ข่าม | ก. อยู่ยงคงกระพัน. |
ข้าม ๑ | ก. ยกเท้าย่างผ่านเหนือสิ่งใดสิ่งหนึ่งเพื่อให้พ้นไป เช่น ข้ามธรณีประตู, จากข้างหนึ่งไปถึงอีกข้างหนึ่งโดยมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งขวางอยู่ เช่น ข้ามแม่น้ำ ข้ามถนน, จากข้างหนึ่งไปถึงอีกข้างหนึ่งโดยมีสิ่งใดสิ่งหนึ่งช่วย เช่น ข้ามเรือ ข้ามสะพาน ข้ามฟาก, ล่วงพ้นสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยผ่านเหนือสิ่งนั้นไป เช่น บินข้ามประเทศ, ล่วงพ้นช่วงเวลาใดช่วงเวลาหนึ่ง เช่น ข้ามคืน ข้ามปี, ผ่านเลยลำดับ เช่น เรียนข้ามชั้น ชกข้ามรุ่น. |
ข้ามน้ำข้ามทะเล, ข้ามน้ำข้ามท่า | ก. ต้องฟันฝ่าอุปสรรคและความลำบากต่าง ๆ กว่าจะได้ผลสำเร็จ. |
ข้ามเรือ | ก. ลงเรือข้ามน้ำไปยังอีกฝั่งหนึ่ง. |
ข้ามวันข้ามคืน | ว. เป็นระยะเวลานาน เช่น ทำงานข้ามวันข้ามคืน. |
ข้ามสมุทร | น. ชื่อเพลงไทย เป็นเพลงชุดมีด้วยกัน ๓ เพลง คือ เบญจคีรี ข้ามสมุทร และเทพลีลา. |
ข้ามหน้า, ข้ามหน้าข้ามตา | ก. ทำโดยไม่ไว้หน้าผู้ใด. |
ข้ามหัว | ก. ทำโดยพลการไม่บอกกล่าวหรือปรึกษาหารือผู้ที่ควรบอกกล่าวหรือควรปรึกษาหารือ. |
ข้าม ๒, ข้าม ๆ | ว. เลยลำดับ, ไม่เป็นตามลำดับ, เช่น อ่านข้าม อ่านข้าม ๆ. |
ขี้ข้าม้าครอก | น. คนรับใช้, ทาส. |
เข้าม่าน | น. ชื่อเพลงไทย มี ๓ เพลง คือ ต้นเข้าม่าน เข้าม่าน และปลายเข้าม่าน. |
เข้ามุม | ก. นำไม้ ๒ ชิ้นมาประกอบเป็นมุม โดยตกแต่งอันหนึ่งให้เป็นเดือยรูปสามเหลี่ยม ๒ เดือย ส่วนอีกอันหนึ่งเจาะให้เป็นช่องรูปสามเหลี่ยม ๒ ช่อง มีขนาดพอที่จะสวมกันได้สนิท. |
ความวัวไม่ทันหาย ความควายเข้ามาแทรก | น. เรื่องเดือดร้อนเก่ายังไม่ทันหมด ก็มีเรื่องเดือดร้อนใหม่เข้ามาอีก. |
ตรงกันข้าม, ตรงข้าม | ก. อยู่ตรงกันแต่คนละฟาก เช่น บ้านฉันอยู่ตรงกันข้ามกับสถานีตำรวจ โรงเรียนอยู่ตรงข้ามกับวัด |
ตรงกันข้าม, ตรงข้าม | คนละฝ่ายคนละพวก เช่น ฝ่ายค้านอยู่ตรงกันข้ามกับฝ่ายรัฐบาล |
ตรงกันข้าม, ตรงข้าม | ต่างกันอย่างสิ้นเชิง เช่น ขาวตรงกันข้ามกับดำ รักตรงข้ามกับเกลียด. |
ท่าข้าม | น. ที่สำหรับขึ้นลงเรือหรือแพข้ามฟาก. |
ทางข้าม | น. ทางม้าลาย. |
โป่งข่าม | น. ชื่อเรียกแร่เขี้ยวหนุมาน ใช้ทำเครื่องประดับ. |
มองข้าม | ก. มองเลยไป เช่น มองข้ามความผิด |
มองข้าม | ไม่เห็นความสำคัญ เช่น เขาถูกมองข้ามไป. |
ไม่รู้จักเสือเอาเรือเข้ามาจอดไม่รู้จักมอดเอาไม้เข้ามาวาง | ก. ทำสิ่งที่ไม่รู้ว่าจะมีภัยแก่ตัว. |
ว่าข้ามหัว, ว่าส่งไป | ก. พูดลอย ๆ ไม่เจาะจงคู่กรณีหรือผู้ถูกว่า. |
วิ่งกระโดดข้ามรั้ว, วิ่งข้ามรั้ว | น. การแข่งขันชนิดหนึ่ง ผู้แข่งขันต้องวิ่งเร็วแล้วกระโดดข้ามรั้วที่วางไว้เป็นระยะ ๆ ตามเส้นทางที่กำหนดไว้ ใครถึงหลักชัยก่อนถือว่าชนะ. |
เสือข้ามห้วย | น. ชื่อการเล่นโดยใช้วิธีกระโดดข้ามกัน. |
ก้น | ส่วนล่างของภาชนะ เช่น ก้นหม้อ, ส่วนสุดของห้วงหรือแอ่ง เช่น ก้นบ่อ ก้นเหว ก้นคลอง, ตรงข้ามกับ ปาก |
กรมท่าขวา | น. ส่วนราชการในสังกัดกรมพระคลัง ทำหน้าที่ติดต่อกับต่างชาติเรื่องการค้าขายและการต่างประเทศ กับชาติที่อยู่ทางด้านขวาหรือทางตะวันตกของอ่าวไทย เช่น อินเดีย อิหร่าน รวมทั้งชาติที่เข้ามาติดต่อทางด้านนั้น. |
กรมท่าซ้าย | น. ส่วนราชการในสังกัดกรมพระคลัง ทำหน้าที่ติดต่อกับต่างชาติเรื่องการค้าขายและการต่างประเทศกับชาติที่อยู่ทางด้านซ้ายหรือทางตะวันออกของอ่าวไทย เช่น จีน ญี่ปุ่น เกาหลี รวมทั้งชาติที่เข้ามาติดต่อทางด้านนั้น. |
กระโจน | ก. พุ่งตัวลงไปโดยเร็ว, เผ่นข้ามไป, กระโดดไปโดยเร็ว, ภาษาปากว่า โจน. |
กระโจม ๔ | ข้ามลำดับไป ในความว่า กินข้าวต้มกระโจมกลาง. |
กระชั้น | ว. ใกล้ชิด (เข้ามา) (ใช้แก่เวลาหรือเหตุการณ์) เช่น เวลากระชั้นเข้ามา ขี่ม้าขับกระชั้นมา, เร่งเข้า เช่น ไก่ขันกระชั้นเสียง, นิยมใช้เข้าคู่กับคำ กระโชก เป็น กระโชกกระชั้น. |
กระชาก | ก. ดึงเข้ามาโดยเร็วและแรง เช่น กระชากผม, โดยปริยายหมายความว่า กระตุกโดยแรง เช่น ออกรถกระชาก, พูดกระแทกเสียงดังห้วน ๆ ในความว่า พูดกระชากเสียง, มักใช้เข้าคู่กับคำ กระโชก เป็น กระโชกกระชาก. |
กระดี่ ๔ | ก. เคลื่อนย้ายวัตถุที่มีน้ำหนักมากซึ่งเคลื่อนย้ายยาก เช่นเสา เสาเข็ม หรืออื่น ๆ วิธีคือนำไม้หรือวัตถุอื่นที่มีความยาวและแข็งแรงพอ มาปักลงบนพื้นให้ปลายไม้ล้ำเข้าไปใต้วัตถุด้านตรงข้ามกับทิศทางที่ต้องการจะเคลื่อนย้าย แล้วงัดวัตถุนั้นให้เคลื่อนที่. |
กระดี๊กระด๊า | ก. ระริกระรี้, ตื่นเต้นแสดงความสนใจเพศตรงข้าม, เช่น พอเห็นหนุ่มหล่อ ๆ มาร่วมงาน สาว ๆ ก็กระดี๊กระด๊ากันเป็นแถว, แสดงท่าทางอย่างเห็นได้ชัดว่าดีใจหรือพอใจมาก เช่น แค่รู้ว่าผู้ชายจะมาสู่ขอลูกสาว ว่าที่แม่ยายก็กระดี๊กระด๊าจนเก็บอาการไม่อยู่, ตื่นเต้นแสดงความดีใจจนเกินงาม เช่น พอรู้ว่าหัวหน้าจะพาไปเที่ยวทะเลก็กระดี๊กระด๊ากันไปทั้งแผนก, กะดี๊กะด๊า หรือ ดี๊ด๊า ก็ว่า. |
กระดูกกบ | น. ชื่อไม้พุ่มรอเลื้อยชนิด Hymenopyramis brachiata Wall. ex Schauer ในวงศ์ Labiatae กิ่งอ่อนสี่เหลี่ยม ใบออกตรงข้ามกัน ดอกเล็กสีขาวออกเป็นช่อตรงปลายกิ่ง ผลกลมมีกระเปาะหุ้ม, กระพัดแม่ม่าย ก็เรียก. |
กระดูกไก่ดำ | น. ชื่อไม้พุ่ม ๒ ชนิดในสกุล Justicia วงศ์ Acanthaceae ได้แก่ชนิด J. gendarussa Burm. f. ใบยาวรี ออกตรงข้ามกัน ลำต้น กิ่ง ก้านใบ และเส้นกลางใบสีม่วงดำ ใช้ทำยาได้, กระดูกดำ เฉียงพร้ามอญ หรือ สันพร้ามอญ ก็เรียก และชนิด J. grossa C. B. Clarke ดอกสีขาวอมเขียว ฝักยาว เปลือกแข็งและมีขน ผลแก่แตกตามยาว. |
กระโดงแดง | ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Chionanthus microstigma (Gagnep.) P. S. Green ในวงศ์ Oleaceae ใบยาวรี หนาแข็ง ปลายใบแหลม ออกตรงข้ามกัน เมื่อแห้งหมาดใช้มวนบุหรี่ได้ มีกลิ่นหอมฉุน, ประดงแดง หรือ ฝิ่นต้น ก็เรียก |
กระตุก | ก. ดึงเข้ามาโดยเร็วทันที เช่น กระตุกเชือก, ดึงเข้ามาโดยเร็วทันทีแล้วผ่อนออก เช่น กระตุกสายป่านว่าว, โดยปริยายหมายความว่า สะดุด, ไม่ราบรื่น, เช่น เครื่องยนต์กระตุก |
กระท่อม ๒ | น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Mitragyna speciosa (Korth.) Havil. ในวงศ์ Rubiaceae ชอบขึ้นริมนํ้าทั่วไป ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน ยอด ใบอ่อน และก้านใบสีแดงเรื่อ ๆ ช่อดอกกลมสีเหลืองออกเดี่ยว ๆ ตามง่ามใบ ใบมีรสขม กินแล้วเมา เป็นยาเสพติด, อีถ่าง ก็เรียก. |
กระท่อมขี้หมู | น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลาง ๒ ชนิดในสกุล Mitragyna วงศ์ Rubiaceae ใบเดี่ยว ออกตรงข้ามกัน ชนิด M. diversifolia (Wall. ex G. Don) Havil. ใบยาวรีเล็ก, กระทุ่มนา หรือ ตุ้มแซะ ก็เรียก |
กระทุงหมาบ้า | น. ชื่อไม้เถาชนิด Dregea volubilis (L. f.) Benth. ex Hook. f. ในวงศ์ Asclepiadaceae มียางขาวเป็นพิษ ใบมนหรือรูปไข่ ปลายแหลม โคนใบเว้าหรือป้าน ออกเป็นคู่ตรงข้ามกันตามลำต้น ดอกสีเขียวอ่อนเป็นพวงกลม ใช้ทำยา, ฮ้วนหมู ก็เรียก. |
กระทุ่ม ๑ | น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางและขนาดใหญ่ชนิด Anthocephalus chinensis (Lam.) A. Rich. ex Walp. ในวงศ์ Rubiaceae ใบออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน ตามลำกิ่งและระหว่างก้านใบมีหูใบรูปสามเหลี่ยมปลายแหลมติดกับกิ่งทั้ง ๒ ด้าน ดอกเป็นช่อกลมสีเหลืองอ่อน หอม เนื้อไม้เหลืองหรือขาว ใช้ทำเสากระดาน และเยื่อกระดาษชนิดเลวได้, กระทุ่มบก ตะกู หรือ ตะโกส้ม ก็เรียก. |
กระพังโหม | น. ชื่อไม้เถาชนิด Sarcostemma secamone (L.) Bennet ในวงศ์ Asclepiadaceae ทั้งต้นมียางขาว ใบแคบเรียวแหลม ออกเป็นคู่ตรงข้ามกัน มีนวล ดอกสีม่วงแกมชมพู ใช้ทำยาได้ ใบและเถาใช้เป็นอาหาร, จมูกปลาหลด จมูกปลาไหล หรือ ผักไหม ก็เรียก. |
กระแสะ | ว. เพลีย, โผเผ, ไม่มีกำลัง, เช่นพูดว่า ข้ามันให้อ่อนหิวกระแสะ ๆ ไป. (ดิกชนารีไทย), ใช้เข้าคู่กับคำ กระเสาะ เป็น กระเสาะกระแสะ. |
กระหมิบ | อาการที่กล้ามเนื้อขอบปากทวารรัดตัวเข้ามา. (แผลงมาจาก ขมิบ). |
กระหวัด | ก. ตวัด, วัดให้ม้วนเข้ามาโดยเร็ว, รัดรึง |
กระไอกระแอม | ก. ทำเสียงไอเสียงแอม เช่น ถ้ามันจะเกริ่นกรายกระไอกระแอมแอบเข้ามา (ม. ร่ายยาว ชูชก). |
กราก ๑ | (กฺราก) ก. ตรงเข้าไปหรือเข้ามาโดยเร็ว เช่น กรากเข้าไป. |
กรุ ๑ | (กฺรุ) น. ห้องที่ทำไว้ใต้ดิน ใต้พระเจดีย์ เป็นต้น สำหรับเก็บพระพุทธรูปและสิ่งมีค่าอื่น ๆ, โดยปริยายหมายถึงกระทรวง ทบวง กรม ที่ข้าราชการในสังกัดถูกเรียกตัวเข้ามาอยู่ประจำ โดยมิได้มีตำแหน่งหน้าที่ใด ๆ เพื่อเป็นการลงโทษหรือก่อนเกษียณอายุราชการ ในความว่า เรียกเก็บเข้ากรุ. |
กลับ | (กฺลับ) ก. ตรงกันข้ามกับภาวะเดิมหรือทิศทางเดิม เช่น กลับหน้าเป็นหลัง กลับบ้าน, เปลี่ยนเป็นตรงกันข้าม เช่น นึกว่าเป็นคนดี กลับเป็นคนร้าย, คืนมาสู่ภาวะเดิม เช่น กลับมีอีก, พลิกหน้าเป็นหลัง เช่น กลับปลา, เปลี่ยน เช่น กลับชาติ กลับใจ, ทำตรงกันข้ามกับที่คาดหมายหรือที่ควรจะเป็น เช่น เราพูดด้วยดี ๆ เขากลับ ด่าเอา. |