ก้นร้อน | ก. นั่งอยู่ที่ใดได้ไม่นาน เช่น แม่คนนี้ก้นร้อน นั่งที่ไหนไม่ได้นานหรอก. |
ก้นหนัก | ก. นั่งอยู่ที่ใดที่หนึ่งได้นาน ๆ ไม่ลุกหรือขยับเขยื้อนไปไหนง่าย ๆ เช่น แม่คนนี้ก้นหนัก ไปนั่งคุยอยู่บ้านเพื่อนตั้งแต่เช้ายังไม่ยอมกลับ. |
กรอ ๒ | ว. อาการที่ติดพันกันในเชิงชู้สาว เช่น หนุ่มคนนี้มีผู้หญิงติดกรอทีเดียว. |
กระดูกอ่อน | ว. ที่ยังไม่มีความจัดเจนในการต่อสู้ เช่น นักมวยคนนี้กระดูกอ่อน ขึ้นชกครั้งแรกก็แพ้เขาแล้ว. |
กระดูก ๓ | ว. ขี้เหนียวอย่างไม่ยอมให้อะไรแก่ใครง่าย ๆ เช่น เจ้านายคนนี้กระดูกจริง ๆ ดินสอแท่งเดียวก็ไม่ยอมให้เบิก. |
กระดูกขัดมัน | ว. ขี้เหนียวมากอย่างไม่ยอมให้อะไรแก่ใครง่าย ๆ เช่น แม่ค้าคนนี้กระดูกขัดมันเหลือเกิน เราซื้อผลไม้แกตั้งร้อยกว่าบาทขอแถมเงาะลูกหนึ่งก็ไม่ได้ |
กระดูกขัดมัน | ให้คะแนนยาก เช่นอาจารย์คนนี้กระดูกขัดมันชะมัดออกข้อสอบก็ยากแล้วยังขี้เหนียวคะแนนอีก. |
กระหึ่ม | ว. เสียงก้อง เช่น พายุพัดกระหึ่ม เสียงดนตรีดังกระหึ่ม. ก. โด่งดังรู้กันไปทั่ว เช่น นักร้องคนนี้มีชื่อเสียงกระหึ่ม เรื่องคอร์รัปชันตอนนี้กำลังกระหึ่มไปทั่ว. |
กลิ้ง ๑ | โดยปริยายหมายความว่า พลิกแพลงเอาตัวรอด, จับไม่ติด, เช่น คนคนนี้กลิ้งได้รอบตัว. |
กลืนเลือด | ก. กล้ำกลืนความเจ็บแค้นอย่างแสนสาหัส เช่น แม้จะแค้นหัวหน้าพวกเขาก็ยอมกลืนเลือด เพราะยังต้องพึ่งพาหัวหน้าคนนี้อยู่. |
ก๊วน | น. กลุ่มคนที่สนิทสนมและร่วมทำกิจกรรมเดียวกันเป็นประจำ เช่น เขาสนิทกับรัฐมนตรีคนนี้เพราะเล่นกอล์ฟก๊วนเดียวกัน |
กะติ๊กริก | ว. เริ่มมีเนื้อมีหนังขึ้น (มักใช้แก่เด็ก) เช่น เด็กคนนี้แก้มกะติ๊กริก. |
กะล่อยกะหลิบ | ว. คล่องแคล่วว่องไวในการใช้มืออย่างแนบเนียนน่าดู เช่น เด็กคนนี้รู้จักเปิบข้าวดูกะล่อยกะหลิบ |
กัด ๑ | หาเรื่อง เช่น เขากัดฉันไม่เลิก, ทะเลาะวิวาท เช่น ๒ คนนี้กัดกันอยู่เสมอ. |
กาวใจ | น.ผู้ประสานรอยร้าวให้ผู้ที่โกรธกัน ทะเลาะกัน หรือกินแหนงแคลงใจกัน ได้กลับคืนดีกัน เช่น เขาเป็นกาวใจให้ ๒ คนนี้คืนดีกัน. |
กึ๋น | สติปัญญาที่แหลมคม, นิยมใช้กับคำว่า มี หรือ ไม่มี เช่น หัวหน้าคนนี้มีกึ๋น เด็กคนนี้ไม่มีกึ๋นเอาเลย. |
แก่ ๑ | ว. มีอายุมาก เช่น แก่ไปทุกวัน ไม้แก่ เด็กคนนี้แก่กว่าเด็กคนนั้น, อยู่ในวัยชรา เช่น คนแก่ หญิงแก่, จัด เช่น เหลืองแก่ แก่เปรี้ยว แก่หวาน |
ใกล้ชิด | ว. สนิทสนมกัน เช่น ๒ คนนี้มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกัน |
ขี้เกียจ | ก. มีนิสัยไม่ชอบทำงาน เช่น เด็กคนนี้ขี้เกียจ, เกียจคร้าน ก็ว่า, รู้สึกไม่อยากทำเพราะไม่เห็นประโยชน์เป็นต้น เช่น ขี้เกียจเถียง |
ขี้เล่น | ก. ชอบสนุกสนานและชอบกระเซ้าเย้าแหย่ เช่น ถ้าเขาไปเที่ยวด้วย พวกเราจะไม่รู้สึกเหงา เพราะเขาเป็นคนขี้เล่น, มีอารมณ์ดีไม่งอแง (มักใช้แก่เด็กเล็ก ๆ ) เช่น ตาหนูคนนี้ขี้เล่น |
ขี้เล่น | ปล่อยตัวจนเกินพอดี (ใช้แก่ผู้หญิง) เช่น ผู้หญิงคนนี้ขี้เล่นไม่ไว้ตัวเลย. |
ขึ้น ๑ | นิยมนับถือ, เลื่อมใส, เช่น อาจารย์คนนี้มีคนขึ้นมาก |
เข็น | โดยปริยายหมายความว่า เร่งรัดให้ดี เช่น เด็กคนนี้เข็นไม่ขึ้น. |
แข็ง | ว่ายาก เช่น เด็กคนนี้แข็ง |
คราว ๑ | (คฺราว) น. ครั้ง, หน, เช่น คราวหน้า คราวหลัง, รุ่น เช่น เด็ก ๒ คนนี้อายุคราวเดียวกัน, ใช้เป็นลักษณนาม เช่น สินค้าชนิดนี้ส่งเข้ามา ๓ คราว. |
ครือ ๒, ครือ ๆ | (คฺรือ) ว. ไม่คับไม่หลวม เช่น เสื้อครือตัว, พอ ๆ กัน เช่น เด็ก ๒ คนนี้ขยันครือ ๆ กัน. |
คล่อง | (คฺล่อง) ว. สะดวก เช่น หายใจได้คล่องขึ้น, ว่องไว เช่น เด็กคนนี้ใช้คล่อง, ไม่ฝืด เช่น คล่องคอ, ไม่ติดขัด เช่น พูดคล่อง. |
ความรู้ | ความเข้าใจหรือสารสนเทศที่ได้รับมาจากประสบการณ์ เช่น ผู้ชายคนนี้เก่ง แต่ไม่มีความรู้เรื่องผู้หญิง. |
คอเดียวกัน | ว. มีรสนิยมเดียวกัน เช่น คนนี้คอเดียวกัน ไปไหนไปด้วยกันเสมอ. |
คั่ว ๒ | ก. คอยกิน (ใช้ในการเล่นไพ่ผ่องไทยหรือไพ่ผ่องจีนเป็นต้น), โดยปริยายหมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น สองคนนี้คั่วกันมาหลายปี ก็ยังไม่ได้แต่งงานกัน เขาคั่วตำแหน่งอธิบดีอยู่. |
เจ้าทุกข์ | ว. ที่มีหน้าเศร้าอยู่เสมอ เช่น เด็กคนนี้อาภัพ หน้าตาเจ้าทุกข์. |
เฉี่ยว | ว. ล้ำยุค, นำสมัย, เช่น ผู้หญิงคนนี้แต่งตัวเฉี่ยว. |
เชื่อ | ก. เห็นตามด้วย เช่น เด็ก ๆ ควรเชื่อคำสั่งสอนของพ่อแม่, มั่นใจ, ไว้ใจ, เช่น ฉันเชื่อว่าลูกจ้างคนนี้ดูแลการเงินแทนฉันได้ |
เชื่อหน้า | ก. เชื่อในความซื่อสัตย์หรือความสามารถ เช่น ไม่มีใครเชื่อหน้าเขา เพราะชอบยืมเงินแล้วไม่ยอมใช้คืน นักกีฬาคนนี้แข่งแพ้อยู่เรื่อยจนไม่มีใครเชื่อหน้า. |
เซา | น. เสียงบอกให้วัวหรือควายหยุด. ก. หย่อนลงกว่าเดิม, เพลาลง, เช่น ความนิยมในดาราคนนี้เริ่มเซาลง. |
ดาวรุ่ง | น. ดาวพระศุกร์ที่เห็นในเวลาเช้ามืด, ดาวประกายพรึก ก็เรียก, โดยปริยายหมายถึง ผู้ที่มีชื่อเสียงเด่นขึ้นมาใหม่ เช่น ดาราคนนี้เป็นดาวรุ่งของวงการบันเทิง. |
ดื้อไม้ | ก. รู้สึกชาชินต่อการถูกตีหรือถูกเฆี่ยน (ใช้แก่เด็ก) เช่น เด็กคนนี้ดื้อไม้ ตีไปก็เท่านั้นไม่เคยหลาบจำ. |
ดูดำดูดี | ก. เอาใจใส่ดูแลทั้งในเวลามีทุกข์และมีสุข เช่น จะหวังอะไรให้เขามาดูดำดูดีกับคนอย่างเรา, (มักใช้ในความปฏิเสธ) เช่น เขาไม่ดูดำดูดีเด็กคนนี้เลย. |
ได้น้ำได้ท่า | ก. ได้รับการดูแลโดยการอาบน้ำให้อย่างสม่ำเสมอ เช่น เด็กคนนี้พอได้น้ำได้ท่าก็ดูมีน้ำมีนวลเนื้อแน่นขึ้น. |
ต่อปากต่อคำ | ก. พูดสวนตอบไปทันที เช่น เด็กคนนี้ผู้ใหญ่ว่าอะไรก็ต่อปากต่อคำไม่ลดละ, โต้ตอบด้วย เช่น เขาว่าอะไรก็อย่าไปต่อปากต่อคำกับเขา. |
ตอด ๑ | ก. อาการที่ปลาขนาดเล็กใช้ปากงับเหยื่อเป็นต้นนิดหนึ่งแล้วดึงมาโดยเร็ว, อาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ลูกคนนี้งานการไม่ทำ คอยแต่ตอดเงินพ่อแม่, โดยปริยายหมายถึงอาการเหน็บแนมเล็ก ๆ น้อย ๆ ไม่หยุดหย่อน เช่น เขาคงไม่ชอบฉัน เลยตอดฉันอยู่เรื่อย. |
ตอม | ก. กิริยาที่แมลงตัวเล็ก ๆ เช่นแมลงวันเป็นต้นมาเกาะหรือจับหรือบินวนเวียนอยู่ใกล้ ๆ สิ่งใดสิ่งหนึ่ง, โดยปริยายหมายถึงกิริยาอาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น สาวสวยคนนี้มีชายหนุ่มมารุมตอมมาก. |
ตอแย | ก. เซ้าซี้อย่างต่อเนื่องน่ารำคาญ เช่น นายคนนี้ฉันเดินหนีมาแล้วยังตามมาตอแยอยู่ได้ |
ตัวสำคัญ | น. ตัวร้าย เช่น เด็กคนนี้แหละตัวสำคัญนัก ชอบรังแกเพื่อน. |
ตาแหลม | ว. มีสายตาคมพอมองเห็นก็รู้ทันทีว่าอะไรดีมีคุณค่า เช่น ผู้หญิงคนนี้ตาแหลม พอมองเห็นหัวแหวนก็รู้ว่าเป็นเพชรแท้หรือเพชรเทียม. |
ตีไหล่ | ว. เคียงคู่กันอย่างใกล้ชิดสนิทสนม เช่น ๒ คนนี้รักกันมาก เดินตีไหล่กันมาเลย. |
เตลิด | (ตะเหฺลิด) ก. แตกหนีไปคนละทิศละทาง, หนีไปอย่างไร้ทิศทาง, เช่น ฝูงวัวเตลิดไป, โดยปริยายหมายความว่า รั้งไม่อยู่ เช่น เด็กคนนี้เตลิดไปแล้ว เอาแต่เที่ยวเตร่ไม่ยอมเรียนหนังสือ. |
ถึงกัน | มีจิตใจสื่อถึง เช่น ๒ คนนี้เขาถึงกัน เกิดอะไรขึ้นกับคนหนึ่ง อีกคนหนึ่งก็รู้สึกได้เหมือนกัน. |
ท้วม, ท้วม ๆ | ว. มีรูปร่างอ้วนน้อย ๆ เช่น ผู้หญิงคนนี้ท้วม |
น้ำตาเช็ดหัวเข่า | เสียใจเพราะชํ้าใจหรือต้องผิดหวังอย่างหนักในเรื่องคู่ครอง (ใช้แก่ผู้หญิง) เช่น เพราะเธอเชื่อผู้ชายคนนี้ จึงต้องน้ำตาเช็ดหัวเข่า. |