ค่อย ๑, ค่อย ๆ ๑ | ว. ใช้ประกอบหลังนามหรือกริยา หมายความว่า ไม่ดัง, เบา, เช่น เสียงค่อย พูดค่อยเดินค่อย ๆ อย่าลงส้น |
ค่อย ๑, ค่อย ๆ ๑ | ไม่แรง, เบามือ, เช่น นวดค่อย ๆ จับค่อย ๆ. |
ค่อย ๒, ค่อย ๆ ๒ | ว. ใช้นำหน้ากริยาหมายความว่า ไม่รีบร้อน, อย่างระมัดระวัง, ช้า ๆ, เช่น ค่อยคิด ค่อยทำ ค่อย ๆ เดิน. |
ค่อย ๓ | ว. คำนำหน้าความข้างท้ายให้ติดต่อกับความข้างหน้า แสดงกิริยาที่กระทำภายหลัง เช่น กินข้าวแล้วค่อยไป, ถ้าใช้ในความปฏิเสธว่า ไม่ค่อย หมายความว่า น้อย, บ้าง, (ตามส่วนของสิ่งที่พูดถึง) เช่น ไม่ค่อยมี ไม่ค่อยพูด, ไม่ใคร่ ก็ว่า. |
ค่อยดีขึ้น | ว. เริ่มดีขึ้นเล็กน้อย. |
ค่อยเป็นค่อยไป | ว. ดำเนินไปช้า ๆ. |
ค่อยยังชั่ว | ว. ดีขึ้น, ทุเลาขึ้น. |
ค้อย | ก. คล้อย. |
ค้อย | ว. เบา |
ค้อย | เนือง, บ่อย. |
ค้อยค้อย | ว. เนือง ๆ, บ่อย ๆ, เช่น เจ้าแม่แต่จงกรมค้อยค้อย ด้วยบราทุกราพร้อยพราย (ม. คำหลวง ทานกัณฑ์). |
คะค้อย | ก. เดินไม่ขาดตอน, โบราณเขียนเป็น คค้อย ก็มี เช่น คค้อยไปซุ่มซ่อน ดูศึกผ่อนพลเดอร (ตะเลงพ่าย). |
ไม่ค่อย, ไม่ใคร่ | ว. ไม่ถึงกับ, ไม่ถึงขนาดนั้น, เช่น ไม่ค่อยดำ ไม่ใคร่ดี. |
กระจายนะมณฑล | น. ชื่อกลบท วรรคต้นใช้อักษรสูงนำหน้า วรรคที่ ๒ ใช้อักษรกลาง วรรคที่ ๓ ใช้อักษรตํ่า ตัวอย่างว่า สมเด็จพระศิริวิบุลกิตติ์ กำจัดจากโศกวิโยคหา ค่อยตรึกตรองฉลองคุณพระชนมา (ชุมนุมตำรากลอน). |
กระซาบ | ก. พูดเบา ๆ เช่น ค่อยกระซาบคำเกลี้ยง (ลอ), นิยมใช้เข้าคู่กับคำ กระซิบ เป็น กระซิบกระซาบ. |
กระซิก ๑ | ก. ค่อยเบียดเข้าไป. |
กระซิก ๆ | ว. อาการที่ร้องไห้ค่อย ๆ. |
กระซิกกระซวย | ก. ค่อยกระแซะเข้าไป เช่น เจ้าก็ระรี่ระริกกระซิกกระซวย (ม. ร่ายยาว ชูชก). |
กระดิบ, กระดิบ ๆ | ก. อาการที่คืบไปทีละน้อย เช่น ค่อย ๆ กระดิบไป ว่ายนํ้ากระดิบ ๆ หนอนกระดิบ ๆ ไป, นิยมใช้เข้าคู่กับคำ กระดุบ เป็น กระดุบกระดิบ. |
กระดืบ | ก. อาการที่ค่อย ๆ คืบไปอย่างหนอน. |
กระต้วมกระเตี้ยม | ว. อาการที่ค่อย ๆ เคลื่อนไหวหรือเคลื่อนไหวอย่างช้า ๆ (ใช้แก่กิริยาเดินหรือคลาน), โดยปริยายหมายความว่า ชักช้า เช่น เธอมัวแต่กระต้วมกระเตี้ยมอยู่นั่นแหละ เดี๋ยวก็ไม่ทันรถไฟหรอก, ต้วมเตี้ยม ก็ว่า, ใช้ว่า กระด้วมกระเดี้ยม ก็มี. |
กระเตื้อง | ก. ดีกว่าเดิม เช่น อาการไข้กระเตื้องขึ้น เดี๋ยวนี้ฐานะเขาค่อยกระเตื้องขึ้น |
กระบวนการ | น. ปรากฏการณ์ธรรมชาติที่ค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงอย่างมีระเบียบ ไปสู่ผลอย่างหนึ่ง เช่น กระบวนการเจริญเติบโตของเด็ก, กรรมวิธีหรือลำดับการกระทำซึ่งดำเนินต่อเนื่องกันไปจนสำเร็จลง ณ ระดับหนึ่ง เช่น กระบวนการเคมีเพื่อผลิตสิ่งใดสิ่งหนึ่ง. |
กระสือ ๒ | ชื่อว่านชนิดหนึ่ง ต้นและหัวคล้ายขมิ้นอ้อย สีขาว ฉุนร้อน ตามตำรากบิลว่านว่า เมื่อหัวแก่มีธาตุปรอทลงกิน มีพรายเป็นแสงแมงคาเรืองในเวลากลางคืน ถือกันว่ามีสรรพคุณอยู่คง แต่เป็นกายสิทธิ์ ชอบไปเที่ยวหากินของโสโครก และเข้าสิงกินคนดั่งกระสือหรือปอบ แล้วบอกชื่อเจ้าของว่านที่ปลูกนั้นว่า เป็นตัวกระสือหรือผีปอบ ทำให้ขายหน้าจึงไม่ค่อยมีใครกล้าปลูก. |
กะสมอ | ก. นำสมอเรือไปทอดไว้ในที่ที่เรือใหญ่ต้องการเข้าจอดหรือเทียบเรือ ซึ่งเป็นที่เข้าจอดหรือเข้าเทียบแล้วค่อย ๆ กว้านสมอนำเรือเข้าไป. |
การเงิน | น. กิจการเกี่ยวกับเงิน, เรื่องเกี่ยวกับเงิน เช่น เดือนนี้การเงินไม่ค่อยดี. |
เก็บเล็ม | ก. ค่อย ๆ เก็บทีละน้อย. |
เกียกกาย ๒ | ก. ตะเกียกตะกาย, ขวนขวาย, เช่น ค่อยเกียกกายหาเลี้ยงตน (สุบิน). |
แกะ ๒ | ก. เอาเล็บมือค่อย ๆ แคะเพื่อให้หลุดออก เช่น แกะสะเก็ด, เอาสิ่งที่มีลักษณะคล้ายเล็บมือทำเช่นนั้น, ทำเป็นลวดลายหรือรูปต่าง ๆ ด้วยเครื่องมือ โดยวิธีแกะ เช่น แกะตรา, โดยปริยายหมายความว่า เหมือนกันอย่างกับโขกหรือแคะมาจากพิมพ์เดียวกัน ในความว่า เหมือนกันอย่างกับแกะ |
ขยอก ๒ | (ขะหฺยอก) ก. อาการที่ค่อย ๆ กลืนอาหารที่คับคอลงไปทีละน้อย, กระเดือกเข้าไป. |
ขยับขยาย | (-ขะหฺยาย) ก. แก้ไขให้คลายความลำบากหรือความคับแคบเป็นต้น เพื่อให้เหมาะแก่ความต้องการหรือเหตุการณ์ เช่น บ้านหลังนี้คับแคบลงไปแล้ว ต้องหาทางขยับขยาย อดทนทำงานนี้ไปก่อนแล้วค่อยขยับขยาย. |
ขัดเบา | ก. ถ่ายปัสสาวะไม่ค่อยออก. |
ขัดลำกล้อง | ก. ถ่ายปัสสาวะไม่ค่อยออก (ใช้แก่ผู้ชาย). |
ขัดหนัก | ก. ถ่ายอุจจาระไม่ค่อยออก. |
เขี่ย | ค่อย ๆ สะกิดออก เช่น เขี่ยผงที่ลูกตา เอาก้านพลูเขี่ยตา |
คลาน | กิริยาที่เดินไปอย่างช้า ๆ ของสัตว์บางชนิด เช่น เต่า จระเข้, เคลื่อนไปอย่างช้า ๆ เช่น รถยนต์ค่อย ๆ คลานไป. |
เคลื่อน | (เคฺลื่อน) ก. ออกจากที่หรือทำให้ออกจากที่ เช่น เคลื่อนขบวน รถไฟค่อย ๆ เคลื่อนไป, เลื่อนหรือทำให้เลื่อนไปจากที่ เช่น หมอนรองกระดูกเคลื่อน เคลื่อนตู้ไป. |
เคียม | เรียบร้อย, ตรง, เช่น เคียมค่อยมาดลสำนัก จอมจักรนักไทธรรม (ม. คำหลวง สักบรรพ). |
จ่อมจ่าย | ก. ค่อยจับจ่าย, จ่ายทีละน้อย. |
จิตกึ่งสำนึก | น. ภาวะที่จิตไม่ค่อยรู้สึกตัว เมื่อปลุกอาจรู้สึกตัวดีขึ้น แต่ไม่รู้ตัวเต็มที่. |
ชะ ๑ | ก. ทำให้สิ่งสกปรกหรือสิ่งที่ติดอยู่บนผิวหน้าค่อย ๆ หลุดไปหรือหมดไปด้วยนํ้าเป็นต้น เช่น ชะแผล ฝนตกหนักชะหน้าดินไปหมด. |
ชะลอ | ก. อาการที่ลากเลื่อนสิ่งของที่หนักให้ค่อย ๆ เคลื่อนไปจากที่, พยุงไว้, ประคองไว้, ค่อย ๆ ประคองไป, เช่น ชะลอต้นไม้ใหญ่มาปลูก, ค่อย ๆ พยุงขึ้นให้ตรง เช่น สุครีพชะลอเขาไกรลาศ |
ช้า ๑ | ว. ค่อย ๆ เคลื่อนไป, ไม่เร็ว, ไม่ไว, เช่น เดินช้า วิ่งช้า |
ช้า ๆ ได้พร้าสองเล่มงาม | ว. ค่อย ๆ คิดค่อย ๆ ทำแล้วจะสำเร็จผล. |
ช้าเป็นการ นานเป็นคุณ | ว. ค่อย ๆ คิด ค่อย ๆ ทำดีกว่าด่วนทำ. |
ชื่นมื่น | ก. ชื่นบาน เช่น ท้าวสามนต์ฟังถ้อยค่อยชื่นมื่น (สังข์ทอง). |
ชุ่ง | สัน. จึ่ง, จวน, เช่น ครั้นชุ่งจะใกล้อ้า ค่อยผ้ายโชยชาย (ลอ). |
ซิก ๆ | ว. เรียกอาการที่ร้องไห้ค่อย ๆ ว่า ร้องไห้ซิก ๆ, กระซิก ๆ ก็ว่า. |
ซึม ๒ | ว. เหงาหงอยไม่ค่อยพูดจา, ไม่เบิกบาน, เช่น นั่งซึม. |
ด้วมเดี้ยม | ว. กระด้วมกระเดี้ยม, ต้วม ๆ เตี้ยม ๆ, ค่อย ๆ ไป, ไม่คล่องแคล่ว. |