คาวี | น. วัว, วัวตัวเมีย, เช่น คชสารโคคาวี (กฎ. ราชบุรี). |
กมัณฑลุ | (กะมันทะ-) น. กะโหลกนํ้าเต้า, เต้านํ้า, หม้อนํ้า, ภาชนะใส่นํ้าเล็ก ๆ เป็นบริขารเครื่องใช้ประจำของนักบวชนอกพระพุทธศาสนา ทำด้วยไม้หรือดิน, เช่น กมัณฑลุภาชน์ ว่า ภาชนะใส่น้ำ คือ เต้านํ้า (ม. ร่ายยาว วนปเวสน์), ใช้ว่า กมัณฑลู ก็มี เช่น บัดนี้คาวียุพราชาชัยลีลา ก็เอากมัณฑลูลง (เสือโค). |
กระเกรียม | ก. ตระเตรียม, จัดแจงไว้ให้เรียบร้อย, เช่น กระเกรียมพร้อมเสร็จสำเร็จการ (คาวี). |
กระจัด ๑ | แยกย้ายออกไป เช่น ลูกหลานกระจัดพลัดพราย (คาวี). |
กระแชะ | ก. กระแซะ เช่น แกล้งทำเลียมและกระแชะชิด สะบิ้งสะบัดดัดจริตกิริยา (คาวี). |
กระเซอะกระเซอ | ก. เซ่อเซอะ เช่น ชังนํ้าหน้าบ้าเคอะกระเซอะกระเซอ (คาวี). |
กระทั่ง ๑ | ให้เสียงสัญญาณ เช่น ตามช่องฉากบังกระทั่งไอ (คาวี), ถ้าใช้เข้าคู่กับคำ กระทบ เป็น กระทบกระทั่ง หมายถึง แตะต้อง, ทำให้กระเทือนถึง, ทำให้กระเทือนใจ |
กระสัน | กระวนกระวายในกาม เช่น เดี๋ยวนี้นะพระองค์ทรงธรรม์ แสนกระสันจันทร์สุดาดวงสมร (คาวี) |
กระสัน | ว. แน่น เช่น พระขรรค์เหน็บกระสันอยู่เป็นนิจ (คาวี). |
กระหมอบ | ว. แขม่ว ๆ เช่น หายใจกระหมอบหอบเต็มที (คาวี). |
กระออม ๒ | น. ภาชนะสานด้วยไม้ไผ่ ยาชัน รูปคล้ายกระบุงขนาดย่อม ปากสอบ ใช้ใส่น้ำ เช่น สรงสนานนํ้าทิพย์สิบกระออม (คาวี), กะออม กัลออม หรือ กะละออม ก็ว่า. |
กราย ๓ | (กฺราย) ก. เดินอย่างมีท่าทางด้วยการทอดแขนไปข้างหน้าและข้างหลังอย่างช้า ๆ เช่น ลอยชายกรายแขนเข้าในห้อง (คาวี), วัน ๆ ไม่ทำอะไรได้แต่กรายไปกรายมา |
กรุก | (กฺรุก) ว. เสียงดังกุก เช่น ได้ยินเสียงกรุกลุกขึ้นมอง (คาวี). |
กรุกกรัก | ก. ขลุกขลัก เช่น กรุกกรักประดักประเดิดเปิดฝาลุ้ง (คาวี). |
กางเกียง | ก. ไม่ลงรูป, ไม่ลงรอย, ไม่ลงที่, สวมกันไม่เข้า, ใช้ว่า กางเกี่ยง ก็มี เช่น เมื่อนั้น พระคาวีเห็นนางยังกางเกี่ยง ยิ้มพลางทางลงไปจากเตียง แล้วกล่าวเกลี้ยงแกล้งปลอบให้ชอบใจ (คาวี), กังเกียง หรือ กำเกียง ก็ว่า. |
กำชับกำชา | ก. ยํ้าแล้วยํ้าอีก เช่น แล้วกำชับกำชาข้าไท (คาวี). |
ขำ ๒ | น. สิ่งหรือข้อความที่มีนัยซึ่งไม่ควรเปิดเผย เช่น ความขำเขาซับซี่ในวัดที่ดรธานปล่ยวน้นน (ม. คำหลวง ชูชก), แล้วทูลว่านางคันธมาลี ให้ข้านี้นำของมาถวาย เป็นความขำกำชับมามากมาย พลางยอบกายเข้าไปให้ใกล้ชิด (คาวี). |
คอเป็นเอ็น | ว. ขึ้นเสียงเถียงโต้อย่างไม่ยอมลดละ, เถียงเก่ง, เช่น หวงแหนหึงผัวตัวเป็นเกลียว จนเสียงขุ่นเสียงเขียวคอเป็นเอ็น (คาวี). |
ตะรัง | ก. ดั้นไป, เดาไป, ตะบึงไป, เช่น แล้วดำเนินเดินดุ่มสุ่มตะรัง (คาวี). |
ทังวล, ทังวี้ทังวล | ก. กังวล, ห่วงใย, เช่น เป็นทังวี้ทังวลวุ่นวาย (คาวี). |
นอ ๑ | ก. โน เช่น แม้นมีไม้ใกล้ตัวหัวจะนอ (คาวี). |
บ้าลำโพง | ว. บ้าเพราะกินเมล็ดลำโพง มีอาการซึมหรือพูดพล่าม, โดยปริยายหมายความว่า พูดโผงผาง ตึงตัง หรือแสดงกิริยาโมโหโกรธา เช่น พูดจาบ้าลำโพงโป้งไป (คาวี), ทำโมโหโกรธาบ้าลำโพง เที่ยวโป้งโหยงหยาบช้าสาธารณ์ (พิเภกสอนบุตร). |
โป้ | ก. โว, พูดอวดดี, เช่น บ้านํ้าลายพูดโอ้ออกโป้ไป (คาวี). |
ละครดึกดำบรรพ์ | น. ละครแบบหนึ่ง ดำเนินเรื่องรวดเร็ว มีการตกแต่งฉากที่คล้ายของจริง ไม่มีบทบรรยายฉาก บรรยายกิริยาอาการของตัวละคร ตัวละครร้องและเจรจาบทของตนเอง และใช้ดนตรีที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ เรียกว่า วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ เรื่องที่แสดง เช่น อิเหนา คาวี สังข์ศิลป์ชัย, ชื่อดึกดำบรรพ์มาจากชื่อโรงละครของเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (ม.ร.ว.หลาน กุญชร). |