ครีบ | (คฺรีบ) น. อวัยวะที่เป็นแผ่นติดกันเป็นพืดอยู่ใต้ท้องและสันหลังของปลาเป็นต้น |
ครีบ | เรียกของบางอย่างที่มีลักษณะเช่นนั้น เช่น ครีบตาล คือ ครีบ ๒ ข้างของทางตาล มีลักษณะคล้ายฟันเลื่อย. |
ครีบสิงห์, ครีบหลังสิงห์ | น. ชื่อลายชนิดหนึ่ง. |
กด ๒ | น. ชื่อปลาไม่มีเกล็ด มีหนวด หลายชนิด หลายขนาด ครีบหลังตอนแรกและครีบอกมีก้านครีบเป็นเงี่ยง ครีบหลังตอนที่ ๒ เป็นครีบไขมัน ส่วนใหญ่เป็นสกุล Arius ในวงศ์ Ariidae พบมากในเขตนํ้ากร่อย เช่น กดแดงหรือกดหัวโม่ง ( A. caelatusValencienne s) บางชนิดพบในทะเล เช่น กดทะเลหรือริวกิว [ A. thalassinus (Rüppell) ], ที่อยู่ในสกุล Ketengus ได้แก่ กดหัวโต ( K. typusBleeker), ในสกุล Hemipimelodus เช่น กดโป๊ะ [ H. borneensis (Bleeker) ]. |
กดเหลือง | น. ชื่อปลาน้ำจืดชนิด Hemibagrus nemurus (Valenciennes) ในวงศ์ Bagridae ไม่มีเกล็ด หัวแบน หนวดยาวถึงครีบก้น ข้างลำตัวสีเหลือง ด้านหลังสีน้ำตาลดำ มีชุกชุมทั่วไป แม้ในเขตน้ำกร่อยใกล้ปากแม่น้ำ ขนาดยาวได้ถึง ๖๕ เซนติเมตร, กดขาว หรือ ชงโลง ก็เรียก. |
กรด ๓ | (กฺรด) น. ชื่อไม้เถาชนิด Combretum tetralophum C. B. Clarke ในวงศ์ Combretaceae มักขึ้นในที่นํ้าท่วม เช่น ตามฝั่งนํ้าลำคลอง ใบโดยมากออกรอบข้อ ๒ หรือ ๓ ใบ ใบอ่อนสีม่วงดำ เมื่อแก่เปลี่ยนเป็นสีเขียว ผลมีสันแข็งเป็น ๔ ครีบ, เถาวัลย์กรด ก็เรียก |
กรด ๓ | อีกชนิดหนึ่ง คือ C. trifoliatum Vent. มีลักษณะคล้ายกันมาก แต่ผลมี ๕ ครีบ เช่น กรดกระถินอินจันพรรณไม้ (นิ. อิเหนา), สีเอยเจ้าสีสด เจ้าปลูกต้นกรดไว้ริมท่า (กล่อมเด็ก). |
กระจัง ๒ | น. ชื่อปลานํ้ากร่อยชนิด Periophthalmodon schlosseri (Pallas) ในวงศ์ Gobiidae พบในบริเวณป่าชายเลน รูปร่าง การเคลื่อนไหว และความสามารถขึ้นมาพ้นนํ้าได้คล้ายปลาจุมพรวดซึ่งมีขนาดใหญ่กว่า มีครีบอกเป็นกล้ามเนื้อใช้ต่างตีน ช่วยครีบหาง ทำรูลึกอยู่ในเลน เคลื่อนไหวได้รวดเร็วบนผิวเลนและผิวนํ้า ปีนเกาะบนที่ชันและกระโจนเป็นห้วง ๆ ได้ ขนาดยาวได้ถึง ๒๗ เซนติเมตร, กะจัง ก็เรียก. |
กระดี่ ๑ | น. ชื่อปลานํ้าจืดในสกุล Trichogaster วงศ์ Belontiidae เช่นเดียวกับปลาสลิดแต่มีขนาดเล็กกว่า ครีบท้องยาวยื่นเป็นเส้น มี ๓ ชนิด คือ กระดี่หม้อ [ T. trichopterus (Pallas) ] ข้างตัวมีลายหลายเส้นพาดขวาง มีจุดดำที่กลางลำตัวและคอดหางแห่งละ ๑ จุด ขนาดยาวได้ถึง ๑๕ เซนติเมตร, สลาก หรือ สลาง ก็เรียก, กระดี่นาง [ T. microlepis (Günther) ] สีขาวนวล และ กระดี่นางฟ้าหรือกระดี่มุก [ T. leeri (Bleeker) ] พบเลี้ยงกันเป็นปลาสวยงาม, บางท้องถิ่นในแถบอีสานเรียก กระเดิด. |
กระทิง ๓ | น. ชื่อปลานํ้าจืดในสกุล Mastacembelus วงศ์ Mastacembelidae ลำตัวยาว แบนข้างเล็กน้อย ปลายจะงอยปากบนเรียวแหลมคล้ายปลาหลด แต่มีครีบหลังและครีบก้นยาวต่อเนื่องกับครีบหาง สีสดสวยกว่าและมีขนาดใหญ่กว่า อาศัยอยู่ในแม่นํ้าลำคลองและที่ลุ่ม ที่พบทั่วไปในประเทศไทย เช่น ชนิด M. armatus (Lacepéde), M. favus Hora, และกระทิงไฟ ( M. erythrotaeniaBleeker) ซึ่งมีขนาดยาวได้ถึง ๘๐ เซนติเมตร. |
กระบอก ๒ | น. ชื่อปลานํ้ากร่อยและปลาทะเลหลายชนิด ในสกุล Liza, Valamugil, Oedalechilus และ Mugil วงศ์ Mugilidae ลำตัวค่อนข้างกลม ปากเล็ก มีครีบหลัง ๒ ตอน เกล็ดใหญ่สีเงิน มีหลายชนิด ขนาดยาวได้ถึง ๑ เมตร มีชื่อเรียกแตกต่างกัน เช่น กระบอกท่อนไต้ [ L. vaigiensi (Qnoy & Gaimard) ] กระบอกดำ [ L. parsia (Hamilton-Buchanan) ] กระบอกขาว [ V. seheli (Forsskål) ], กระเมาะ หรือ ละเมาะ ก็เรียก สำหรับปลาขนาดเล็ก, ปักษ์ใต้เรียก หมก หรือ มก. |
กระเบน | น. ชื่อปลากระดูกอ่อนพวกหนึ่ง มีหลายชนิด หลายสกุล และหลายวงศ์ ทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ลำตัวกว้างตั้งแต่ ๑๕-๓๐๐ เซนติเมตร ลำตัวแบนลงมาก และต่อเนื่องกับครีบอกแผ่ออกด้านข้าง บางชนิดแผ่ออกไปจดด้านหน้าและด้านท้ายเกือบเป็นวงกลมดูคล้ายจานหรือว่าว บางชนิดแผ่ยื่นด้านข้างออกไปเป็นปีกคล้ายนกหรือผีเสื้อ และบางชนิดครีบอกแผ่ไปไม่ถึงส่วนหน้า ทำให้หัวแยกจากลำตัวและส่วนยื่นของหัวเป็นลอน มีเหงือก ๕ คู่ อยู่ด้านล่างของส่วนหัว บริเวณถัดจากส่วนท้ายของนัยน์ตามีรูเปิดข้างละช่อง ซึ่งด้านในติดต่อกับโพรงเหงือกและปาก หางส่วนมากเรียว สั้นบ้างยาวบ้าง มักมีผิวหยาบหรือขรุขระ บางพวกมีเงี่ยงอยู่บนหางตอนใกล้ลำตัว และมีต่อมน้ำพิษอยู่บริเวณโคนเงี่ยง เมื่อใช้เงี่ยงแทงจะปล่อยน้ำพิษออกมาด้วย ทำให้คนหรือสัตว์ที่ถูกแทงรู้สึกปวด |
กระมัง ๒ | น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Puntioplites proctozysron (Bleeker) ในวงศ์ Cyprinidae รูปร่างคล้ายปลาตะเพียน มีกระดูกครีบก้นใหญ่แข็งและเป็นหยัก ครีบหลังมีขนาดใหญ่ พื้นลำตัวเป็นสีขาว ขนาดยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร, เหลี่ยม ก็เรียก. |
กระสง | น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Channa lucius (Cuvier) ในวงศ์ Channidae รูปร่างคล้ายปลาช่อนซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกัน แต่หัวแหลมกว่าและแอ่นงอนขึ้นเล็กน้อย มีลายพาดขวางลำตัวข้างละ ๗-๑๒ แถบ ทุกครีบมีจุดประหรือริ้วสีดำ ขนาดยาวได้ถึง ๔๐ เซนติเมตร. |
กระสูบ | น. ชื่อปลานํ้าจืด ๒ ชนิด ในวงศ์ Cyprinidae รูปร่างคล้ายปลาตะเพียน แต่ลำตัวเพรียวกว่า ชนิดแรกคือ กระสูบขาว [ Hampala macrolepidota (van Hasselt) ] มักมีลายดำพาดขวางที่บริเวณลำตัวใต้ครีบหลัง พื้นหางสีแดง ขอบบนและล่างสีดำ ยาวได้ถึง ๗๐ เซนติเมตร อีกชนิดหนึ่งคือ กระสูบจุด ( H. disparSmith) ลำตัวมีจุดดำอยู่ตอนกลาง ปลายครีบหางมนกว่าและไม่มีแถบสีดำ ขนาดยาวได้ถึง ๒๐ เซนติเมตร, สูด หรือ สูบ ก็เรียก. |
กระแห, กระแหทอง | น. ปลาตะเพียนขนาดกลางชนิด Barbonymus schwanefeldi (Bleeker) หรือ Puntius schwanefeldi (Bleeker) ในวงศ์ Cyprinidae ลำตัวสั้นกว้างคล้ายปลาตะเพียนขาว มักมีสีแดงอ่อนบนครีบ เฉพาะส่วนปลายของครีบหลังและขอบทั้งบนและล่างของครีบหางมีสีดำ ขนาดยาวได้ถึง ๔๐ เซนติเมตร, ตะเพียนหางแดง หรือ เลียนไฟ ก็เรียก, ปักษ์ใต้เรียก ลำปำ. |
กระโห้ | น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Catlocarpio siamensis Boulenger ในวงศ์ Cyprinidae หัวโตมากโดยเฉพาะปลาขนาดเล็ก เกล็ดใหญ่ ลำตัวด้านหลังสีเทาดำ หางและครีบสีแดงคลํ้าหรือส้ม พบในแม่นํ้าใหญ่หลายสายของประเทศไทย เคยพบขนาดยาวได้ถึง ๓ เมตร จัดเป็นปลานํ้าจืดในกลุ่มปลาตะเพียนที่ใหญ่ที่สุดในโลก, กระมัน หรือ หัวมัน ก็เรียก. |
กราย ๑ | (กฺราย) น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Chitata ornata (Gray) วงศ์ Notopteridae หัวและลำตัวแบนข้างมาก สันหัวแอ่นลง ท้องเป็นสันคม ครีบท้องเล็กมาก ครีบก้นยาวต่อเนื่องกับครีบหางซึ่งเล็กและมีขอบมน บริเวณเหนือครีบก้นมีจุดสีดำ ๕-๑๐ จุดเรียงเป็นแถวตามยาว ขนาดยาวได้ถึง ๑ เมตร, ตองกราย หรือ หางแพน ก็เรียก. |
กะตัก | น. ชื่อปลาทะเลขนาดเล็กทุกชนิดในสกุล Encrasicholina และ Stolephorus วงศ์ Engraulidae รูปร่างยาว กลม หรือแบนข้างเล็กน้อยแล้วแต่ชนิด ปากกว้าง ที่สันท้องระหว่างครีบท้องและครีบก้นมีหนามแหลมขนาดเล็กมาก ๒-๗ อัน ข้างลำตัวมีสีเด่นเป็นเพียงแถบสีเงินพาดตลอดตามยาว มักอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ใกล้ฝั่ง อาจคละกันหลายชนิด, หัวอ่อน ชินชัง ไส้ตัน เส้นขนมจีน หัวไม้ขีด มะลิ เก๋ย เรียกปะปนกันระหว่างขนาด ชนิด หรือต่างกันตามท้องถิ่นที่จับ ขนาดยาวได้ถึง ๑๔ เซนติเมตร. |
กะพง ๑ | น. ชื่อปลาหลายชนิดในหลายวงศ์ที่มีก้านครีบเป็นกระดูกแข็ง ขนาดยาวได้ถึง ๒ เมตร ลำตัวหนา แบนข้างเล็กน้อย หัวโตลาดลงมาจากด้านหลัง ตาค่อนข้างโต ปากกว้าง เช่น กะพงแดง ( Lutjanus malabaricusSchneider) ในวงศ์ Lutjanidae, กะพงขาว [ Lates calcarifer (Bloch) ] ในวงศ์ Centropomidae, กะพงลาย [ Datnioides quadrifasciatus (Sevastianov) ] ในวงศ์ Lobotidae. |
กะรัง ๒ | น. ชื่อปลาทะเลขนาดกลางและขนาดใหญ่หลายชนิดในสกุล Epinephelus, Cephalopholis และ Plectopomus วงศ์ Serranidae หัวโต รูปร่างป้อม เรียวยาวไปทางหาง แบนข้างเล็กน้อย เกล็ดเล็ก สีตามตัวและครีบเป็นดอกดวง แต้ม หรือบั้ง ฉูดฉาดหรือคลํ้าทึบแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับชนิดและขนาด พบอาศัยอยู่ตามบริเวณหมู่ปะการัง โขดหินใกล้ฝั่งหรือเกาะ. |
กัด ๓ | น. ชื่อปลานํ้าจืดขนาดเล็กชนิด Betta splendens Regan ในวงศ์ Osphronemidae ขนาดยาวได้ถึง ๖.๕ เซนติเมตร ทำรังเป็นหวอดที่ผิวนํ้า ตัวผู้ใหญ่กว่าตัวเมีย มีสีสวยงาม สามารถกางครีบและแผ่นปิดเหงือก เปล่งสีลำตัวให้เข้มขึ้น ในขณะต่อสู้มักกัดกัน จึงเรียกว่า ปลากัด. |
กา ๒ | น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Morulius chrysophekadion (Bleeker) ในวงศ์ Cyprinidae ปากงุ้มตํ่า ตาเล็ก ตลอดทั้งหัว ตัว และครีบมีสีม่วงเข้มถึงดำทึบ ครีบหลังเป็นแผนใหญ่ เฉพาะเกล็ดมีจุดสีเหลืองประปราย ขนาดยาวได้ถึง ๖๐ เซนติเมตร, เพี้ย ก็เรียก. |
ก้าง ๒ | น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Channa orientalis (Schneider) ในวงศ์ Channidae คล้ายปลาช่อนซึ่งเป็นปลาสกุลเดียวกัน แต่ตัวเล็กกว่า เว้นแต่ปลาก้างนั้นเกล็ดข้างตัวมีราว ๔๑-๔๕ เกล็ด ขอบครีบต่าง ๆ เป็นสีส้ม มักพบหลบอยู่ตามแหล่งน้ำตื้นที่มีใบไม้จมอยู่ ขนาดยาวได้ถึง ๒๐ เซนติเมตร, ขี้ก้าง ก็เรียก. |
การ์ตูน ๒ | น. ชื่อปลาทะเลขนาดเล็กทุกชนิดในสกุล Amphiprion วงศ์ Pomacentridae ลำตัวสั้นและแบนข้าง สีเหลือง แสด หรือแดง บางชนิดมีส่วนบนรวมทั้งครีบหลังดำคลํ้า มักมีแถบสีขาวเด่นพาดขวางบนหัวและลำตัว ๑-๒ แนว แล้วแต่ชนิดหรือขนาดบ้างมีสีส้ม พบอาศัยตามแนวปะการัง โดยเฉพาะอยู่กับดอกไม้ทะเลซึ่งเป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังประเภทหนึ่งในลักษณะพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน ขนาดยาวได้ถึง ๑๖ เซนติเมตร. |
กุเรา | น. ชื่อปลาทะเลและนํ้ากร่อยหลายชนิดใน ๒ สกุล คือ ในสกุล Eleutheronemaและในสกุล Polynemus วงศ์ Polynemidae ครีบอกตอนล่างมีก้านครีบแยกออกจากกันเป็นเส้นยาวรวม ๓-๗ เส้น แล้วแต่ชนิด ลำตัวและครีบสีเทาอมเงิน เช่น ชนิด E. tetradactylum (Shaw), P. sextarius Bloch & Schneider ขนาดยาวได้ถึง ๑.๘ เซนติเมตร, กุเลา ก็เรียก. |
กุแล | น. ชื่อปลาทะเลหลายชนิดในสกุล Sardinella และ Herklotsichthys วงศ์ Clupeidae ลำตัวยาว แบนข้างมาก สันท้องบางคล้ายคมมีด เกล็ดบางหลุดง่าย เกล็ดในแนวสันท้องเป็นเหลี่ยมคมเรียงต่อกันคล้ายฟันเลื่อย ปากเล็กเชิดขึ้นเล็กน้อย ฟันเล็กมาก ซี่เหงือกมีจำนวนมาก ไม่มีก้านครีบแข็งหรือเงี่ยง ลำตัวสีเงิน เฉพาะด้านหลังสีนํ้าเงินเข้ม บนลำตัวที่ใกล้มุมแผ่นปิดเหงือกมักมีแต้มสีดำคลํ้า ๑ จุด ครีบหลังและครีบหางสีดำคลํ้าอมเหลือง ขนาดยาวได้ถึง ๑๘ เซนติเมตร, อกรา หรือ อกแล ก็เรียก, ส่วน กุแลกลม หรือ กุแลกล้วย หมายถึงชนิดในสกุล Dussumieria ซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกัน ลักษณะทั่วไปคล้ายกัน เว้นแต่มีลำตัวแบนข้างเล็กน้อย หัวแหลม ท้องกลม ไม่มีเกล็ดที่เรียงกันเป็นฟันเลื่อย ซี่เหงือกมีจำนวนน้อยและสั้น ขนาดยาวได้ถึง ๒๒ เซนติเมตร, อกรากล้วย หรือ อกแลกล้วย ก็เรียก |
เก๋า ๑ | น. ชื่อปลาทะเลหลายชนิดหลายสกุล ในวงศ์ Serranidae (Epinephelidae) ปลาเหล่านี้เมื่อมีขนาดเล็กมักเรียก เก๋า เมื่อมีขนาดกลางและขนาดโตมักเรียก กะรัง หรือหมอทะเล ส่วนขนาดโตมากเรียก หมอทะเล ส่วนใหญ่ลำตัวยาว ป้อม ล่ำสั้น แบนข้างเล็กน้อย ปลายครีบต่าง ๆ มนกลม เฉพาะปลายครีบหางของบางชนิดเว้า บ้างก็ตัดตรง เกล็ดเล็กคลุมทั่วตัวรวมทั้งหัวและล้ำไปบนครีบเดี่ยว ลำตัวรวมทั้งครีบมักมีสีต่าง ๆ โดยเปลี่ยนไปตามขนาด เป็นแต้ม ด่าง ดวง ลาย หรือจุดประคล้ำทึบ แต่บางชนิดก็มีสีแดงหรือเทาโดยตลอด พบอาศัยอยู่ตามพื้นท้องทะเลและชายฝั่งที่มีที่หลบซ่อน แต่ส่วนใหญ่จะพบบริเวณใกล้หรือในเขตปะการัง ชนิด Epinephelus merra Bloch, E. sexfasiatus (Valenciennes), Cephalopholis boenak (Bloch) ยาวเพียงไม่เกิน ๒๖ เซนติเมตร ส่วนชนิด Promicrops lanceolatus (Bloch) ขนาดยาวไม่ถึง ๒.๗ เซนติเมตร และเป็นปลากระดูกแข็งชนิดหนึ่งที่ใหญ่ที่สุดของโลก ชื่อ เก๋า ตุ๊กแก กะรัง เป็นชื่อทั่วไปที่มักใช้เรียกปลาเกือบทุกชนิดในวงศ์นี้ที่มีขนาดไม่โตนัก สำหรับชื่อ กะรัง และหมอทะเล มักพบเรียกปลาพวกนี้ที่มีขนาดโตจนถึงยาว ๐.๕-๑.๕ เมตร ส่วน หมอทะเล ใช้เรียกชนิด P. l. (Bloch) . |
แก้มช้ำ | น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Puntius orphoides (Valenciennes) ในวงศ์ Cyprinidae รูปร่างคล้ายปลาตะเพียน แต่มีลักษณะเด่นที่มีลำตัวยาวกว่า โดยเฉพาะที่แผ่นปิดเหงือกมีสีแดงเรื่อคล้ายรอยชํ้า สุดแผ่นปิดเหงือกดำ โคนครีบหางมีจุดสีดำ พื้นครีบสีแดง ขอบบนและล่างดำ มีชุกชุมทั่วไป ยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร, ปักษ์ใต้เรียก ปก. |
แก้ว ๔ | น. ชื่อปลาทะเลพวกปลาจวดชนิด Otolithoides biauritus (Cantor) ในวงศ์ Sciaenidae ลำตัวยาวเรียว ปากเล็ก ทู่ ฟันเล็ก ครีบหางแหลม ก้านครีบก้นมีขนาดเล็ก เกล็ดในแนวเส้นข้างตัวขยายใหญ่และนูนเป็นสัน ลำตัวสีเทา ใกล้สันท้องมีสีเงินคล้ายปลาจวดชนิดอื่น ๆ ขนาดยาวได้ถึง ๑ เมตร, จวดลาก ก็เรียก. |
ขล้อเงาะ | (ขฺล้อ-) น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Terminalia cambodiana Gagnep. ในวงศ์ Combretaceae ใบรีหรือรูปไข่ ดอกเล็ก สีขาวนวล ออกเป็นช่อเล็ก ๆ ผลมี ๕ ครีบ, คร่อเงาะ ก็เรียก. |
ขาม้า | น. ครีบคู่ที่อยู่ตรงอกปลา, ตะเกียบ ก็เรียก. |
ขานกยาง ๒ | น. ชื่อปลาทะเลชนิด Scomberoides tol (Cuvier) ในวงศ์ Carangidae ลำตัวแบนข้าง เรียวเล็กกว่าปลาสละและปลาเฉียบ แต่พอ ๆ กับปลาสีเสียด ซึ่งทั้งหมดอยู่ในสกุลเดียวกัน ปากไม่กว้างนัก ท้ายขากรรไกรบนอยู่ในแนวใต้จุดศูนย์กลางของตา เกล็ดเล็กและยาวมากคล้ายเข็มฝังแน่นในหนัง เส้นข้างตัวไม่มีเกล็ดที่เป็นสันแข็ง ครีบหลังตอนแรกเป็นหนามแข็ง ๖-๗ ก้าน เรียงห่างกัน มีกระดูกเป็นหนาม ๒ อัน อยู่หน้าครีบก้นและพับซ่อนในร่องเนื้อได้ ลำตัวสีเงินเทา มีจุดสีเทาดำอยู่ในแนวเส้นข้างตัว ๕-๘ จุด ขนาดยาวได้ถึง ๔๓ เซนติเมตร. |
ข้าวตอก ๒ | ชื่อเห็ดหลายชนิดในสกุล Hemimycena วงศ์ Tricholomataceae ขึ้นตามพื้นดินเป็นกลุ่มใหญ่ ดอกเห็ดสีขาวขนาดเท่าดอกมะลิบาน ด้านล่างมีครีบ ก้านยาวตั้งตรง เช่น ชนิด H. cucullata (Pers. ex Fr.) Sing. กินได้. |
ข้าวเม่า ๒ | น. ชื่อปลาทะเลและปลานํ้าจืดหลายชนิด ในสกุล Ambassis วงศ์ Ambassidae หรือมีผู้รวมไว้กับวงศ์ Centropomidae เป็นปลาขนาดเล็ก ยาวได้ถึง ๑๕ เซนติเมตร ลำตัวแบนข้าง ค่อนข้างใส ก้านครีบแข็ง แหลม และมักชี้กางทำให้ทิ่มตำเมื่อจับต้อง ยังพบมีผู้เรียกปลาทะเลชนิด Ephippus orbis Bloch ในวงศ์ Ephippidae และปลานํ้าจืดในสกุล Chela วงศ์ Cyprinidae ว่า ปลาข้าวเม่า ด้วย, สำหรับปลาในวงศ์ Ambassidae เกล็ดข้าวเม่า หรือ แป้น ก็เรียก. |
ขี้ควาย | น. ชื่อปลาทะเลชนิด Trachicephalus uranoscopus (Bloch & Schneider) ในวงศ์ Scorpaenidae ตัวแบนข้างเล็กน้อย หัวสั้น ปากกว้างเชิดขึ้น ลำตัวมีรอยด่างสีนํ้าตาล มักมีจุดขาวประปราย ขอบครีบเป็นสีดำคลํ้า เงี่ยงมีพิษ ซ่อนตัวอยู่ตามซอกหินหรือหมกตัวอยู่ตามพื้นท้องทะเล ขนาดยาวได้ถึง ๑๒ เซนติเมตร, ขี้ขุย ก็เรียก. |
ขี้ยอก | น. ชื่อปลานํ้าจืดหลายชนิด ในสกุล Mystacoleucusวงศ์ Cyprinidae รูปร่างทั่วไปคล้ายปลาตะเพียน เว้นแต่มีหนามแข็งยื่นจากต้นครีบหลังออกไปข้างหน้า ขนาดยาวได้ถึง ๒๐ เซนติเมตร เช่น ชนิด Mystacoleucus marginatus (Valenciennes), M. atridorsalis Fowler, ชื่อนี้เรียกกันเฉพาะในเขตแม่นํ้าปิงเท่านั้น ในเขตแม่นํ้าน่านเรียก หนามไผ่, ปักษ์ใต้เรียก หญ้า. |
ขี้หนอน | (-หฺนอน) น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Zollingeria dongnaiensis Pierre ในวงศ์ Sapindaceae ขึ้นตามป่าโปร่งที่ตํ่า ผลมี ๓ ครีบ. |
เขียวพระอินทร์ ๑ | น. ชื่อปลาทะเลชนิด Thalassoma lunare (Linn.) ในวงศ์ Labridae ลำตัวยาวรี แบนข้าง สีเขียว และมีริ้วสีนํ้าเงินพาดขวางตลอดตัว ขนาดยาวได้ถึง ๒๐ เซนติเมตร บริเวณหัวมีแถบ ลวดลายสีม่วงแดง ครีบหางใหญ่สีเหลือง ปลายขอบบนและล่างสีแดง พบอาศัยอยู่ตามแนวหินปะการัง เมื่อขนาดยังเล็กมีพื้นสีนํ้าตาลแดงที่บริเวณกลางครีบหลังและโคนครีบหางมีจุดใหญ่สีดำ. |
แข้งไก่ | น. ชื่อปลาทะเลชนิด Megalaspis cordyla (Linn.) ในวงศ์ Carangidae ลำตัวเพรียว แบนข้างเล็กน้อย เรียวลู่ไปทางคอดหางซึ่งแคบมากและเป็นเหลี่ยมแข็งคล้ายแข้งไก่ หน้าครีบก้นมีกระดูกเป็นหนามแข็ง ๒ อัน พับซ่อนในร่องเนื้อได้ ตาโตมีหนังตาไขมัน ปากกว้าง ครีบอกยาวใหญ่เป็นรูปเคียว ครีบหางเป็นแฉกกว้าง ท้ายครีบหลังและครีบก้นมีครีบฝอย ๗-๑๐ ครีบ เรียงห่างกัน เกล็ดเล็กแต่เฉพาะที่อยู่ในแนวเส้นข้างตัวจนถึงข้างหางขยายใหญ่มาก ด้านบนของหัวและลำตัวมีสีเขียวอมเทา ด้านท้องมีสีขาวเงิน ขอบแผ่นปิดเหงือกมีจุดสีดำใหญ่ ว่ายน้ำเร็ว อยู่เป็นฝูงใกล้ผิวน้ำ ขนาดยาวได้ถึง ๘๐ เซนติเมตร, ขาไก่ อีลอง อีโลง หรือ หางแข็ง ก็เรียก. |
แขยง ๑ | (ขะแหฺยง) น. ชื่อปลานํ้าจืดแทบทุกชนิดในวงศ์ Bagridae มีตั้งแต่ขนาดเล็กถึงขนาดใหญ่ ยาวได้ถึง ๕๐ เซนติเมตร ไม่มีเกล็ด มีหนวดยาว ๔ คู่ ส่วนหน้าสุดของครีบหลังตอนแรกและครีบอกมีก้านครีบแข็ง ๑ ก้าน หยักเป็นหนามคม ถัดไปเป็นก้านครีบอ่อน ส่วนครีบท้องตอนที่ ๒ เป็นครีบไขมันลักษณะเป็นแผ่นเนื้อขนาดเล็กหรือใหญ่ขึ้นกับชนิดของปลา ครีบก้นสั้น รูปร่างคล้ายปลากดแต่มีขนาดเล็กกว่า เช่น แขยงหินหรือกดหิน ( Pseudomystus siamensis Regan) แขยงใบข้าว [ Mystus cavasius (Hamilton-Buchanan) ] แขยงธงหรือแขยงหมู ( M. bocourti Bleeker) แขยงวังหรือแขยงหนู ( Bagrichthys obscures Bleeker). |
คางคก ๒ | น. ชื่อปลาไม่มีเกล็ดชนิด Batrachoides grunniers (Bloch) และ Batrachomoeus trispinosus (Günther) ในวงศ์ Batrachoididae ปากกว้าง หัวทู่แบนลง ลำตัวกลมยาว มีสีนํ้าตาลเป็นด่างดวงทั่วไป ขนาดยาวได้ถึง ๓๐ เซนติเมตร ครีบท้องอยู่เยื้องไปข้างหน้าครีบอก หางกลม เฉพาะชนิดแรกมีรูที่มุมบนด้านในของครีบอก อาศัยอยู่ตามพื้นท้องทะเล, กบ บู่ทะเล ผีหลอก หรือ อุบ ก็เรียก. |
คางเบือน | น. ชื่อปลานํ้าจืดไม่มีเกล็ดชนิด Belodontichthys truncatus (Bleeker) ในวงศ์ Siluridae รูปร่างคล้ายปลาค้าว เว้นแต่มีขนาดเล็กกว่า คือ ยาวประมาณ ๗๐ เซนติเมตร ปากเชิดขึ้นถึงแนวสันหลัง ครีบหลังเล็กมาก ครีบอกใหญ่และยาว ส่วนบนลำตัวหนาลู่แคบลงไปในแนวสันท้อง หลังกว้าง ด้านหลังสีเทาอมเขียว ข้างท้องสีเงิน พบตามแหล่งนํ้าใหญ่ทั่วไป, เบี้ยว อ้ายเบี้ยว หรือ ขบ ก็เรียก. |
ค้าว | น. ชื่อปลานํ้าจืดในวงศ์ Siluridae ไม่มีเกล็ด รูปร่างคล้ายปลาคางเบือนซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกัน แต่มีขนาดใหญ่กว่า คือ ยาวได้ถึง ๒ เมตร หัวแหลม ปากกว้าง ฟันแหลมคม ครีบหลังตั้งเด่น ตัวยาวเรียวไปทางหาง แบนข้าง ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด คือ ค้าวขาว [ Wallago attu (Bloch) ] และ ค้าวดำ คูน ทุก อีชุก อีทุก หรือ อีทุบ ( W. micropogon Vailant) ซึ่งมีหนวดยาวกว่าชนิดแรก ลำตัวและครีบสีดำคล้ำ, ทั้ง ๒ ชนิด เค้า ก็เรียก. |
แค้ | น. ชื่อปลานํ้าจืด ไม่มีเกล็ด ในสกุล Bagarius วงศ์ Sisoridae หัวแบนแผ่ หนวดแบน ตาเล็ก ลำตัวยาวเรียวลู่จนแคบมากที่คอดหาง ครีบหางเป็นแฉกยาว ผิวหนังเป็นตุ่มแข็ง มีแต้มขนาดใหญ่สีนํ้าตาลเข้มอยู่บนหลังเป็นระยะ ๆ ครีบต่าง ๆ สีนํ้าตาล พบอาศัยตามพื้นท้องแม่นํ้าสายใหญ่ ๆ มี ๓ ชนิด ในประเทศไทยที่พบทั่วไปได้แก่ ชนิด B. bagarius (Hamilton-Buchanan) ซึ่งยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร และ B. yarrelli Sykes ยาวได้ถึง ๒ เมตร, คัง หรือ ตุ๊กแก ก็เรียก. |
โคน ๒ | น. ชื่อเห็ดหลายชนิดในสกุล Termitomyces วงศ์ Amanitaceae ขึ้นบริเวณจอมปลวก ดอกเห็ดรูปร่ม ยอดแหลม สีขาวนวลจนถึงนํ้าตาลดำ ด้านล่างมีครีบก้านยาวตั้งตรง โคนเรียวเล็กหยั่งลึกลงไปถึงรังปลวก กินได้ เช่น ชนิด T. fuliginosusHeim. |
งัว ๔ | น. ชื่อปลาทะเลหลายชนิดหลายสกุล เช่น ในสกุล Triacanthus วงศ์ Triacanthidae, ในสกุล Monacanthus วงศ์ Monacanthidae, ในสกุล Balistes วงศ์ Balistidae, ในสกุล Anacanthus วงศ์ Anacanthidae มีทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ โดยเฉลี่ยยาว ๓๐ เซนติเมตร บางชนิดยาวได้ถึง ๗๕ เซนติเมตร ผิวหนังหยาบเหนียวหรือเป็นแผ่นกระดูกหนาเรียงติดต่อกัน ฟันเป็นแผ่น ใช้แทะเล็มหาอาหารตามแนวปะการังและพื้นท้องทะเล ก้านครีบหลังก้านแรกและครีบท้องเป็นแท่งกระดูกใหญ่คล้ายเขาสัตว์, บางชนิดมีชื่อเรียกว่า วัว หรือ กวาง. |
งา ๔ | น. ชื่อปลานํ้ากร่อยหรือทะเลขนาดเล็กชนิด Thryssa setirostris (Broussonet) ในวงศ์ Engraulidae กระดูกขากรรไกรบนโค้งยื่นยาวเป็นเส้นจดครีบท้องหรือครีบก้น ลำตัวยาว แบนข้าง ปากกว้าง เกล็ดที่สันท้องเป็นเหลี่ยมคมเรียงต่อกันคล้ายฟันเลื่อย พื้นลำตัวสีเงินอมเหลืองส้ม ขนาดยาวได้ถึง ๑๕ เซนติเมตร. |
เงี่ยง ๑ | น. กระดูกแหลมของปลาบางชนิด เช่น ปลากระเบนมีเงี่ยงที่โคนหาง หรือปลาดุกมีเงี่ยงที่ครีบอก, แง่ของสิ่งของบางอย่าง มีรูปหยักตอนปลายเช่นเบ็ดหรือลูกศร. |
จวด | น. ชื่อปลาทะเลหลายชนิดและหลายสกุลในวงศ์ Sciaenidae มีทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ปลายหัวอาจทู่หรือแหลม ปากเชิดมากน้อยหรืองุ้มตํ่า บ้างมีฟันแหลมคมหรือละเอียด หางเป็นรูปตัด มน หรือ กลม จนแม้กระทั่งแหลม โดยทั้งหมดขึ้นอยู่กับชนิดหรือขนาด ลำตัวมักมีสีเงินหรือเทา บ้างมีจุดประบนลำตัวและครีบ มักอยู่รวมกันเป็นฝูงใกล้ฝั่ง หรือบริเวณนํ้ากร่อยปากแม่นํ้า ทำเสียงได้. |