ช้างเอเชีย | น. ชื่อช้างชนิด Elephas maximus (Linn.) หัวโต เห็นเป็นโหนก ๒ โหนก เรียก ตะพอง ปลายงวงด้านบนมีจะงอย ๑ จะงอย ใบหูเล็กรูปสามเหลี่ยม หลังเรียบหรือโค้งเล็กน้อย ผิวหนังค่อนข้างละเอียดนุ่ม มีขนสีดำทั่วตัวแต่ที่เห็นได้ชัดบริเวณตา ปลายหาง โหนกหัวและมุมปาก หางยาวเกือบถึงพื้น ขาหน้ามีเล็บข้างละ ๕ เล็บ ขาหลังมีเล็บข้างละ ๔ หรือ ๕ เล็บ ตัวผู้มีงายาว เรียก ช้างพลาย ไม่มีงาหรืองาสั้น เรียก ช้างสีดอ ตัวเมีย เรียก ช้างพัง ส่วนใหญ่ไม่มีงาหรือมีงาสั้น งาของตัวเมีย เรียก ขนาย. |
ช้างแอฟริกา | น. ชื่อช้างชนิด Loxodonta africana (Blumenbach) รูปร่างสูงเพรียวกว่าช้างเอเชีย หัวเล็กลาดลงไปข้างหน้าถึงโคนงวง ปลายงวงทั้งด้านบนและด้านล่างมีจะงอยด้านละ ๑ จะงอย ใบหูใหญ่รูปคล้ายพัด มีงาทั้งตัวผู้และตัวเมีย หนังหยาบแข็ง มีขนสีดำทั่วตัวแต่ที่เห็นได้ชัดบริเวณตา ปลายหาง และมุมปาก ท้องป่อง หลังแอ่น นูนสูงขึ้นบริเวณท้ายลำตัว หางสั้น ขาหน้ามีเล็บข้างละ ๔ หรือ ๕ เล็บ ขาหลังมีเล็บข้างละ ๓ เล็บ แต่บางตัวมี ๔ เล็บ. |
ดำ ๔ | น. ชื่อปูทะเลชนิด Scylla serrata (Forskål) ในวงศ์ Portunidae กระดองมีสีดำ ขาหลังคู่สุดท้ายแบนคล้ายใบพายใช้ว่ายน้ำ, ปูทะเล ก็เรียก. |
ตะโพก | น. ส่วนของร่างกายเบื้องหลังถัดบั้นเอวลงไป มีเนื้อเป็นกระพุ้งทั้ง ๒ ข้าง, กล้ามเนื้อส่วนบนที่นูนขึ้นของโคนขาสัตว์สองเท้าหรือโคนขาหลังของสัตว์สี่เท้า, สะโพก ก็ว่า. |
ตั๊กแตน | (ตั๊กกะ-) น. ชื่อแมลงหลายชนิด หลายสกุล และหลายวงศ์ ในอันดับ Orthoptera ลำตัวยาว มีขนาดต่าง ๆ กัน อาจมีปีกหรือไม่มีก็ได้ พวกที่มีปีกจะมี ๒ คู่ ปีกคู่หน้าค่อนข้างหนา ยาวและแคบ คู่หลังบางและกว้างพับอยู่ใต้ปีกคู่หน้า ปากเป็นชนิดกัดกิน ส่วนอกมีลักษณะต่างกันมาก อาจกว้างใหญ่ แคบ ยาว หรือสั้น ขาอาจเหมือนกันหมด หรือมีขาหน้าหรือขาหลังใหญ่กว่าคู่อื่น ๆ เช่น ตั๊กแตนผี [ Aularches miliaris (Linn.) ] ในวงศ์ Acrididae ตั๊กแตนตำข้าว เช่น ชนิด Hierodula membranaceusBurmeister ในวงศ์ Mantidae ตั๊กแตนใบไม้ เช่น ชนิด Phyllium pulcherifolium Serville ในวงศ์ Phasmidae และตั๊กแตนกิ่งไม้ เช่น ชนิด Eurycnema versirubra (Serville) ในวงศ์ Phasmidae. |
เต่าเดือย | น. ชื่อเต่าบกชนิด Manouria impressa (Günther) ในวงศ์ Testudinidae ขาไม่ปรากฏนิ้วให้เห็น ขาหลังมีลักษณะคล้ายขาช้าง ระหว่างโคนขาหลังกับโคนหางทั้งสองข้างมีเดือยแหลมข้างละ ๑ เดือย ลักษณะคล้ายหนามยื่นออกมาจากผิวหนัง กระดองสีเหลืองส้มปนน้ำตาล มีแผ่นเกล็ดบางส่วนโปร่งใส ตัวเต็มวัยมีความยาวกระดองหลัง ๒๕-๓๐ เซนติเมตร จัดเป็นเต่าบกที่สวยงามชนิดหนึ่ง กินเห็ดป่านานาชนิด อาศัยอยู่ตามเขาสูงที่เป็นป่าดิบเขา พบทางภาคเหนือ ตอนเหนือของภาคตะวันตก และตอนเหนือของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ, ควะ ก็เรียก. |
เต่าหก | น. ชื่อเต่าบกขนาดใหญ่ชนิด Manouria emys (Schlegel & Müller) ในวงศ์ Testudinidae ขาไม่ปรากฏนิ้วให้เห็น ขาหลังมีลักษณะคล้ายขาช้าง ระหว่างโคนขาหลังกับโคนหางทั้งสองข้างมีเดือยแหลมขนาดต่าง ๆ ลักษณะคล้ายเล็บยื่นออกมาจากผิวหนัง ทำให้เข้าใจผิดว่าเต่าชนิดนี้มี ๖ ขา กินพืชและผลไม้ป่า เช่น กล้วยป่า บอน หน่อไผ่ มักพบอาศัยอยู่ตามที่ที่มีความชื้นสูงตามป่าเขาสูงที่เป็นป่าดงดิบ จัดเป็นเต่าบกที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในทวีปเอเชีย ตัวเต็มวัย หนักได้ถึง ๓๗ กิโลกรัม ในประเทศไทยพบ ๒ ชนิดย่อย ได้แก่ เต่าหกเหลือง [ M. e. emys (Schlegel & Müller) ] กระดองสีน้ำตาลอมเหลือง พบเฉพาะภาคใต้ตอนล่าง และเต่าหกดำ [ M. e. phayrei (Blyth) ] กระดองสีดำ พบเฉพาะภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคใต้. |
ธงกระบี่ธุช | น. ชื่อธงมีลักษณะเป็นธงสามชาย ๓ ผืน ผืนธงทำด้วยผ้าปักไหมทองเป็นลวดลายเครือกระหนก สอดร่วมอยู่ในคันธงเดียวกันซึ่งเป็นเหล็กและทำเป็นกิ่งแยกจากคันกลางทางด้านซ้ายและด้านขวา ปลายคันธงเป็นรูปใบหอก ที่โคนคันธงตรงส่วนสวมต่อกับคันธงท่อนล่างติดรูปหนุมานในท่ายืนยกขาหน้าและขาหลังข้างขวาเตรียมเหาะ เรียกเต็มว่า ธงชัยราชกระบี่ธุช หรือ ธงชัยราชกระบี่ธุชใหญ่ ใช้เชิญนำหน้าพระราชยานในกระบวนพยุหยาตรา และเชิญประดิษฐานในพิธีมณฑลในการพระราชพิธีต่าง ๆ เข้าคู่กับธงพระครุฑพ่าห์ โดยธงกระบี่ธุชอยู่ทางด้านซ้าย และธงพระครุฑพ่าห์อยู่ทางด้านขวา. |
ธงชัยราชกระบี่ธุช, ธงชัยราชกระบี่ธุชใหญ่ | น. ชื่อธงมีลักษณะเป็นธงสามชาย ๓ ผืน ผืนธงทำด้วยผ้าปักไหมทองเป็นลวดลายเครือกระหนก สอดร่วมอยู่ในคันธงเดียวกันซึ่งเป็นเหล็กและทำเป็นกิ่งแยกจากคันกลางทางด้านซ้ายและด้านขวา ปลายคันธงทำเป็นรูปใบหอก ที่โคนคันธงตรงส่วนสวมต่อคันธงท่อนล่างติดรูปหนุมานในท่ายืนยกขาหน้าและขาหลังข้างขวาเตรียมเหาะ ใช้เชิญนำหน้าพระราชยานในกระบวนพยุหยาตรา และเชิญประดิษฐานในพิธีมณฑลในการพระราชพิธีต่าง ๆ เข้าคู่กับธงพระครุฑพ่าห์ โดยธงกระบี่ธุชอยู่ทางด้านซ้าย และธงพระครุฑพ่าห์อยู่ทางด้านขวา. |
นาก ๑ | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Mustelidae ขนลำตัวสีนํ้าตาลอมเทา มี ๒ ชั้น ชั้นในละเอียด ชั้นนอกหยาบ หัวกว้างและแบน ระหว่างนิ้วมีแผ่นพังผืดคล้ายตีนเป็ด หางแบน ขาหลังใหญ่และแข็งแรงกว่าขาหน้า ใช้ว่ายนํ้าร่วมกับหาง ไล่จับปลาและสัตว์นํ้าเล็ก ๆ ในประเทศไทยมี ๔ ชนิด ที่มีจำนวนมากและรู้จักกันทั่วไป คือ นากใหญ่ขนเรียบ (Lutra perspicillata Geoffroy) และนากเล็กเล็บสั้น [ Aonyx cinerea (Illiger) ]. |
ผึ้ง ๑ | น. ชื่อแมลงหลายชนิดในวงศ์ Apidae มีปีกบางใส ๒ คู่ ปีกคู่หลังเล็กกว่าปีกคู่หน้า ปากใช้ทั้งกัดอาหารและดูดกินของเหลวได้ ปล้องท้องที่อยู่ติดกับส่วนอกเล็กมาก มีขนปกคลุมตามลำตัว เป็นแมลงสังคม อยู่รวมกันเป็นฝูง แบ่งชั้นวรรณะเป็นผึ้งนางพญา ผึ้งผู้ และผึ้งงาน ผึ้งงานมีถุงสำหรับเก็บเกสรดอกไม้ที่ขาหลัง และมีเหล็กในสำหรับต่อยปล่อยน้ำพิษ ทำให้เจ็บปวด ชนิดที่รู้จักกันแพร่หลายในประเทศไทย มี ๕ ชนิด เป็นผึ้งพื้นเมืองของประเทศไทย ๔ ชนิด คือ ผึ้งหลวง ( Apis dorsataFabricius) ผึ้งโพรง ( A. cerana Fabricius) ผึ้งมิ้ม ( A. florea Fabricius) และผึ้งม้าน ( A. andrenitormis Smith) ส่วนผึ้งที่เลี้ยงกันทั่วไปนำมาจากต่างประเทศ คือผึ้งพันธุ์ (A. mellifera Linn. ), เผิ้ง ก็เรียก. |
แมลงภู่ ๓ | ชื่อแมลงหลายชนิด รูปร่างคล้ายผึ้ง ต่างกันที่ขนปกคลุมลำตัวมีลักษณะเป็นแฉก ไม่เป็นขนเดี่ยว ๆ อวัยวะของปากคู่หนึ่งยื่นยาวออกมาคล้ายหนวด ขาหลัง (ขาคู่ที่ ๓) บริเวณส้นมีหนามแหลมข้างละ ๑ อัน ไม่มีถุงเก็บเกสรเหมือนผึ้ง มีเหล็กในสำหรับต่อยปล่อยน้ำพิษได้หลายครั้งทำให้เจ็บปวด มักอาศัยอยู่เดี่ยว ๆ เป็นคู่ หรือรวม ๒-๓ คู่ แต่ไม่เป็นกลุ่มใหญ่เหมือนผึ้ง ที่พบบ่อยอยู่ในสกุล Xylocopa วงศ์ Xylocopidae เช่น ชนิด X. latipes Drury และ ชนิด X. caeruleus Fabricius. |
ลิงลม | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Nycticebus coucang (Boddaert) ในวงศ์ Lorisidae ขนนุ่มหนาสีเทามีลายสีน้ำตาล ตากลมโต ขาหน้าและขาหลังสั้นแต่แข็งแรง เล็บแบน แต่นิ้วชี้ของขาหลังมีเล็บยาวโค้งแหลมเห็นได้ชัด นิ้วชี้ของขาหน้าสั้นกว่านิ้วอื่น ๆ ดูคล้ายติ่ง หางสั้นมาก เคลื่อนไหวเชื่องช้าและนอนในเวลากลางวัน แต่ว่องไวเมื่อออกหากินในเวลากลางคืน จับเหยื่อได้ไวมาก กินแมลง สัตว์เล็ก ๆ และผลไม้, นางอาย หรือ ลิงจุ่น ก็เรียก. |
วอก ๒ | น. ชื่อลิงชนิด Macaca mulatta (Zimmermann) อันดับ Primates ในวงศ์ Cercopithecidae ขนสีน้ำตาลอ่อน ขนหัวเรียบ หางยาวปานกลางห้อยลง ผิวหนังที่ก้นและขาหลังด้านในสีแดง เมื่อแก่ตัวหน้าสีแดง. |
สมเสร็จ | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Tapirus indicus Desmarest ในวงศ์ Tapiridae เป็นสัตว์กีบคี่ขนาดใหญ่ จมูกและริมฝีปากบนยื่นยาวออกมาคล้ายงวงยืดหดเข้าออกได้ ขนลำตัวตั้งแต่หัว คอ ไหล่ และขาหน้าสีดำ ขาหลังไปจดก้นสีดำ ส่วนที่เหลือกลางลำตัวตั้งแต่สันหลังลงมาถึงท้องมีสีขาว ขอบหูสีขาว หางสั้น ลูกเกิดใหม่ตัวมีลายสีขาวขาดเป็นท่อน ๆ ทอดไปตามความยาวลำตัว กินหญ้า ใบไม้ และผลไม้ เป็นสัตว์ป่าสงวนของไทย, ผสมเสร็จ ก็เรียก. |
สะโพก | น. ส่วนของร่างกายเบื้องหลังถัดบั้นเอวลงไป มีเนื้อเป็นกระพุ้งทั้ง ๒ ข้าง, กล้ามเนื้อส่วนบนที่นูนขึ้นของโคนขาสัตว์สองเท้าหรือโคนขาหลังของสัตว์สี่เท้า, ตะโพก ก็ว่า. |
หมี | น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Ursidae ตาและใบหูกลมเล็ก ริมฝีปากยื่นแยกห่างออกจากเหงือก สามารถยืนและเดินด้วยขาหลังได้ ประสาทการดมกลิ่นดีกว่าประสาทตาและหู กินพืชและสัตว์ ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด คือ หมีควาย [ Selenarctos thibetanus (G. Cuvier) ] ตัวใหญ่ ขนยาวดำ ที่อกมีขนสีขาวรูปง่าม และหมีหมาหรือหมีคน [ Helarctos malayanus (Raffles) ] ตัวเล็กกว่าหมีควาย ขนสั้นดำ ที่อกมีขนสีขาวรูปคล้ายเกือกม้า. |
หมูแฮม | น. ขาหลังของหมูแช่น้ำเกลือแล้วรมควัน, แฮม ก็ว่า. |
หริ่ง | น. ชื่อหนูขนาดเล็กถึงขนาดปานกลางหลายชนิด ในวงศ์ Muridae เช่น หนูหริ่งบ้าน (Mus musculus Linn.) มีขนลำตัวสีน้ำตาลเข้ม หัวค่อนข้างแบน หน้าสั้น ฟันเล็ก ขาสีดำ ปลายนิ้วสีขาว ฝ่าตีนสีเข้ม หางยาวสีดำ เคลื่อนไหวได้รวดเร็วและกระโดดเก่ง ในประเทศไทยมีผู้พบบางตัวมีแถบสีเหลืองพาดตามขวางบริเวณกลางลำตัวใกล้โคนขาหลัง แยกเป็นชนิดย่อย M. m. castaneusWaterhouse, หนูหริ่งไม้หางพู่ [ Chiropodomys gliroides (Blyth) ] มีขนลำตัวค่อนข้างยาว ด้านหลังสีน้ำตาลคล้ำ ท้องสีขาว หางยาว มีแผงขนสีขาวและดำตั้งแต่กลางหางไปถึงปลาย ปลายหางเป็นพู่สีขาว อาศัยอยู่ตามป่า. |
แฮม | น. ขาหลังของหมูแช่น้ำเกลือแล้วรมควัน, หมูแฮม ก็ว่า. |