จำปา | น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Michelia champaca L. ในวงศ์ Magnoliaceae ดอกสีเหลืองอมส้ม กลีบดอกใหญ่ยาว มีหลายกลีบ กลิ่นหอม |
จำปา | สีเหลืองอมส้มอย่างดอกจำปา |
จำปา | อุปกรณ์สำหรับว่าวจุฬาใช้คว้าว่าวปักเป้า ทำด้วยผิวไม้ไผ่ประมาณ ๔-๕ ชิ้น ยาวประมาณคืบเศษ เหลาปลายให้แหลมงอนเหมือนดอกจำปา แล้วผูกรวมกันเป็นพูติดกับสายป่านต่อจากหน้าซุง |
จำปา | แหนบรูปคล้ายกลีบดอกจำปาซึ่งติดอยู่กับแกนในประแจจีน สำหรับหนีบไม่ให้สลักหลุดออกมา, จัมปา ก็ใช้ |
จำปา | ไม้ไผ่ที่จักปลายด้านหนึ่งเป็น ๔-๕ แฉก แล้วเอาชิ้นไม้ขัดให้บานออกเป็นรูปดอกจำปา ใช้เสียบปลายไม้สำหรับสอยผลไม้ |
จำปา | เครื่องยึดธรณีบนของประตูให้ติดกับกรอบเช็ดหน้าของอาคารประเภทโบสถ์ วิหาร ในสถาปัตยกรรมไทย ทำด้วยไม้ เป็นแท่งรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ด้านหน้าตกแต่งเป็นเส้นขอบของดอกไม้หรือแต่งให้เป็นรูปดอกสี่กลีบที่เรียกว่า ดอกประจำยาม, เรียกหีบศพหรือโลงอย่างจีน ประกอบด้วยปีกไม้ ๔ ชิ้น คล้ายดอกจำปา ว่า โลงจำปา. |
จำปา | (ถิ่น–อีสาน) ต้นลั่นทม. (ดู ลั่นทม). |
จำปาขอม | น. ต้นลั่นทม. (ดู ลั่นทม). |
จำปาแขก | ดู จำปีแขก (๑). |
จำปาดะ | น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Artocarpus integer (Thunb.) Merr. ในวงศ์ Moraceae คล้ายต้นขนุน เยื่อหุ้มเมล็ดเนื้อเหลว กลิ่นฉุน กินได้ |
จำปาดะ | เรียกขนุนพันธุ์ที่มียวงสีจำปา เนื้อนุ่ม ว่า ขนุนจำปาดะ. (ดู ขนุน ๑). |
จำปาทองเทศ ๑ | น. ชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่ง. |
จำปาทองเทศ ๒ | น. ชื่อเพลงไทย อัตรา ๒ ชั้น |
จำปาทองเทศ ๒ | ชื่อเพลงไทยประเภทเพลงเถา. |
จำปาลาว | น. ต้นลั่นทม. (ดู ลั่นทม). |
จำปาหอม | ดู ลั่นทม. |
ไม้จำปา | น. ลำไม้ไผ่ที่จักปลายด้านหนึ่งเป็น ๔-๕ แฉก แล้วใส่กะลาลงไปเพื่อให้ปลายบาน, ใช้สอยผลไม้, ถ้าเอามะพร้าวลูกเล็ก ๆ ใส่ลงไปแล้วมีชิ้นไม้ขัดทแยงสกัดลูกมะพร้าวไว้ใช้สำหรับขุดดินจากหลุมที่ขุดไว้ลึกประมาณ ๑ แขน. |
ขนุน ๑ | (ขะหฺนุน) น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด Artocarpus heterophyllus Lam. ในวงศ์ Moraceae มีนํ้ายางขาว แก่นสีเหลือง เรียกว่า กรัก ใช้ต้มเอานํ้าย้อมผ้า ผลกลมยาวราว ๒๐-๕๐ เซนติเมตร ภายนอกเป็นหนามถี่ ภายในมียวงสีเหลืองหรือสีจำปา รสหวาน กินได้ พันธุ์ที่มียวงสีเหลือง เนื้อนุ่มแต่ไม่เหลว เรียก ขนุนหนัง, พันธุ์ที่มียวงสีจำปา เนื้อนุ่ม เรียก ขนุนจำปาดะ, ส่วนพันธุ์ที่มียวงสีเหลือง เนื้อเหลว เรียก ขนุนละมุด. |
ขันหมาก ๓ | น. ชื่อว่านชนิดหนึ่ง ต้นเหมือนจำปา รากเป็น ๓ แง่ ดอกเหมือนบอน ลูกเหมือนแตงกวา. |
เข้าเครื่อง | คำพูดสำหรับว่าว หมายความว่า ผูกเหนียง ผูกติ่ง, ถ้าสายป่านของว่าวปักเป้าตรงช่วงสายเหนียงติดเครื่อง คือ ติดเหนียงและติ่ง เรียกว่า เหนียงเข้าเครื่อง, ถ้าสายป่านของว่าวจุฬาติดจำปา เรียกว่า ป่านเข้าเครื่อง. |
ค่าว | น. กลอนหรือกวีนิพนธ์แบบหนึ่ง มักใช้แต่งรำพันความรักหรือแต่งเป็นเรื่อง เช่น ค่าวเรื่องจำปาสี่ต้น หมายถึง คำกลอนเรื่องจำปาสี่ต้น. |
จัมบก, จัมปกะ | (จำบก) น. ต้นจำปา เช่น จัมบกตระการกรร- ณิกาแก้วก็อยู่แกม (สมุทรโฆษ). |
จัมปา | น. จำปา, แหนบรูปคล้ายกลีบดอกจำปาซึ่งติดอยู่กับแกนในประแจจีน สำหรับหนีบไม่ให้สลักหลุดออกมา. |
จำปี | น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Michelia alba DC. ในวงศ์ Magnoliaceae ดอกสีขาว คล้ายดอกจำปาแต่กลีบเล็กและหนากว่า บางพันธุ์สีนวลหรือสีเหลืองอ่อน กลิ่นหอมเย็น. |
จำปีแขก | น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Michelia figo (Lour.) Spreng. ในวงศ์ Magnoliaceae ดอกคล้ายดอกจำปีแต่เล็กกว่า กลีบเลี้ยงสีนํ้าตาลมีขนหนานุ่ม กลีบดอกแข็งสีนวล กลิ่นหอมมาก, จำปาแขก ก็เรียก. |
ดิ่ง | เรียกตะกั่วหรือเหล็กเป็นต้นที่ผูกกับสายเชือกเป็นคู่สกัดหัวท้ายดอกจำปาของว่าวจุฬา ว่า ลูกดิ่ง |
แตระ | ประดิษฐ์พวงดอกไม้จากดอกจำปา โดยกรีดปลายกลีบแต่ละกลีบให้เป็นช่อง เด็ดกลีบจากดอกอื่นมาผ่าเป็น ๒ ขา สอดเข้าในช่องปลายกลีบดอกแรก ทำเป็นพวงอย่างอุบะ เช่น จงบอกแก่อะหนะบุษบา เร่งแตระอุบะมาให้จงได้ (อิเหนา). |
โรย | ก. อาการที่ดอกไม้ค่อย ๆ เหี่ยวแห้งและเริ่มหลุดร่วงไป เช่น ดอกไม้โรย ดอกจำปาโรย, อาการที่กลีบหรือเกสรดอกไม้ค่อย ๆ หลุดร่วงไป เช่น กลีบกุหลาบโรย เกสรบัวโรย |
ลั่นทม | น. ชื่อไม้ต้นหลายชนิดในสกุล Plumeria วงศ์ Apocynaceae เช่น ชนิด P. rubraL. ดอกสีขาว หรือแดงเรื่อ ๆ กลิ่นหอม, จำปาหอม ก็เรียก, พายัพเรียก จำปาลาว, อีสานเรียก จำปา, ปักษ์ใต้เรียก จำปาขอม. |
ลูกดิ่ง | ตะกั่วหรือเหล็กเป็นต้นที่ผูกกับสายเชือกเป็นคู่สกัดหัวท้ายดอกจำปาของว่าวจุฬา. |
สอย ๑ | ก. เอาไม้มีขอหรือมีง่ามหรือไม้จำปาเกี่ยว ดึงดัน หรือบิดเอาดอกไม้ลูกไม้เป็นต้นลงมา |
สายดิ่ง | น. เชือกที่ปลายด้านหนึ่งผูกติดกับลูกดิ่งสำหรับใช้วัดความลึกของน้ำ ตรวจสอบเสาหรือกำแพงเป็นต้นว่าตั้งตรงหรือไม่, เชือกที่ผูกตะกั่วหรือเหล็กเป็นต้นเป็นคู่สกัดหัวท้ายดอกจำปาของว่าวจุฬา. |