คฤหัสถ์ | (คะรึหัด) น. ผู้ครองเรือน, ผู้ไม่ใช่นักบวช, ฆราวาส, ภาษาปากใช้ว่า กระหัด. |
คฤหัสถ์ | ดู คฤห, คฤห-. |
กระหัด | น. คฤหัสถ์. |
คว่ำบาตร | ก. ไม่ยอมคบค้าสมาคมด้วย, เดิมหมายถึงสังฆกรรมที่พระสงฆ์ประกาศลงโทษคฤหัสถ์ผู้ประทุษร้ายต่อศาสนาด้วยการไม่คบ ไม่รับบิณฑบาต เป็นต้น. |
คหัฐ | (คะหัด) น. คฤหัสถ์. |
เจ้าประคุณ | ส. คำที่ภิกษุสามเณรหรือคฤหัสถ์ใช้เรียกสมเด็จพระราชาคณะ, ใช้เต็มว่า ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒. |
เจ้าพระคุณ | ส. คำที่ภิกษุสามเณรหรือคฤหัสถ์ใช้เรียกสมเด็จพระราชาคณะ, ใช้เต็มว่า ท่านเจ้าพระคุณสมเด็จฯ, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒, ใช้ว่า เจ้าประคุณ ก็มี. |
ชาววัด | น. คฤหัสถ์ที่ไปทำบุญฟังเทศน์ฟังธรรมที่วัดเป็นประจำ. |
ตุ๊ย | น. เรียกตัวตลกที่ออกมาขัดจังหวะในการสวดคฤหัสถ์ว่า ตัวตุ๊ย. |
ถือเพศ | ก. ประพฤติปฏิบัติตนเยี่ยงนักบวชหรือผู้ครองเรือน เช่น ถือเพศเป็นฤๅษี ลาจากสมณเพศมาถือเพศเป็นคฤหัสถ์. |
ไถยสังวาส | น. การทำหรือการแต่งตัวปลอมแปลงให้ผิดไปจากเพศของตน เช่นคฤหัสถ์แต่งตัวปลอมเพศเป็นสมณะ ผู้ชายแต่งตัวเป็นผู้หญิง. |
ประสก | น. ชายผู้แสดงตนเป็นคนถือพระพุทธ-ศาสนา, คำที่บรรพชิตเรียกคฤหัสถ์ผู้ชาย, คู่กับ สีกา. |
รูป, รูป- | (รูบ, รูบปะ-) ส. คำใช้แทนตัวผู้พูด สำหรับพระภิกษุสามเณรพูดกับคฤหัสถ์, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. |
ลักเพศ | (ลักกะเพด) ก. ทำหรือแต่งตัวปลอมแปลงให้ผิดไปจากเพศของตน เช่นคฤหัสถ์แต่งตัวปลอมเพศเป็นสมณะ ผู้ชายแต่งตัวเป็นผู้หญิง |
เววัณณิยะ | น. ความเป็นผู้มีวรรณะต่างกันหรือต่างเพศกัน เช่นเพศบรรพชิตต่างกับเพศคฤหัสถ์. |
ไวยาวัจกร | (-วัดจะกอน) น. คฤหัสถ์ผู้ได้รับแต่งตั้งให้มีหน้าที่เบิกจ่ายนิตยภัตและมีอำนาจหน้าที่ดูแลรักษาจัดการทรัพย์สินของวัดตามที่เจ้าอาวาสมอบหมายเป็นหนังสือ. |
สนาดก | (สะนา-) น. ผู้ได้รับนํ้าสรงในพิธีสนานหลังจากจบการศึกษาแล้ว ซึ่งตามคติชีวิตของชาวฮินดูถือเป็นการสิ้นสุดชีวิตขั้นที่ ๑ ในอาศรม ๔ คือ พรหมจารี และย่างเข้าขั้นที่ ๒ คือ คฤหัสถ์. |
สัปปุริส-, สัปปุรุษ | (สับปุริสะ-, สับปุหฺรุด) น. คนที่เป็นสัมมาทิฐิ, คฤหัสถ์ผู้มีศรัทธาในพระศาสนา, คนที่มีความเห็นชอบตามทำนองคลองธรรม. |
สำรับ | น. ของหรือคนที่รวมกันเข้าได้ไม่ผิดหมู่ผิดพวกเป็นชุดเป็นวงเป็นต้น เช่น ไพ่ ๒ สำรับ พระพิธีธรรม ๑ สำรับ มี ๔ รูป นักสวดคฤหัสถ์ ๑ สำรับ มี ๔ คน, ภาชนะเช่นถาดเป็นต้นใส่ถ้วยชามพร้อมบรรจุอาหารคาวหรือหวานเป็นชุด เช่น สำรับคาว สำรับหวาน. |
สีกา | น. คำที่บรรพชิตเรียกคฤหัสถ์ผู้หญิง, คู่กับ ประสก. |
เสียเพศ | ก. เปลี่ยนภาวะจากคฤหัสถ์เป็นนักบวช เช่น ซัดยังเมืองมัทรบุรี เสียเพศเทพี เป็นดาบสศรีโสภา (สมุทรโฆษ), เปลี่ยนภาวะจากนักบวชเป็นคฤหัสถ์ เช่น เสียฤษีพรตเพศ ห้องหิมเวศนาจลจรหล่ำน้นน ราชเวสมธารยิ ทรงเพศเป็นพญามหากระษัตราธิราช (ม. คำหลวง นครกัณฑ์). |
หงายบาตร | น. สังฆกรรมที่คณะสงฆ์ประกาศยกโทษให้แก่คฤหัสถ์ที่เคยถูกประกาศคว่ำบาตรมาแล้ว ด้วยการยอมรับบิณฑบาตเหมือนเดิม. |
หัตถบาส | น. ระยะระหว่างพระสงฆ์ที่นั่งทำสังฆกรรมหรือระหว่างพระภิกษุ สามเณร กับคฤหัสถ์ผู้ถวายของ ห่างกันไม่เกินศอกหนึ่ง. |
อนุปสัมบัน | (อะนุปะสำบัน) น. ผู้ที่ไม่ได้เป็นภิกษุ หมายถึง สามเณรและคฤหัสถ์, คู่กับ อุปสมบัน หรือ อุปสัมบัน. |
อันเตวาสิก | น. “ชนผู้อยู่ในภายใน” หมายถึง ศิษย์ที่อยู่ในปกครองหรือที่อาศัยอยู่กับอาจารย์ จะเป็นบรรพชิตหรือคฤหัสถ์ก็ได้, คู่กับ อาจารย์. |
อาตมภาพ, อาตมา ๑ | (-พาบ, อาดตะมา) ส. คำใช้แทนตัวผู้พูด สำหรับพระภิกษุสามเณรพูดกับคฤหัสถ์ ทั้งที่เป็นเจ้านายหรือสามัญชน, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. |
อุบาสก | น. คฤหัสถ์ผู้ชายที่นับถือพระพุทธศาสนาอย่างมั่นคง. |
อุบาสิกา | น. คฤหัสถ์ผู้หญิงที่นับถือพระพุทธศาสนาอย่างมั่นคง. |
อุโบสถ ๑ | เรียกการรักษาศีล ๘ ของคฤหัสถ์ ว่า การรักษาอุโบสถ. |
อุปสมบัน, อุปสัมบัน | (อุปะ-, อุบปะ-) น. ผู้อุปสมบทแล้ว, ภิกษุ, คู่กับ อนุปสัมบัน ได้แก่ผู้ที่ไม่ได้อุปสมบท คือ สามเณรและคฤหัสถ์. |