งาช้าง ๑ | น. ชื่อนํ้าเต้าพันธุ์หนึ่ง ผลยาวคล้ายงาช้าง. [ ดู นํ้าเต้า (๑) ]. |
งาช้าง ๑ | ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Sansevieria cylindrica Bojer ในวงศ์ Dracaenaceae ใบกลมเป็นแท่ง สีเขียวเข้ม ใช้เป็นยาทำให้อาเจียน, ว่านงาช้าง ก็เรียก. |
งาช้าง ๒ | น. ชื่อหอยทะเลหลายชนิดในชั้น Scaphopoda เปลือกลักษณะคล้ายงาช้าง ส่วนมากสีขาว เช่น ชนิด Dentalium aprinumLinn ., D. longitrorsumReeve, ฟันช้าง ก็เรียก. |
งาช้าง ๓ | น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์เชษฐา มี ๑๔ ดวง, ดาวช้างใหญ่ ดาวคอนาค ดาวแพะ หรือ ดาวเชษฐะ ก็เรียก. |
ว่านงาช้าง | ดู งาช้าง ๑ (๒). |
กรับพวง | น. กรับชนิดหนึ่ง ทำด้วยไม้แผ่นบาง ๆ หรือแผ่นทองเหลืองหรือแผ่นงาช้างหลาย ๆ อัน ด้ามจิ้ว ตอนหัวข้างหนึ่งเจาะรูร้อยเชือก เวลาตีใช้มือข้างหนึ่งจับตรงหัวทางเชือกร้อย แล้วฟาดข้างหนึ่งลงบนฝ่ามืออีกข้างหนึ่ง สำหรับตีเป็นจังหวะประกอบการฟ้อนรำและขับร้อง หรือใช้ตีรัวเป็นอาณัติสัญญาณ. |
กำจาย ๓ | น. เรียกงาช้างที่หักติดอยู่ในไม้หรือสิ่งอื่น ๆ ว่า งากำจาย. |
กิ่ง | ลักษณนามเรียกงาช้างว่า กิ่ง |
เกก | ว. เก, เกไป, เรียกเขาวัวเขาควายเป็นต้นที่เฉออกไม่เข้ารูปกัน ว่า เขาเกก, เรียกงาช้างที่ปลายเฉออกไป ว่า งาเกก เช่น งาเกกข้างหนึ่งเข้า โดยหลัง (ตำราช้างคำโคลง), เรียกเสาเขื่อนที่เฉออก ว่า เขื่อนเกก. |
แก๊ก | น. ชื่อนกเงือกชนิด Anthracoceros albirostris (Shaw) ในวงศ์ Bucerotidae เป็นนกเงือกขนาดเล็กที่สุดของไทย ปากและโหนกแข็งสีงาช้างคาดดำ ลำตัวสีดำ ท้องสีขาว ปีกสีดำขอบปีกสีขาว หางสีดำปลายหางด้านล่างสีขาว กินผลไม้และสัตว์ขนาดเล็ก, แกง ก็เรียก. |
ขนาย | (ขะหฺนาย) น. งาช้างพัง. |
ขลุ่ย | (ขฺลุ่ย) น. ชื่อเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่า มักทำจากไม้รวก ไม้ชิงชัน ไม้พะยูง งาช้าง ปัจจุบันใช้วัสดุอื่นก็มี เช่น พลาสติก เจาะรูตามยาวมีระยะห่างพอควร สำหรับเอานิ้วปิดและเปิดให้เป็นเพลงเมื่อเป่า, มีหลายชนิด เช่น ขลุ่ยอู้ ขลุ่ยหลีบ ขลุ่ยเพียงออ, ลักษณนามว่า เลา. |
คอนาค | น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์เชษฐา มี ๑๔ ดวง, ดาวงาช้าง ดาวช้างใหญ่ ดาวแพะ หรือ ดาวเชฏฐะ ก็เรียก. |
เครือ ๑ | เรียกงาช้างที่ยาวมาก แต่วงรอบเล็ก ว่า งาเครือ. |
งากำจาย | น. งาช้างที่หักติดอยู่ในไม้หรือสิ่งอื่น ๆ. |
งาเกก | น. เรียกงาช้างที่ปลายเฉออกไป. |
งาเครือ | น. งาช้างที่ยาวมากแต่วงรอบเล็ก. |
งาเนียม | น. งาช้างที่ใหญ่แต่สั้นและมักจะชี้ตรง, เรียกช้างที่มีงาเช่นนั้น ว่า ช้างงาเนียม. |
งาสาน | น. เรียกพัดยศที่พื้นพัดสานด้วยงาช้าง เป็นเครื่องหมายฝ่ายอรัญวาสี ว่า พัดงาสาน, ในสมัยโบราณ สมเด็จพระสังฆราชและสมเด็จพระราชาคณะเจ้าคณะใหญ่ที่ลงท้ายสร้อยราชทินนามว่า “คามวาสี อรัญวาสี” มีพัดยศ ๒ เล่ม พัดแฉกพื้นกำมะหยี่ปักด้วยทองและเงิน เป็นเครื่องหมายฝ่ายคามวาสี พัดงาสาน เป็นเครื่องหมายฝ่ายอรัญวาสี. |
ช้างใหญ่ | น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์เชษฐา มี ๑๔ ดวง, ดาวงาช้าง ดาวคอนาค ดาวแพะ หรือ ดาวเชษฐะ ก็เรียก. |
เชษฐ- ๒, เชษฐะ | (เชดถะ-) น. ดาวฤกษ์ที่ ๑๘ มี ๑๔ ดวง เห็นเป็นรูปงาช้างหรือคอนาค เช่น อัษฐรัศนักษัตรสมบุรณยล บัญญัติเชษฐดารา (สรรพสิทธิ์), ดาวเชษฐา ดาวงาช้าง ดาวช้างใหญ่ ดาวคอนาค หรือ ดาวแพะ ก็เรียก. |
เชษฐา ๒ | (เชดถา) น. ดาวฤกษ์ที่ ๑๘ มี ๑๔ ดวง เห็นเป็นรูปงาช้างหรือคอนาค, ดาวเชษฐะ ดาวงาช้าง ดาวช้างใหญ่ ดาวคอนาค หรือ ดาวแพะ ก็เรียก. |
ตาเต็ง | น. เครื่องชั่งหรือตาชั่งขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีถาดห้อยอยู่ทางหัวคันที่เป็นไม้หรืองาช้าง มีตุ้มถ่วงห้อยเลื่อนไปมาตามคันได้ เดิมใช้สำหรับชั่งทอง เงิน เพชร และพลอย, เต็ง ก็เรียก. |
ตาแหวน | น. ตาที่มีเส้นสีขาวหรือสีงาช้างเวียนรอบขอบตาดำ (มักใช้แก่ม้า วัว ควาย). |
ทนต-, ทนต์ | (ทนตะ-) น. ฟัน, ราชาศัพท์ว่า พระทนต์, งาช้าง. |
ทันต-, ทันต์ ๑ | (ทันตะ-) น. ฟัน, งาช้าง เช่น เอกทันต์. |
นักษัตร ๑, นักษัตร- | (นักสัด, นักสัดตฺระ-) น. ดาว, ดาวฤกษ์, มี ๒๗ หมู่ คือ ๑. อัศวินี, อัสสนี (ดาวม้า ดาวคอม้า ดาวคู่ม้า หรือ ดาวอัศวยุช) มี ๗ ดวง ๒. ภรณี (ดาวก้อนเส้า) มี ๓ ดวง ๓. กฤติกา, กฤตติกา, กัตติกา (ดาวธงสามเหลี่ยม หรือ ดาวลูกไก่) มี ๘ ดวง ๔. โรหิณี (ดาวพราหมี ดาวปลาตะเพียน หรือ ดาวคางหมู) มี ๗ ดวง ๕. มฤคศิระ, มฤคเศียร, มิคสิระ (ดาวหัวเต่า ดาวหัวเนื้อ ดาวศีรษะเนื้อ ดาวศีรษะโค ดาวมฤคศิรัส หรือ ดาวอาครหายณี) มี ๓ ดวง ๖. อารทรา (ดาวอัททา ดาวตัวโค หรือ ดาวตาสำเภา) มี ๑ ดวง ๗. ปุนัพสุ, ปุนัพพสู (ดาวหัวสำเภา ดาวสำเภาทอง ดาวสะเภา ดาวยามเกา หรือ ดาวตาเรือชัย) มี ๓ ดวง ๘. บุษยะ, บุษย์, ปุษยะ, ปุสสะ (ดาวปุยฝ้าย ดาวพวงดอกไม้ ดาวดอกบัว ดาวโลง ดาวปู ดาวสมอสำเภา หรือ ดาวสิธยะ) มี ๕ ดวง ๙. อาศเลษา, อสิเลสะ (ดาวเรือน หรือ ดาวนกอยู่ในปล่อง) มี ๕ ดวง ๑๐. มฆะ, มฆา, มาฆะ (ดาวโคมูตร ดาววานร ดาวงอนไถ หรือ ดาวงูผู้) มี ๕ ดวง ๑๑. บุรพผลคุนี, ปุรพผลคุนี, ปุพพผลคุนี (ดาววัวตัวผู้ หรือ ดาวงูเมีย) มี ๒ ดวง ๑๒. อุตรผลคุนี, อุตตรผลคุนี (ดาวเพดาน หรือ ดาววัวตัวเมีย) มี ๒ ดวง ๑๓. หัสต, หัสตะ, หัฏฐะ (ดาวศอกคู้ หรือ ดาวศีรษะช้าง) มี ๕ ดวง ๑๔. จิตระ, จิตรา (ดาวต่อมนํ้า ดาวไต้ไฟ ดาวตาจระเข้ หรือ ดาวเสือ) มี ๑ ดวง ๑๕. สวาดิ, สวาตี, สวัสติ (ดาวช้างพัง หรือ ดาวงูเหลือม) มี ๕ ดวง ๑๖. วิศาขา, วิสาขะ (ดาวคันฉัตร หรือ ดาวศีรษะกระบือ) มี ๕ ดวง ๑๗. อนุราธ, อนุราธะ, อนุราธา (ดาวประจำฉัตร หรือ ดาวนกยูง) มี ๔ ดวง ๑๘. เชษฐะ, เชษฐา (ดาวงาช้าง ดาวช้างใหญ่ ดาวคอนาค หรือ ดาวแพะ) มี ๑๔ ดวง ๑๙. มูล, มูละ, มูลา (ดาวช้างน้อย หรือ ดาวแมว) มี ๙ ดวง ๒๐. ปุรพษาฒ, บุรพอาษาฒ, บุพพาสาฬหะ (ดาวสัปคับช้าง หรือ ดาวราชสีห์ตัวผู้) มี ๓ ดวง ๒๑. อุตราษาฒ, อุตตรอาษาฒ, อุตตราสาฬหะ (ดาวแตรงอน หรือ ดาวราชสีห์ตัวเมีย) มี ๕ ดวง ๒๒. ศรวณะ, ศระวณ, สาวนะ (ดาวหลักชัย หรือ ดาวพระฤๅษี) มี ๓ ดวง ๒๓. ธนิษฐะ, ธนิษฐา (ดาวศรวิษฐา ดาวเศรษฐี ดาวไซ หรือ ดาวกา) มี ๔ ดวง ๒๔. ศตภิษัช, สตภิสชะ (ดาวพิมพ์ทอง หรือ ดาวยักษ์) มี ๔ ดวง ๒๕. บุรพภัทรบท, ปุพพภัททะ (ดาวโปฐบท ดาวแรดตัวผู้ หรือ ดาวหัวเนื้อทราย) มี ๒ ดวง ๒๖. อุตรภัทรบท, อุตตรภัทรบท, อุตตรภัททะ (ดาวแรดตัวเมีย หรือ ดาวไม้เท้า) มี ๒ ดวง ๒๗. เรวดี (ดาวปลาตะเพียน หรือ ดาวนาง) มี ๑๖ ดวง. |
นาคทนต์ | (นากคะ-) น. งาช้าง. |
เนียม ๒ | น. เรียกงาช้างที่ใหญ่แต่สั้นและมักจะชี้ตรง ว่า งาเนียม, เรียกช้างที่มีงาเช่นนั้น ว่า ช้างงาเนียม. |
โผะ | ว. เสียงที่หมอและควาญช้างร้องเมื่อทำพิธีบำรูงาช้าง เป็นการเยาะเย้ยเมื่อรำท่าต่าง ๆ แล้ว. |
พลุก ๑ | (พฺลุก) น. งาช้าง. |
พัดงาสาน | น. พัดยศที่พื้นพัดสานด้วยงาช้าง เป็นเครื่องหมายฝ่ายอรัญวาสี, ในสมัยโบราณ สมเด็จพระสังฆราชและสมเด็จพระราชาคณะเจ้าคณะใหญ่ที่ลงท้ายสร้อยราชทินนามว่า “คามวาสี อรัญวาสี” มีพัดยศ ๒ เล่ม พัดแฉกพื้นกำมะหยี่ปักด้วยทองและเงิน เป็นเครื่องหมายฝ่ายคามวาสี พัดงาสาน เป็นเครื่องหมายฝ่ายอรัญวาสี. |
แพะ ๑ | ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์เชษฐา มี ๑๔ ดวง, ดาวงาช้าง ดาวช้างใหญ่ ดาวคอนาค หรือ ดาวเชษฐะ ก็เรียก. |
ฟันช้าง | ดู งาช้าง ๒. |
แมลงช้าง | น. ชื่อแมลงหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Myrmeleontidae มีปีก ๒ คู่ใสคล้ายแมลงปอ มีหนวดยาว ๑ คู่ ตัวอ่อนมีขากรรไกรหน้าเรียก เขี้ยว ยาวโค้งคล้ายงาช้าง อาศัยตามพื้นดินที่เป็นฝุ่นหรือทรายที่แห้งโดยฝังตัวอยู่ในหลุมซึ่งขุดเป็นรูปกรวยเพื่อล่อให้มดหรือสัตว์ขนาดเล็กตกลงไปแล้วจับกิน เช่น แมลงช้างในสกุล Myrmeleon และในสกุล Palpares วงศ์ Mymeleontidae, ตุ้ม หรือ ตุ๊ดตู่ ก็เรียก. |
วิจิตรพิศวง | (-จิดพิดสะหฺวง) ว. งามอย่างน่าอัศจรรย์ใจ, งามอย่างน่าพิศวง, เช่น งาช้างแกะสลักเป็นรูปดอกไม้ซ้อนกันหลายชั้นมีพระพุทธรูปอยู่ข้างในดูวิจิตรพิศวง. |
วิษาณ | น. เขาสัตว์, งาช้าง. |
สนับงา | น. เนื้อหุ้มที่โคนงาช้าง. |
หอย | น. ชื่อสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ไฟลัม Mollusca มีเปลือกหุ้มตัว ส่วนใหญ่แบ่งออกได้เป็น ๒ จำพวก ตามลักษณะเปลือก คือ จำพวกกาบเดี่ยว เช่น หอยขม (Filopaludina doliaris Gould) และจำพวกกาบคู่ เช่น หอยนางรม [ Saccostrea forskali (Gmelin) ] ที่มีเป็นส่วนน้อยเป็นพวกที่มีเปลือกแตกต่างออกไป เช่น หอยงาช้าง ชนิด Dentalium longitrorsum Reeve หอยงวงช้าง ชนิด Nautilus pompilius (Linn.). |