ข้าวของ | น. สิ่งของต่าง ๆ มีเครื่องใช้เครื่องประดับเป็นต้น. |
กระบุงโกย | ว. จำนวนมาก เช่น มีข้าวของเป็นกระบุงโกย.น. ลักษณนามใช้เปรียบเทียบในความหมายว่า จำนวนมาก เช่น จะไปต่างจังหวัดแค่ ๒ วัน ขนเสื้อผ้ามาตั้งกี่กระบุงโกย. |
เก็บกวาด | ก. เก็บข้าวของให้เข้าที่และกวาดทำความสะอาด. |
เข้าที่เข้าทาง | ก. จัดให้เป็นระเบียบ, จัดให้เรียบร้อย, เช่น จัดข้าวของให้เข้าที่เข้าทาง. |
ครัว ๑ | (คฺรัว) น. โรง เรือน หรือห้องสำหรับทำกับข้าวของกิน, เรียกผู้ที่กินอยู่ร่วมครอบครัวเดียวกัน ว่า ครัว หรือ ครัวเรือน. |
คันชีพ ๑ | น. เข็มขัดของทหารมหาดเล็กรักษาพระองค์มีกระเป๋าใส่ลูกปืน, ถุงเยียรบับห้อยจากผ้าปกหลัง ๒ ข้างของช้าง สำหรับใส่อาหาร ของกิน และอาวุธเป็นต้น, ถุงหนังห้อย ๒ ข้างคอม้า สำหรับใส่ข้าวของกินเป็นต้น, ใช้ว่า กันชีพ ก็มี. |
เทกระจาด | ก. อาการที่รถบรรทุกหรือรถโดยสารคว่ำทำให้ผู้โดยสารตายหรือได้รับบาดเจ็บหรือข้าวของต้องเสียหายไปทั้งคัน. |
ผีซ้ำด้ำพลอย | น. เคราะห์เดิมร้ายหนักอยู่แล้ว ยังมีเคราะห์อื่นซ้ำเข้ามา ทำให้เคราะห์หนักยิ่งขึ้น เช่น เขาตกงานแล้วขโมยยังขึ้นบ้านเอาข้าวของไปหมดอีก ผีซ้ำด้ำพลอยจริง ๆ. |
พรวดพราด | (-พฺราด) ก. ลุก เดิน หรือวิ่ง เป็นต้น อย่างรวดเร็วโดยไม่ยับยั้ง เช่น พอตำรวจพรวดเข้ามา พวกขาไพ่ก็พรวดพราดออกไป, กิริยาที่ทำโดยไม่ระมัดระวังหรือไม่เรียบร้อย เช่น ทำอะไรพรวดพราด ข้าวของตกหล่นเสียหาย. |
พรักพร้อม | (พฺรัก-) ว. รวมอยู่พร้อมหน้ากัน ใช้ในลักษณะเช่นญาติพี่น้องมากันพรักพร้อม, รวมอยู่พร้อมทุกอย่าง เช่น เตรียมข้าวของไว้ให้พรักพร้อม, พร้อมพรัก ก็ว่า. |
พะรุงพะรัง | ว. ปะปนกันจนรุงรัง เช่น หอบข้าวของพะรุงพะรัง, นุงนัง เช่น มีหนี้สินพะรุงพะรัง. |
มูล ๒, มูล- | (มูน, มูนละ-) ว. มวล, ทั้งหมด, ทั้งสิ้น, เช่น จัดข้าวของไว้ให้โดยพร้อมมูล เตรียมเอกสารหลักฐานไว้ให้พร้อมมูล. |
ยุ่ง | ว. อาการของสิ่งที่เป็นเส้นเป็นฝอยสับสนพัวพันกันถึงกับต้องสางจึงจะเป็นระเบียบเรียบร้อยได้ เช่น ผมยุ่ง ไหมพันกันยุ่ง, ไม่เรียบร้อย เช่น เขียนหนังสือยุ่งอ่านไม่ออก ข้าวของปนกันยุ่ง, อาการที่ทำให้สับสน เช่น ทำเรื่องยุ่ง, เรียกผู้ที่ชอบทำให้สับสนวุ่นวาย ว่า ตัวยุ่ง. |
เยอะ ๑, เยอะแยะ | ว. มากเหลือหลาย, ถมไป, เช่น อาหารมีเยอะ ข้าวของเยอะแยะ. |
แยะ | ว. มากมาย เช่น ข้าวของมีแยะไป, มักใช้เข้าคู่กับคำ เยอะ เป็น เยอะแยะ. |
รวบรวม | ก. นำสิ่งต่าง ๆ มารวมเข้าไว้ด้วยกัน เช่น รวบรวมข้าวของ รวบรวมเงิน รวบรวมหลักฐาน. |
รื้อ | ก. แยกออกหรือถอดออกเป็นต้นจากสิ่งที่เป็นรูปแล้วให้เสียความเป็นกลุ่มก้อนของรูปเดิม เช่น รื้อบ้าน รื้อหลังคา รื้อข้าวของกระจุยกระจาย |
รู้จักเก็บรู้จักงำ | ก. รู้จักเก็บรักษาข้าวของ. |
ละลมละลาย | ก. สูญหายไปหมด เช่น ข้าวของละลมละลายไป. |
ละเอียดลออ | ว. ถี่ถ้วน, รอบคอบ, เช่น ตรวจบัญชีอย่างละเอียดลออ ดูแลข้าวของอย่างละเอียดลออ ไม่ให้ตกเรี่ยเสียหาย. |
เลเพลาดพาด | ว. กระจัดกระจายอยู่เกลื่อนกลาดอย่างยุ่งเหยิง ไม่เป็นระเบียบ ไม่เป็นที่เป็นทาง, เลอะเทอะ, เช่น นอนเลเพลาดพาด ทิ้งข้าวของไว้เลเพลาดพาด. |
เลอะ | ว. เปื้อน เช่น เสื้อเลอะเขม่า หน้าเลอะหมึก, เปรอะไปด้วยสิ่งเปียก ๆ แฉะ ๆ มีลักษณะเละอย่างโคลนเลน เช่น ย่ำโคลนขึ้นบ้านเลอะหมด, เรี่ยรายกระจัดกระจายไปทั่วอย่างไม่มีระเบียบ เช่น วางข้าวของไว้เลอะเต็มห้อง, โดยปริยายหมายความว่า วุ่นวายสับสน เช่น เรื่องนี้ชักเลอะกันใหญ่ ผ้าดอกเลอะ |
เลอะเทอะ | ว. เปรอะเปื้อน เช่น ขุดดินมือเลอะเทอะ กินข้าวหกเลอะเทอะ, เลเพลาดพาด เช่น วางข้าวของไว้เลอะเทอะ, โดยปริยายหมายความว่า เลื่อนเปื้อน, เหลวไหล, ไม่ได้เรื่อง, เช่น คนเมาพูดจาเลอะเทอะ, โบราณใช้ว่า เลอะเพอะ ก็มี. |
เละ | โดยปริยายหมายความว่า สับสนวุ่นวายไม่เป็นระเบียบ เช่น ลูก ๆ ทำครัว วางข้าวของกันไว้เละ พ่อแม่ไม่อยู่ บ้านเละหมด. |
เลี้ยงไม่รู้จักโต | ก. เลี้ยงจนโตควรจะพึ่งตัวเองได้แล้ว แต่ก็ยังต้องขอเงินและข้าวของเป็นต้นจากพ่อแม่, เลี้ยงจนโตแล้วก็ยังประจบออเซาะแม่เหมือนเด็ก ๆ. |
วาง | ก. ทำให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งพ้นจากมือหรือบ่าเป็นต้นด้วยอาการกิริยาต่าง ๆ ตามที่ต้องการ เช่น วางข้าวของเรียงเป็นแถว วางกับดักหนู วางกระดานลงกับพื้น วางเสาพิงกับผนัง |
วิกฤตกาล, วิกฤติกาล | น. เวลาอันวิกฤติ เช่น ในวิกฤติกาลข้าวของมีราคาแพงและหาซื้อยาก. |
วิเสท | (-เสด) น. ผู้ทำกับข้าวของหลวง. |
เวียงวัง | น. เมือง, วัง, เช่น จะแบ่งปันข้าวของในท้องคลัง ให้ครอบครองเวียงวังเห็นทันตา (สังข์ทอง). |
สมบัติบ้า | ข้าวของที่เก็บไว้แต่ไม่มีประโยชน์ เช่น สมบัติบ้าเต็มตู้ไปหมด ไม่รู้จักทิ้งเสียบ้าง. |
สิ่งของ | น. วัตถุต่าง ๆ เช่น ก่อนลงจากรถควรตรวจสิ่งของให้ครบถ้วน, ของ หรือ ข้าวของ ก็ว่า. |
สูทกรรม | (สูทะ-) น. การทำกับข้าวของกิน. |
เสื่อผืนหมอนใบ | น. สำนวนที่เนื่องมาจากการที่คนจีนจากเมืองจีนเดินทางโดยเรือสำเภาเข้ามาทำมาหากินในเมืองไทย โดยไม่มีทรัพย์สมบัติหรือข้าวของติดตัวมานอกจากเสื่อกับหมอนเท่านั้นแล้วสามารถตั้งเนื้อตั้งตัวได้ |
หม่า | ปล่อยไว้ไม่เป็นระเบียบ เช่น เสื้อผ้าข้าวของไม่เก็บ หม่าไว้เต็มห้อง |
หยาบ, หยาบ ๆ | ไม่สุภาพ เช่น กิริยาหยาบ พูดหยาบ, ไม่เรียบร้อย เช่น เก็บข้าวของสุมไว้หยาบ ๆ, สาก ๆ เช่น ฝ่ามือฝ่าเท้าหยาบ. |