คละคล่ำ | (-คฺลํ่า) ว. ปนกันไป, ดื่นไป. |
คลาคล่ำ | ก. ไปหรือมาเป็นจำนวนมาก เช่น ฝูงชนคลาคล่ำเต็มท้องถนน. |
คล่ำ | (คฺลํ่า) น. หมู่. |
คล่ำ | (คฺลํ่า) ว. สับสน, เกลื่อนกล่น, มาก, มักใช้คู่กับคำ คลา เป็น คลาคล่ำ. |
คล้ำ | (คฺลํ้า) ว. ค่อนข้างดำ, ไม่ผ่องใส, หม่นหมอง, เช่น ผิวคลํ้า หน้าคลํ้า. |
หน้าดำคร่ำเครียด, หน้าดำคล้ำเครียด | น. ใบหน้าหมองคล้ำเพราะต้องคร่ำเครียดหมกมุ่นอยู่กับงานหรือต้องใช้ความคิดอย่างหนัก. |
กรัก | (กฺรัก) ว. สีแดงคล้ำอย่างสีหมากแห้ง เรียกว่า สีกรัก. |
กลึงกล่อม | (-กฺล่อม) น. ชื่อไม้พุ่มกึ่งไม้ต้นชนิด Polyalthia suberosa (Roxb.) Thwaites ในวงศ์ Annonaceae ใบเดี่ยว เรียงสลับ ดอกเดี่ยว กลีบเลี้ยงด้านบนมีขน กลีบดอกสีเหลืองคล้ำ ผลเป็นกลุ่ม เมื่อสุกสีแดง. |
กาฬพฤกษ์ | น. ชื่อไม้ต้นชนิด Cassia grandis L. f. ในวงศ์ Leguminosae ลำต้นดำ ใบอ่อนสีแดง ดอกเล็ก สีแดงคล้ำแล้วเปลี่ยนเป็นสีชมพูอมส้ม ฝักใหญ่อ้วนสั้น ผิวขรุขระ ด้านข้างมีสัน เป็นพรรณไม้ที่นำเข้ามาปลูก. |
เก๋า ๑ | น. ชื่อปลาทะเลหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Serranidae (Epinephelidae) ปลาเหล่านี้เมื่อมีขนาดเล็กมักเรียก เก๋า เมื่อมีขนาดกลางและขนาดโตมักเรียก กะรัง หรือหมอทะเล ส่วนขนาดโตมากเรียก หมอทะเล ส่วนใหญ่ลำตัวยาว ป้อม ล่ำสั้น แบนข้างเล็กน้อย ปลายครีบต่าง ๆ มนกลม เฉพาะปลายครีบหางของบางชนิดเว้า บ้างก็ตัดตรง เกล็ดเล็กคลุมทั่วตัวรวมทั้งหัวและล้ำไปบนครีบเดี่ยว ลำตัวรวมทั้งครีบมักมีสีต่าง ๆ โดยเปลี่ยนไปตามขนาด เป็นแต้ม ด่าง ดวง ลาย หรือจุดประคล้ำทึบ แต่บางชนิดก็มีสีแดงหรือเทาโดยตลอด พบอาศัยอยู่ตามพื้นท้องทะเลและชายฝั่งที่มีที่หลบซ่อน แต่ส่วนใหญ่จะพบบริเวณใกล้หรือในเขตปะการัง ชนิด Epinephelus merra Bloch, E. sexfasiatus (Valenciennes), Cephalopholis boenak (Bloch) ยาวเพียงไม่เกิน ๒๖ เซนติเมตร ส่วนชนิด Promicrops lanceolatus (Bloch) ขนาดยาวไม่ถึง ๒.๗ เซนติเมตร และเป็นปลากระดูกแข็งชนิดหนึ่งที่ใหญ่ที่สุดของโลก ชื่อ เก๋า ตุ๊กแก กะรัง เป็นชื่อทั่วไปที่มักใช้เรียกปลาเกือบทุกชนิดในวงศ์นี้ที่มีขนาดไม่โตนัก สำหรับชื่อ กะรัง และหมอทะเล มักพบเรียกปลาพวกนี้ที่มีขนาดโตจนถึงยาว ๐.๕-๑.๕ เมตร ส่วน หมอทะเล ใช้เรียกชนิด P. l. (Bloch) . |
ข้าวมันปู | น. ข้าวเจ้าที่มีสีแดงคล้ำ. |
เขี้ยวเนื้อ | น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Lagerstroemia undulata Koehne var. subangulata Craib ในวงศ์ Lythraceae ช่อดอกเรียวแหลม ดอกเล็ก สีชมพูคล้ำ, สมอร่อง ก็เรียก. |
ไข้ผื่น | น. ไข้ที่มีผื่นและการเปลี่ยนแปลงอย่างอื่นทางผิวหนัง มีลักษณะอาการและความรุนแรงต่าง ๆ กัน ตั้งแต่เป็นเม็ดเล็ก ๆ เหมือนหัวเข็มหมุด จนถึงปื้นใหญ่ ๆ ในรายที่รุนแรงมากอาจมีเลือดออกใต้ผิวหนังบริเวณผื่นหรือปื้น และผิวหนังจะเปลี่ยนเป็นสีคล้ำ, ไข้กาฬ หรือ ไข้ส่า ก็เรียก. |
ค้าว | น. ชื่อปลานํ้าจืดในวงศ์ Siluridae ไม่มีเกล็ด รูปร่างคล้ายปลาคางเบือนซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกัน แต่มีขนาดใหญ่กว่า คือ ยาวได้ถึง ๒ เมตร หัวแหลม ปากกว้าง ฟันแหลมคม ครีบหลังตั้งเด่น ตัวยาวเรียวไปทางหาง แบนข้าง ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด คือ ค้าวขาว [ Wallago attu (Bloch) ] และ ค้าวดำ คูน ทุก อีชุก อีทุก หรือ อีทุบ ( W. micropogon Vailant) ซึ่งมีหนวดยาวกว่าชนิดแรก ลำตัวและครีบสีดำคล้ำ, ทั้ง ๒ ชนิด เค้า ก็เรียก. |
ชิงฮื้อ | น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Mylopharyngodon aethiops (Basilewski) ในวงศ์ Cyprinidae ปากอยู่ปลายสุดของหัว ไม่มีหนวด ลำตัวยาว ท้องกลม เกล็ดใหญ่ รูปร่างคล้ายปลาเฉาฮื้อ เว้นแต่มีแผงฟันในบริเวณลำคอเพียงแถวเดียว ทั้งลำตัวและครีบสีคล้ำ มีถิ่นเดิมอยู่ในประเทศจีน นำเข้ามาเลี้ยงเป็นอาหาร. |
เดินดง | น. ชื่อนกขนาดเล็กหลายชนิด วงศ์ย่อย Turdinae ในวงศ์ Turdidae ปากค่อนข้างยาว ตรงหรือโค้งเล็กน้อย สีสันลำตัวแตกต่างกัน ขาค่อนข้างยาว หากินบนพื้นดินตามป่าหรือบนไม้พุ่ม กินแมลง ตัวหนอน และผลไม้สุก เช่น เดินดงหัวสีส้ม [ Zoothera citrina (Latham) ] เดินดงสีคล้ำ ( Turdus obscurus Gmelin). |
ตะโกรม | (-โกฺรม) น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่หลายชนิด ในวงศ์ Ostreidae ลักษณะเหมือนหอยนางรม แต่มีขนาดใหญ่กว่า เปลือกขรุขระ สีขาวคล้ำ เช่น ชนิด Crassostrea iredalei (Faustino), C. belcheri (Sowerby), นางรมใหญ่ ก็เรียก. |
น้ำเงิน ๓ | น. ชื่อปลาน้ำจืดไม่มีเกล็ดพวกปลาเนื้ออ่อน ชนิด Phalacronotus apogon (Bleeker) หรือ Micronema apogon (Bleeker) ในวงศ์ Siluridae ปากเชิดขึ้น หนวดที่ขากรรไกรบนยาวไม่ถึงขอบแผ่นปิดเหงือกคล้ายปลาแดง แต่ไม่มีหนวดที่ขากรรไกรล่าง หรือมีเป็นเพียงตุ่มขนาดเล็กมาก และมีกลุ่มฟันที่กระดูกฐานจมูกเรียงเป็นแถบรูปโค้ง ลำตัวมีสีเงินคล้ายตะกั่ว ไม่มีครีบหลัง ครีบก้นมักมีขอบสีดำคล้ำ อาศัยอยู่ตามแม่น้ำ ลำคลอง หรือแหล่งน้ำนิ่งขนาดใหญ่ที่มีความเป็นธรรมชาติ กินสัตว์อื่น ขนาดยาวได้ถึง ๗๗ เซนติเมตร, เนื้ออ่อน นาง หรือ ชะโอน ก็เรียก. |
น้ำผึ้ง ๓ | น. ชื่อปลาน้ำจืดชนิด Gyrinocheilus aymonieri (Tirant) และชนิด G. pennocki (Fowler) ในวงศ์ Gyrinocheilidae ลำตัวทรงกระบอก คอดหางใหญ่ ครีบหางเว้าตื้น ปลายหัวมน งุ้ม ตาเล็กอยู่ค่อนไปทางด้านบน ที่สำคัญคือ มีรูน้ำเข้า ๑ รูอยู่เหนือแผ่นปิดเหงือก บริเวณจะงอยปากมีตุ่มเนื้อขนาดเล็ก ไม่มีหนวด พื้นลำตัวมีสีน้ำตาลคล้ำ ข้างตัวมีจุดสีดำเรียงสลับกันตามยาวอยู่ ๒ แถว จุดสีดำยังอาจพบบนครีบ อาศัยตามที่ลุ่มน้ำต้นฤดูน้ำ หรือตามลำธารบนภูเขา กินสาหร่ายและพืชน้ำอื่น ๆ ปรกติใช้ปากดูดเกาะห้อยตัวอยู่กับวัตถุใต้น้ำหรืออยู่ตามพื้นท้องน้ำ ขนาดยาวได้ถึง ๒๘ เซนติเมตร, สร้อยน้ำผึ้ง ปากใต้ ลูกผึ้ง ผึ้ง หรือ อีดูด ก็เรียก. |
พิมปะการัง | น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่ชนิด Pholas orientalis Gmelin ในวงศ์ Pholadidae เปลือกบางเปราะค่อนข้างยาว สีขาวคล้ำ ผิวขรุขระสามารถใช้เปลือกเจาะพื้นที่เป็นดินโคลนให้เป็นรูเพื่อผังตัวอยู่ได้, พิม พิมการัง หรือ พิมพการัง ก็เรียก. |
โพทะเล | น. ชื่อไม้ต้นชนิด Thespesia populnea (L.) Sol. ex Corrêa ในวงศ์ Malvaceae ขึ้นริมนํ้า ใบคล้ายใบโพปราสาท ดอกสีเหลือง โคนกลีบดอกด้านในสีม่วงคล้ำ รากใช้ทำยาได้. |
มอคราม | ว. สีฟ้าคล้ำ. |
มือเสือ ๓ | น. ชื่อหอยทะเลกาบคู่ขนาดกลางถึงขนาดใหญ่หลายชนิด ในวงศ์ Tridacnidae เปลือกหนาหนักสีขาวคล้ำหรือสีนวล บางชนิดมีลายเป็นเส้นสีน้ำตาล เปลือกมีสันและร่องทำให้ขอบเปลือกหยักเป็นลอน พบตามพื้นท้องทะเลบริเวณที่มีแนวปะการัง เช่น ชนิด Tridacna squamosa Lamarck, T. Crocea Lamarck, Hippopus hippopus (Linn.). |
ยอดจาก | น. ชื่อปลาไหลทะเลในสกุล Muraenesox และ Congresox วงศ์ Muraenesocidae ลำตัวยาวทรงกระบอก ส่วนหางแบนข้าง ไม่มีเกล็ด ปากแหลมอ้าได้กว้าง จะงอยปากบนยาวล้ำขากรรไกรล่าง ฟันคมแข็งแรง ครีบอกใหญ่ พื้นลำตัวและครีบสีน้ำตาลอ่อนปนเหลืองหรือคล้ำ ด้านท้องสีขาว ขอบครีบหลัง ครีบก้นและครีบหางสีดำ ขนาดยาวได้ถึง ๒.๕ เมตร, เงี้ยว หลด ไหล หรือ มังกร ก็เรียก. |
รากกล้วย ๑ | น. ชื่อปลาน้ำจืดทุกชนิดในสกุล Acantopsisวงศ์ cobitidae หัวยาวปลายแหลม ลำตัวยาวเรียว ลำตัวสีน้ำตาลอ่อนหรือเทา ข้างตัวมักมีจุดสีดำเรียงในแนวยาวหรือประอยู่ด้านหลัง บ้างมีแถบสีดำคล้ำตามแนวยาว พบอาศัยอยู่เป็นฝูงตามลำน้ำใหญ่ที่มีน้ำไหลหรือพื้นท้องน้ำเป็นกรวดทรายซึ่งปลามุดซ่อนตัว, ซ่อนทราย กล้วย ทราย หรือ หมู ก็เรียก. |
เลือดดำ | น. เลือดที่เม็ดเลือดแดงมีออกซิเจนน้อยหรือขาดออกซิเจน มีสีแดงคล้ำ. |
เลือดเสีย | น. เลือดระดูไม่ปรกติ มีสีแดงคล้ำ กลิ่นเหม็น. |
เลือดหมู | ว. สีแดงคล้ำอย่างสีเลือดของหมู. |
สีหม่น | น. สีที่เจือสีดำเพื่อลดประกายสดใสให้คล้ำลง อย่างสีแดงเจือสีดำ เป็นสีแดงเลือดหมู. |
เสือตอ | น. ชื่อปลาน้ำจืดชนิด Datnioides pulcher (Bleeker) และ D. undecimradiatusRoberts & Kottelat ในวงศ์ Lobotidae ลำตัวกว้าง แบนข้าง แนวสันหลังโค้งมากกว่าแนวสันท้อง หัวแหลม ปากกว้างพอประมาณเชิดขึ้นเล็กน้อย จะงอยปากอยู่ต่ำกว่าระดับตา เกล็ดเล็กเป็นแบบเกล็ดหนาม ส่วนท้ายของครีบหลัง ครีบก้นและครีบหางมีขอบกลม ปลายครีบท้องยื่นยาวเป็นเส้นสั้น ๆ พื้นลำตัวและครีบมีสีเทาจนถึงเหลืองและชมพูหม่น หรือน้ำตาลหม่นหรือคล้ำ ที่สำคัญคือมีแถบใหญ่สีดำหรือน้ำตาลเข้มพาดขวางอยู่บนหัว ลำตัว และคอดหาง รวม ๖ แถบ สำหรับชนิดแรกที่เคยพบในลุ่มน้ำภาคกลางและแม่น้ำโขง มีประวัติทางพฤติกรรมว่ามักหลบอยู่ตามตอไม้จมน้ำ ปัจจุบันปลาในธรรมชาติแทบไม่มีให้พบกันอีก ส่วนอีกชนิดหนึ่งพบเฉพาะในแม่น้ำโขง ทั้ง ๒ ชนิดคล้ายกันมากและมีขนาดยาวได้ถึง ๔๐ เซนติเมตร, ลาด หรือ เสือ ก็เรียก. |
แสม ๒ | (สะแหฺม) น. ชื่อปูน้ำกร่อยหลายชนิดในสกุล Episesarma วงศ์ Grapsidae ลักษณะกระดองเป็นรูปสี่เหลี่ยม สีคล้ำค่อนไปทางน้ำตาลดำ ระหว่างตามีลักษณะเป็นลอนคล้ายลูกฟูก อาศัยอยู่ตามป่าชายเลน เช่น ชนิด E. mederi (H. Milne Edwards) ชนิดนี้ถ้านำมาดองน้ำเกลือ เรียก ปูเค็ม. |
หน้ากร้าน | น. ผิวหน้าที่หยาบคล้ำ เช่น ตากแดดตากลมจนหน้ากร้าน. |
หน้าเข้มคม | น. ใบหน้าหล่อมีเสน่ห์ คิ้วดกดำ ตาคม (ใช้แก่ผู้ชายผิวคล้ำหรือดำแดง). |
หน้าคมขำ | น. ใบหน้าสวยซึ้งชวนพิศ คิ้วดกดำ ตาคม (ใช้แก่ผู้หญิงผิวคล้ำหรือดำแดง). |
หน้าดำ | น. ใบหน้าหมองคล้ำไม่มีราศีเพราะความทุกข์หรือต้องทำงานกลางแจ้งเป็นต้น. |
หนามแดง | ชื่อไม้พุ่มชนิด Carissa carandas L. ในวงศ์ Apocynaceae ดอกสีขาว หลอดดอกสีชมพู กลิ่นหอม ผลสีขาว สุกสีแดงคล้ำ กินได้, มะนาวไม่รู้โห่ ก็เรียก. |
หมดราศี | ว. มีหน้าตาหมองคล้ำ เช่น พอหมดอำนาจก็หมดราศี. |
หม่น | ว. มีลักษณะมัว ๆ หรือคล้ำ ๆ (ใช้แก่สี) เช่น สีฟ้าหม่น สีเขียวหม่น. |
หริ่ง | น. ชื่อหนูขนาดเล็กถึงขนาดปานกลางหลายชนิด ในวงศ์ Muridae เช่น หนูหริ่งบ้าน (Mus musculus Linn.) มีขนลำตัวสีน้ำตาลเข้ม หัวค่อนข้างแบน หน้าสั้น ฟันเล็ก ขาสีดำ ปลายนิ้วสีขาว ฝ่าตีนสีเข้ม หางยาวสีดำ เคลื่อนไหวได้รวดเร็วและกระโดดเก่ง ในประเทศไทยมีผู้พบบางตัวมีแถบสีเหลืองพาดตามขวางบริเวณกลางลำตัวใกล้โคนขาหลัง แยกเป็นชนิดย่อย M. m. castaneusWaterhouse, หนูหริ่งไม้หางพู่ [ Chiropodomys gliroides (Blyth) ] มีขนลำตัวค่อนข้างยาว ด้านหลังสีน้ำตาลคล้ำ ท้องสีขาว หางยาว มีแผงขนสีขาวและดำตั้งแต่กลางหางไปถึงปลาย ปลายหางเป็นพู่สีขาว อาศัยอยู่ตามป่า. |
เหนี่ยง | (เหฺนี่ยง) น. ชื่อด้วงปีกแข็งชนิด Hydrophilus bilineatus Macleay ในวงศ์ Hydrophilidae ลำตัวรูปไข่ แบนเล็กน้อย ตัวยาวประมาณ ๓.๕ เซนติเมตร สีดำตลอดตัว มีหนามแหลมที่ด้านล่างของอกยื่นยาวไปถึงส่วนท้อง อาศัยหากินและเติบโตอยู่ตามแหล่งน้ำจืด, โดยปริยายใช้เรียกผู้ที่มีผิวดำคล้ำโดยธรรมชาติหรือเพราะถูกแดดถูกลมมาก ว่า ตัวดำเป็นเหนี่ยง. |
อินทรี ๒ | (-ซี) น. ชื่อปลาทะเลขนาดใหญ่ทุกชนิดในสกุล Scomberomorus วงศ์ Scombridae ลำตัวแบนข้างเรียวยาว คอดหางเล็กมีสันเนื้อ ๓ แนวอยู่ที่โคนหาง หัวแหลม ปากกว้าง ปลายขากรรไกรบนและล่างยาวเสมอกัน เกล็ดเป็นแบบเกล็ดเรียบมีขนาดเล็กมาก ด้านหลังมีสีเทาดำอมฟ้าหรือน้ำเงิน ด้านท้องมีสีเงิน ข้างลำตัวมีลวดลายเป็นสีดำคล้ำแตกต่างกันชัดเจนระหว่างชนิดและเป็นที่มาของชื่อ คือ อินทรีบั้ง [ S. commerson (Lacepède) ] อินทรีจุด [ S. guttatus (Bloch & Schneider) ] อินทรีแท่งหรืออินทรีแท่งดินสอ [ S. lineolatus Cuvier ]. |