กระจองหง่อง, กระจ๋องหง่อง | ว. ซึมเซา, หงอยเหงา. |
จดจ้อง, จด ๆ จ้อง ๆ | ก. ตั้งท่าจะทำแล้วไม่ลงมือทำเพราะไม่แน่ใจ. |
จ้อง ๑ | น. ร่ม. |
จ้อง ๒ | ก. เพ่งตาดูหรือมุ่งมองดูสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น จ้องหน้า, มุ่งคอยจนกว่าจะได้ช่อง, คอยที, เช่น จ้องจับผิด จ้องจะทำร้าย จ้องจะแทง, กิริยาที่เอาปืนหรืออาวุธเล็งมุ่งตรงไปยังสิ่งใดสิ่งหนึ่ง. |
จ๋อง | ว. หงอยเหงา, เซื่อง, ไม่กล้า, ไม่คึกคัก. |
จ้องเต | น. ต้องเต. |
จ้องหน่อง | น. เครื่องทำให้เกิดเสียงเป็นเพลง โดยใช้ปากคาบแล้วกระตุกหรือชักด้วยเชือกให้สั่นดังเป็นเสียงดนตรี. |
ประจิ้มประจ่อง | ก. หยิบหย่ง, ดัดจริตกรีดกราย. |
กระหง่อง, กระหน่อง ๑ | ก. จ้อง, คอยดู, เช่น ตากตากระหง่องเตรียม คอยแม่ มาฤๅ (นิ. ตรัง), ตระหง่อง หรือ ตระหน่อง ก็ใช้. |
กลบท | (กนละ-) น. คำประพันธ์ที่บัญญัติให้ใช้คำหรือสัมผัสเป็นชั้นเชิงยิ่งกว่าธรรมดา เช่น เจ้าโศกแคนแค่นแค้นดั่งแสนศร มารานร่านร้านรอนให้ตักไษย ว่าโอโอ่โอ้กำม์มาจำไกล เวรุชื่อใดจองจ่องจ้องประจาน (กลบทตรีประดับ). |
ขึงตา | ก. จ้องดูอย่างเขม็งด้วยอาการโกรธ หรือด้วยประสงค์จะห้าม. |
เขม็ง | อย่างแน่วแน่ เช่น จ้องเขม็ง. |
เขม้น | (ขะเม่น) ก. เพ่ง, จ้องดู, มุ่งโดยเฉพาะ เช่น ฝ่ายผู้ได้พิจารณาว่ากล่าวบางคนก็ลำเอียงไปว่าทรัพจะได้เปนหลวง เขม้นว่ากล่าวกันโชกข่มขี่จเอาแต่ทรัพเปนหลวงจงได้ (สามดวง), มักใช้เข้าคู่กับคำ มอง เป็น เขม้นมอง หรือ มองเขม้น, (โบ) เขียนเป็น ขเม่น ก็มี เช่น ขเม่น, คือ คนฤๅสัตวแลดูสิ่งของใด ๆ เพ่งตาดูไม่ใคร่จะกพริบ (ปรัดเล). |
จับตา ๒, จับตาดู | ก. คอยเฝ้าสังเกต, จ้องระวังระไว. |
ชัก ๑ | กระตุก เช่น ชักจ้องหน่อง. |
ชิงไหวชิงพริบ | ก. ฉวยโอกาสโดยใช้ไหวพริบ, คอยจ้องดูชั้นเชิงของอีกฝ่ายหนึ่ง. |
ตระง่อง | (ตฺระหฺง่อง) ก. จ้อง, คอยดู, เขียนเป็น ตรง่อง ก็มี เช่น อันว่าพระมหาสัตวก็ต้งงตาแลตรง่อง ซึ่งช้นนช่องมรรคา ที่มีผู้จะมาน้นน โสดแล (ม. คำหลวง กุมาร), กระหง่อง กระหน่อง ตระหง่อง หรือ ตระหน่อง ก็มี. |
ตระหง่อง, ตระหน่อง | (ตฺระ-) ก. จ้อง, คอยดู, เช่น ตาเรียมตระหง่องตั้ง ตาเรือ แม่ฮา (ทวาทศมาส), เขียนเป็น ตรง่อง ก็มี เช่น อันว่าพระมหาสัตวก็ต้งงตาแลตรง่อง ซึ่งช้นนช่องมรรคา ที่มีผู้จะมาน้นน โสดแล (ม. คำหลวง กุมาร), กระหง่อง หรือ กระหน่อง ก็ใช้. |
ตั้งเต | น. ชื่อการเล่นของเด็กอย่างหนึ่ง, ต้องเต หรือ จ้องเต ก็ว่า. |
ตาเป็นมัน | ว. อาการที่จับตามองจ้องดูสิ่งที่ต้องใจอย่างจดจ่อ. |
ตาวาว | ว. อาการที่จ้องมองดูสิ่งใดสิ่งหนึ่งด้วยความอยากได้ เช่น พอเห็นเงินก็ตาวาว เด็ก ๆ พอเห็นขนมก็ตาวาว. |
แถกขวัญ | ก. ทำลายขวัญ, ทำให้กลัว, เช่น นกเอ๋ยนกแสก จับจ้องร้องแจ๊กเพียงแถกขวัญ (กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า พระยาอุปกิตศิลปสาร). |
เบญจวรรณห้าสี | น. ชื่อกลอนกลบทแบบหนึ่ง บังคับเสียงพยัญชนะตัวเดียวใน ๕ คำแรกของทุกวรรค เช่น จอมจักรเจ้าแจ้งเจาะฟังเพราะพร้อง จวนจิตรจ่องจนใจสงไสยสนิท (ศิริวิบุลกิตติ์), โบราณเขียนเป็น เบญจวรรณห้าศรี ก็มี. |
เบิ่ง | ก. จ้องดู, แหงนหน้าดู, เช่น ควายเบิ่ง. |
ปักหลัก ๒ | น. ชื่อนกกระเต็นขนาดกลางชนิด Ceryle rudis (Linn.) ในวงศ์ Alcedinidae ปากใหญ่แบนข้าง แหลมตรง สีดำ ตัวสีขาวลายดำ มักเกาะตามหัวเสาหรือตอไม้ที่ปักอยู่ในนํ้าเพื่อจ้องโฉบปลากิน, กระเต็นปักหลัก ก็เรียก. |
ปักหลัก ๒ | ชื่อเหยี่ยวขนาดเล็กชนิด Elanus caeruleus (Desfontaines) ในวงศ์ Accipitridae อกสีขาว หลังสีเทา ช่วงไหล่สีดำ อาศัยอยู่ตามท้องทุ่ง กินสัตว์เล็ก ๆ รวมทั้งนกขนาดเล็ก, เหยี่ยวขาว ก็เรียก, นกทั้ง ๒ ชนิดมักบินอยู่กับที่ขณะจ้องหาเหยื่อในน้ำหรือบนพื้นดิน จึงเรียกว่า ปักหลัก. |
เฝ้า | จ้องดู, คอยดู, เช่น นั่งเฝ้าโทรทัศน์ตลอดวัน |
เพ่ง | ก. จ้องดู, เล็งดู, (ใช้แก่ตา) เช่น เพ่งสายตา เพ่งหนังสือ |
เพลี้ย ๒ | น. ชื่อเครื่องดนตรีประเภทเครื่องดีด ทำด้วยไม้ไผ่คล้ายจ้องหน่อง แต่จ้องหน่องใช้กระตุก ส่วนเพลี้ยใช้ดีด, เพี้ย ก็ว่า. |
เพี้ย ๒ | น. ชื่อเครื่องดนตรีประเภทเครื่องดีด ทำด้วยไม้ไผ่คล้ายจ้องหน่อง แต่จ้องหน่องใช้กระตุก ส่วนเพี้ยใช้ดีด, เพลี้ย ก็ว่า. |
ย่องเหง็ด | น. จ้องหน่อง. |
เล็ง | ก. เพ่งมอง, จ้องตรงไป, หมาย, หมายเฉพาะ |
สนทรรศน์ | (-ทัด) น. การดู, การจ้องดู, การแลเห็น. |
สะเทิ้น, สะเทิ้นอาย | ก. แสดงกิริยาวาจาอย่างขัด ๆ เขิน ๆ เพราะรู้สึกขวยอาย (มักใช้แก่หญิงสาว) เช่น หญิงสาวพอมีผู้ชายชมว่าสวยก็รู้สึกสะเทิ้น หญิงสาวพอมีชายหนุ่มมาจ้องมองก็สะเทิ้นอาย. |
อังกวด | น. จ้องหน่อง. |
อินทรี ๑ | (-ซี) น. ชื่อนกขนาดใหญ่หลายชนิด ในวงศ์ Accipitridae ขามีขนปกคลุม เล็บและกรงเล็บแข็งแรงใช้ในการจับเหยื่อ บินร่อนเป็นวงกลมในระดับสูงเพื่อจ้องหาเหยื่อ ทำรังแบบง่าย ๆ ด้วยกิ่งไม้บนต้นไม้สูง เช่น อินทรีหัวสีนวล [ Haliaeetus leucoryphus (Pallas) ]อินทรีดำ [ I ctinaetus malayensis (Temminck) ] อินทรีหัวไหล่ขาว ( Aquila heliaca Savigny). |