ฆ้อง | น. เครื่องตีชนิดหนึ่ง ทำด้วยโลหะผสม รูปร่างเป็นแผ่นวงกลมมีปุ่มนูนกลมตรงกลางสำหรับตี มีขอบยื่นลงมารอบตัว เรียกว่า ใบฉัตร มีหลายชนิด เช่น ฆ้องกระแต ฆ้องชัย ฆ้องวง. |
ฆ้องกระแต | ดู กระแต ๑. |
ฆ้องคู่ | น. ฆ้องที่ใช้ตีประกอบการแสดงหนังตะลุงและการเล่นโนรา ชุดหนึ่งมี ๒ ลูก. |
ฆ้องชัย | น. ฆ้องมีปุ่มตรงกลาง ขนาดกว้างประมาณ ๘๐ เซนติเมตร สมัยโบราณใช้ตีเป็นสัญญาณในกองทัพ ปัจจุบันใช้ตีในงานพิธีมงคลต่าง ๆ, ฆ้องหุ่ย ก็เรียก. |
ฆ้องปากแตก | ว. ปากโป้ง, เก็บความลับไม่อยู่, ชอบนำความลับของผู้อื่นไปโพนทะนา. |
ฆ้องมอง | น. ฆ้องขนาดเล็ก. |
ฆ้องวง | น. ลูกฆ้องที่เรียงไว้เป็นชุด ใช้ตีดำเนินทำนอง เจาะรูที่ใบฉัตร ๔ รู สำหรับร้อยเชือกหนังตีเกลียวผูกโยงกับด้านฆ้องที่ทำด้วยต้นหวายโป่ง วงหนึ่งมีลูกฆ้อง ๑๖-๑๘ ลูก ทุกลูกเทียบเสียงตํ่าสูงเรียงกันเป็นลำดับ มีหลายชนิด เช่น ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ฆ้องวงกลาง ฆ้องวงมโหรี ฆ้องวงเล็กมโหรี. |
ฆ้องหุ่ย | ดู ฆ้องชัย. |
ฆ้องเหม่ง | น. ฆ้องขนาดเขื่องและหนากว่าฆ้องกระแต มีเชือกร้อยรูทั้ง ๒ ที่ใบฉัตร แขวนห้อยกับไม้สำหรับถือตีประกอบจังหวะร่วมกับวงปี่ชวา กลองมลายู หรือวงบัวลอยในงานศพ. |
ฆ้องโหม่ง | น. ฆ้องขนาดใหญ่รองลงมาจากฆ้องชัย มีเชือกร้อยรูทั้ง ๒ ที่ใบฉัตร แขวนห้อยในแนวดิ่งกับขาหยั่งหรือคานไม้ หัวไม้ที่ใช้ตีพันด้วยผ้าหรือเชือกให้เป็นปุ่มโตอ่อนนุ่ม เวลาตีจะมีเสียงดังโหม่ง ๆ ใช้ตีกำกับจังหวะในวงปี่พาทย์ วงเครื่องสาย วงมโหรี และวงเถิดเทิง, สมัยโบราณใช้ตีในเวลากลางวันเป็นสัญญาณบอกเวลา “โมง” คู่กับกลองที่ตีเป็นสัญญาณในเวลากลางคืนบอกเวลา “ทุ่ม”. |
ฆ้องสามย่าน | น. ชื่อไม้ล้มลุกหลายชนิดในสกุล Kalanchoe วงศ์ Crassulaceae ใบอวบนํ้า ใช้ทำยาได้ เช่น ชนิด K. integra (Medik.) Kuntze. ดอกสีเหลือง. |
เนื้อฆ้อง | น. ทำนองที่ฆ้องวงใหญ่บรรเลงโดยไม่พลิกแพลง ถือเป็นทำนองหลักของเพลงนั้น, เนื้อเพลง หรือ ลูกฆ้อง ก็เรียก. |
ย่ำฆ้อง | ก. ตีฆ้องถี่ ๆ หลายครั้งเพื่อบอกเวลา. |
ลั่นฆ้อง | ก. ตีฆ้อง. |
ลูกฆ้อง ๑ | น. ฆ้องขนาดเล็กเรียงกันหลายใบในรางหรือร้านฆ้อง ใช้ตีดำเนินทำนอง. |
ลูกฆ้อง ๒ | ดู เนื้อฆ้อง. |
ไล่ลูกฆ้อง | ก. ตีไล่เสียงเพื่อตรวจหาระดับเสียงลูกฆ้องที่ไม่ถูกต้อง |
ไล่ลูกฆ้อง | โดยปริยายหมายความว่า ดุด่าว่ากล่าวหรือลงโทษเรียงตัวตั้งแต่หัวแถวจนถึงปลายแถว. |
กรอด ๓ | (กฺรอด) ก. บรรเลงดนตรีประเภทเครื่องตีดำเนินทำนอง โดยวิธีบังคับหรือห้ามเสียงในช่วงท้ายให้สั้นลง มักใช้ในการตีระนาด ฆ้องวง และกรับเสภา. |
กระจองงอง, กระจองงอง ๆ | ว. เสียงร้องเช่นนั้นพร้อมตีฆ้องป่าวประกาศว่า กระจองงอง ๆ เจ้าข้าเอ๊ย. |
กระแต ๑ | น. ชื่อฆ้องวงขนาดเล็ก ใช้บรรเลงในวงปี่พาทย์มอญ ลักษณะร้านฆ้องเป็นรูปเว้าหงายขึ้น คล้ายฆ้องมอญแต่ปลายไม่สูง วงหนึ่งมีลูกฆ้อง ๑๑ ลูก, ฆ้องขนาดเล็กลูกเดียวแขวนกับไม้ ใช้มือหิ้วหรือแขวนไม้กับไม้ขาหยั่ง ใช้ตีเป็นสัญญาณในการอยู่เวรยามหรือแจ้งข่าวสารต่าง ๆ, ทั้ง ๒ ชนิดเรียกว่า ฆ้องกระแต. |
โกร่ง ๔ | (โกฺร่ง) น. เครื่องตีทำด้วยกระบอกไม้ไผ่ค่อนข้างยาว เจาะรูเป็นช่วง ๆ ใช้ไม้กรับตีให้เกิดเสียง เช่น พิณพาทย์ฆ้องกลองดังทั้งเกราะโกร่ง (อิเหนา). |
ขึ้น ๑ | ขึง เช่น ขึ้นกลอง ขึ้นฆ้อง |
โขน ๒ | ไม้ประกับหัวท้ายส่วนสุดโค้งของรางระนาด ฆ้องวง หรือส่วนปลายสุดของซอด้วง. |
คฤโฆษ | (คะรึโคด) ก. กึกก้อง, ดังลั่น, เช่น คฤโฆษกลองฆ้องเคล้า คลี่ดูริย (ยวนพ่าย). |
เครื่องห้า ๒ | น. ปี่พาทย์ที่ใช้เครื่องดนตรี ๕ อย่าง คือ ปี่ใน ระนาดเอก ฆ้องวงใหญ่ ตะโพน กลองทัด และฉิ่ง. |
จอมเปาะ | ว. กลมนูนอย่างปุ่มฆ้อง. |
ฉม่อง | (ฉะหฺม่อง) น. คนตีฆ้อง เช่น พานรนายฉม่องว่องไว คุมคนธรรพ์ไป ประจานให้ร้องโทษา (คำพากย์). |
ฉัตร ๑, ฉัตร- | ส่วนที่ต่อจากปุ่มฆ้องเป็นฐานแผ่ออกไปแล้วงองุ้มลงมาเป็นขอบโดยรอบอย่างฉัตร |
ฉัตร ๒ | (ฉัด) น. ไม้เล็ก ๆ ซึ่งจัดไว้ที่วงฆ้องระหว่างลูกฆ้อง. |
ชาตรี ๒ | ชื่อเพลงที่มีคำนี้อยู่ คือ ชาตรีตะลุง ชาตรีใน โอ้ชาตรี ร่ายชาตรี, ชื่อวงปี่พาทย์ลักษณะหนึ่ง ประกอบด้วยโทน ปี่ตับ ฆ้องคู่ แกระ กลองชาตรี วงปี่พาทย์. |
ชานฉัตร | น. ส่วนที่เป็นพื้นราบรอบปุ่มฆ้อง, หลังฉัตร ก็ว่า. |
เดี่ยวรอบวง | ก. บรรเลงเดี่ยวเครื่องดนตรีประเภทดำเนินทำนอง เรียงตามลำดับหน้าที่ของเครื่องดนตรี เช่นในวงปี่พาทย์เรียงลำดับดังนี้ ปี่ ระนาดเอก ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ระนาดทุ้ม. |
ตรีเพชรพวง | น. ชื่อกลอนกลบทชนิดหนึ่ง กำหนดให้แต่ละวรรคมีคำเดียวกัน ผันวรรณยุกต์รูปสามัญ เอก โท ตรี และจัตวา สลับกันก็ได้ เช่น มโหรีรี่รี้ดีดสีเสียง จับปี่หริงหริ่งหริ้งพริ้งเพราะเพรียง ฆ้องสำเนียงเต๋งเต่งเต้ง ติงเหน่งโยน (ประชุมจารึกวัดพระเชตุพน). |
ตะลุง ๑ | น. ชื่อมหรสพอย่างหนึ่ง ใช้หนังสลักเป็นรูปภาพขนาดเล็ก คีบด้วยไม้ตับอันเดียว เชิดภายในโรงให้แสงไฟส่องผ่านตัวหนังสร้างเงาให้ปรากฏบนจอผ้าขาวหน้าโรง ใช้ปี่ กลอง และฆ้องคู่บรรเลงประกอบ ผู้เชิดเป็นผู้พากย์ เรียกว่า หนังตะลุง |
เถา | เพลงซึ่งบรรเลงด้วยวงดนตรีไทย ใน ๑ เพลงมีอัตราลดหลั่นเรียงลงไปเป็นลำดับเป็นอัตรา ๓ ชั้น อัตรา ๒ ชั้น และอัตราชั้นเดียว หรืออัตรา ๒ ชั้น อัตราชั้นเดียว และอัตราครึ่งชั้น มีความสัมพันธ์โดยทำนองหลัก ลูกฆ้องลงจังหวะเป็นเสียงเดียวกัน และบรรเลงติดต่อกันไปจนจบ เช่น เพลงแขกมอญ เถา. |
เนียรนาท | (เนียระนาด) ก. กึกก้อง เช่น เสียงฆ้องกลองประนังเนียรนาท สะเทือนท้องวนาวาสหิมวันต์ (ม. ร่ายยาว นครกัณฑ์), นีรนาท ก็ใช้. |
เนื้อเพลง ๒ | ดู เนื้อฆ้อง. |
เบญจดุริยางค์ | น. ปี่พาทย์เครื่องห้า มี ๒ ชนิด คือ เครื่องอย่างเบาใช้ประกอบการเล่นละครพื้นเมืองชนิดหนึ่ง และเครื่องอย่างหนักใช้ประกอบการเล่นโขนชนิดหนึ่ง, เครื่องอย่างเบามี ปี่ไฉน ๑ ทับ ๒ (ตัวผู้ ๑ ใบ ตัวเมีย ๑ ใบ) กลองตุ๊ก ๑, เครื่องอย่างหนักมี ปี่ใน ๑ ระนาดเอก ๑ ฆ้องวงใหญ่ ๑ กลองทัด ๑ คู่ ตะโพน ๑ ฉิ่ง ๑. |
ใบฉัตร | น. ส่วนที่งอเป็นขอบโดยรอบตัวฆ้อง. |
ปี่พาทย์เครื่องคู่ | น. วงปี่พาทย์ประกอบด้วย ปี่ใน ปี่นอก ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก ตะโพน กลองทัด และฉิ่ง (ปัจจุบันนิยมใช้ปี่ในเพียงเลาเดียว). |
ปี่พาทย์เครื่องห้า | น. วงปี่พาทย์ประกอบด้วย ปี่ใน ระนาดเอก ฆ้องวงใหญ่ ตะโพน กลองทัด และฉิ่ง. |
ปี่พาทย์เครื่องใหญ่ | น. วงปี่พาทย์ประกอบด้วย ปี่ใน ปี่นอก ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ระนาดเอกเหล็ก ระนาดทุ้มเหล็ก ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก กลองทัด และฉิ่ง, แต่บางทีก็มีฉาบเล็ก ฉาบใหญ่ กรับ และฆ้องโหม่งผสมด้วย (ปัจจุบันนิยมใช้แต่ปี่ใน). |
ปี่พาทย์มอญ | น. วงปี่พาทย์ที่นำเพลงและเครื่องดนตรีของมอญ ประกอบด้วย ปี่มอญ ฆ้องมอญ ตะโพนมอญ และเปิงมางคอกมาบรรเลง มีเครื่องกำกับจังหวะ ได้แก่ ฉิ่ง ฉาบ โหม่ง. |
ปุ่ม | น. ปม, ของที่นูนขึ้นจากพื้นเดิม เช่น ปุ่มฆ้อง. |
พิณพาทย์ | น. ชื่อเรียกวงดนตรีไทยโบราณ ประกอบด้วยเครื่องดีด คือ พิณ ผสมกับเครื่องตี ได้แก่ ระนาดและฆ้องวงชนิดต่าง ๆ เป็นหลัก และเครื่องกำกับจังหวะ เช่น ฉิ่ง ฉาบ กรับ โหม่ง ตะโพน กลองทัด กลองแขก และกลองสองหน้า ต่อมาเปลี่ยนพิณ เป็น ปี่ จึงเปลี่ยนชื่อเป็น ปี่พาทย์. |
มุย | ว. เสียงอย่างเสียงฆ้อง, หมุ่ย ก็ว่า. |
ย่ำค่ำ | ก. ตีกลอง ฆ้อง หรือระฆังถี่ ๆ หลายครั้งเพื่อบอกเวลาในเวลาค่ำ (ราว ๑๘ นาฬิกา). |
ย่ำยาม | ก. ตีกลอง ฆ้อง หรือระฆังถี่ ๆ หลายครั้งเพื่อบอกเวลาสำหรับเปลี่ยนยาม, ถ้ากระทำในเวลาเช้า เรียกว่า ย่ำรุ่ง (ราว ๖ นาฬิกา), ถ้ากระทำในเวลาค่ำ เรียกว่า ย่ำค่ำ (ราว ๑๘ นาฬิกา). |
ย่ำรุ่ง | ก. ตีกลอง ฆ้อง หรือระฆังถี่ ๆ หลายครั้งเพื่อบอกเวลาในเวลาเช้า (ราว ๖ นาฬิกา). |