ชั้นเชิง | น. เล่ห์เหลี่ยม, ท่วงที, อุบาย, เชิงชั้น ก็ว่า. |
รู้ชั้นเชิง, รู้ชั้นรู้เชิง | ก. รู้เล่ห์เหลี่ยม, รู้กลอุบาย, เช่น เขารู้ชั้นเชิงของคู่ต่อสู้ ฉันรู้ชั้นเชิงไม่ยอมให้ใครมาหลอกง่าย ๆ ตำรวจรู้ชั้นเชิงของผู้ร้าย. |
กระดังงาลนไฟ | น. หญิงที่เคยแต่งงานหรือผ่านผู้ชายมาแล้ว ย่อมรู้จักชั้นเชิงทางปรนนิบัติและเอาอกเอาใจผู้ชายได้ดีกว่าหญิงที่ยังไม่ได้แต่งงาน. |
กระบวน | น. หมู่คนหรือพาหนะเป็นต้นที่จัดเป็นแถวเป็นแนวหรือเป็นหมวดเป็นหมู่ตามแบบแผน เช่น กระบวนพยุหยาตรา กระบวนทัพ, แบบแผน เช่น กระบวนหนังสือไทย, ชั้นเชิง เช่น ทำกระบวน งามกระบวนเนตรเงาเสน่ห์งำ |
กระบวนกระบิด | น. แสร้งทำชั้นเชิงเพื่อถ่วงเวลาหรือเรียกร้องความสนใจเป็นต้น เช่น ทั้งกระบวนกระบิดติดปั้นปึ่ง (ไกรทอง), กระบิดกระบวน ก็ว่า. |
กระบิดกระบวน | ก. แสร้งทำชั้นเชิงเพื่อถ่วงเวลาหรือเรียกร้องความสนใจเป็นต้น เช่น ทำจริตกระบิดกระบวนสะบิ้งสะบัด (ม. ร่ายยาว ชูชก), กระเบ็ดกระบวน ก็ใช้ เช่น อย่ากระเบ็ดกระบวนนักเลย. |
กลบท | (กนละ-) น. คำประพันธ์ที่บัญญัติให้ใช้คำหรือสัมผัสเป็นชั้นเชิงยิ่งกว่าธรรมดา เช่น เจ้าโศกแคนแค่นแค้นดั่งแสนศร มารานร่านร้านรอนให้ตักไษย ว่าโอโอ่โอ้กำม์มาจำไกล เวรุชื่อใดจองจ่องจ้องประจาน (กลบทตรีประดับ). |
กามกรีฑา | น. ชั้นเชิงในทางกาม. |
แก้เชิง | ก. ใช้เล่ห์เหลี่ยม ชั้นเชิง หรือ อุบาย หักล้างเล่ห์เหลี่ยม ชั้นเชิงหรืออุบายของอีกฝ่ายหนึ่ง. |
แก้ลำ | ก. ใช้ชั้นเชิงตอบโต้ให้เท่าเทียมกันหรือหนักมือขึ้น. |
เขบ็จขบวน | (ขะเบ็ดขะบวน) น. ท่าทาง, ระเบียบ, ชั้นเชิง, ท่วงที. |
เข้าที | ก. มีท่วงทีดี, มีชั้นเชิงดี, มีท่าทีจะสำเร็จ. |
แง่ ๑ | น. ส่วนที่เป็นเหลี่ยมเป็นสันเป็นมุมหรือส่วนที่ยื่นออกมา เช่น แง่หิน แง่โต๊ะ, โดยปริยายหมายความว่า เหลี่ยม, ชั้นเชิง, เช่น ชาวแพแผ่แง่ค้าขายของ (นิ. นรินทร์), นัย. |
แง่งอน | น. อาการที่แสร้งทำชั้นเชิงเพื่อให้ผู้อื่นเอาใจหรือให้เป็นที่พอใจตน. |
ชอบกล | ว. ต้องด้วยชั้นเชิง, เข้าที, น่าคิด, เช่น อนึ่งซึ่งจะตั้งค่ายอยู่นี้ก็ไม่ชอบกล หาเป็นที่ชัยภูมิไม่ จำจะยกถอยไปตั้งอยู่ ณ เมืองตะเกิงจึงจะทำถนัด (ราชาธิราช) |
ชิงเชิง | ก. แย่งชั้นเชิงกัน, คอยเอาทีกัน. |
ชิงไหวชิงพริบ | ก. ฉวยโอกาสโดยใช้ไหวพริบ, คอยจ้องดูชั้นเชิงของอีกฝ่ายหนึ่ง. |
เชิงชั้น | น. เล่ห์เหลี่ยม, ท่วงที, อุบาย, ชั้นเชิง ก็ว่า. |
เดินแต้ม | ก. ใช้ชั้นเชิง. |
ตั้งแง่ | ก. ทำชั้นเชิง, คอยหาเรื่องจับผิด. |
แต้ม | ตาที่เดินอย่างตาหมากรุก, ชั้นเชิง เช่น เขาเดินแต้มสูง. |
แต้มคู | น. ชั้นเชิงอันแยบคาย. |
ถอยฉะ | ก. สู้พลางถอยพลาง, ถอยอย่างมีชั้นเชิง. |
ถอยฉาก | ก. ถอยหลังพร้อมกับเบี่ยงตัวหลบทันที, หลบอย่างมีชั้นเชิง, โดยปริยายหมายความว่า หลบไป หรือ เลี่ยงกัน เช่น งานนี้สู้ไม่ไหว เห็นจะต้องถอยฉากไปก่อน. |
ถูกขา | ก. เข้ากันได้, รู้ชั้นเชิงกัน, (มักใช้ในการพนันและการเล่นกีฬา). |
ท่วงที | น. ท่าทาง, หน่วยก้าน, ชั้นเชิง. |
ท่า ๒ | ชั้นเชิง, ท่วงที, เช่น พลาดท่า ได้ท่า เสียท่า. |
ที ๒ | น. ท่าทาง, ชั้นเชิง, โอกาส, เช่น ท่าดีแต่ทีเหลว ได้ที เสียที. |
ทีเด็ด | น. ชั้นเชิงที่สามารถเอาชนะอีกฝ่ายหนึ่งได้อย่างเด็ดขาด. |
แผ่แง่ | ก. แสดงท่าทางท่วงทีเป็นชั้นเชิง. |
ฝีมือ | โดยปริยายหมายถึง ความสามารถหรือทักษะและชั้นเชิงในการปฏิบัติการใด ๆ เช่น เขามีฝีมือในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ให้สำเร็จลุล่วงไปได้โดยรวดเร็ว. |
เพลง | โดยปริยายหมายถึง แบบอย่าง เช่น ต่างกันไปคนละเพลง (พระราชหัตถเลขา ร. ๕ ถึงสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส), ชั้นเชิง เช่น ร้อยภาษามาสู่เคยรู้เพลง (อภัย). |
ภาพพจน์ | (พาบพด) น. ถ้อยคำที่เป็นสำนวนโวหารทำให้นึกเห็นเป็นภาพ, ถ้อยคำที่เรียบเรียงอย่างมีชั้นเชิงเป็นโวหาร มีเจตนาให้มีประสิทธิผลต่อความคิด ความเข้าใจ ให้จินตนาการและถ่ายทอดอารมณ์ได้อย่างกว้างขวางลึกซึ้งกว่าการบอกเล่าที่ตรงไปตรงมา. |
มณฑป | (มนดบ) น. เรือนเครื่องยอดขนาดใหญ่มีรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัส หลังคาเป็นทรงจอมแห ประกอบด้วยชั้นเชิงกลอนหลายชั้นเป็นต้น, ใช้ว่า มรฑป ก็มี. (ป., ส.) |
มาเหนือเมฆ | ก. มีความคิดหรือชั้นเชิงเหนือผู้อื่น |
แยบยล | ว. มีกลเม็ดหรือชั้นเชิงแนบเนียน เช่น เขามีกรรมวิธีแยบยล นักประพันธ์มีกลวิธีเขียนเรื่องแยบยล. |
รักษาเหลี่ยม | ก. ระวังไม่ให้เสียชั้นเชิง, ระวังไม่ให้ถูกลบเหลี่ยม. |
รู้ที | ก. รู้ชั้นเชิง, รู้เล่ห์เลี่ยม, เช่น มาบ่อย ๆ รู้ทีว่าคงจะประสงค์อะไรอย่างหนึ่ง. |
ลบเหลี่ยม | ก. ทำให้เสียชั้นเชิง เสียเกียรติ หรือเสียความเชื่อถือ ต่อหน้าผู้อื่นหรือต่อหน้าชุมนุมชน. |
ลวดลาย | น. ลายต่าง ๆ ที่เขียนหรือแกะสลัก, ฝีมือความสามารถที่แสดงให้ปรากฏ เช่น นักฟุตบอลมีลวดลายในการส่งลูก, โดยปริยายหมายความว่า มีลูกไม้หรือชั้นเชิงต่าง ๆ เช่น เขามีลวดลายในการพูดให้คนฮาได้ เขามีลวดลายในการเต้นรำ. |
ลำ ๑ | ชั้นเชิง เช่น หักลำ. |
ลำหักลำโค่น | น. ชั้นเชิงที่ใช้หักโค่นอีกฝ่ายหนึ่งอย่างรุนแรง ดุเดือด หรือโดยไม่ปรานีปราศรัย เช่น นักมวยคนนี้ชกมีลำหักลำโค่นดี. |
ลำหักลำโค่น | ว. ใช้ชั้นเชิงหักโค่นอีกฝ่ายหนึ่งอย่างรุนแรง ดุเดือด หรือโดยไม่ปรานีปราศรัย เช่น การที่จะเอาชนะนักมวยคนนี้ต้องใช้วิธีลำหักลำโค่น. |
ลูกเล่น | น. เล่ห์เหลี่ยม, ชั้นเชิง, กลเม็ด. |
ลูกสังกะสี | น. ชื่อปลากัดที่เกิดจากการผสมพันธุ์ระหว่างปลากัดลูกหม้อหรือปลากัดหม้อกับปลากัดลูกป่าหรือปลากัดป่าหรือปลาป่าซึ่งต่างก็เป็นชนิด Betta splendens Regan ในวงศ์ Belontiidae เช่นเดียวกัน ปลากัดพันธุ์นี้มีสีลำตัวและครีบออกแดง รูปร่างก้ำกึ่งระหว่างพันธุ์ทั้งสองเนื่องจากไม่มีคุณสมบัติด้านความทะมัดทะแมงและสีสันตลอดจนชั้นเชิงการต่อสู้ จึงไม่ค่อยนิยมเลี้ยงกัน. |
เลศ | (เลด) น. การแสดงอาการเป็นชั้นเชิงให้รู้ในที, มักใช้เข้าคู่กับคำ นัย เป็น เลศนัย. |
เลศนัย | (เลดไน) น. การพูดหรือแสดงอาการเป็นชั้นเชิงให้รู้ในที เช่น พูดเป็นเลศนัย ขยิบตาให้รู้เป็นเลศนัยว่าให้หยุดพูด. |
เล่ห์เหลี่ยม | น. ชั้นเชิง, อุบาย. |
วาดลวดลาย | แสดงชั้นเชิง เช่น วาดลวดลายในการโฆษณา. |
โวหาร | น. ชั้นเชิงหรือสำนวนแต่งหนังสือหรือพูด เช่น มีโวหารดี, ถ้อยคำที่เล่นเป็นสำบัดสำนวน เช่น อย่ามาตีโวหาร เขาชอบเล่นโวหาร. |