ขนมขิง | น. ขนมทำด้วยแป้งข้าวเจ้า ปั้นเป็นรูปเหมือนแง่งขิง ทอดให้กรอบแล้วฉาบน้ำตาลทราย. |
ขิง | น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Zingiber officinale Roscoe ในวงศ์ Zingiberaceae เหง้ามีกลิ่น รสเผ็ด ใช้ประกอบอาหารและทำยาได้, ขิงแกลง หรือ ขิงแครง ก็เรียก. |
ขิงก็ราข่าก็แรง | ต่างก็จัดจ้านพอ ๆ กัน, ต่างก็มีอารมณ์ร้อนพอ ๆ กัน, ต่างไม่ยอมลดละกัน. |
ขิงแห้ง | น. ขิงชนิดหนึ่งที่ตากแห้ง ใช้เป็นเครื่องยาไทย. |
ขิงแกลง, ขิงแครง | (-แกฺลง, -แคฺรง) ดู ขิง. |
เขิง | น. เครื่องสานสำหรับร่อนสิ่งของหรือช้อนกุ้งปลาเป็นต้น มีลักษณะเป็นรูปกลม ก้นลึก ช่องตาถี่, ภาคกลางเรียกว่า ตะแกรง. |
งอก่อ, งอก่องอขิง | ว. อาการที่ตัวงอหรือทำตัวงอ เพราะร้อนหรือหนาวมากเป็นต้น. |
แง่งขิง | น. เครื่องประดับยอดปรางค์ ทำเป็นรูปหอก มีกิ่งเป็นรูปดาบแตกสาขาออกไป ๔ ทิศ, ฝักเพกา ลำภุขัน สลัดได นพศูล หรือ นภศูล ก็เรียก. |
ถึงพริกถึงขิง | ว. เผ็ดร้อนรุนแรง เช่น การโต้วาทีคราวนี้ถึงพริกถึงขิง. |
พริกขิง | น. ชื่อผัดชนิดหนึ่ง ใช้เครื่องปรุงคล้ายแกงเผ็ด แต่ไม่ใส่เครื่องเทศ ผัดกับนํ้ามัน, เครื่องปรุงแกงเผ็ด เรียกว่า เครื่องพริกขิง. |
ยุ่งขิง | ว. ยุ่งมาก, นุงนัง, สับสนวุ่นวาย. |
กฏุก, กฏุก- | (กะตุก, กะตุกะ-) ว. เผ็ด, เผ็ดร้อน, เช่น ตรีกฏุก หมายถึงเครื่องยาที่เผ็ดร้อนรวม ๓ อย่าง คือ พริกไทย ดีปลี ขิงแห้ง. |
ก่อ ๔ | ว. งอ ในคำว่า งอก่อ หรือ งอก่องอขิง. |
ไก่สามอย่าง | น. เครื่องกินแกล้มเหล้า มีกุ้งแห้ง ถั่วลิสง และตะไคร้ เป็นหลัก อาจเพิ่ม ขิง หัวหอม หรือพริกขี้หนู เข้าด้วยก็ได้. |
ข้าวมันไก่ | น. ข้าวเจ้าหุงด้วยน้ำต้มกระดูกไก่โดยหุงแบบไม่เช็ดน้ำ กินกับไก่ตอนต้มหั่นเป็นชิ้น มีเต้าเจี้ยว ขิงแก่ และพริกน้ำส้มหรือซีอิ๊วเป็นน้ำจิ้ม. |
ไข่หวาน | น. ชื่อขนมอย่างหนึ่งทำโดยต่อยไข่ใส่ลงในนํ้าเชื่อมร้อน ๆ แล้วต้มให้สุก มักใส่ขิงด้วย. |
แครง ๒ | (แคฺรง) น. ชื่อขิงในหมวดจตุทิพยคันธา เรียกว่า ขิงแครง. (ดู จตุทิพยคันธา ใน จตุ-). |
แง่ง ๑ | น. ส่วนที่งอกเป็นแง่ออกมาจากเหง้าขิงข่ากะทือเป็นต้น. |
จตุทิพยคันธา | (-ทิบพะยะ-) น. พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำรายาไทย จำกัดจำนวนตัวยาอันมีกลิ่นหอมดังยาทิพย์ไว้ ๔ อย่าง คือ ดอกพิกุล รากชะเอมเทศ รากมะกล่ำเครือ รากขิงแครง. |
จตุวาตผล | (-วาตะผน) น. พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำรายาไทย จำกัดจำนวนตัวยาแก้ลมไว้ ๔ อย่าง ได้แก่ เหง้าขิงแห้ง กระลำพัก อบเชยเทศ โกศหัวบัว. |
ซาวน้ำ | น. ของกินอย่างหนึ่ง มีขนมจีน กุ้งแห้งป่น กระเทียมซอย ขิงซอย สับปะรดสับ เป็นต้น กับเครื่องปรุงรส ราดด้วยหัวกะทิหรือแจงลอน เรียกว่า ขนมจีนซาวนํ้า. |
ต้มเค็ม | น. ชื่ออาหารคาวอย่างหนึ่ง ใช้ปลาหรือเนื้อสัตว์อื่นมีหมูเป็นต้น ใส่เครื่องปรุงมีซีอิ๊วขาว ขิง ผักกาดดองเค็ม เคี่ยวให้เปื่อย, ถ้าต้มตามแบบจีนมีรสเค็ม แต่ถ้าต้มตามแบบไทยมีรสหวานเค็ม. |
ตรีกฏุก | น. พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำรายาไทย จำกัดจำนวนตัวยาอันมีรสเผ็ดร้อน ๓ อย่าง คือ พริกไทย ดีปลี ขิงแห้ง. |
ตรีสัตกุลา | (-สัดตะ-) น. พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำรายาไทย จำกัดจำนวนตัวยาที่มีตระกูลอันสามารถ ๓ อย่าง คือ เทียนดำ ผักชีลา ขิงสด. |
ตรีอากาศผล | น. พิกัดตัวยาประเภทหนึ่งในตำรายาไทย จำกัดจำนวนตัวยาอันมีสรรพคุณขับลม ๓ อย่าง คือ ขิง กระลำพัก อบเชยเทศ. |
เต้าฮวย | น. ชื่อของหวานชนิดหนึ่ง ทำด้วยนํ้าถั่วเหลืองที่มีลักษณะแข็งตัว ปรุงด้วยนํ้าขิง นํ้าตาล. |
นพศูล, นภศูล | (นบพะสูน) น. เครื่องประดับยอดปรางค์ ทำเป็นรูปหอก มีกิ่งเป็นรูปดาบแตกสาขาออกไป ๔ ทิศ, แง่งขิง ฝักเพกา ลำภุขัน หรือ สลัดได ก็เรียก. |
นภศูล, นพศูล | (นบพะสูน) น. เครื่องประดับยอดปรางค์ ทำเป็นรูปหอก มีกิ่งเป็นรูปดาบแตกสาขาออกไป ๔ ทิศ, แง่งขิง ฝักเพกา ลำภุขัน หรือ สลัดได ก็เรียก. |
เบญจกูล | น. เครื่องยา ๕ อย่าง คือ ขิง ดีปลี ช้าพลู สะค้าน เจตมูลเพลิง. |
ประสะ | ใช้เรียกยาที่เข้าเครื่องยาสิ่งหนึ่งเท่ากับเครื่องยาอื่น ๆ เช่น ประสะขิง ก็คือเข้าขิงเท่ากับยาอื่นเป็นต้น. |
ฝักเพกา | น. เครื่องประดับยอดปรางค์ ทำเป็นรูปหอก มีกิ่งเป็นรูปดาบแตกสาขาออกไป ๔ ทิศ, แง่งขิง ลำภุขัน สลัดได นพศูล หรือ นภศูล ก็เรียก. |
ไพล | (ไพฺล) น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Zingiber montanum (Koenig) Link ex Dictr. ในวงศ์ Zingiberaceae ต้นและใบคล้ายขิง เหง้าสีเหลืองอมเขียวใช้ทำยาได้. |
มเหาษธ ๒ | (มะเหาสด) น. ชื่อพรรณไม้ที่มีกลิ่นฉุน เช่น ขิง กระเทียม. |
เมี่ยง ๒ | น. ของกินเล่นที่ใช้ใบไม้บางชนิด เช่น ใบชาหมัก ใบชะพลู ใบทองหลาง ห่อเครื่อง มีถั่วลิสง มะพร้าว กุ้งแห้ง หัวหอม ขิง เป็นต้น มีหลายชนิด เรียกชื่อต่าง ๆ กัน เช่น เมี่ยงคำ เมี่ยงลาวเมี่ยงส้ม. |
เมี่ยงลาว | น. ของกินอย่างหนึ่ง ใช้ใบผักกาดดองห่อไส้เป็นคำ ๆ ไส้ทำด้วยหมูสับผัดเคล้ากับกุ้งแห้งป่น ถั่วลิสงตำ ขิง น้ำส้มมะขาม น้ำตาล น้ำปลา ปรุงให้มีรสหวานนำ เค็มตาม และเปรี้ยวนิดหน่อย แล้วตักขึ้นเคล้าด้วยหอมเจียวกระเทียมเจียว กินกับข้าวตังทอดหรือข้าวเกรียบกุ้งทอด. |
ยาประสะ | น. ยาประเภทหนึ่งซึ่งตามปรกติเข้าเครื่องยาสิ่งหนึ่งซึ่งเป็นตัวหลัก มีปริมาณเท่ากับเครื่องยาอื่น ๆ อีกหลายอย่างรวมกัน เรียกชื่อตามเครื่องยาที่เป็นหลัก เช่น ยาประสะขิง คือ เข้าขิงครึ่งหนึ่งกับเครื่องยาอื่น ๆ อีกครึ่งหนึ่ง แต่มีบางชนิดเครื่องยาที่เป็นตัวหลักมีปริมาณไม่ถึงครึ่งหนึ่งของเครื่องยาทั้งหมด เช่น ยาประสะกานพลู. |
รากเหง้า | เหง้า, ลำต้นที่อยู่ในดินของพืชบางชนิด เช่น กล้วย บอน ขิง ข่า. |
ลำภุขัน | น. เครื่องประดับยอดปรางค์ ทำเป็นรูปหอก มีกิ่งเป็นรูปดาบแตกสาขาออกไป ๔ ทิศ, สลัดได ฝักเพกา แง่งขิง นพศูล หรือ นภศูล ก็เรียก. |
สมน้ำสมเนื้อ | ว. พอเหมาะพอดีกัน เช่น ขิงก็ราข่าก็แรง สมน้ำสมเนื้อกันดีแล้ว. |
สลัดได ๒ | (สะหฺลัด-) น. เครื่องประดับยอดปรางค์ ทำเป็นรูปหอก มีกิ่งเป็นรูปดาบแตกสาขาออกไป ๔ ทิศ, แง่งขิง นพศูล นภศูล ฝักเพกา หรือ ลำภุขัน ก็เรียก. |
สัมผัสอักษร | น. สัมผัสพยัญชนะที่มีเสียงพยัญชนะต้นเสียงเดียวกัน เช่น จำใจจำจากเจ้า จำจร (ตะเลงพ่าย), คูนแคขิงข่าขึ้น เคียงคาง (หลักภาษาไทยของกำชัย ทองหล่อ). |
หลวงพ่อ | น. คำเรียกพระพุทธรูปโดยความเคารพ เช่น หลวงพ่อโสธร หลวงพ่อแก้ว หลวงพ่อวัดไร่ขิง |
เหง้า | (เหฺง้า) น. ลำต้นที่อยู่ใต้ดินของพืชบางชนิด เช่น ขิง กระวาน ที่จมอยู่ใต้ดิน |