จวงจันทน์ | น. เครื่องหอมที่เจือด้วยจวงและจันทน์. |
จันทน์ | น. ชื่อพรรณไม้บางชนิดที่มีเนื้อไม้ ดอก หรือผลหอม ใช้ทำยาและปรุงเครื่องหอม. |
จันทน์กะพ้อ | น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Vatica diospyroides Symington ในวงศ์ Dipterocarpaceae ขึ้นตามป่าดิบทางปักษ์ใต้และปลูกกันตามบ้าน ดอกขาว หอมคล้ายนํ้ามันจันทน์. |
จันทน์ขาว | ดู จันทนา. |
จันทน์ชะมด | น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด Aglaia silvestris (M. Roem.) Merr. ในวงศ์ Meliaceae ขึ้นตามป่าชื้นบางแห่ง เนื้อไม้หอม. |
จันทน์ชะมด | ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Mansonia gagei J.R. Drumm. ex Prain ในวงศ์ Sterculiaceae ขึ้นตามป่าดิบบนเขาหินปูน เนื้อไม้หอม, จันทน์หอม ก็เรียก. |
จันทน์แดง | น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Dracaena loureiroi Gagnep. ในวงศ์ Dracaenaceae ขึ้นตามเขาหินปูน เนื้อไม้ที่สารลงมีสีแดง, จันทน์ผา ก็เรียก. |
จันทน์เทศ | น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Myristica fragrans Houtt. ในวงศ์ Myristicaceae รกหุ้มเมล็ดมีกลิ่นหอมฉุนเรียก ดอกจันทน์ เมล็ดมีกลิ่นหอมฉุนเช่นกัน เรียก ลูกจันทน์ ใช้เป็นเครื่องเทศ เป็นพรรณไม้ที่นำเข้ามาจากหมู่เกาะอินเดียตะวันออก. |
จันทน์ผา | ดู จันทน์แดง. |
จันทน์หอม | ดู จันทน์ชะมด (๒). |
ดอกไม้จันทน์ | น. เนื้อไม้จันทน์เป็นต้นที่ไสเป็นแถบบางนำมาประดิษฐ์เป็นช่อขนาดเล็ก ใช้ในการเผาศพ. |
ดอกจันทน์ | น. เยื่อหุ้มเมล็ดจันทน์เทศ. (ดู จันทน์เทศ ที่ จันทน์). |
น้ำมันจันทน์ | น. นํ้ามันที่กลั่นจากไม้จันทน์ มีกลิ่นหอม. |
รัตจันทน์ | (รัดตะจัน) น. ชื่อไม้ต้นชนิด Pterocarpus santalinus L.f. ในวงศ์ Leguminosae แก่นสีแดงเข้ม ใช้ทำยา. |
หริคันธ์, หริจันทน์ | (หะริคัน, หะริจัน) น. จันทน์แดง. |
ห้ามพระแก่นจันทน์ | น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ขวาห้อยลงข้างพระกาย พระหัตถ์ซ้ายแบตั้งขึ้นเสมอพระอุระ เป็นกิริยาห้าม. |
กระแจะ ๑ | น. ผงเครื่องหอมต่าง ๆ ที่ประสมกันสำหรับทา เจิม หรืออบผ้า โดยปรกติมีเครื่องประสม คือไม้จันทน์ แก่นไม้หอม ชะมดเชียง หญ้าฝรั่น. |
จรอก ๒ | (จะหฺรอก) น. จอก, ขันเล็ก ๆ ที่ใช้ตักนํ้าจากขันใหญ่, เช่น จับจรอกคันธรสจุณจันทน์ (สุธนู). |
จันทนา | น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Tarenna hoaensis Pit. ในวงศ์ Rubiaceae เนื้อไม้หอม, จันทน์ขาว ก็เรียก. |
จินดาหนา | (-หฺนา) น. ต้นจันทน์. |
ตรีคันธวาต | (-ทะวาด) น. พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำรายาไทย จำกัดจำนวนตัวยาอันมีกลิ่นสำหรับแก้ลม ๓ อย่าง คือ ผลเร่วใหญ่ ผลจันทน์เทศ กานพลู. |
ตรีชาต | น. วัตถุ ๓ คือ ดอกจันทน์ กระวาน อบเชย. |
ตรีธาตุ | (-ทาด) น. พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำรายาไทย จำกัดจำนวนตัวยาอันเป็นวัตถุธาตุ ๓ อย่าง คือ ดอกจันทน์ กระวาน อบเชย. |
ตรีพิษจักร | (-พิดสะจัก) น. พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำรายาไทย จำกัดจำนวนตัวยาอันมีรสซึมซาบไวดังกงจักร ๓ อย่าง คือ กานพลู ลูกผักชีล้อม ลูกจันทน์เทศ. |
ทลบม | (ทนละบม) ก. ประพรม, ลูบไล้, ฉาบทา, เช่น เหตุนางมีองค์อันอุดดม ดุจทลบมด้วยรัตตจันทน์น้นน (ม. คำหลวง ทศพร). |
เทพดำรู | (เทบ-) น. ไม้สวรรค์ (มี ๕ คือ มนทาร ปาริชาตก สันตาน กัลปพฤกษ์ หริจันทน์). |
ประวาลผล | (ปฺระวาละผน) น. ไม้จันทน์แดง. |
เผาจริง | ก. จุดไฟเผาศพ, นำดอกไม้จันทน์ ธูป เทียนใส่ในไฟเผาศพ. |
เผาหลอก | ก. นำดอกไม้จันทน์ ธูป เทียนไปวางใต้หีบศพ เป็นพิธีอย่างหนึ่งในประเพณีเผาศพ ทำก่อนเผาจริง. |
หล่อ | ขังน้ำหรือน้ำมันไว้เพื่อรักษาสิ่งใดสิ่งหนึ่งให้คงสภาพ เช่น เอาน้ำหล่อคอนกรีตไว้ เอาน้ำมันจันทน์หล่อรักยม. |
อัฏฐบาน | (-บาน) น. น้ำที่คั้นจากผลไม้ มี ๘ อย่าง คือ น้ำมะม่วง น้ำชมพู่หรือน้ำหว้า น้ำกล้วยมีเม็ด น้ำกล้วยไม่มีเม็ด น้ำมะซาง น้ำลูกจันทน์หรือน้ำองุ่น น้ำเหง้าอุบล น้ำมะปรางหรือน้ำลิ้นจี่, เขียนว่า อัฐบาน ก็มี. |
อัฐบาน | น. นํ้าที่คั้นจากผลไม้ มี ๘ อย่าง คือ นํ้ามะม่วง นํ้าชมพู่หรือนํ้าหว้า นํ้ากล้วยมีเม็ด นํ้ากล้วยไม่มีเม็ด นํ้ามะซาง นํ้าลูกจันทน์หรือน้ำองุ่น นํ้าเหง้าอุบล นํ้ามะปรางหรือน้ำลิ้นจี่, เขียนว่า อัฏฐบาน ก็มี. |
อุหรับ | น. ผงกระแจะจันทน์ปนทองสำหรับเจิมในการอภิเษกรดนํ้า เช่น อบอุหรับจับกลิ่นหอมหวน (อิเหนา). |