กระจาว | น. กระเจา. (ดู กระเชา). |
ขจาว | (ขะ-) น. ต้นกระเชา. (ดู กระเชา). |
จาว ๑ | น. สิ่งที่งอกอยู่ภายในผลไม้บางอย่าง เช่น จาวมะพร้าว จาวตาล, (กลอน) โดยปริยายหมายถึงนมผู้หญิง เช่น พวงจาวเจิดแจ่มแก้ว จักรพรรดิ พี่เอย (นิ. นรินทร์), ดวงจาววนิภาคย์พ้น เสาวบุษป์ (ทวาทศมาส). |
จาว ๒ | น. เจ้า, ผู้เป็นใหญ่, หมายถึงเทวดาในชั้นอาภัสรพรหม. |
จาว ๒ | ก. โผลงมา, โฉบ, เช่น จาวชิมดินแสงหล่น (แช่งน้ำ). |
จาว ๓ | ว. ตามกันไป, ประสานกันไป, เช่น ชลธารนทีเจือ จาวหลั่ง ไหลนา (ทวาทศมาส). |
จาว ๔ | น. ดอก, ดอกไม้, เช่น ดอกไม้งามเงื่อนแต้ม แชรงยอดแย้มผกาแจรง จาวจำแทงจำเทิด (ม. คำหลวง จุลพน), จราว ก็ใช้, โดยปริยายหมายถึงผู้หญิง เช่น ไฟกามรลุงจาว ทองเทศ (ทวาทศมาส). |
จาว ๕ | ก. บาน (ใช้แก่ดอกไม้) เช่น โพทเลจาวดวงดอกก็มี (ม. คำหลวง มหาพน). |
จาว ๖ | ก. ส่งเสียงดัง, อึกทึก, เช่น อันจาวจำเรียงเสียงฉันท์ (สมุทรโฆษ). |
จาว ๆ | ว. ห่าง ๆ เช่น เนาผ้าจาว ๆ, จะจะ เช่น วางเครื่องข้าวยำจาว ๆ ให้เลือกกิน. |
จาวมะพร้าว | น. มันจาวมะพร้าว. (ดู มันเสา ที่ มัน ๑). |
จาวมะพร้าว | ชื่อเห็ดชนิด Calvatia craniformis Coker et Couch ในวงศ์ Lycoperdaceae ขึ้นตามพื้นดิน ดอกเห็ดเป็นก้อนกลมใหญ่ สีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีนํ้าตาล โคนสอบ เมื่ออ่อนอยู่กินได้ เมื่อโตเต็มที่ผิวบนย่นหยักคล้ายสมอง. |
มันจาวมะพร้าว | น. มันเสา. |
กระเชา | น. ชื่อไม้ต้นผลัดใบขนาดใหญ่ชนิด Holoptelea integrifolia (Roxb.) Planch. ในวงศ์ Ulmaceae ขึ้นอยู่ทั่วไป ผลแบนบางเป็นปีกโดยรอบ เนื้อไม้สดสีเหลืองมะนาว เมื่อแห้งเป็นสีนวล แข็งพอประมาณ ใช้ในการก่อสร้างที่ไม่ต้องรับนํ้าหนักมากนัก ทำเครื่องเรือน แกนร่ม ก้านและกล่องไม้ขีดไฟ, บางทีเรียก กระเจา หรือ กระจาว, พายัพและปักษ์ใต้เรียก กระเจ้า ขจาว หรือ ขเจา. |
กร่าง ๑ | ว. อาการที่ทำท่าทางหรือพูดจาวางโต เช่น เขาชอบทำกร่างอยู่เรื่อย. |
จราว ๒ | (จะ-) น. ดอกไม้ เช่น แคแจรเจรอญจราว (ม. คำหลวง จุลพน). (ดู จาว ๔). |
จี | ว. ตูม เช่น สงวนมิ่งมาลยจาวจี แกล่กลํ้า (ทวาทศมาส), พายัพว่า จี๋. |
ตาล | (ตาน) น. ชื่อปาล์มชนิด Borassus flabellifer L. ในวงศ์ Palmae ใบใหญ่ ดอกแยกเพศ อยู่ต่างต้น ต้นเพศผู้ออกดอกเป็นงวง ต้นเพศเมียออกดอกเป็นช่อเดี่ยว ๆ ผลใหญ่กลมโตเป็นทะลาย ภายในผลมีเมล็ดเรียกว่าเต้า น้ำหวานที่ออกจากงวงของต้นเพศผู้ เรียกว่า น้ำตาลสด ใช้ทำน้ำตาลได้ ตอนหัวของผลอ่อน เรียกว่า หัวตาล ต้มแกงกินได้ เมื่อเต้ายังอ่อน เรียกว่า ลอนตาลหรือตาลเฉาะ เนื้อในนิยมกินสดหรือกินกับนํ้าเชื่อม จาวที่เกิดจากเมล็ดแก่ที่งอกแล้ว เรียกว่า จาวตาล เชื่อมกินได้, ตาลโตนด ก็เรียก |
ทรมุก | (ทอระ-) น. กรักขี เช่น ทรมุกพรรณดวงจาวก็มี (ม. คำหลวง มหาพน). |
ปากเปราะ | ก. พูดจาทักทายเก่ง, พูดจาว่าคนง่าย ๆ |
ปากหมา | ว. ชอบพูดจาว่าร้ายคนอื่น. |
ภาษา | กลุ่มของชุดอักขระ สัญนิยม และกฎเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นเพื่อสั่งงานคอมพิวเตอร์ เช่น ภาษาซี ภาษาจาวา |
มันเสา | น. ชื่อมันชนิด Dioscorea alata L. ในวงศ์ Dioscoreaceae เถามีครีบ หัวมีขนาดและรูปร่างต่าง ๆ กัน ผิวเรียบ, มันจาวมะพร้าว ก็เรียก. |
สาธุการ | น. การเปล่งวาจาว่าชอบแล้วเมื่อเวลาเห็นควรหรือยกย่องสรรเสริญ เช่น แซ่ซ้องสาธุการ กล่าวสาธุการขึ้นพร้อม ๆ กัน |