จตุ- | (จะตุ-) ว. สี่, ใช้ประกอบหน้าคำที่มาจากภาษาบาลี. |
จตุกาลธาตุ | (-กาละทาด) น. พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำรายาไทย จำกัดจำนวนตัวยาแก้ธาตุตามเวลาไว้ ๔ อย่าง คือ เหง้าว่านน้ำ รากเจตมูลเพลิง รากแคแตร รากพนมสวรรค์. |
จตุทิพยคันธา | (-ทิบพะยะ-) น. พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำรายาไทย จำกัดจำนวนตัวยาอันมีกลิ่นหอมดังยาทิพย์ไว้ ๔ อย่าง คือ ดอกพิกุล รากชะเอมเทศ รากมะกล่ำเครือ รากขิงแครง. |
จตุบท | น. สัตว์สี่เท้า. |
จตุบริษัท | น. บริษัท ๔ เหล่า, ถ้าเป็นพุทธบริษัท คือ ภิกษุ ภิกษุณี อุบาสก อุบาสิกา, ถ้าเป็นราชบริษัทหรือประชุมชนทั่วไป ได้แก่ กษัตริย์ พราหมณ์ คฤหบดี สมณะ. |
จตุปัจจัย | (-ปัดไจ) น. เครื่องอาศัยเลี้ยงชีวิตของบรรพชิตในพระพุทธศาสนา ๔ อย่าง คือ จีวร (ผ้านุ่งห่ม) บิณฑบาต (อาหาร) เสนาสนะ (ที่อยู่) คิลานเภสัช (ยา). |
จตุปาริสุทธิศีล | (-ปาริสุดทิสีน) น. ศีลคือความบริสุทธิ์ หรือ ศีลคือเครื่องให้บริสุทธิ์ ๔ ประการ คือ ๑. สำรวมในพระปาติโมกข์ (ปาติโมกฺขสํวร) ๒. สำรวมตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ (อินฺทฺริยสํวร) ๓. เลี้ยงชีพโดยทางชอบ (อาชีวปาริสุทฺธิ) ๔. บริโภคปัจจัยด้วยการพิจารณา (ปจฺจยสนฺนิสฺสิต). |
จตุผลาธิกะ | น. พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำรายาไทย จำกัดจำนวนผลไม้อันให้คุณไว้ ๔ อย่าง คือ ลูกสมอไทย ลูกสมอพิเภก ลูกมะขามป้อม ลูกสมอเทศ. |
จตุลังคบาท | (-ลังคะบาด) น. พลประจำ ๔ เท้าช้าง, สำหรับช้างทรงของพระมหากษัตริย์หรือพระมหาอุปราชในเวลาสงคราม มีเจ้ากรมพระตำรวจหลวงหรือข้าราชการ เช่น พระมหามนตรี พระมหาเทพ หลวงอินทรเทพ หลวงพิเรนทรเทพ ประจำ ๔ เท้าช้าง เช่น จตุลังคบาทสี่ตน ล้วนขุนพลสามรรถ (ตะเลงพ่าย), จัตุลังคบาท หรือ แวงจตุลังคบาท ก็ว่า. |
จตุโลกบาล | (-โลกกะบาน) น. ท้าวจาตุมหาราช, หัวหน้าเทวดาในสวรรค์ชั้นจาตุมหาราช มีหน้าที่รักษาโลกในทิศทั้ง ๔ เรียกว่า ท้าวจตุโลกบาล คือ ๑. ท้าวธตรฐ จอมภูตหรือจอมคนธรรพ์ รักษาโลกด้านทิศบูรพาหรือทิศตะวันออก ๒. ท้าววิรุฬหก จอมเทวดาหรือจอมกุมภัณฑ์ รักษาโลกด้านทิศทักษิณหรือทิศใต้ ๓. ท้าววิรูปักษ์ จอมนาค รักษาโลกด้านทิศประจิมหรือทิศตะวันตก ๔. ท้าวกุเวร จอมยักษ์ รักษาโลกด้านทิศอุดรหรือทิศเหนือ, จัตุโลกบาล ก็ว่า. |
จตุวาตผล | (-วาตะผน) น. พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำรายาไทย จำกัดจำนวนตัวยาแก้ลมไว้ ๔ อย่าง ได้แก่ เหง้าขิงแห้ง กระลำพัก อบเชยเทศ โกศหัวบัว. |
จตุสดมภ์ | น. การจัดระเบียบราชการฝ่ายพลเรือนส่วนกลาง ประกอบด้วยกรมใหญ่ ๔ กรม คือ กรมเมือง กรมวัง กรมคลัง กรมนามีจตุสดมภ์เสนาบดีเป็นผู้บังคับบัญชาแต่ละกรม. |
จตุตถ-, จตุตถี | (จะตุดถะ-, -ตุดถี) ว. ที่ ๔ เช่น จตุตถจุลจอมเกล้า จตุตถสุรทิน จตุตถีดิถี. |
จตุร- | (จะตุระ-) ว. สี่, ใช้ประกอบหน้าคำที่มาจากภาษาบาลีหรือสันสกฤต. |
จตุรคูณ | ว. ๔ เท่า. |
จตุรงค์ | ว. องค์ ๔, ๔ เหล่า. |
จตุรงค์ | น. หมากรุก เช่น ต่งงกรดานจตุรงคมยง ม่ายม้า (กำสรวล). |
จตุรงคนายก | (จะตุรงคะ-) น. ชื่อกลอนกลบทโบราณ มีบังคับพิเศษคือ กลอนแต่ละวรรคแบ่งออกเป็น ๔ จังหวะ จังหวะละ ๒ คำ คำเริ่มต้นของทุกจังหวะใช้คำเดียวกันซ้ำตลอด คำที่ ๒ กับคำที่ ๔ ใช้เสียงพยัญชนะเดียวกัน และคำที่ ๖ กับคำที่ ๘ ใช้เสียงพยัญชนะเดียวกัน ตัวอย่างว่า จักกรีดจักกรายจักย้ายจักย่อง ไม่เมินไม่มองไม่หมองไม่หมาง งามเนื้องามนิ่มงามยิ้มงามย่าง ดูคิ้วดูคางดูปรางดูปรุง (ชุมนุมตำรากลอน). |
จตุรงคประดับ | (จะตุรงคะ-) น. ชื่อกลอนกลบทโบราณ มีบังคับพิเศษคือ กลอน ๔ วรรค ในแต่ละบทขึ้นต้นวรรคด้วยคำ ๒ คำซ้ำกัน ตัวอย่างว่า พระหน่อไทยได้สดับแสดงกิจ พระหน่อคิดจิตวาบระหวาบหวาม พระหน่อตรึกนึกคะเนคะนึงความ พระหน่อนามแจ้งกระจัดกระจ่างใจ (ชุมนุมตำรากลอน). |
จตุรงคพล | (จะตุรงคะ-) น. กองทัพมีกำลัง ๔ เหล่า คือ เหล่าช้าง เหล่ารถ เหล่าม้า เหล่าราบ |
จตุรงคพล | หมากรุก. |
จตุรงคยมก | (จะตุรงคะยะมก) น. ชื่อกลอนกลบทโบราณ มีบังคับพิเศษคือ ทุก ๆ ๒ บทให้ใช้ภาษาบาลีแต่งวรรคแรกทั้งวรรค และวรรคที่ ๒ เฉพาะจังหวะแรก ตัวอย่างว่า ภุมมาจายันตุเทวา ภุมมะจาเจ้าที่บดีสูร อารักษ์เรืองฤทธิ์เดชเกษสกูล อันเรืองรูญรังษีระวีวร (ชุมนุมตำรากลอน). |
จตุรงคโยธา | (จะตุรงคะ-) น. กองทัพมีกำลัง ๔ เหล่า คือ เหล่าช้าง เหล่ารถ เหล่าม้า เหล่าราบ. |
จตุรงคเสนา | (จะตุรงคะ-) น. กองทัพมีกำลัง ๔ เหล่า คือ เหล่าช้าง เหล่ารถ เหล่าม้า เหล่าราบ, จตุรงคินีเสนา ก็ว่า. |
จตุรงคินีเสนา | (จะตุรง-) น. กองทัพมีกำลัง ๔ เหล่า คือ เหล่าช้าง เหล่ารถ เหล่าม้า เหล่าราบ, จตุรงคเสนา ก็ว่า. |
จตุรพักตร์ | ว. “ผู้มี ๔ หน้า” คือ พระพรหม. |
จตุรพิธ | ว. มี ๔ อย่าง. |
จตุรพิธพร | (-พิดทะพอน) น. พร ๔ ประการ คือ อายุ วรรณะ สุขะ พละ, ใช้ในการให้พร ขอให้มีอายุยืน มีผิวพรรณผ่องใส มีความสุขกายสุขใจ และมีกำลังแข็งแรง. |
จตุรภุช | (-พุด) ว. “ผู้มี ๔ แขน” คือ พระนารายณ์. |
จตุรภูมิ | (-พูม) น. ภูมิ ๔ คือ ๑. กามาวจรภูมิ ภูมิของผู้ท่องเที่ยวในกามภพ ๒. รูปาวจรภูมิ ภูมิของผู้ท่องเที่ยวในรูปภพ ๓. อรูปาวจรภูมิ ภูมิของผู้ท่องเที่ยวในอรูปภพ ๔. โลกุตรภูมิ ภูมิอันพ้นจากโลก. |
จตุรมุข | น. “ผู้มี ๔ หน้า” คือ พระพรหม. |
จตุรยุค | น. ยุคทั้ง ๔ คือ กฤดายุค ไตรดายุค ทวาบรยุค กลียุค. |
จตุรเวท, จตุรเพท | (-เวด, -เพด) น. ชื่อคัมภีร์พระเวท ๔ คัมภีร์ของศาสนาพราหมณ์ในยุคพระเวท คือ ฤคเวท ยชุรเวท สามเวท และอถรรพเวทหรืออาถรรพเวท. (ดู เวท, เวท-). |
จตุราริยสัจ | (จะตุราริยะสัด) น. อริยสัจ ๔ ประการ คือ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค. |
จตุรงค์ | ดู จตุร-. |
จตุรถ- | (จะตุระถะ-) ว. ที่ ๔ เช่น จตุรถาภรณ์. |
แวงจตุลังคบาท | น. จตุลังคบาท. |
กบฏ | เป็นฐานความผิดอาญา ที่เกี่ยวกับการล้มล้างรัฐธรรมนูญ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร อำนาจตุลาการ และการแบ่งแยกราชอาณาจักรหรือยึดอำนาจปกครอง. |
กรมนา | น. กรมใหญ่กรมหนึ่งในจตุสดมภ์ มีเสนาบดีเป็นผู้บังคับบัญชา มีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษานาหลวง เก็บหางข้าวขึ้นฉางหลวง ทำนุบำรุงอาชีพเกษตรกรรมและเก็บค่าภาษีอากรเกี่ยวกับการนั้น รวมทั้งบังคับบัญชาศาลในสังกัดซึ่งมีอำนาจพิจารณาคดีพิพาทเกี่ยวกับที่นาและโคกระบือเป็นต้น |
กรมพระคลัง | น. กรมใหญ่กรมหนึ่งในจตุสดมภ์ มีเสนาบดีเป็นผู้บังคับบัญชา มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการคลัง การต่างประเทศ และการค้ากับต่างประเทศ รวมทั้งบังคับบัญชาศาลในสังกัดซึ่งมีอำนาจพิจารณาคดีความเกี่ยวข้องด้วยพระราชทรัพย์หลวง และคดีความต่างประเทศ, พระคลัง หรือ พระคลังกรมท่า ก็เรียก |
กรมเมือง | (กฺรมมะ-) น. กรมใหญ่กรมหนึ่งในจตุสดมภ์ มีเสนาบดีเป็นผู้บังคับบัญชา มีอำนาจหน้าที่ในการรักษาความสงบเรียบร้อยในราชธานีและปริมณฑล ปราบปรามโจรผู้ร้าย รวมทั้งบังคับบัญชาศาลในสังกัดซึ่งมีอำนาจพิจารณาคดีความอุกฉกรรจ์และดูแลคุก (เรือนจำ) มหันตโทษ, เวียง หรือ กรมพระนครบาล ก็เรียก |
กรมวัง | (กฺรมมะ-) น. กรมใหญ่กรมหนึ่งในจตุสดมภ์ มีเสนาบดีเป็นผู้บังคับบัญชา มีอำนาจหน้าที่รักษาพระราชมนเทียร พระราชวังชั้นนอก พระราชวังชั้นใน บริหารกิจการในพระราชสำนัก และบังคับบัญชาศาลในสังกัดซึ่งมีอำนาจพิจารณาคดีที่เกี่ยวข้องกับสมใน ได้แก่ ศาลแพ่งวัง ศาลอาชญาวัง และศาลนครบาลวัง รวมทั้งบังคับบัญชาศาลมรดก |
กฤดายุค | (กฺริดา-) น. ชื่อยุคแรกของจตุรยุคตามคติของพราหมณ์ ในยุคนี้มนุษย์มีธรรมะสูงสุด คือ เต็ม ๔ ใน ๔ ส่วน และมีอายุยืนยาวที่สุด. (ส. กฤตยุค). (ดู จตุรยุค). |
กลียุค | (กะลี-) น. ชื่อยุคที่ ๔ ของจตุรยุคตามคติของพราหมณ์ ในยุคนี้ธรรมะของมนุษย์ลดลงเหลือเพียง ๑ ใน ๔ ส่วน เมื่อเทียบกับในสมัยกฤดายุค และอายุของมนุษย์ก็สั้นลงโดยไม่มีกำหนดเวลาแน่นอน (ดู จตุรยุค), ช่วงเวลาที่มีแต่ความรุนแรงเลวร้ายเกิดขึ้น . |
ขุนการ, ขุนกาล | น. เจ้าหน้าที่รับจดคำฟ้อง เช่น หญิงชายทำหนังสือร้องฟ้องนั้น มีชื่อหลายคน พึงให้ขุนการเอามาจนถ้วนคน อนึ่ง ถ้าความนั้นข้องขัดจะพิพากษาบังคับบัญชายากไซร้ให้ขุนกาลชุมนุมจตุสดมให้ช่วยว่า (สามดวง). |
คุณ ๑, คุณ- | คำนำหน้าชื่อสตรีที่ยังไม่ได้สมรสและได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตั้งแต่ชั้นจตุตถจุลจอมเกล้าถึงชั้นทุติยจุลจอมเกล้า, คำนำหน้าชื่อสตรีที่ยังไม่ได้สมรสและได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์จุลจอมเกล้าฝ่ายในชั้นทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษขึ้นไป |
คุณหญิง | น. คำนำหน้าชื่อสตรีที่สมรสแล้วและได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตั้งแต่ชั้นจตุตถจุลจอมเกล้าถึงชั้นทุติยจุลจอมเกล้าฝ่ายใน, ถ้ายังไม่ได้สมรส เรียกว่า คุณ, (โบ) คำนำหน้าชื่อสตรีที่เป็นภรรยาเอกของพระยา |
แครง ๒ | (แคฺรง) น. ชื่อขิงในหมวดจตุทิพยคันธา เรียกว่า ขิงแครง. (ดู จตุทิพยคันธา ใน จตุ-). |
จดุร- | (จะดุระ-) แผลงมาจาก จตุร หมายความว่า สี่. |
จัตุรงค์ | ว. จตุรงค์, องค์ ๔, ๔ เหล่า. |