กรวด ๒ | (กฺรวด) ว. สูงชัน เช่น หลังคากรวด, คู่กับ หลังคาดาด, ในคำประพันธ์ใช้ว่า จรวด หรือ ตรวด ก็มี เช่น เฒ่าก็วิ่งตรวดตรงขึ้นต้นไม้ (ม. ร่ายยาว ชูชก). |
กลบท | (กนละ-) น. คำประพันธ์ที่บัญญัติให้ใช้คำหรือสัมผัสเป็นชั้นเชิงยิ่งกว่าธรรมดา เช่น เจ้าโศกแคนแค่นแค้นดั่งแสนศร มารานร่านร้านรอนให้ตักไษย ว่าโอโอ่โอ้กำม์มาจำไกล เวรุชื่อใดจองจ่องจ้องประจาน (กลบทตรีประดับ). |
กลอน ๒ | (กฺลอน) น. คำประพันธ์ซึ่งแต่เดิมเรียกคำเรียงที่มีสัมผัสทั่วไป จะเป็นโคลง ฉันท์ กาพย์ หรือร่าย ก็ตาม เช่นในคำว่า ชุมนุมตำรากลอน, ครั้นเรียกเฉพาะคำประพันธ์เฉพาะอย่างเป็นโคลง ฉันท์ กาพย์ ร่าย แล้ว คำประพันธ์นอกนี้อีกอย่างหนึ่งจึงเรียกว่า กลอน เป็นลำนำสำหรับขับร้องบ้าง คือ บทละคร สักวา เสภา บทดอกสร้อย, เป็นเพลงสำหรับอ่านบ้าง คือ กลอนเพลงยาว หรือ กลอนตลาด. |
กวีนิพนธ์ | น. คำประพันธ์ที่กวีแต่งอาจเป็นร้อยแก้วหรือร้อยกรองก็ได้. |
กาล ๒ | (กาน) น. คำประพันธ์. |
ครรโลง | (คันโลง) น. โคลง, คำประพันธ์ชนิดหนึ่ง. |
คาถา ๑ | น. คำประพันธ์ประเภทร้อยกรองในภาษาบาลี, อัตราของฉันท์ คือ ๔ บาท เรียกว่า คาถาหนึ่ง |
คำร้อง ๒ | น. คำประพันธ์สำหรับขับร้อง, เนื้อร้อง หรือ บทร้อง ก็ว่า. |
คำหลวง | น. คำประพันธ์ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ มีโคลงฉันท์กาพย์ร่าย คือ มหาชาติคำหลวงและพระนลคำหลวง, คำประพันธ์ที่แต่งมีลักษณะอย่างมหาชาติคำหลวง คือ นันโทปนันท-สูตรคำหลวง และพระมาลัยคำหลวง. |
โคลง ๑ | (โคฺลง) น. คำประพันธ์ประเภทหนึ่ง มีจำนวนคำในวรรคสัมผัสและบังคับเอกโทตามตำราฉันทลักษณ์. |
ฉันท- ๑, ฉันท์ ๑ | (ฉันทะ-) น. ชื่อคำประพันธ์ประเภทหนึ่งที่วางคำ ครุ ลหุ เป็นแบบต่าง ๆ. |
ฉันทลักษณ์ | (ฉันทะลัก) น. ลักษณะแบบแผนคำประพันธ์ประเภทร้อยกรอง, ชื่อตำราไวยากรณ์ตอนที่ว่าด้วยลักษณะของคำประพันธ์. |
ฉีกคำ | ก. แยกพยางค์ของคำให้อยู่คนละวรรคหรือคนละบรรทัด มักใช้ในคำประพันธ์. |
ดอน | คำประพันธ์โบราณเขียนเป็น ดร ก็มี. |
เนื้อร้อง | น. คำประพันธ์สำหรับขับร้อง, คำร้อง หรือ บทร้อง ก็ว่า. |
บท ๑, บท- ๑ | กำหนดคำประพันธ์ที่ลงความตอนหนึ่ง ๆ เช่น โคลง ๔ สุภาพ ๔ บาท เป็น ๑ บท |
บท ๑, บท- ๑ | คำประพันธ์ที่เขียนขึ้นสำหรับเล่นละคร มีทั้งบทร้องและบทเจรจา เช่น บอกบท เขียนบท |
บทกลอน | น. คำประพันธ์ที่เป็นบทร้อยกรอง. |
บทร้อง | น. คำประพันธ์สำหรับขับร้อง, คำร้อง หรือ เนื้อร้อง ก็ว่า. |
บาท ๓ | น. ส่วนหนึ่งของบทแห่งคำประพันธ์ เช่น โคลง ๔ สุภาพ บทหนึ่งมี ๔ บาท. |
บุกบั่น | ก. ฝ่าไปโดยไม่ท้อถอย, ในคำประพันธ์ใช้ว่า บุกบัน ก็มี เช่น เข้าโรมรุกบุกบันฟันแทง (อิเหนา). |
ร้อยกรอง | น. คำประพันธ์, ถ้อยคำที่เรียบเรียงให้เป็นระเบียบตามบัญญัติแห่งฉันทลักษณ์. |
รับสัมผัส | ก. เรียกคำใดคำหนึ่งของวรรคหลังแห่งคำประพันธ์ที่คล้องจองกับคำส่งสัมผัสในวรรคหน้า ว่า คำรับสัมผัส. |
ร่าย ๑ | น. ชื่อคำประพันธ์ประเภทร้อยกรองแบบหนึ่ง เช่น ร่ายยาว ร่ายสุภาพ ร่ายดั้น ร่ายโบราณ |
เริ่มต้น | ก. ตั้งต้น, ขึ้นต้น, เช่น เขาเริ่มต้นถักเสื้อตัวใหม่แล้ว ครูเริ่มต้นแต่งคำประพันธ์. |
ลิลิต | น. ชื่อคำประพันธ์ประเภทร้อยกรองแบบหนึ่งซึ่งใช้โคลงและร่ายต่อสัมผัสกันเป็นเรื่องยาว. |
แล ๒ | ทีเดียว, ฉะนี้, (มักใช้ในที่สุดประโยคหรือข้อความ หรือคำลงท้ายคำประพันธ์) เช่น ยมพะบาลจับผู้หญิงผู้ชายจำให้ขึ้นจำให้ลงหากันดั่งนั้น หลายคาบหลายคราลำบากนักหนาแล (ไตรภูมิ), ห่อนข้าคืนสม แม่แล (ตะเลงพ่าย). |
ศานตรส | น. รสของคำประพันธ์ที่แสดงถึงความสงบจิต. |
โศลก | (สะโหฺลก) น. คำประพันธ์ในวรรณคดีสันสกฤต ๔ บาท เป็น ๑ บท ตามปรกติมีบาทละ ๘ พยางค์ เรียกว่า โศลกหนึ่ง เช่น กามโกฺรธวิยุกฺตานามฺ ยตีนำ ยตเจตสามฺ อภิโต พฺรหฺมนิรฺวาณมฺ วรฺตเต วิทิตาตฺม-นามฺ ผู้บำเพ็ญพรต พรากจากกามและโกรธ ข่มใจได้ รู้แจ้งอาตมัน ย่อมมีนิพพาน คือพรหมโดยทั่วไป (ศรีมัทภควัทคีตา), บทสรรเสริญยกย่อง |
ส่งสัมผัส | ก. เรียกคำสุดท้ายของวรรคหน้าแห่งคำประพันธ์ที่คล้องจองกับคำใดคำหนึ่งในวรรคถัดไป ว่า คำส่งสัมผัส. |
สักวา | (สักกะวา) น. ชื่อคำประพันธ์ชนิดหนึ่ง บทหนึ่งมี ๔ คำกลอน ขึ้นต้นด้วยคำ “สักวา” และลงท้ายด้วยคำ “เอย”, ชื่อลำนำเพลงอย่างหนึ่ง ร้องเป็นทำนองโต้ตอบกัน. |
ห่อน | ว. เคย เช่น ไป่ห่อนเหลือคิดข้า คิดผิด แม่นา (ลอ), ในคำประพันธ์บางคราวใช้แทน ไม่ เช่น สาลิกามาตามคู่ ชมกันอยู่สู่สมสมร แต่พี่นี้อาวรณ์ ห่อนเห็นเจ้าเศร้าใจครวญ (เห่ชมนก). |
อ้า ๒ | ว. คำออกเสียงขึ้นต้นประโยคในคำประพันธ์ ใช้ในความรำพึงหรือพรรณนาวิงวอนอย่างเดียวกับคำ โอ้ หรือ โอ้ว่า. |
โอ้ ๑ | อ. คำในคำประพันธ์ ใช้ในความรำพึง พรรณนา วิงวอน หรือปลอบ เป็นต้น เช่น โอ้พ่อพลายสายสวาทของน้องเอ๋ย ไม่เคยเลยจะห่างเหเสนหา (ขุนช้างขุนแผน), โอ้ว่า ก็ใช้ เช่น โอ้ว่าน่าเสียดายตัวนัก เพราะเชื่อลิ้นหลงรักจึงชํ้าจิต (อิเหนา). |