ลองค้นหาคำในรูปแบบอื่น ๆ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์มากขึ้นหรือน้อยลง: ครองชีพ, -ครองชีพ- |
มีผลลัพธ์ที่ไม่แสดงผลอยู่ ครองชีพ | (v) live, See also: earn one's livelihood, make a living, support oneself, Syn. ดำรงชีพ, เลี้ยงชีพ | ค่าครองชีพ | (n) cost of living, See also: living expenses, Example: คนในชนบทสิ่งเย้ายวนใจมีน้อยหรือแทบไม่มีเลย เศรษฐกิจก็พึ่งพาตนเองได้ ค่าครองชีพก็ถูกกว่าคนในสังคมเมือง, Thai Definition: ค่าใช้จ่ายในการดำรงชีวิต | มาตรฐานการครองชีพ | (n) standard of living, Example: ชาวจีนมีมาตรฐานการครองชีพที่สูงขึ้น ส่งผลให้ความต้องการบริโภคผลิตภัณฑ์อาหารเพิ่มสูงขึ้น, Thai Definition: ระดับที่เป็นอุดมคติ หรือที่เป็นบรรทัดฐานของการบริโภค | มาตรฐานการครองชีพ | (n) standard of living, Example: รัฐบาลควรยกระดับทางเศรษฐกิจและสังคม ปรับปรุงมาตรฐานการครองชีพของประชาชนให้สูงขึ้น เพื่อให้ประชาชนมีรายได้และฐานะดีขึ้น |
|
| ค่าครองชีพ | น. ค่าใช้จ่ายในการดำรงชีพ. | ครอง | ดำรงไว้, รักษาไว้, เช่น ครองสิกขา ครองชีพ ครองตัว | ชีพ, ชีพ- | ความดำรงชีวิตอยู่ เช่น ค่าครองชีพ. | ดรรชนี ๒ | ตัวเลขอัตราส่วนซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงได้ในระยะเวลาหนึ่ง เช่น ดรรชนีค่าครองชีพ | ดัชนี ๒ | ตัวเลขอัตราส่วนซึ่งอาจเปลี่ยนแปลงได้ในระยะเวลาหนึ่ง เช่น ดัชนีค่าครองชีพ | ภูมิศาสตร์เศรษฐกิจ | น. วิชาภูมิศาสตร์แขนงหนึ่ง ศึกษาถึงกิจกรรมทางเศรษฐกิจซึ่งเกี่ยวกับการครองชีพของมนุษย์ ได้แก่ ทรัพยากรธรรมชาติ การผลิต การใช้. |
| | Cost of living | ค่าครองชีพ [เศรษฐศาสตร์] | Cost of living adjustment | การปรับค่าครองชีพ [เศรษฐศาสตร์] | Cost of living index | ดัชนีค่าครองชีพ [เศรษฐศาสตร์] | Cost and standard of living | ค่าครองชีพและมาตรฐานการครองชีพ [TU Subject Heading] | Standard of Living | มาตรฐานการครองชีพ, Example: ความพอเหมาะที่สุดทางเศรษฐกิจ การวัดจะใช้ค่าประมาณของรายได้ประชาชาติแท้จริงต่อคน (real national income per capita) คือผลรวมของสินค้า และบริการในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง หารด้วยจำนวนประชากรรวมในเวลาเดียวกัน [สิ่งแวดล้อม] | Genocide | การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ หรือฆ่ามนุษย์เป็นกลุ่มก้อน เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม ค.ศ. 1946 สมัชชาสหประชาชาติได้ยืนยันเป็นเอกฉันท์ว่า การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์หรือการฆ่ามนุษย์เป็นกลุ่มก้อนนั้นให้ถือเป็นอาชญากรรม ตามกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งโลกที่บรรลุความเจริญแล้วประณามอย่างรุนแรงอนุสัญญาว่าด้วยการป้องกัน และการลงโทษอาชญากรรมเกี่ยวกับการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์นี้ สมัชชาสหประชาชาติได้ลงมติรับรองเป็นเอกฉันท์เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม ค.ศ. 1948 อนุสัญญานี้ได้นิยามคำว่าการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ (Genocide) หมายถึงการประกอบอาชญากรรมบางอย่าง โดยมีเจตนาที่จะทำลายล้างกลุ่มชนชาติ กลุ่มเผ่าพันธุ์ กลุ่มเชื้อชาติ หรือกลุ่มศาสนา ในบางส่วนหรือทั้งหมดก็ตาม การประกอบกรรมซึ่งถือเป็นการฆ่าล้างชาตินั้นได้แก่ การฆ่า การทำให้เกิดความเสียหายอย่างสาหัส ทั้งต่อร่างกายหรือจิตใจ และการบังคับให้มีสภาวะการครองชีพที่เจตนาจะให้ชีวิตร่ายกายถูกทำลาย ไม่ว่าจะเพียงส่วนหนึ่งหรือทั้งหมดก็ตาม ตลอดจนออกมาตรการกีดกันมิให้มีลูกและโยกย้ายเด็ก ๆ ไม่เพียงแต่การฆ่าล้างชาติอย่างเดียว หากแต่การคบคิดหรือการยุยงให้มีการฆ่าล้างชาติ รวมทั้งความพยายามที่จะฆ่าล้างชาติและสมรู้ร่วมคิดในอาชญากรรมดังกล่าว ย่อมถูกลงโทษได้ตามนัยแห่งอนุสัญญานี้ บรรดาผู้ที่มีความผิดฐานฆ่าล้างชาติจะต้องถูกลงโทษไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นผู้ ปกครอง เจ้าหน้าที่ฝ่ายบ้านเมือง หรือเอกชนส่วนบุคคลที่มีหน้าที่รับผิดของตามกฎหมายก็ตามบรรดาประเทศที่ภาคี อนุสัญญานี้จำเป็นต้องออกกฎหมายของตนเพื่อรองรับ และจะต้องตกลงเรื่องส่งผู้ร้ายข้ามแดนในกรณีที่บุคคลนั้นๆ มีความผิดฐานฆ่าล้างชาติ และบุคคลที่มีความผิดฐานฆ่าล้างชาติจะต้องถูกพิจารณาลงโทษในประเทศที่มีการ ประกอบอาชญากรรมดังกล่าวขึ้น หรือโดยศาลระหว่างประเทศที่มีอำนาจครอบคลุมถึงเจตนารมณ์ของสนธิสัญญานี้ เพื่อต้องการป้องกัน และลงโทษอาชญากรรมฆ่าล้างชาติ ไม่ว่าจะประกอบขึ้นในยามสงครามหรือในยามสงบก็ตามอนุสัญญาดังกล่าวได้เริ่มมี ผลบังคับเมื่อวันที่ 12 มกราคม ค.ศ. 1951 เป็นเวลา 90 วันหลังจากที่ 20 ประเทศได้ให้สัตยาบัน หรือให้ภาคยานุวัติตามที่ระบุอยู่ในอนุสัญญา อนุสัญญานี้จะมีผลบังคับเป็นเวลา 10 ปี และมีการต่ออายุสัญญาทุก 5 ปี สำหรับประเทศที่มิได้บอกเลิกสัญญา หากประเทศที่ยังเป็นภาคีอนุสัญญามีจำนวนเหลือไม่ถึง 16 ประเทศ อนุสัญญานี้จะเลิกมีผลบังคับทันที [การทูต] | International Labor Organization | คือองค์การแรงงานระหว่างประเทศ ตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 11 เมษายน ปีค.ศ.1919 วัตถุประสงค์สำคัญขององค์การคือ การมีส่วนเกื้อกูลให้มีสันติภาพอันถาวร ด้วยการส่งเสริมให้มีความยุติธรรมในสังคม โดยต้องการให้ทุกประเทศปฏิบัติการปรับปรุงสภาวะแรงงาน ส่งเสริมมาตรฐานการครองชีพ พร้อมทั้งส่งเสริมเสถียรภาพทางเศรษฐกิจและสังคมให้ดีขึ้นการที่จะให้บรรลุ ตามวัตถุประสงค์เหล่านี้ องค์การแรงงานระหว่างประเทศจะจัดให้มีการประชุมเป็นประจำ ระหว่างฝ่ายรัฐบาล ฝ่ายแรงงาน และฝ่ายจัดการ เพื่อเสนอแนะและจัดให้มีมาตรฐานระหว่างประเทศ ร่วมกันจัดร่างสัญญาแรงงานระหว่างประเทศเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ เช่น ค่าแรง ชั่วโมงทำงาน อายุการทำงาน เงื่อนไขการทำงานสำหรับคนงานในระดับต่าง ๆ ค่าชดเชยสำหรับคนงาน การประกันสังคม การหยุดพักร้อนโดยให้รับเงินเดือน ความปลอดภัยในงานอุตสาหกรรม บริการต่าง ๆ ในหน้าที่การงาน การตรวจแรงงาน เสรีภาพในการคบหาสมาคมกัน และอื่น ๆ นอกจากนั้น องค์การยังได้ให้ความช่วยเหลือทางวิชาการอย่างกว้างขวางแก่รัฐบาลของประเทศ สมาชิก รวมทั้งจัดพิมพ์เผยแพร่สิ่งพิมพ์หรือเอกสารรายคาบ เรื่องค้นคว้าและรายงานต่าง ๆ เกี่ยวกับปัญหาสังคม อุตสาหกรรม และแรงงานILO ปฏิบัติงานผ่านองค์กรต่าง ๆ โดยองค์กรสำคัญที่สุดภายในองค์การแรงงานระหว่างประเทศได้แก่ ที่ประชุมใหญ่ (General Conference) ซึ่งประชุมกันเป็นประจำทุกปี ประกอบด้วยคณะผู้แทนแห่งชาติ ในจำนวนนี้มีผู้แทนจากฝ่ายรัฐบาล 2 คน ผู้แทนฝ่ายจัดการ 1 คน และผู้แทนฝ่ายแรงงานอีก 1 คน หน้าที่สำคัญคือจัดวางมาตรฐานทางสังคมระหว่างประเทศขึ้นในรูปของอนุสัญญา องค์กรภายในองค์การอีกส่วนหนึ่งคือคณะผู้ว่าการ (Governing Body) จะประกอบด้วย สมาชิก 40 คน ในจำนวนนี้ 20 คน จะเป็นตัวแทนของฝ่ายรัฐบาล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง 10 คน จากจำนวนนี้จะได้แก่ ตัวแทนจากประเทศอุตสาหกรรมใหญ่ ๆ ส่วนตัวแทนของฝ่ายจัดการ (หรือนายจ้าง) จะมีจำนวน 10 คน และอีก 10 คนเป็นตัวแทนของฝ่ายแรงงาน คณะผู้ว่าการนี้จะทำหน้าที่ควบคุมดูแลงานของคณะกรรมาธิการ และคณะกรรมการขององค์การ คือสำนักแรงงานระหว่างประเทศจะมีหน้าที่รวบรวมเผยแพร่ข้อสนเทศ ช่วยเหลือรัฐบาลของประเทศสมาชิกที่ขอร้องให้ช่วยร่างกฎหมายตามที่ได้มีมติ ตกลงในที่ประชุมใหญ่ นอกจากนี้ ยังรับดำเนินการสอบสวนเรื่องต่าง ๆ เป็นพิเศษ รวมทั้งออกสิ่งพิมพ์เผยแพร่องค์การแรงงานระหว่างประเทศมีสำนักงานใหญ่ตั้ง อยู่ ณ กรุงเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ [การทูต] | International Trade Organization | องค์การการค้าระหว่างประเทศ มีหน้าที่ดำเนินงานเกี่ยวกับความตกลงทั้วไปว่าด้วยภาษี ศุลกากรและการค้าระหว่างประเทศ วัตถุประสงค์สำคัญขององค์การคือ ต้องการขยายการค้าของโลกให้กว้างขวางขึ้น ซึ่งเป็นการช่วยให้มีมาตรฐานการครองชีพสูงขึ้น ขจัดการกีดกันการค้า หรือพยายามลดให้เหลือน้อยที่สุด เช่น การตั้งข้อจำกัดโควต้า เป็นต้น ตัดทอนภาษีศุลกากรทั่วโลกให้ต่ำลง ดูแลตลาดวัตถุดิบให้เป็นไปอย่างยุติธรรม และพยายามควบคุมด้านการค้าของการร่วมมือกันทางธุรกิจ (Cartels) จุดมุ่งหมายสำคัญที่สุดคือ ป้องกันมิให้กลับไปสู่การดำเนินการทางการค้าที่ตัดราคากันอย่างหั่นแหลก เหมือนเมื่อระยะปี ค.ศ. 1930 ถึง 1939 นั่นเองอย่างไรก็ดี ตั้งแต่มีการปฏิบัติใช้ความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้ามาจนบัด นี้ ก็ได้รับผลสำเร็จตามแนววัตถุประสงค์อย่างมากมาย เช่น มีประเทศสมาชิกหลายสิบประเทศลดภาษีศุลกากรและรักษาระดับภาษีอย่างมีเสรีภาพ แต่ละปี ประเทศสมาชิกจะได้ยินได้ฟังเสียงร้องเรียนเกี่ยวกับการปฏิบัติทางการค้า ละเมิดกฎเกณฑ์ของความตกลงทั่วไป แล้วเสียงร้องเรียนดังกล่าวก็ได้รับการแก้ไขจนเป็นที่พึงพอใจของทุกฝ่าย เป็นต้น นอกจากนี้ ได้มีการปรับปรุงและดัดแปลงข้อกำหนดของความตกลงทั่วไป ให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปอยู่ตลอดเวลา [การทูต] | Organization of European Economic Cooperation | คือองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจของยุโรป สัญญาที่ก่อตั้งองค์การนี้ได้มีการลงนามกัน ณ กรุงปารีส เมื่อวันที่ 16 เมษายน ค.ศ.1948 โดยรัฐบาลของประเทศออสเตรีย เบลเยี่ยม เดนมาร์ก ฝรั่งเศส กรีซ ไอซ์แลนด์ ไอร์แลนด์ อิตาลี ลักแซมเบิร์ก นอร์เวย์ เนเธอร์แลนด์ ปอร์ตุเกส อังกฤษ สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ ตุรกี โดยแม่ทัพของฝรั่งเศส อังกฤษ และสหรัฐอเมริกาที่ประจำอยู่ในเขตยึดครองในเยอรมนี (หลังเสร็จสงครามโลกครั้งที่สอง)จุดประสงค์สำคัญที่สุดขององค์การนี้คือ ต้องการให้ทวีปยุโรปมีภาวะเศรษฐกิจกลับคืนมาใหม่อย่างมั่นคง ด้วยการร่วมมือกันทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศสมาชิก สำนักงานใหญ่ขององค์การนี้ตั้งอยู่ ณ กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศสอย่างไรก็ดี บัดนี้ได้มีองค์การตั้งขึ้นใหม่แทนองค์การความร่วมมือทางเศรษฐกิจของยุโรป เรียกว่า องค์การร่วมมือและพัฒนาทางเศรษฐกิจ (Organization for Economic Cooperation and Development ) หรือ OECD สำหรับสัญญาจัดตั้งองค์การโอดีซีดีนี้ ได้มีการลงนามกัน ณ กรุงปารีส เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม ค.ศ. 1960 โดยรัฐบาลของประเทศออสเตรีย เบลเยี่ยม แคนาดา เดนมาร์ก ฝรั่งเศส เยอรมนี กรีซ ไอซ์แลนด์ ไอร์แลนด์ อิตาลี ลักแซมเบิร์ก นอร์เวย์ เนเธอร์แลนด์ ปอร์ตุเกส อังกฤษ สเปน สวีเดน สวิตเซอร์แลนด์ ตุรกี อังกฤษ และสหรัฐอเมริกา สัญญาดังกล่าวมีผลบังคับใช้ เมื่อวันที่ 30 กันยายน ค.ศ. 1961จุดประสงค์สำคัญขององค์การโออีซีดี มีดังนี้1. เพื่อให้บรรดาประเทศสมาชิกได้มีความเติบโตทางเศรษฐกิจ มีแรงงาน อาชีพ และมาตรฐานการครองชีพให้มากที่สุด ขณะเดียวกันก็พยายามรักษาเสถียรภาพทางการคลังไว้เพื่อเป็นการเกื้อกูลต่อการ พัฒนาเศรษฐกิจของโลก2. ระหว่างการพัฒนาทางเศรษฐกิจ ให้ประเทศสมาชิกมีโอกาสขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างมั่นคง รวมทั้งในประเทศที่มิได้เป็นสมาชิกด้วย3. ต้องการมีส่วนเกื้อกูลต่อการขยายตัวทางการค้าในรูปพหุภาคี และปราศจากการกีดกันแต่อย่างใด ตามพันธกรณีระหว่างประเทศองค์การสำคัญในองค์การโออีซีดีคือคณะมนตรี ( Council ) ซึ่งประกอบด้วยประเทศสมาชิกทั้งหมด มีคณะกรรมการบริหารรวมทั้งเลขาธิการ สำนักงานใหญ่ขององค์การตั้งอยู่ที่กรุงปารีส ประเทศฝรั่งเศส [การทูต] | Work of the United Nations on Human Rights | งานขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยสิทธิมนุษยชน งานสำคัญชิ้นหนึ่งของสหประชาชาติคือ วควมมปรารถนาที่จะให้ประเทศทั้งหลายต่างเคารพและให้ความคุ้มครองแก่สิทธิ มนุษยชนตลอดทั่วโลก ดังมาตรา 1 ในกฎบัตรของสหประชาติได้บัญญัติไว้ว่า?1. เพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ และมีเจตนามุ่งมั่นต่อจุดหมายปลายทางนี้ จะได้ดำเนินมาตรการร่วมกันให้บังเกิดผลจริงจัง เพื่อการป้องกันและขจัดปัดเป่าการคุกคามต่อสันติภาพ รวมทังเพื่อปราบปรามการรุกรานหรือการล่วงละเมิดอื่น ๆ ต่อสันติภาพ ตลอดจนนำมาโดยสันติวิธี และสอดคล้องกับหลักแห่งความยุติธรรมและกฎหมายระหว่างประเทศ ซึ่งการปรับปรุงหรือระงับกรณีพิพาทหรือสถานการณ์ระหว่างประเทศ อันจะนำไปสู่การล่วงละเมิดสันติภาพได้ 2. เพื่อพัฒนาสัมพันธไมตรีระหว่างประชาชาติทั้งปวงโดยยึดการเคารพต่อหลักการ แห่งสิทธิเท่าเทียมกัน และการกำหนดเจตจำนงของตนเองแห่งประชาชนทั้งปวงเป็นมูลฐานและจะได้ดำเนิน มาตรการอันเหมาะสมอย่างอื่น เพื่อเป็นกำลังแก่สันติภาพสากล 3. เพื่อทำการร่วมมือระหว่างประเทศ ในอันที่จะแก้ปัญหาระหว่างประเทศในทางเศรษฐกิจ การสังคม วัฒนธรรม และมนุษยธรรม รวมทั้งการส่งเสริมสนับสนุนการเคารพสิทธิมนุษยชนและอิสรภาพ อันเป็นหลักมูลฐานสำหรับทุก ๆ คนโดยปราศจากความแตกต่างด้านเชื้อชาติ เพศ ภาษา หรือศาสนา 4. เพื่อเป็นศูนย์กลางและประสานการดำเนินงานของประชาชาติทั้งปวงในอันที่จะ บรรลุจุดหมายปลายทางเหล่านี้ร่วมกันด้วยความกลมกลืน"ดังนั้น เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1948 สมัชชาแห่งสหประชาชาติจึงได้ลงข้อมติรับรองปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ซึ่งนับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ชุมชนระหว่างประเทศ ที่ได้ยอมรับผิดชอบที่จะให้ความคุ้มครอง และเคารพปฏิบัติตามสิทธิมนุษยชนปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน ประกอบด้วยข้อความรวม 30 มาตรา กล่าวถึง1. สิทธิของพลเมืองทุกคนที่จะมีเสรีภาพ และความเสมอภาค รวมทั้งสิทธิทางการเมือง2. สิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม มาตรา 1 และ 2 เป็นมาตราที่กล่าวถึงหลักทั่วไป เช่น มนุษย์ปุถุชนทั้งหลายต่างเกิดมาพร้อมกับ อิสรภาพ และทรงไว้ซึ่งศักดิ์ศรีและสิทธิเท่าเทียมกัน ดังนั้น ทุกคนย่อมมีสิทธิและอิสรภาพตามที่ระบุในปฏิญญาสากล โดยไม่คำนึงถึงความแตกต่างใด ๆ เชื้อชาติ เพศ ภาษา ศาสนา ความเห็นทางการเมือง หรืออื่น ๆ ต้นกำเนิดแห่งชาติหรือสังคม ทรัพย์สินหรือสถานภาพอื่น ๆ ส่วนสิทธิของพลเมืองและสิทธิทางการเมืองนั้น ได้รับการรับรองอยู่ในมาตร 3 ถึง 21 ของปฏิญญาสากล เช่น รับรองว่าทุกคนมีสิทธิที่จะมีชีวิตอยู่ มีเสรีภาพและความมั่นคงปลอดภัย มีอิสรภาพจากความเป็นทาสหรือตกเป็นทาสรับใช้ มีเสรีภาพจากการถูกทรมาน หรือการถูกลงโทษอย่างโหดร้าย สิทธิที่จะได้รับการรับรองเป็นบุคคลภายใต้กฎหมาย ได้รับความคุ้มครองเท่าเทียมกันภายใต้กฎหมาย มีเสรีภาพจากการถูกจับกุม กักขัง หรือถูกเนรเทศโดยพลการ มีสิทธิที่จะเคลื่อนย้ายไปไหนมาไหนได้ สิทธิที่จะมีสัญชาติ รวมทั้งสิทธิที่จะแต่งงานและมีครอบครัว เป็นต้นส่วนมาตรา 22 ถึง 27 กล่าวถึงสิทธิทางเศรษฐกิจ ทางสังคม และทางวัฒนธรรม เช่น มีสิทธิที่จะอยู่ภายใต้การประกันสังคม สิทธิที่จะทำงาน สิทธิที่จะพักผ่อนและมีเวลาว่าง สิทธิที่จะมีมาตรฐานการครองชีพสูงพอที่จะให้มีสุขภาพอนามัย และความเป็นอยู่ที่ดี สิทธิที่จะได้รับการศึกษาและมีส่วนร่วมในชีวิตความเป็นอยู่ตามวัฒนธรรมของ ชุมชน มาตรา 28 ถึง 30 กล่าวถึงการรับรองว่า ทุกคนมีสิทธิที่จะมีขีวิตอยู่ท่ามกลางความสงบเรียบร้อยของสังคมและระหว่าง ประเทศ และขณะเดียวกันได้เน้นว่า ทุกคนต้องมีหน้าที่และความรับผิดชอบต่อชุมชนด้วยสมัชชาสหประชาชาติได้ประกาศ ให้ถือปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนนี้ เป็นมาตรฐานร่วมกันที่ทุกประชาชาติจะต้องปฏิบัติตามให้ได้ และเรียกร้องให้รัฐสมาชิกของสหประชาชาติช่วยกันส่งเสริมรับรองเคารพสิทธิและ เสรีภาพตามที่ปรากฎในปฏิญญาสากลโดยทั่วกัน โดยเล็งเห็นความสำคัญในเรื่องสิทธิมนุษยชนนี้ สมัชชาสหประชาชาติจึงลงมติเมื่อวันที่ 4 ธันวาคม ค.ศ. 1950 ให้ถือวันที่ 10 ธันวาคมของทุกปี เป็นวันสิทธิมนุษยชนทั่วโลก [การทูต] | World Bank | ธนาคารโลก ประกอบด้วยสถาบันต่าง ๆ รวม 4 แห่ง คือ ธนาคารเพื่อการบูรณะและพัฒนาระหว่างประเทศ (IBRD) ตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1945 บรรษัทการเงินระหว่างประเทศ (IFC) ตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1956 สมาคมพัฒนาระหว่างประเทศ (IDA) ตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1960 และองค์การประกันการลงทุนหลายฝ่าย (Multilateral Investment Guarantee Agency) ตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ. 1988วัตถุประสงค์ร่วมกันของสถาบันการเงินทั้งสี่แห่งนี้ คือ ต้องการลดภาวะความยากจน และยกมาตรฐานการครองชีพของประชากรให้สูงขึ้น โดยส่งเสริมการพัฒนาและความเติบโตทางเศรษฐกิจ [การทูต] |
| - Standard of living. - A TV in every room. | มาตรฐานการครองชีพ ทีวีในห้องพักทุกห้อง Sex Trek: Charly XXX (2007) | The guns we sell fuel the cause. Without it, we lose ground. | ปืนที่เราขายเป็นปัจจัยครองชีพ ไม่มีมัน เราต้องเสียดินแดน Fun Town (2008) | Prices have been rising, so this is actually less than how much we used to make before. | ตอนนี้ค่าครองชีพสูงขึ้น เราก็เลย ทำกิมจิน้อยกว่าแต่ก่อน Episode #1.9 (2009) | Cost of living, food, clothing, utilities, say two grand a month, and that should put a dent in it, anyway. | ค่าครองชีพ อาหาร เสื้อผ้า สาธารณูปโภค 000 ดอลลาร์ต่อเดือน Seven Thirty-Seven (2009) | I'm getting a stipend from school. | หนูได้เงินค่าครองชีพจากทางโรงเรียน Precious (2009) | Fool, what the fuck is a stipend? What is that? | งี่เง่า ค่าครองชีพบ้าอะไร Precious (2009) | Fuck a stipend. I said take your ass down to the welfare. | ช่างหัวเงินค่าครองชีพ ฉันบอกให้ไสตูดใหญ่ๆของแกไปสถานสงเคราะห์ได้แล้ว Precious (2009) | Not with my settlement. With New York prices, | ฉันจะไปตั้งรกรากได้ยังไงกับค่าครองชีพในนิวยอร์กเนี่ย You Must Meet My Wife (2010) | All they have to do is keep raising the cost of living. | พวกเค้าเร่งค่าครองชีพให้สูงขึ้น In Time (2011) | No, Portugal actually. But it's cheaper living in India. | เปล่า จริงๆแล้วโปรตุเกส แต่ค่าครองชีพที่อินเดียถูกกว่า Life of Pi (2012) | ABBIE: The government pays you a monthly stipend for every child you take in, does it not? | รัฐบาลได้จ่ายค่าครองชีพคุณทุกเดือน สำหรับเด็กทุกๆคน The Lesser Key of Solomon (2013) |
| ดัชนีค่าครองชีพ | [datchanī khā khrøngchīp] (n, exp) EN: cost of living index | ค่าครองชีพ | [khā khrøngchīp] (n, exp) EN: cost of living ; living expenses FR: coût de la vie [ m ] | ครองชีพ | [khrøngchīp] (v) EN: live ; earn one's livelihood ; make a living ; support oneself FR: vivre ; gagner sa vie | เงินเพิ่มค่าครองชีพ | [ngoen phoēm khā khrøngchīp] (n, exp) EN: cost of living subsidy |
| index-linked | (n) ซึ่งเพิ่มขึ้นตามค่าครองชีพ | livelihood | (n) ความเป็นอยู่, See also: การดำรงชีวิต, การครองชีพ, Syn. sustenance, subsistence | living | (n) การครองชีพ, See also: การทำมาหากิน, Syn. livelihood | standard of living | (n) มาตรฐานการครองชีพ | stipend | (n) เงินเดือน, See also: ค่าจ้าง, เงินค่าครองชีพ, Syn. allowance, salary, wage | stipendiary | (adj) ค่าครองชีพ |
| alimony | (แอลลิโม' นี) n. ค่าเลี้ยงดูภรรยาที่หย่าร้างกับสามี, ค่าครองชีพ. -alimonied adj.ซึ่งประกอบด้วยส่วนที่แน่นอนของทั้งหมด, ซึ่งประกอบด้วยส่วนที่หารลงตัว. -n. ส่วนที่หารลงตัว | conversation | (คอนเวอเซ'เชิน) n. การสนทนา การคุยกัน, การคบค้าสมาคม, ความสามารถในการสังคมกับคนอื่น, ลักษณะการครองชีพ, Syn. talk | living | (ลิฟ'วิง) adj. มีชีวิตอยู่, ไม่ตาย, มีอยู่, แรง, ขะมักเขม้น, คุกรุ่น, ไหล, เกี่ยวกับการครองชีพ, ในสภาพธรรมชาติ, แน่นอนที่สุด, n. การดำรงชีพ, วิธีการครองชีพ, คนที่มีชีวิตอยู่, เงินเดือนของพระ (ศาสนาคริสต์), Syn. live, alive, -A. dead, dull | living standard | มาตรฐานการครองชีพ | pittance | (พิท'เทินซฺ) n. เงินค่าครองชีพเล็ก ๆ น้อย ๆ , การให้ทานเล็ก ๆ น้อย ๆ , นิตยภัต, รายได้หรือค่าจ้างเล็ก ๆ น้อย ๆ | standard of living | มาตรฐานการครองชีพ | stipend | (สไท'เพินดฺ) n. ค่าจ้าง, เงินเดือน, การจ่ายเงินเป็นคราว ๆ , เงินค่าครองชีพ, เงินปีสำหรับพระ. -stipendless adj., Syn. pay, fee |
| | 生活費 | [せいかつひ, seikatsuhi] ค่าครองชีพ |
|
เพิ่มคำศัพท์
ทราบความหมายของคำศัพท์นี้? กด [เพิ่มคำศัพท์] เพื่อใส่คำนี้พร้อมความหมาย เพื่อเป็นวิทยาทานแก่ผู้ใช้ท่านอื่น ๆ
Are you satisfied with the result?
Discussions | | |