นผู้แทนจากประเทศที่สนใจให้การบริการเกี่ยวกับการเดินเรือระหว่างประเทศ และอีก 8 คนเป็นตัวแทนจากประเทศที่สนใจการค้าทางทะเลระหว่างประเทศ องค์การมีสำนักเลขาธิการ ประกอบด้วยตัวเลขาธิการ เลขานุการคณะกรรมการเกี่ยวกับความปลอดภัยทางทะเล และเจ้าหน้าที่ประจำตามจำนวนที่องค์การต้องการแล้วแต่กรณี สำนักงานใหญ่ขององค์การตั้งอยู่ในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ [การทูต]
International Court of Justiceศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือที่เรียกกันอย่างไม่เป็นทางการว่า ศาลโลก ตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1945 ตามกฎบัตรขององค์การสหประชาชาติ กฎข้อบังคับ (Statute) ของศาลโลกนั้นได้ผนวกอยู่ท้ายกฎบัตรของสหประชาชาติ และถือเป็นส่วนสำคัญอย่างแยกจากกันมิได้ของกฎบัตร ศาลนี้ตั้งอยู่ ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ถือเป็นองค์กรแห่งศาลหรือแห่งตุลาการสำคัญที่สุดขององค์การสหประชาชาติ ประเทศใดที่เข้าเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลก ย่อมมีสิทธิที่จะส่งคดีใดก็ตามไปให้ศาลโลกพิจารณาได้ ภายใต้เงื่อนไขที่คณะมนตรีความมั่นคงได้จัดวางไว้ นอกจากนั้น คณะมนตรีความมั่นคงก็อาจจะส่งกรณีพิพาททางกฎหมายไปให้ศาลพิจารณาได้ทั้ง สมัชชาและคณะมนตรีความมั่นคงสามารถขอคำปรึกษาหรือความเห็นจากศาลเกี่ยวกับ ปัญหาข้อกฎหมายใดๆ และองค์กรอื่น ๆ ของสหประชาชาติ อันรวมถึงองค์การชำนัญพิเศษ ก็สามารถขอคำปรึกษา หรือความเห็นเกี่ยวกับประเด็นปัญหาทางกฎหมายใดๆ ที่อยู่ภายในกรอบของงานที่ปฏิบัติอยู่ แต่ทั้งนี้ ต้องได้รับอนุมัติเห็นชอบจากสมัชชาสหประชาชาติก่อน สมัชชาเคยมอบอำนาจเช่นนี้แก่คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม คณะมนตรีภาวะทรัสตี คณะกรรมาธิการระหว่างกาล (Interim Committee) ของสมัชชา รวมทั้งองค์กรระหว่างรัฐบาลบางแห่งด้วยรัฐทั้งหมดที่เป็นสมาชิกของสหประชา ชาติถือว่าเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลกไปในตัว ส่วนประเทศใดที่มิใช่เป็นสมาชิกของสหประชาชาติ ก็อาจเป็นภาคีของกฎข้อบังคับของศาลโลกได้ ตามเงื่อนไขที่สมัชชาสหประชาชาติเป็นผู้กำหนดเป็นราย ๆ ไป ตามข้อเสนอแนะของคณะมนตรีความมั่นคง ศาลโลกมีอำนาจที่จะพิจารณาปัญหาทั้งหลายที่รัฐสมาชิกขอให้พิจารณา รวมทั้งเรื่องอื่น ๆ ทั้งหลายที่ระบุอยู่ในกฎบัตรสหประชาชาติ และตามสนธิสัญญาหรืออนุสัญญาที่ใช้บังคับอยู่ รัฐสมาชิกย่อมยอมผูกพันตนล่วงหน้าได้ที่จะยอมรับอำนาจศาลในกรณีพิเศษต่าง ๆ โดยจะต้องลงนามในสนธิสัญญา หรืออนุสัญญาซึ่งยอมให้ส่งเรื่องไปที่ศาลได้ หรือออกประกาศเป็นพิเศษว่าจะปฏิบัติเช่นนั้น ในคำประกาศเช่นนั้นจะต้องระบุว่ายอมรับอำนาจบังคับของศาลโลก และอาจจะยกเว้นคดีบางประเภทมิให้อยู่ในอำนาจของศาลได้ ในการวินิจฉัยลงมติ ศาลโลกจะอาศัยแหล่งที่มาของกฎหมายต่าง ๆ ดังนี้ คือ- สัญญาหรืออนุสัญญาระห่างประเทศซึ่งวางกฎข้อบังคับที่รัฐคู่กรณียอมรับ- ขนบธรรมเนียมระหว่างประเทศซึ่งมีหลักฐานแสดงว่าเป็นหลักปฏิบัติทั่วไปตามที่ กฎหมายรับรองศาลโลกอาจจะตัดสินชี้ขาดว่าสิ่งใดยุติธรรมและดี โดยรัฐภาคีที่เกี่ยวข้องตกลงเห็นชอบด้วยคณะมนตรีความมั่นคงอาจจะรับการขอ ร้องจากรัฐภาคีหนึ่งใดในกรณีพิพาท ให้กำหนดมาตรการที่จะใช้เพื่อให้คำตัดสินของศาลมีผลบังคับ ถ้าคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งไม่ยอมปฏิบัติตามข้อผูกพันภายใต้อำนาจศาลศาลโลก ประกอบด้วยผู้พิพากษารวม 15 ท่าน ซึ่งถือกันว่าเป็น ?สมาชิก? ของศาล และได้รับเลือกตั้งจากสมัชชาและคณะมนตรีความมั่นคงของสหประชาชาติ ผู้พิพากษาเหล่านี้จะมีอำนาจออกเสียงลงคะแนนอย่างอิสระเสรีหลักเกณฑ์การคัด เลือกผู้พิพากษาศาลโลกจะถือตามคุณสมบัติขอผู้พิพากษานั้น ๆ มิใช่ถือตามสัญชาติของบุคคลดังกล่าว อย่างไรก็ดี จะมีการระมัดระวังด้วยว่า กฎหมายที่นำมาใช้ในศาลจะต้องมาจากระบบกฎหมายที่สำคัญ ๆ ของโลก ในศาลโลกจะมีผู้พิพากษาที่เป็นชาติเดียวกันมากกว่าหนึ่งคนไม่ได้ ผู้พิพากษาทั้งหลายจะมีสิทธิ์ดำรงอยู่ในตำแหน่งได้ เป็นเวลา 9 ปี มีสิทธิ์ได้รับเลือกตั้งซ้ำได้ และระหว่างที่ดำรงอยู่ในตำแหน่ง จะต้องไม่ประกอบอาชีพการงานอื่นใดทั้งสิ้น [การทูต]
International Finance Corporationคือบรรษัทการเงินระหว่างประเทศ ตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อเดือนกรกฎาคม ค.ศ.1956 และเริ่มมีฐานะเป็นองค์การชำนัญพิเศษที่มีสัมพันธ์กับองค์การสหประชาชาติ เมื่อวันที่ 20 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1957 แม้บรรษัทจะดำเนินงานใกล้ชิดกับธนาคารโลก แต่ก็มีฐานะเป็นสิ่งที่มีตัวตนทางกฎหมายแยกต่างหาก และมีกองทุนที่แตกต่างจากกองทุนของธนาคารโลกด้วยวัตถุประสงค์ของบรรษัทคือ ส่งเสริมการพัฒนาทางเศรษฐกิจ โดยสนับสนุนให้การผลิตของวิสาหกิจของเอกชนในประเทศสมาชิกเจริญเติบโตยิ่ง ขึ้น การที่จะกระทำตามวัตถุประสงค์นี้ได้ บรรษัทจะนำเงินไปลงทุนในวิสาหกิจด้านการผลิตฝ่ายเอกชน โดยดำเนินงานร่วมกับเอกชนผู้ลงทุน ทำหน้าที่เป็นสำนักหักบัญชี (Clearing House) คล้ายกับเป็นแหล่งรวมโอกาสต่าง ๆ ของการลงทุนฝ่ายเอกชนทั้งจากต่างประเทศและในประเทศ รวมทั้งฝ่ายจัดการที่มีประสบการณ์ชำนาญ นอกจากนั้น ยังช่วยกระตุ้นการลงทุนด้านการผลิตของเอกชนทั้งภายในและต่างประเทศด้วย บรรษัทยังได้รับอนุญาตให้ทำการกู้ยืมเงินโดยใช้วิธีขายพันธบัตรของตนเอง รวมทั้งตั๋วสัญญาการใช้เงินบรรษัทการเงินระหว่างประเทศดำเนินงานโดยองค์กร ต่าง ๆ ของตน คืออำนาจทั้งหมดของบรรษัทจะขึ้นอยู่กับคณะผู้ว่าการ (Board of Govemors) ประกอบด้วยผู้ว่าการและผู้ว่าการสำรอง (Altemates) จากธนาคารโลกซึ่งเป็นตัวแทนของประเทศต่าง ๆ อันเป็นสมาชิกของบรรษัทด้วย คณะผู้ว่าการจะคอยควบคุมดูแลการปฏิบัติงานของบรรษัทให้ถูกต้อง ตัวประธานธนาคารโลก จะทำหน้าที่เป็นประธานคณะผู้ว่าการของบรรษัทโดยตำแหน่งด้วย บรรษัทมีสำนักงานตั้งอยู่ที่กรุงวอชิงตันดีซี [การทูต]
Specialised Agencyทบวงการชำนัญพิเศษ (ในกรอบสหประชาชาติ) เป็นองค์การปฏิบัติงานเฉพาะสาขา ได้รับการจัดตั้งโดยความตกลงระหว่างประเทศ และมีความสัมพันธ์กับสหประชาชาติตามความตกลงพิเศษ เช่น องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์ และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ (UNESCO) [การทูต]
World Intellectual Property Organizationองค์การเกี่ยวกับสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาที่ เกี่ยวกับการค้า ถือกำเนิดจากอนุสัญญากรุงปารีส ปี ค.ศ. 1883 และอนุสัญญากรุงเบอร์นส์ ปี ค.ศ. 1886 ว่าด้วยการคุ้มครองงานวรรณกรรมและศิลปกรรมอนุสัญญาจัดตั้งองค์การเกี่ยวกับ สิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาเกี่ยวกับการค้านี้ ได้มีการลงนามกันเมื่อปี ค.ศ. 1967 และมีผลใช้บังคับตั้งแต่ปี ค.ศ. 1970 เป็นองค์การชำนัญพิเศษแห่งหนึ่งของสหประชาชาติ และมีประเทศที่เป็นสมาชิกขององค์การแล้วรวม 155 ประเทศ วัตถุประสงค์สำคัญขององค์การคือ ต้องการให้ทรัพย์สินทางปัญญาที่มีอยู่ทั่วโลกได้รับการธำรงรักษาและเพิ่ม ขึ้น ทั้งนี้ เพื่อจะกระตุ้นให้มีการพัฒนาทางอุตสาหกรรมและวัฒนธรรม และเอื้ออำนวยต่อการถ่ายทอดวิทยาการเทคโนโลยี รวมทั้งให้เผยแพร่งานวรรณกรรม และศิลปกรรม ทรัพย์สินทางปัญญาแบ่งออกได้เป็นสองประเภทใหญ่ ๆ คือ ทรัพย์สินทางอุตสาหกรรม และทรัพย์สินทางลิขสิทธิ์กับสิทธิที่ใกล้เคียงองค์การมีสำนักเลขาธิการตั้ง อยู่ที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ตำแหน่งหัวหน้าขององค์การนี้ เรียกว่า ผู้อำนวยการใหญ่ ซึ่งขณะนี้ได้แก่ Dr.Arpad Bogsch [การทูต]

Thai-English-French: Volubilis Dictionary 1.0
ชำนัญ[chamnan] (v) EN: know ; be aware of ; understand ; comprehend ; perceive
ชำนัญพิเศษ[chamnanphisēt] (n, exp) EN: expert ; specialist ; master  FR: expert [ m ]
การประชุมผู้ชำนัญพิเศษ[kān prachum phū chamnanphisēt] (n, exp) EN: panel meeting

English-Thai: Longdo Dictionary
Central Bankruptcy Court(n, name, org, uniq) ศาลล้มละลายกลาง เป็นศาลชั้นต้นตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม ซึ่งมีลักษณะเป็นศาลชำนัญพิเศษ จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้คดีล้มละลายซึ่งมีลักษณะพิเศษแต่กต่างจากคดีแพ่ง ทั่วไป ได้รับการพิจารณาพิพากษาจากผู้พิพากษาที่มีความรู้ความชำนาญเป็นพิเศษ - อ้างอิงจากhttp://www.judiciary.go.th/bkcc/history.html

English-Thai: Longdo Dictionary (UNAPPROVED version -- use with care )  **ระวัง คำแปลอาจมีข้อผิดพลาด**
ศาลล้มละลายกลาง(n, org, uniq) ศาลชั้นต้นตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม ซึ่งมีลักษณะเป็นศาลชำนัญพิเศษ จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้คดีล้มละลายซึ่งมีลักษณะพิเศษแต่กต่างจากคดีแพ่ง ทั่วไป ได้รับการพิจารณาพิพากษาจากผู้พิพากษาที่มีความรู้ความชำนาญเป็นพิเศษ http://www.judiciary.go.th/bkcc/history.html
ศาลล้มละลายกลาง(n, org, uniq) ศาลชั้นต้นตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม ซึ่งมีลักษณะเป็นศาลชำนัญพิเศษ จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้คดีล้มละลายซึ่งมีลักษณะพิเศษแต่กต่างจากคดีแพ่ง ทั่วไป ได้รับการพิจารณาพิพากษาจากผู้พิพากษาที่มีความรู้ความชำนาญเป็นพิเศษ http://www.judiciary.go.th/bkcc/history.html

เพิ่มคำศัพท์


ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ


Are you satisfied with the result?



Discussions

ว่าด้วยโฆษณา
เราทราบดีว่าท่านผู้ใช้คงไม่ได้อยากให้มีโฆษณาเท่าใดนัก แต่โฆษณาช่วยให้ทาง Longdo เรามีรายรับเพียงพอที่จะให้บริการพจนานุกรมได้แบบฟรีๆ ต่อไป ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
Go to Top