Dielectric Constant | สารที่มีค่าคงที่ไดอิเล็กตริก, ไดอิเล็กตริกคอนสแตนต์, ค่าคงตัวไดอีเลคตริค [การแพทย์] |
inverse variation | การแปรผกผัน, การแปรผกผัน เมื่อ x และ y แทนปริมาณใด ๆ y แปรผกผันกับ x เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ หมายถึง เมื่อ k เป็นค่าคงตัวและ k ¹ 0 [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
joint variation | การแปรผันเกี่ยวเนื่อง, เมื่อ x, y และ z แทนปริมาณใด ๆ x แปรผันเกี่ยวเนื่องกับ y และ z แทนด้วยสัญลักษณ์ หมายถึง เมื่อ k เป็นค่าคงตัวและ k ¹ 0 [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
direct variation | การแปรผันตรง, เมื่อ x และ y แทนปริมาณใด ๆ y แปรผันโดยตรงกับ x เขียนแทนด้วยสัญลักษณ์ หมายถึง เมื่อ k เป็นค่าคงตัวและ k [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
step function | ฟังก์ชันขั้นบันได, ฟังก์ชันที่มีค่าคงตัวเป็นช่วง ๆ และกราฟของฟังก์ชันมีลักษณะคล้ายขั้นบันได [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
absolute value function | ฟังก์ชันค่าสัมบูรณ์, ฟังก์ชันที่อยู่ในรูปค่าสัมบูรณ์ เช่น f(x) = |x - c| เมื่อ c เป็นค่าคงตัวใด ๆ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
algebraic function | ฟังก์ชันพีชคณิต, ฟังก์ชันที่ค่าของฟังก์ชัน เขียนในรูปสัญลักษณ์ทางพืชคณิต ที่ประกอบด้วยค่าคงตัว ตัวแปร และเครื่องหมาย บวก ลบ คูณ หาร กรณฑ์ กำลัง เช่น y = 2x + 1 เป็นต้น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
geometric sequence [ geometric progression ] | ลำดับเรขาคณิต, ลำดับที่อัตราส่วนร่วมระหว่างพจน์ที่ n + 1 กับพจน์ที่ n มีค่าคงตัว เช่น ลำดับ 1, 2, 4, 8, [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
ellipse | วงรี, เซตของจุดทุกจุดในระนาบซึ่งผลบวกของระยะทางจากจุดใด ๆ ในเซตนี้ไปยังจุดคงที่สองจุด มีค่าคงตัว จุดคงที่ทั้งสองนี้เรียกว่า โฟกัส ดูรูปประกอบ F1, F2 คือโฟกัสของวงรี [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
normal equation | สมการปรกติ, สมการที่หาได้โดยระเบียบวิธีกำลังสองน้อยที่สุดและมีจำนวนสมการเท่ากับจำนวนค่าคงตัวที่ต้องการหา [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
coefficient | สัมประสิทธิ์, จำนวนหรือสัญลักษณ์ที่มีค่าคงตัวซึ่งเป็นตัวคูณของตัวแปรใด ๆ เช่น 2x มี 2 เป็นสัมประสิทธิ์ของ x [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
hyperbola | ไฮเพอร์โบลา, เซตของจุดทุกจุดในระนาบ ซึ่งผลต่างของระยะทางจากจุดใด ๆ ในเซตไปยังจุดคงที่(จุดโฟกัส) 2 จุด บนระนาบมีค่าคงตัว ซึ่งมากกว่าศูนย์ แต่น้อยกว่าระยะห่างระหว่างจุดคงที่ทั้งสอง ดูรูป [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
law of conservation of mechanical energy | กฎการอนุรักษ์พลังงานกล, กฎเกี่ยวกับพลังงานกลของวัตถุ ซึ่งกล่าวว่า พลังงานกลรวมของวัตถุมีค่าคงตัวเสมอ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
law of conservation of momentum | กฎการอนุรักษ์โมเมนตัม, กฎเกี่ยวกับโมเมนตัมของวัตถุซึ่งกล่าวว่า เมื่อไม่มีแรงลัพธ์ใด ๆ มากระทำต่อระบบแล้ว ผลรวมของโมเมนตัมของระบบจะมีค่าคงตัว เช่น เมื่อวัตถุชนกัน ผลรวมของโมเมนตัมวัตถุก่อนการชนจะเท่ากับผลรวมของโมเมนตัมของวัตถุภายหลังการชน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Coulomb's law | กฎของคูลอมบ์, กฎของคูลอมบ์ กฎที่ว่าด้วยแรงกระทำระหว่างประจุสองประจุอาจเป็นแรงดูดหรือแรงผลัก ซึ่งเป็นไปตามสูตร เมื่อ F เป็นแรงกระทำระหว่างประจุ Q1 และ Q2 เป็นค่าของประจุ R เป็นระยะทางระหว่างประจุ และ K เป็นค่าคงตัว [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
decay constant | ค่าคงตัวการสลาย, ความน่าจะเป็นหรือโอกาสที่นิวเคลียสกัมมันตรังสีจะสลายได้ใน 1 หน่วยเวลา เป็นค่าคงตัวสำหรับธาตุกัมมันตรังสีหนึ่ง ๆ ใช้สัญลักษณ์ λ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
gas constant | ค่าคงตัวแก๊ส, ค่าคงตัวสำหรับแก๊สทุกชนิด ใช้สัญลักษณ์ R โดย R = 8.314 JK-1mol-1 [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Planck's constant | ค่าคงตัวของพลังค์, ค่าคงตัวสากลใช้สัญลักษณ์ h มีค่าเท่ากับ 6.261 x 10-34 จูลวินาที [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
Boltzmann constant | ค่าคงตัวโบลต์ซมันน์, ค่าคงตัวสากลค่าหนึ่งซึ่งใช้ในการศึกษาเกี่ยวกับทฤษฎีจลน์ของแก๊ส ใช้สัญลักษณ์ kB มีค่า 1.3806 x 10-23JK-1 [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
spring constant | ค่าคงตัวสปริง, แรงที่ทำให้สปริงยืดหรือหดต่อหนึ่งหน่วยระยะทาง [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
universal gravitation constant | ค่าคงตัวโน้มถ่วงสากล, ค่าคงตัวของแรงดึงดูดระหว่างมวล เป็นค่าเดียวกันเสมอไม่ว่าวัตถุที่ดึงดูดกันจะเป็นวัตถุใดๆ ก็ตามในเอกภพซึ่งมีค่าเท่ากับ 6.67 x 10-11 นิวตัน เมตร2 กิโลกรัม-2 [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
quantum theory | ทฤษฎีควอนตัม, ทฤษฎีของพลังค์ที่อธิบายการแผ่รังสีของวัตถุร้อนในลักษณะเดียวกับการแผ่รังสีของวัตถุดำ ตามทฤษฎีนี้ พลังงานจะถูกปล่อยออกมาเป็นควอนตัม แต่ละควอนตัมมีค่าเท่ากับผลคูณของความถี่ของรังสีที่แผ่ออกมากับค่าคงตัวของพลังค์ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
photon | โฟตอน, อนุภาคไม่มีมวลซึ่งประกอบด้วยควอนตัมของแสงหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า หรือโฟตอน เป็นพลังงานหน่วยหนึ่งซึ่งมีค่าเท่ากับ hf โดย h เป็นค่าคงตัวของพลังค์ และ f เป็น ความถี่ของแสงหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่ถูกปล่อยออกมาหรือถูกดูดกลืน [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
law of conservation of mass | กฎทรงมวล, กฎเกี่ยวกับมวลของสารซึ่งกล่าวว่า ผลรวมของมวลสารทั้งหมดภายในระบบปิดมีค่าคงตัวหมายความว่า มวลสารจะไม่สูญหายไปหรือเกิดขึ้นใหม่ ในปฏิกิริยาเคมี มวลของสารก่อนเกิดปฏิกิริยาจะเท่ากับมวลของสารหลังเกิดปฏิกิริยา [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
binomial coefficient | สัมประสิทธิ์ทวินาม, สัมประสิทธิ์ที่ปรากฏในแต่ละพจน์ของการกระจาย (a+b)n เช่น (a+b)2 = a2 + 2ab + b2 สัมประสิทธิ์ทวินาม คือ 1 , 2, 1 ซึ่งเป็นค่าคงตัวที่คูณอยู่กับ a2 , ab และ b2 ตามลำดับ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
law of conservation of angular momentum | กฎการอนุรักษ์โมเมนตัมเชิงมุม, กฎเกี่ยวกับโมเมนตัมเชิงมุมของวัตถุซึ่งกล่าวว่า เมื่อทอร์กลัพธ์เนื่องจากแรงภายนอกที่กระทำต่อวัตถุเท่ากับศูนย์ ผลรวมของโมเมนตัมเชิงมุมของระบบมีค่าคงตัว [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
modulus of elasticity | มอดุลัสสภาพยืดหยุ่น, อัตราส่วนระหว่างความเค้นและความเครียด มอดุลัสสภาพยืดหยุ่น สำหรับวัสดุชนิดหนึ่ง ๆ มีค่าคงตัว มอดุลัสสภาพยืดหยุ่น มีหลายแบบ ได้แก่ มอดุลัสของยัง มอดุลัสเฉือน มอดุลัสเชิงปริมาตร [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |
law of conservation of mechanical energy | กฏการอนุรักษ์พลังงานกล, กฎเกี่ยวกับพลังงานกลของวัตถุ ซึ่งกล่าวว่า พลังงานกลรวมของวัตถุมีค่าคงตัวเสมอ [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.] |