กินสั่ง | ก. กินมากผิดปรกติเมื่อถึงคราวจะตาย, โดยปริยายหมายความถึงกินจุเกินควร. |
เข้าตรีทูต | ว. มีอาการหมดความรู้สึกเมื่อใกล้จะตาย, อาการหนักปางตาย. |
งาบ ๆ | ว. อาการที่อ้าปากแล้วหุบปาก, อาการที่หายใจทางปาก (เป็นอาการของคนและสัตว์ที่เหนื่อยหอบหรือใกล้จะตาย), พะงาบ พะงาบ ๆ ปะงาบ หรือ ปะงาบ ๆ ก็ว่า. [ ไทขาว งาบ ว่า อ้า, งาบสบ ว่า อ้าปาก (เพื่อหายใจ) ]. |
จนกว่า | สัน. กระทั่งถึงเวลานั้น ๆ เช่น จนกว่าจะตาย. |
จ๊อก | ว. เสียงร้องของไก่เมื่อเวลาเจ็บหรือใกล้จะตาย, เสียงร้องของไก่ชนตัวที่แพ้, โดยปริยายหมายความว่า ยอมแพ้, ใช้ตามสำนวนนักเลงไก่ เพราะไก่ตัวใดร้องจ๊อก ก็แสดงว่าไก่ตัวนั้นแพ้ |
ชะดีชะร้าย | ว. เผื่อว่า, บางทีแสดงถึงความไม่แน่นอน, เช่น ซื้อลอตเตอรี่ไว้สักใบเถิด ชะดีชะร้ายจะถูกรางวัล, โดยปรกติมักใช้ในลักษณะเหตุการณ์ที่สังหรณ์หรือกริ่งเกรงว่าอาจจะเกิดขึ้นตามที่คาดไว้ เช่น ชะดีชะร้ายก็จะตายเสียกลางทาง. |
ชา ๒ | เรียกปลาเพิ่งจะตายไปเอง ว่า ปลาชา. |
ซิว | น. ชื่อปลานํ้าจืดหลายสกุลในวงศ์ Cyprinidae มีขนาดเล็ก ปากเล็กเชิดขึ้น ตาโต เกล็ดโตหลุดง่าย อาศัยใกล้ผิวนํ้า เมื่อถูกจับขึ้นพ้นน้ำแล้วจะตายได้ง่าย ที่รู้จักกันทั่วไปและพบทั่วประเทศ ได้แก่ ซิวหนวดยาว (<i> Esomus metallicus</i> Ahl) ซิวอ้าว อ้ายอ้าว อ้าว หรือ ซิวควาย ในสกุล <i> Luciosoma</i>, ซิวใบไผ่ ในสกุล <i> Danio</i>, ซิวหัวตะกั่ว ในสกุล <i> Chela</i> และ ซิว ในสกุล<i> Rasbora</i> |
เดนตาย | ว. ที่รอดตายมาได้ทั้ง ๆ ที่น่าจะตาย. |
เดาะ ๑ | โดยปริยายใช้เรียกผู้ที่กำลังจะดี แต่กลับมีข้อบกพร่องเสียกลางคัน ใช้เป็นคำแทนกริยาหมายความว่า ทำแปลกกว่าธรรมดาสามัญ เช่น ร้อนจะตายเดาะเสื้อสักหลาดเข้าให้. |
ตรีทูต ๒ | น. ลักษณะบอกอาการของคนเจ็บหนักใกล้จะตาย. |
ตรีโทษ | น. อาการไข้ที่ลม เสมหะ เลือด ประชุมกัน ๓ อย่างให้โทษ, ไข้หนักจวนจะตาย. |
ตาย ๒ | ว. คำประกอบท้ายประโยคหมายความว่า แย่, เต็มที, ยิ่งนัก, เช่น ร้อนจะตาย, คำเปล่งเสียงแสดงความตกใจหรือประหลาดใจเป็นต้น เช่น อุ๊ยตาย ตายแล้ว. |
ทู่ซี้ | ก. ทนไปจนกว่าจะตาย, ทนไปเพราะความจำเป็นหรือเพื่อให้สมประสงค์. |
บท ๑, บท- ๑ | คราว, ตอน, ในคำเช่น บทจะทำก็ทำกันใหญ่ บทจะไปก็ไปเฉย ๆ บทจะตายก็ตายง่ายเหลือเกิน. |
บอกหนทาง | ก. เตือนสติให้ระลึกถึงคุณพระรัตนตรัยในขณะใกล้จะตาย. |
ประดัก ๆ | ว. อาการแห่งคนที่ตกนํ้าแล้วสำลักนํ้า เรียกว่า สำลักประดัก ๆ, อาการที่ชักหงับ ๆ ใกล้จะตาย. |
ปลงบริขาร | ก. มอบบริขารให้แก่ผู้อื่นในเวลาใกล้จะตาย (ใช้แก่บรรพชิต). |
ปลาชา | น. ปลาที่เพิ่งจะตายไปเอง. |
ปะงาบ, ปะงาบ ๆ | ว. อาการที่อ้าปากแล้วหุบปาก, อาการที่หายใจทางปาก (เป็นอาการของคนและสัตว์ที่เหนื่อยหอบหรือใกล้จะตาย), งาบ ๆ พะงาบ หรือ พะงาบ ๆ ก็ว่า. |
ปะหงับ, ปะหงับ ๆ | (-หฺงับ) ว. อาการที่ปากอ้าและหุบลงเหมือนอยากจะพูดแต่ไม่มีเสียง, อาการที่ทำปากหงับ ๆ อย่างอาการของผู้ป่วยใกล้จะตาย เช่น นอนเจ็บปะหงับ ๆ. |
เป็นตายเท่ากัน | ว. มีอาการปางตาย, ไม่แน่ว่าจะเป็นหรือจะตาย. |
พะงาบ, พะงาบ ๆ | ว. อาการที่อ้าปากแล้วหุบปาก, อาการที่หายใจทางปาก (เป็นอาการของคนและสัตว์ที่เหนื่อยหอบหรือใกล้จะตาย), งาบ ๆ ปะงาบ หรือ ปะงาบ ๆ ก็ว่า. |
พาน ๔ | ว. ทำท่าว่า เช่น พานจะเป็นลม พานจะตาย พานจะโกรธ, พี่ก็พานแก่ชราหูตามัว (สังข์ทอง). |
มรณานต์ | (มะระนาน) ว. จนกว่าจะตาย. |
ไม่มีเงาหัว | ก. เป็นลางว่าจะตายร้าย. |
ไม้ใกล้ฝั่ง | ว. แก่ใกล้จะตาย. |
โศกนาฏกรรม | (โสกะนาดตะกำ, โสกกะนาดตะกำ) น. วรรณกรรมโดยเฉพาะประเภทละครที่ลงท้ายด้วยความเศร้าหรือไม่สมหวัง ตัวเอกในเรื่องจะตายในที่สุด เช่นเรื่องลิลิตพระลอ สาวเครือฟ้า โรเมโอ-จูเลียต, โดยปริยายหมายถึงเรื่องราวหรือเหตุการณ์ทั่ว ๆ ไปที่เป็นเรื่องเศร้าสลดใจ เช่น ชีวิตของเขาเป็นเหมือนโศกนาฏกรรม เกิดในตระกูลเศรษฐี แต่สุดท้ายต้องตายอย่างยาจก. |
หน้าขึ้นนวล | น. หน้าของคนใกล้จะตาย มักจะดูนวลกว่าปรกติ ซึ่งคนโบราณเชื่อกันว่าคนบางคนที่ทำบุญกุศลไว้มากเมื่อใกล้จะตายหน้ามักจะขึ้นนวล. |
หัวเด็ดตีนขาด | คำพูดแสดงการยืนยันอย่างเด็ดเดี่ยว แม้จะตายก็ไม่ยอมเปลี่ยนใจ เช่น หัวเด็ดตีนขาดก็ไม่ยอมย้าย หัวเด็ดตีนขาดก็จะอยู่ที่นี่. |
เหงื่อกาฬ | น. เหงื่อของคนใกล้จะตาย |